backup og meta

การวินิจฉัยมะเร็งปอด สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/05/2021

    การวินิจฉัยมะเร็งปอด สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

    ในการนัดหมายแพทย์ หากคุณคิดว่าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งปอด แพทย์จะทำการประเมินประวัติสุขภาพ ประเมินปัจจัยเสี่ยงของคุณ และทำการตรวจร่างกาย แล้วแพทย์จึงอาจส่งต่อคุณไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมสำหรับ การวินิจฉัยมะเร็งปอด ต่อไป

    การตรวจเพื่อหา มะเร็งปอด มักเป็นการทดสอบแบบรุกล้ำร่างกาย จึงเป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยทั่วไปมีประโยชน์หรือไม่ บางคนเชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แต่เนื่องจาก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการจนกระทั่งเป็นโรคแล้ว คนรอบข้างจึงคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญในการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ  ในระยะที่ยังรักษาได้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่แพทย์มักจะแนะนำการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้ หากมีอาการบ่งชี้ให้เชื่อว่า คุณอาจเป็น มะเร็งปอด

    การวินิจฉัยมะเร็งปอด ทำได้อย่างไรบ้าง

    การตรวจร่างกาย

    แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ฟังเสียงการหายใจ และตรวจหาภาวะตับบวมหรือต่อมน้ำเหลือง คุณอาจจะถูกส่งไปเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีวิธีหลายประการที่สามารถใช้ได้

    การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งปอด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

    การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography) หรือซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการเอกซเรย์เฉพาะประเภทหนึ่ง ที่ใช้สร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายขณะที่เครื่องหมุนไปโดยรอบร่างกาย ทำให้ได้รูปภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของก้อนเนื้อที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้

    การส่องกล้องตรวจหลอดลม

    ท่อบางเล็ก ๆ บาง ๆ กล้องตรวจหลอดลม จะถูกสอดผ่านทางปากหรือจมูกไปยังปอด เพื่อตรวจหลอดลมและปอด อาจนำตัวอย่างเซลล์ออกมาเพื่อทำการตรวจ

    การตรวจเสมหะเพื่อหา มะเร็งปอด

    เสมหะ เป็นของเหลวข้นที่ขับออกมาจากปอด ตัวอย่างเสมหะจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการ สำหรับการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาเซลล์มะเร็ง

    การตัดเนื้อปอดออกมาตรวจ

    การตรวจด้วยภาพสามารถตรวจจับก้อนหรือเนื้อ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้องอกร้ายหรือไม่ร้าย จากสิ่งที่ค้นพบในเบื้องต้น แพทย์อาจให้มีการตัดเนื้อเยื่อปอดออกมา เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง เนื้อเยื่อที่ตัดออกตรวจจะถูกส่งไปตรวจโดยพยาธิแพทย์

    การตัดเนื้อเยื่อปอดออกตรวจมีหลายวิธี ได้แก่

    • การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis) ใช้เข็มฉีดยาแบบยาว เพื่อนำตัวอย่างของเหลว (น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด) ที่อยู่ระหว่างชั้นของเนื้อเยื่อในปอด
    • การเจาะดูดเซลล์ (Fine-needle Aspiration) ใช้เข็มขนาดเล็ก เพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือของเหลวจากปอดหรือต่อมน้ำเหลือง
    • การส่องกล้องในช่องอก (Thoracoscopy) ผ่าช่องอกและหลังเล็กน้อย เพื่อใช้หลอดขนาดเล็กในการตรวจเนื้อเยื่อ
    • การตรวจช่องกลางอกด้วยการส่องกล้อง (Mediastinoscopy) แพทย์จะสอดหลอดขนาดเล็กและเบาผ่านทางรอยผ่าขนาดเล็กในบริเวณกระดูกหน้าอกส่วนบน เพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อและต่อมน้ำเหลืองออกมาตรวจ
    • การผ่าตัด (Thoracotomy) ผ่าตัดเปิดหน้าอกให้เป็นรอยผ่ายาวเพื่อนำต่อมน้ำเหลืองและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ออกมาตรวจ
    • การตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดลม (Endobronchial Ultrasound) วิธีนี้ใช้คลื่นเสียงเพื่อนำทางกล้องตรวจหลอดลมให้ลงไปตามหลอดลมเพื่อหาตำแหน่งและถ่ายภาพก้อนเนื้อ หากตรวจพบก้อนเนื้อ จะนำตัวอย่างก้อนเนื้อจากบริเวณที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งออกมาตรวจ

    การตรวจหาการลุกลามของ มะเร็งปอด

    อาจจำเป็นต้องใช้การตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อหาตำแหน่งที่มะเร็งอาจลุกลามออกไป

    • MRI (magnetic resonance imaging)

    MRI เป็นวิธีการสร้างภาพถ่าย ซึ่งใช้แม่เหล็กและคลื่นวิทยุแทนการใช้แสง การตรวจด้วยวิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยว่า มะเร็งปอด ลุกลามไปยังสมองหรือไขสันหลัง

    • PET (positron emission tomography) scan

    ในวิธี PET Scan จะส่งน้ำตาลที่ประกอบไปด้วยอะตอมกัมมันตรังสี (Radioactive Atom) เข้าไปในร่างกายของคุณ เซลล์มะเร็งจะกินน้ำตาลและกล้องชนิดพิเศษจะหาตำแหน่งกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นการสร้างภาพสี 3 มิติ

    • Bone Scan

    วัตถุกัมมันตรังสีจะถูกฉีดเข้าไปในหลอดเลือด วัตถุกัมมันตรังสีจะก่อตัวในกระดูกที่มีอาการผิดปกติ การตรวจวิธีนี้ดำเนินการในกรณีที่สงสัยว่ามะเร็งลุกลามไปยังกระดูกเท่านั้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 15/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา