backup og meta

สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรรู้

    มะเร็งรังไข่ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกแทบจะไม่ปรากฏ อาการของมะเร็งรังไข่ ใด ๆ ที่สังเกตได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย เช่น ท้องอืด รู้สึกอิ่มไว ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย และอาการอื่น ๆ ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวม สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ มาฝากกันในบทความนี้

    สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่คุณผู้หญิงควรรู้

    ท้องอืด ท้องเฟ้อ

    คนส่วนใหญ่จะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในช่องก่อนมีประจำเดือน หรือหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่ แต่หากท้องอืดท้องเฟ้อบ่อย หรือท้องอืดทุกวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ โดยอาการอาจมีตั้งแต่ท้องอืดธรรมดาไปจนถึงท้องอืดรุนแรง และอาการอาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป

    นอกจากนี้ หากน้ำหนักตัวขึ้นเท่าเดิม ไม่ได้น้ำหนักขึ้น แต่เวลาใส่เสื้อผ้ากลับรู้สึกอึดอัดหรือแน่นบริเวณรอบเอว อาจเป็นหนึ่งในอาการของ มะเร็งรังไข่ ไม่เพียงแต่อาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว หากท้องบวมขึ้น มีของเหลวในช่องท้อง หรือท้องมาน (Ascites) ก็อาจเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ขั้นรุนแรงได้

    ปวดหรือมีแรงกดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน

    การปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ลักษณะคล้ายปวดประจำเดือน ไม่ว่าจะปวดแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดทั่วบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นอาการที่พบบ่อยใน มะเร็งรังไข่ ระยะแรก โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน แต่หากเลยช่วงนั้นไปแล้ว อาการปวดยังคงอยู่ และรู้สึกเหมือนมีแรงกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณควรไปพบคุณหมอ

    รู้สึกอิ่มเร็ว

    ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่หลายคนให้ข้อมูลว่า พวกเธอรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังจากกินอาหาร และอาจมีความรู้สึกนี้ระหว่างมื้ออาหาร รวมถึงอาจมีแก๊สและอาการอาหารไม่ย่อยร่วมด้วย นอกจากนี้ บางคนอาจน้ำหนักลดโดยที่ไม่ได้พยายามลดน้ำหนัก ซึ่งถือเป็นอาการของโรคมะเร็งรังไข่ที่รุนแรงขึ้น

    ปัสสาวะบ่อย

    อาการปัสสาวะบ่อย หรือเวลาปวดปัสสาวะต้องรีบไปห้องน้ำทันที อาจเกิดขึ้นในผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น กระเพาะปัสสาวะถูกเนื้องอกกดทับ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดจากเนื้องอกบางประเภท

    การขับถ่ายเปลี่ยนแปลง

    การขับถ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่แค่สัญญาณที่สำคัญที่สุดของโรคมะเร็งลำไส้ แต่ยังเป็นอาการของ มะเร็งรังไข่ ด้วย เมื่อการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ท้องเสีย เนื้องอกในลำไส้และในช่องท้อง อาจเป็นเหตุให้ลำไส้อุดตัน จนทำให้มีอาการปวดท้อง อาเจียน และท้องเสียรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

    เจ็บหรือปวดเวลามีเพศสัมพันธ์

    ความเจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือภาวะปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia) อาจเกิดขึ้นเนื่องจากมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ ยังเป็นอาการที่พบบ่อยของภาวะอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน โดยปกติแล้วจะปวดข้างเดียว ซึ่งอาการปวดจะคล้ายกับการปวดประจำเดือน และอาจเกิดขึ้นขณะมีเพศสัมพันธ์หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ก็ได้ การปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ไม่เพียงแค่เป็น สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ แต่ยังเป็นเหตุให้อารมณ์และความสัมพันธ์แย่ลงได้ด้วย

    ปวดหลัง

    อาการปวดอาจเกิดขึ้นที่บริเวณหลังส่วนล่างหรือหลังด้านข้าง ช่วงระหว่างซี่โครงและสะโพก โดยจะรู้สึกเหมือนปวดประจำเดือน ทั้งที่ไม่ได้ยกของหนัก หรือทำกิจกรรมใด ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุให้ปวดหลัง

    น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุ

    งานวิจัยพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นโรคมะเร็งบางชนิด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หมายถึง น้ำหนักลดลง 5% ของน้ำหนักตัวภายในเวลา 6-12 เดือน นอกจากนี้ ยังอาจเกิดขึ้นเพราะรู้สึกอิ่มเร็ว ไม่อยากอาหาร ดังนั้น ถ้าน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรไปพบคุณหมอ

    ความอ่อนเพลีย

    ความอ่อนเพลียเป็นอาการที่พบบ่อย โดยความอ่อนเพลียจากโรคมะเร็ง หรือโรค มะเร็งรังไข่ มีแนวโน้มว่าจะแตกต่างจากความเหนื่อยในชีวิตประจำวัน เนื่องจากความอ่อนเพลียจะไม่ดีขึ้นด้วยการนอนหลับอย่างเพียงพอ หรือการดื่มกาแฟ นอกจากนี้เซลล์มะเร็งสามารถทำลายเซลล์ที่ดีในร่างกาย ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลีย

    อย่างไรก็ตาม หากคุณสังเกตตนเองแล้วพบว่า มีสัญญาณ หรืออาการใด ๆ ที่อาจบ่งบอกถึงโรค มะเร็งรังไข่ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา