backup og meta

สิ่งที่คุณทำได้เพื่อต่อสู้กับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2021

    สิ่งที่คุณทำได้เพื่อต่อสู้กับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม

    ในบรรดาผลข้างเคียงของโรคมะเร็งเต้านมนั้น อาการอ่อนเพลียถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด อาการนี้เกิดขึ้นกับผู้ป่วย 9 จาก 10 คนในขณะที่ป่วยเป็นมะเร็ง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง มาดูกันว่า เราจะสามารถรับมือกับ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม ได้อย่างไรบ้าง

    สาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย จากมะเร็งเต้านม

    อาการอ่อนเพลีย เกิดจากหลายสาเหตุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรักษามะเร็งเต้านม การผ่าตัด การใช้ยาสลบ อาการเจ็บหลังการผ่าตัด ยาระงับปวด และการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด ล้วนเป็นสาเหตุของ อาการอ่อนเพลีย ทั้งสิ้น

    เคมีบำบัด

    การรักษาด้วยเคมีบำบัด ทำให้ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ที่ทำให้เลือดแข็งตัวลดลง ซึ่งทำให้พลังงานในร่างกายน้อยลง และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง คุณจึงมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียและเป็นไข้ เคมีบำบัดยังกระตุ้นให้หมดประจำเดือนเร็วขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และทำให้รู้สึกเหนื่อยได้ง่ายขึ้น

    การฉายรังสี

    การฉายรังสี เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งของ อาการอ่อนเพลีย การรักษาด้วยวิธีนี้ ต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่กำหนด ทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวันของคุณ คุณยังต้องพยายามมากในการปรับตัวกับการฉายรังสีในแต่ละครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าในปรับตัวให้เข้ากับการรักษา การฉายรังสียังทำให้จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยลง

    การบำบัดด้วยฮอร์โมน

    การเข้ารับการบำบัดด้วยฮอร์โมน (Hormonal Therapy) ทำให้เกิด อาการอ่อนเพลีย ได้เช่นกัน เนื่องจาก การบำบัดนี้ควบคุมฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย จึงทำให้คุณเกิด อาการอ่อนเพลีย เช่นเดียวกับอาการของวัยหมดประจำเดือน คุณอาจเกิดปัญหาทางการนอนหลับ เนื่องจากอาการร้อนวูบที่เป็นอาการข้างเคียงของวัยหมดประจำเดือน

    การรับมือกับอาการอ่อนเพลีย

    จัดตารางเวลานอน

    วิธีการจัดการกับ อาการอ่อนเพลีย มีหลายวิธีด้วยกัน คุณสามารถงีบหลับสั้น ๆ เพื่อเติมพลัง เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกเหนื่อย คุณอาจกำหนดเวลาการงีบหลับในเวลาเดียวกันในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายเคยชิน ส่วนการนอนหลับ พยายามจัดเวลานอน และเข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน ไม่ควรนอนอ้อยอิ่งบนเตียงหลังจากตื่นนอน เพราะจะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากขึ้น และควรนอนให้ครบระยะเวลาที่เท่ากันในแต่ละวัน

    จัดระเบียบในแต่ละวัน

    การจดบันทึกประจำวัน เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณระบุเวลาและ อาการอ่อนเพลีย เมื่อเริ่มเกิดขึ้นได้ การจดบันทึกช่วยให้คุณสามารถวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อย ดังนั้น คุณสามารถจัดระเบียบเวลาในแต่ละวันของคุณได้

    หากลุ่มสนับสนุน

    การเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนผู้เป็นมะเร็งเหมือนกัน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้คุณแบ่งปันความรู้สึกของคุณได้ การพูดคุยถือเป็นวิธีที่ช่วยได้ในกลุ่มผู้หญิง คุณสามารถพูดคุยถึงความรู้สึก การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับตัวเอง หรือสิ่งที่สร้างปัญหาแก่คุณกับผู้อื่นได้

    โดยสรุปแล้ว การรับมือกับ อาการอ่อนเพลีย อาจต้องใช้เวลา คุณอาจประสบปัญหาในช่วงแรก แต่คุณจะเคยชินกับมันได้ อย่าหงุดหงิด หากคุณล้มเหลว เพราะการมีทัศนคติที่ไม่ดี จะยิ่งเพิ่มปัญหา ปล่อยให้เกิดความผิดพลาด และให้โอกาสตนเองได้เริ่มต้นใหม่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 14/07/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา