backup og meta

อาการเบาหวานระยะสุดท้าย มีอะไรบ้าง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

    อาการเบาหวานระยะสุดท้าย มีอะไรบ้าง

    โรคเบาหวาน หากไม่ควบคุมให้ดี อาการของโรคก็อาจเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย ซึ่งมักเป็นระยะที่ผู้ป่วยมี ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานแล้ว รวมทั้งหากยังไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะส่งผลให้มีอาการหกระหายน้ำ หิวง่าย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับอาการและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานอื่น ๆ รวมทั้งดูแลสุขภาพของตนได้ดียิ่งขึ้น

    อาการเบาหวานระยะสุดท้าย

    อาการของโรคเบาหวานระยะสุดท้าย คือ อาการที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ที่เป็นเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน ส่งผลให้กระทบต่ออวัยะวะต่าง ๆ ในร่างกาย โดยอาจมีอาการแสดงดังต่อไปนี้ 

    ปัสสาวะบ่อย และตื่นมาปัสสาวะในเวลากลางคืน

    เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้มีอกาารปัสสาวะบ่อยมากขึ้นผิดปกติและบางรายต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (แม้จะไม่ได้ดื่มน้ำช่วงที่นอนหลับไปแล้ว) 

    กระหายน้ำมาก

    เนื่องจากร่างกายสูญเสียน้ำเพิ่มขึ้นจากการที่ปัสสาวะบ่อย จึงกระตุ้นให้รู้สึกกระหายน้ำและดื่มน้ำทดแทนชดเชยที่เสียไป เป็นกลไลของร่างกายเพื่อป้องกันมิให้ร่างกายขาดน้ำ 

    หิวง่าย

    ผู้ป่วยอาจมีอาการหิวง่าย หรือ บ่อยขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักมาใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานได้ตามปกติ ส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวง่าย/บ่อยขึ้นกว่าปกติ

    เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น

    เนื่องจากร่างกายขาดพลังงานดังที่กล่าวในข้างต้น จึงทำให้เกิดอาการอ่อน เพลียเหนื่อยล้ามากขึ้นได้ 

    มีปัญหาเรื่องการมองเห็น

    ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น สามารถส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติไปจากเดิมได้ เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อความเข้มข้นของของเหลวทั่วร่างกาย รวมถึงของเหลวที่อยู่ใน เลนส์ตา วุ้นลูกตา อีกทั้งหากควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีอย่างเรื้อรัง ยังเสี่ยงต่อการเกิอจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน หรือ เบาหวานขึ้นตา ได้อีกด้วย 

    เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

    หากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง ประสิทธิภาพของเม็ดเลือดขาวในการต่อต้านกับเชื้โรคและสิ่งแปลกปลอมลดลง จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้แล้วโรคเบาหวานเองอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคไต ซึ่งโดยรวมทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง หากเจ็บป่วยอาจเสริมทำให้อาการร้ายแรงมากขึ้นได้อีกด้วย 

    นอกจากนี้ผู้ป่วยเบาหวานระยะสุดท้าย มักจะมีโรคร่วมที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานร่วมด้วย เช่น โรคไตวายเรื้อรัง ภาวะเส้นประสาทเสื่อม ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย โดยมีอาการแสดงดังต่อไปนี้

    • รู้สึกโหย หิวผิวปกติ
    • รู้สึกหวิว ๆ ไม่มีแรง
    • เหงื่อออกชุ่ม ตัวสั่น หรือใจสั่น
    • อารมณ์แปรปรวน รู้สึกวิตกกังวล หรือ หงุดหงิดง่าย
    • ผิวซีด เย็น

    ทั้งนี้อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

    การดูแลผู้ป่วยเบาหวานระยะสุดท้าย

    โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้นผู้ที่เป็นเบาหวานจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้นานหลายสิบปี การดูแลสุขภาพของผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหากไม่ควบคุมเบาหวานให้ดีอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเส้นเลือดสมองตีบ โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งล้วนแต่ทำให้สุขภาพรวมไปถึงคุณภาพชีวิตลดลง สำหรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานระยะสุดท้าย อาจเน้นไปที่ความสุข และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ มากกว่าการมุ่งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คือ อาจไม่จำเป็นต้องคุมอาหารหรือใช้ยาที่เคร่งครัดนัก เพื่อให้ผู้ป่วยได้ช่วงชีวิตบั้นปลายที่ดีเท่าที่จะสามารถทำได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา