backup og meta

ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

    การ ฝังเข็ม เป็นหนึ่งในการรักษาตามศาสตร์ดั้งเดิมของทางแพทย์แผนจีน อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอ และเข้ารับการฝังเข็มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น

    ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

    การฝังเข็มอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น การการศึกษาของประเทศจีนในปี พ.ศ. 2561  พบว่า หนูทดลองที่เป็นเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มเป็นระยเวลา 3 สัปดาห์ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เเละ มีระดับอินซูลินที่เพิ่มมากขึ้น

    อีกทั้งยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 วารสารการฝังเข็มทางการแพทย์ ปีพ.ศ. 2559 ได้กล่าวถึง การฝังเข็มรักษาเบาหวานว่า อาจเป็นทางเลือกในการรักษาหนึ่งที่ช่วยเเก้ไขภาวะดื้ออินซูลิน และช่วยกระตุ้นความไวของอินซูลินระยะยาวได้ แต่ทั้งนี้การดูแลตนเองอย่างถูกต้องด้วยการควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกาย วางแผนรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงของภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้

    รูปแบบการฝังเข็มที่แพทย์แผนจีนเลือกใช้ อาจพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนี้

    • การฝังเข็มใช้แรงกระตุ้นจากไฟฟ้า
    • การฝังเข็มแบบสมุนไพร
    • การฝังเข็มตามจุดที่เชื่อมโยง

    ข้อดีของการฝังเข็มที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้

    ผู้ป่วยเบาหวานที่ทำการรักษาด้วยเทคนิคฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีนอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยพบว่าอาจช่วยปกป้องเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ลดภาวะดื้ออินซูลินได้ และมีส่วนช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนหลายชนิด เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) อินซูลิน (Insulin) กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticold) เอพิเนฟรีน (Epinephrine) ได้อีกด้วย

    ความเสี่ยงของการฝังเข็มรักษาเบาหวาน

    ก่อนชจะตัดสินใจรับการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ควรศึกษาความเสี่ยงของการฝังเข็มด้วย โดยความเสี่ยงที่พบได้ อาจมีดังนี้

    • ความเจ็บ
    • อาจมีรอยช้ำตามจุดที่ปักเข็มลงไป
    • เลือดออก

    เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ควรตรวจสอบข้อมูลการบริการ และประวัติของคุณหมอที่ทำการฝังเข็ม เพราะหากผู้ที่ทำการฝังเข็มขาดความเชี่ยวชาญ หรือไม่มีประสบการณ์ นอกจากความเสี่ยงข้างต้นแล้ว ยังอาจเป็นอันตรายถึงเเก่ชีวิตได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา