backup og meta

งานวิจัยเผย แมว มีแนวโน้มสูง ที่จะติดไวรัส COVID-19

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/05/2021

    งานวิจัยเผย แมว มีแนวโน้มสูง ที่จะติดไวรัส COVID-19

    ข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกวันนั้น ทำให้ไม่ว่าใครต่างก็รู้สึกเป็นกังวล และพยายามหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสกับผู้อื่น แต่ล่าสุด มีข่าวที่ทำให้คนรักสัตว์ โดยเฉพาะคนรักแมวนั้นจะต้องตื่นตระหนก เนื่องจากมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า แมวติดโควิด-19 ได้ และอาจมีโอกาสที่จะติดได้มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น

    งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในรายงานวารสารวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลองโอกาสในการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือที่เรารู้จักกันว่า COVID-19 สำหรับสัตว์ที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว ไก่ และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ พบว่า สัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข หมู ไก่ และเป็ด จะมีโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 ได้น้อย แต่ แมว และ เฟอร์เร็ต จะมีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้ โดยเฉพาะแมวที่สามารถติดเชื้อไวรัสนี้ได้ผ่านทางอากาศ

    กรณีตัวอย่างของ แมวติดโควิด-19

    สำหรับกรณีของการติดเชื้อดังกล่าวก็มีให้เห็นก่อนหน้านี้แล้ว อย่างในเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็มีข่าวพบ แมวติดเชื้อโควิด-19 ในฮ่องกง โดยแมวตัวนั้นเป็นสัตว์เลี้ยงของเจ้าของที่ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ก่อนแล้ว และเมื่อทำการตรวจสอบก็พบเชื้อโควิด-19 นี้ในตัวแมวเช่นกัน โดยที่แมวตัวนั้นไม่ได้แสดงอาการอะไรออกมา

    อีกหนึ่งกรณีที่พบคือ เสือตัวหนึ่งในสวนสัตว์ที่กรุงนิวยอร์ก ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซ้ำยังแสดงอาการให้เห็นคือ อาการไอแห้ง ๆ โดยคาดว่าอาจจะติดมาจากผู้ดูแลที่เข้ามาดูแลใกล้ชิด ซึ่งเสือนั้นก็นับว่าเป็นสัตว์ในตระกูลแมวชนิดหนึ่ง และมีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ง่ายกว่าสัตว์ประเภทอื่น

    โควิด-19 สามารถแพร่จากแมวไปสู่คนได้หรือไม่

    แม้ว่างานวิจัยอาจจะพบว่า แมวมีโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 ได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานพบว่าเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่จากสัตว์เลี้ยงไปสู่คน แต่แม้ว่าโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 จากคนไปสู่สัตว์อาจจะมีน้อย อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญก็ยังได้ให้แนะนำในการลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19 จากคนไปสู่สัตว์เลี้ยง

    ผู้ป่วยโควิด-19 ควรกักตัวและแยกห่างจากสัตว์เลี้ยงให้ได้มากที่สุด และควรให้ผู้อื่นเป็นคนดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณแทน หรือหากต้องดูแลเอง ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือก่อนและหลังให้อาหารสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังควรระมัดระวังไม่ให้สัตว์เลี้ยงนั้นเลียเราอีกด้วย ส่วนสำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ในระบบเปิด ควรระมัดระวังและทำความสะอาดตัวสัตว์เลี้ยงให้บ่อยยิ่งขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่เชื้อไวรัสอาจจะติดมากับตัวของสัตว์เลี้ยงได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 19/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา