backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

2

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เบต้าเมทาโซน (Betamethasone)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/10/2023

เบต้าเมทาโซน (Betamethasone) เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ทำงานโดยการแก้ไขการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสภาวะหลายๆ ประการและลดการอักเสบ

ข้อบ่งใช้

ยา เบต้าเมทาโซน (betamethasone) ใช้สำหรับ

ยา เบต้าเมทาโซน (Betamethasone) เป็นยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroid) ทำงานโดยการแก้ไขการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสภาวะหลายๆ ประการและลดการอักเสบ

ยา เบต้าเมทาโซน มักใช้เพื่อรักษาสภาวะบางประการ ลดการทำงานของต่อมหมวกไต (adrenal gland) และอาการอักเสบที่รุนแรง รวมทั้งโรคหอบหืดที่รุนแรง อาการแพ้รุนแรง โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative Colitis) ความผิดปกติของเลือดบางชนิด โรคลูปัส (lupus) โรคเอ็มเอส (Multiple sclerosis) และสภาวะของดวงตาหรือผิวหนังบางชนิด และยังอาจใช้กับโรคมะเร็งบางชนิดได้อีกด้วย เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)

ยานี้ยังอาจมีการใช้สำหรับสภาวะอื่นๆ ตามการตัดสินใจของแพทย์

วิธีการใช้ยาเบต้าเมทาโซน

วัดปริมาณของยาเบต้าเมทาโซนแบบของเหลว ด้วยช้อนหรือถ้วยตวงแบบพิเศษ ไม่ใช่ช้อนโต๊ะธรรมดา หากคุณไม่มีเครื่องมือสำหรับตวงยาควรขอจากเภสัชกร

ใช้ยาตามที่กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่าใช้ยาในขนาดที่มากกว่า หรือใช้นานกว่าที่แพทย์แนะนำ ควรทำตามแนวทางบนฉลากยา

แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาเป็นครั้งคราวเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับผลสูงสุดจากยานี้

ความต้องการยาสเตียรอยด์ของคุณอาจเปลี่ยนแปลง หากคุณมีความเครียดที่ผิดปกติ เช่น อาการป่วยที่รุนแรง เป็นไข้ หรือติดเชื้อ หรือหากคุณต้องผ่าตัดหรือใช้ยาฉุกเฉิน แจ้งให้แพทย์ทราบหากสถานการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบกับคุณ

ยานี้สามารถทำให้คุณมีผลตรวจยาบางชนิดที่ผิดปกติ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาเบต้าเมทาโซน

อย่าหยุดใช้ยาเบต้าเมทาโซนแบบฉับพลัน ไม่เช่นนั้นคุณจะมีอาการถอนยาที่ไม่น่าพึงพอใจ ปรึกษากับแพทย์ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงอาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ยานี้

การเก็บรักษายาเบต้าเมทาโซน

ยาเบต้าเมทาโซนควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเบต้าเมทาโซนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเบต้าเมทาโซนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเบต้าเมทาโซน

คุณไม่ควรใช้ยานี้หากคุณมีอาการแพ้ยาเบต้าเมทาโซน หรือหากคุณมีอาการติดเชื้อราบนร่างกาย

ยาสเตียรอยด์นั้นอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณอ่อนแอลงและทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ยาสเตียรอยด์ยังสามารถทำให้อาการติดเชื้อที่คุณเป็นแย่ลงหรือทำให้อาการติดเชื้อที่คุณเพิ่งเป็นในเร็วๆ นี้กลับมาเป็นอีกครั้ง ก่อนใช้ยานี้ควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับอาการป่วยหรือการติดเชื้อที่ คุณเคยเป็นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

การตั้งครรภ์

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเบต้าเมทาโซนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= พบหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

การให้นมบุตร

ยาเบต้าเมทาโซนสามารถส่งต่อผ่านน้ำนมแม่ และทำอันตรายต่อทารกได้ อย่าใช้ยานี้โดยไม่แจ้งให้แพทย์ทราบว่า คุณกำลังให้นมบุตร

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเบต้าเมทาโซน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ เช่น ผดผื่น หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

แจ้งแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้

  • มีปัญหากับการมองเห็น
  • มีอาการบวม
  • น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • รู้สึกหายใจขัด
  • เป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง
  • มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ
  • มีอาการชัก (convulsions)
  • อุจจาระเป็นเลือดหรือคล้ายยางมะตอย
  • ไอเป็นเลือด
  • เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) คือมีอาการปวดที่รุนแรงที่ช่วงท้องส่วนบนกระจายไปยังหลัง คลื่นไส้และอาเจียน หัวใจเต้นเร็ว
  • โพแทสเซียมต่ำ (สับสน อัตราหัวใจเต้นไม่เท่ากัน กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปัสสาวะเพิ่มขึ้น รู้สึกไม่สบายที่ขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือรู้สึกไม่มีแรง)
  • ความดันโลหิตสูงจนอันตราย (ปวดหัวอย่างรุนแรง มองเห็นไม่ชัด มีเสียงหึ่งภายในหู วิตกกังวล สับสน ปวดหน้าอก หายใจขัด อัตราหัวใจเต้นไม่เท่ากัน มีอาการชัก)

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยลงมาคือ

  • นอนไม่หลับ
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
  • เป็นสิว ผิวแห้ง ผิวบางลง มีรอยช้ำ หรือเปลี่ยนสี
  • บาดแผลหายได้ช้า
  • มีเหงื่อออกมากขึ้น
  • ปวดหัว มึนงง รู้สึกหัวหมุน
  • คลื่นไส้
  • ปวดกระเพาะ
  • ท้องอืด
  • ไขมันในร่างกายเปลี่ยนรูปร่างหรือเปลี่ยนที่ (โดยเฉพาะที่แขน ขา ใบหน้า คอ เต้านม และเอว)

นี่ไม่ใช่รายการของผลข้างเคียงทั้งหมด และอาจจะมีอาการอย่างอื่นเกิดขึ้นได้ ควรติดต่อแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเบต้าเมทาโซนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • แอสไพริน (รับประทานเป็นประจำทุกวัน หรือรับประทานในขนาดยาที่สูง)
  • ยาขับปัสสาวะ หรือยาขับน้ำ (water pill)
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่าง คูมาดิน (Coumadin)
  • ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine) อย่าง เกนกราฟ (Gengraf) นีโอรอล (Neoral) แซนดิมูน (Sandimmune)
  • ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) อย่าง ไนโซรอล (Nizoral)
  • ยาอินซูลินหรือยาสำหรับโรคเบาหวานแบบรับประทาน
  • ยาไรแฟมพิน (Rifampin) อย่าง ไรฟาดิน (Rifadin) ไรฟาเทอร์ (Rifater) ไรฟาเมต (Rifamate) ไรแมคเทน (Rimactane)
  • ยาสำหรับอาการชัก เช่น ยาเฟนิโทอิน (phenytoin) อย่าง ไดแลนทิน (Dilantin) หรือยาฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) อย่าง ลูมินอล (Luminal) ซอลโฟทอน (Solfoton)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเบต้าเมทาโซนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเบต้าเมทาโซนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอาการและโรคเหล่านี้

  • โรคตับ เช่น ตับแข็ง
  • โรคไต
  • ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ
  • โรคเบาหวาน
  • เคยเป็นโรคมาลาเรีย
  • วัณโรค
  • โรคกระดูกพรุน
  • ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myasthenia gravis)
  • ต้อหินหรือต้อกระจก
  • การติดเชื้อเริมที่ดวงตา
  • เป็นแผลในกระเพาะอาหาร โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative Colitis) หรือภาวะอักเสบของกระเปาะลำไส้ใหญ่ (Diverticulitis)
  • โรคซึมเศร้า หรือมีอาการป่วยทางจิต
  • โรคหัวใจวาย
  • ความดันโลหิตสูง

หากคุณมีอาการเหล่านี้ อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยา หรือมีการตรวจสอบเป็นพิเศษ เพื่อจะได้ใช้ยาเบต้าเมทาโซนได้อย่างปลอดภัย

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเบต้าเมทาโซนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคผิวหนัง (dermatological disorders)

อะซิเตท (Acetate) คู่กับฟอสเฟต (phosphate) : 0.2 มล. ต่อตารางเซนติเมตร ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น

ขนาดยาสูงสุด : 1 มล./สัปดาห์

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเบอร์ไซติส (bursitis)

อะซิเตท (Acetate) คู่กับฟอสเฟต (phosphate) (ตามด้วยการให้ยาหลังจากเว้นระยะห่าง 3-7 วัน)

ตาปลาชนิดแข็ง (heloma durum) หรือตาปลาชนิดอ่อน (heloma molle) : 0.25-0.5 มล.

เอ็นที่เท้าอักเสบ (calcaneal spur) : 0.5 มล.

เหนือหัวแม่เท้าติดแข็ง (hallux rigidus) หรือนิ้วเท้าโก่งงอ (digiti quinti varus) : 0.5 มล.

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเกาต์ (gouty arthritis)

อะซิเตท (Acetate) คู่กับฟอสเฟต (phosphate) : 0.5-1 มล. ที่ขาข้างที่มีอาการ โดยเว้นระยะห่าง 3-7 วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาข้อเสื่อม (osteoarthritis)

อะซิเตท (Acetate) คู่กับฟอสเฟต (phosphate)

  • ข้อต่อที่ใหญ่มาก : 1-2 มล.
  • ข้อต่อใหญ่ : 1 มล.
  • ข้อต่อขนาดกลาง : 0.5-1 มล.
  • ข้อต่อเล็ก : 0.25-0.5 มล.

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อต้านการอักเสบ

ยาเม็ดและยาน้ำเชื่อม : รับประทาน 0.6-7.2 มก./วัน

โซเดียมฟอสเฟต (Sodium phosphate) : ฉีดเข้าหลอดเลือดดำสูงถึง 9 มก./วัน.

อะซิเตท (Acetate) คู่กับฟอสเฟต (phosphate) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น : 0.6-9 มก./วัน แบ่งฉีดทุกๆ 12-24 ชั่วโมง

ขนาดยาเบต้าเมทาโซนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กสำหรับต้านการอักเสบ

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ : 0.0175-0.125 มก. เบส/กก./วัน แบ่งฉีดทุกๆ 6-12 ชั่วโมง

รับประทาน : 0.0175-0.25 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6-8 ชั่วโมง

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีด (usp)
  • 30 มก.*/5 มล. (6 มก.*/มล.)
  • ชนิดฉีดปริมาณ 5 มล. แบบใช้หลายครั้ง

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 02/10/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา