backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เมทฟอร์มิน (Metformin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

เมทฟอร์มิน ใช้สำหรับ

ยา เมทฟอร์มิน (Metformin) ใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกาย และอาจจะใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ยานี้ใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยป้องกันความเสียหายต่อไต ตาบอด ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท การสูญเสียแขนและขา และปัญหาเกี่ยวกับระบบการสืบพันธ์

การควบคุมโรคเบาหวานอย่างเหมาะสมนั้น อาจจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลันหรือโรคหลอดเลือดสมอง ยาเมทฟอร์มินทำงาน โดยการช่วยฟื้นฟูการตอบสนองอย่างเหมาะสมของร่างกาย ต่อสารอินซูลินที่ร่างกายผลิตได้ ยานี้ยังช่วยลดปริมาณน้ำตาลที่ตับผลิตขึ้น และน้ำตาลที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้ดูดซึม

ในส่วนนี้จะมีวิธีการใช้ยาที่ไม่ได้อยู่ในฉลากยา ที่ได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญในอเมริกา แต่ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณอาจจะสั่งให้ใช้ได้ หากผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพของคุณสั่งให้คุณใช้ยานี้ ควรใช้ยานี้สำหรับสภาวะที่มีอยู่ในรายการนี้เท่านั้น

ยาเมทฟอร์มิน อาจใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่น การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ยานี้ยังใช้กับผู้หญิงที่เป็นโรคเกี่ยวกับรังไข่บางอย่าง เช่น ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (polycystic ovarian syndrome) ยาเมทฟอร์มิน อาจทำให้รอบเดือนนั้นเป็นปกติมากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการเจริญพันธุ์

วิธีการใช้ยาเมทฟอร์มิน

รับประทานยานี้ตามปกติ คือ วันละ 1 ถึง 3 ครั้ง พร้อมกับอาหาร ดื่มน้ำให้มากพอขณะที่กำลังใช้ยานี้ นอกเสียจากแพทย์จะสั่งให้ทำแบบอื่น

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ การทำงานของไต และการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจจะสั่งให้คุณ เริ่มต้นใช้ยาที่ขนาดต่ำ แล้วจึงค่อยๆเพิ่มขนาดยา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องไส้ปั่นป่วน

แพทย์จะปรับขนาดยาของคุณขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อหาขนาดยาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ควรทำตามแนวทางการใช้ยาของแพทย์อย่างระมัดระวัง

ใช้ยาเป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากยา เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

หากคุณใช้ยาต้านเบาหวานอยู่แล้ว เช่น ยาคลอโพรพาไมด์ (chlorpropamide) ควรทำตามคำแนะนำของหมอในการหยุดใช้ยาเก่า/การใช้ยาเก่าต่อไป และเริ่มใช้ยาเมทฟอร์มิน

ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำตามที่แพทย์กำหนด ติดตามผลและแจ้งผลให้แพทย์ทราบ และควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงหรือต่ำจนเกินไป แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือวิธีการรักษาของคุณ

การเก็บรักษายา เมทฟอร์มิน

ยาเมทฟอร์มินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง

ยาเมทฟอร์มินบางยี่ห้อ อาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเมทฟอร์มินลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เมทฟอร์มิน

ก่อนใช้ยาเมทฟอร์มิน

  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยาเมทฟอร์มิน หรือส่วนผสมในยาเมทฟอร์มินรูปแบบน้ำหรือรูปแบบเม็ด หรือแพ้ต่อยาอื่นๆ โปรดสอบถามเภสัชกรหรือตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตเกี่ยวกับรายชื่อของส่วนผสม
  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร โดยเฉพาะยาอะเซตาโซลาไมด์ (acetazolamide) อย่างไดอามอกซ์ (diamox) ยาอะมิโลไรด์ (amiloride) อย่างมิดามอร์ในโมดูเรติก (midamor, in moduretic) ตัวยับยั้งแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (angiotensin-converting enzyme inhibitors) หรือตัวยับยั้งเอซีอี เช่น ยาเบนทาเซพริล (benazepril) อย่างโลเทนซิน (lotensin) ยาแคปโทพริล (captopril) อย่างคาโปเทน (capoten) ยาเอนาลาพริล (enalapril) อย่างวาโซเทค (vasotec) โฟซิโนพริล (fosinopril) อย่างโมโนพริล (monopril) ยาลิซิโนพริล (lisinopril) อย่างพรินิวิล (prinivil) หรือเซสทริล (zestril) ยาโมเอซิพริล (moexipril) อย่างยูนิวาสค์ (univasc) ยาเพรินโดพริล (perindopril) อย่างเอซีออน (aceon) ยาควินาพริล (quinapril) อย่างแอคคิวพริล (accupril) ยารามิพริล (ramipril) อย่างอัลเทส (altace) และยาทรานโดลาพริล (trandolapril) อย่างมาวิก (mavik) ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (beta-blockers) เช่น ยาเอเทโนลอล (atenolol) อย่างเทนอร์มิน (tenormin) ยาลาเบทาลอล (labetalol) อย่างนอร์โมดิน (normodyne) ยาเมโทโพรลอล (metoprolol) อย่างโลเพรสเซอร์ (lopressor) หรือโทพรอล เอ็กซ์แอล (toprol xl) ยานาโดลอล (nadolol) อย่างคอร์การ์ด (corgard) และยาโพรพราโนลอล (propranolol) อย่างอินเดราล (inderal) ยาในกลุ่มแคลเซียมชาแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blockers) เช่น ยาแอมโลดิพีน (amlodipine) อย่างนอร์วาส (norvasc) ยาดิลไทอาเซม (diltiazem) อย่างคาร์ดิเซม (cardizem) ดิลาคอร์ (dilacor) ไทอาแซค (tiazac) และอื่นๆ ยาเฟโลดิพีน (felodipine) อย่างเพลนดิล (plendil) ยาอิสราดิพีน (isradipine) อย่างไดนาเซิร์ก (dynacirc) ยาไนคาร์ดิพีน (nicardipine) อย่างคาร์เดน (cardene) ยานิเฟดิพีน (nifedipine) อย่างอะดาแลต (adalat) หรือโพรคาร์เดีย (procardia) ยานิโมดิพีน (nimodipine) อย่างนิโมท็อป (nimotop) ยานิโซลดิพีน (nisoldipine) อย่างซูลาร์ (sular) และยาเวราพิมิล (verapamil) อย่างคาแลน (calan) ไอโซปทิน (isoptin) หรือเวเรแลน (verelan) ยาซิเมทิดีน (cimetidine) อย่างทากาเมต (tagamet) ยาไดจอกซิน (digoxin) อย่างลานอกซิน (lanoxin) ยาขับปัสสาวะ (diuretics) หรือยาขับน้ำ (‘water pills’) ยาฟูโซเซไมด์ (furosemide) อย่างลาซิก (lasix) ฮอร์โมนทดแทนบำบัด อินซูลิน (insulin) หรือยาอื่นสำหรับโรคเบาหวาน ยาไอโซไนอาซิด (isoniazid) ยารักษาโรคหอบหืดและยาแก้หวัด ยารักษาอาการป่วยทางจิตและคลื่นไส้ ยารักษาโรคไทรอยด์ ยามอร์ฟีน (morphine) อย่างเอ็มเอส คอนทิน (ms contin) และอื่นๆ ยาไนอาซิน (niacin) ยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน ยาสเตียรอยด์แบบรับประทาน (oral steroids) เช่น ยาเดกซาเมทาโซน (dexamethasone) อย่างเดราโดรน (decadron) หรือเดกโซน (dexone) ยาเมทิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) อย่างเมโดรน (medrol) และยาเพรดนิโซน (prednisone) อย่างเดลทาโซน (deltasone) ยาเฟนีโทอิน (phenytoin) อย่างดิลแลนทิน (dilantin) หรือเฟนีเทก (phenytek) ยาโพรไคนาไมด์ (procainamide) อย่างโพรแคนบิด (procanbid) ยาควินิดีน (quinidine) ยาควินิน (quinine) ยารานิทิดีน (ranitidine) อย่างแซนเทค (zantac) ยาโทพิราเมต (topiramate) อย่างโทพาแมกซ์ (topamax) ยาไตรแอมเทอรีน (triamterene) อย่างไดอาไซด์ (dyazide) แมกไซด์ (maxzide) และอื่นๆ ยาไตรเมโทพริม (trimethoprim) อย่างพริมโซล (primsol) ยาแวนโคมัยซิน (vancomycin) อย่างแวนโคซิน (vancocin) หรือโซนิซาไมด์ (zonisamide) อย่างโซนแกรน (zonegran) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคใดๆ
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ระหว่างที่กำลังใช้ยาเมทฟอร์มินโปรดติดต่อแพทย์ในทันที
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณรับประทานอาหารน้อย หรือออกกำลังกายมากกว่าปกติ อาการเหล่านี้อาจจะส่งผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดของคุณได้ แพทย์จะให้คำแนะนำหากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเมทฟอร์มินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เมทฟอร์มิน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก (lactic acidosis) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดการสะสมของกรดแล็กติกภายในร่างกาย และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ภาวะเลือดเป็นกรดนั้นอาจเริ่มเกิดขึ้นช้าๆ และค่อยๆ รุนแรงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โปรดรับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการของภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติกแม้แต่อาการที่เบาที่สุด เช่น

  • ปวดกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • รู้สึกชาหรือรู้สึกเย็นที่แขนและขา
  • หายใจติดขัด
  • รู้สึกวิงเวียน หน้ามืด เหนื่อยล้า หรืออ่อนแรงมาก
  • ปวดท้อง คลื่นไส้และอาเจียน
  • หัวใจเต้นช้าหรือไม่สม่ำเสมอ

โปรดติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่นๆ เช่น

  • รู้สึกหายใจไม่อิ่ม แม้จะเป็นแค่การออกกำลังกายระดับเบา
  • บวม หรือมีน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อตัว มีอาการของไข้หวัดใหญ่

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าอาจมีดังนี้

  • ปวดหัวหรือปวดกล้ามเนื้อ
  • อ่อนแรง
  • คลื่นไส้ระดับเบา อาเจียน ท้องร่วง มีแก๊ส ปวดท้อง

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเมทฟอร์มิน อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ โดยเฉพาะ

  • ยาฟูโรซีไมด์ (Furosemide) อย่างลาซิก (Lasix)
  • ยานิเฟดิพีน (Nifedipine) อย่างอะดาแลท (Adalat) หรือโพรคาร์เดีย (Procardia)
  • ยาซิเมทิดีน (Cimetidine) อย่างทากาเมต (Tagamet) หรือยารามิทิดีน (ranitidine) อย่างแอซเทค (Zantac)
  • ยาอะมิโลไรด์ (Amiloride) อย่างมิดามอร์ (Midamor) หรือยาไตรแอมเทอรีน (triamterene) อย่างไดเรเนียม (Dyrenium)
  • ยาไดจอกซิน (Digoxin) อย่างลานอกซิน (Lanoxin)
  • ยามอร์ฟีน (Morphine) อย่างเอ็มเอส คอนติน (MS Contin) คาเดียน (Kadian) หรือโอรามอร์ฟ (Oramorph)
  • ยาโพรไคนาไมด์ (Procainamide) อย่างงโพรแคน (Procan) โพรเนสทิล (Pronestyl) หรือโพรแคนบิด (Procanbid)
  • ยาควินิดีน (Quinidine) อย่างควินจี (Quin-G) หรือยาควินีน (quinine) อย่างควาลาควีน ((Qualaquin)
  • ยาไตรเมโทพริม (Trimethoprim) อย่างโพรโลพริม (Proloprim) พริมซอล (Primsol) แบคทริม (Bactrim) โคทริม (Cotrim) หรือเซปตรา (Septra)
  • ยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin) อย่างแวนโคซิน (Vancocin) หรือไลโฟซิน (Lyphocin)

คุณอาจจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ (hyperglycemia) หากคุณใช้ยาเมทฟอร์มินร่วมกับยาที่สามารถเพิ่มระดับของน้ำตาลในเลือดได้ เช่น

  • ยาไอโซนาซิด (Isoniazid)
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยาสเตียรอยด์ (Steroids) อย่างเพรดนิโซน (prednisone) และอื่นๆ
  • ยารักษาโรคหัวใจหรือความดันโลหิต อย่างคาร์เทีย (cartia) คาร์ดิเซม (cardizem) โคเวรา (covera) ไอโซปทิน (isoptin) เวเรแลน (verelan) และอื่นๆ
  • ยาไนอาซิน (Niacin) อย่างแอดวิคอร์ (advicor) ไนแอสแพน (niaspan) ไนอาคอร์ (niacor) ซิมคอร์ (simcor) สโลไนอาซิน (slo-niacin) และอื่นๆ
  • ยาฟีโนไทอาซีน (Phenothiazines) อย่างคอมพาซีน (compazine) และอื่นๆ
  • ยารักษาโรคไทรอยด์ อย่างซินทรอยด์ (synthroid) และอื่นๆ
  • ยาคุมกำเนิดและยาฮอร์โมนอื่นๆ
  • ยารักษาอาการชัก อย่างดิแลนติน (dilantin) และอื่นๆ
  • ยาลดความอ้วนหรือยารักษาโรคหอบหืด ยาแก้หวัด หรือยาแก้แพ้

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเมทฟอร์มินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเมทฟอร์มินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • ดื่มสุรามากเกินไป
  • ภาวะต่อมหมวกไตทำงานน้อยเกินไป
  • ภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อยเกินไป
  • ภาวะขาดสารอาหาร
  • สภาพร่างกายอ่อนแอ
  • สภาวะอื่นๆ ที่อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง — ผู้ป่วยที่มีสภาวะนี้อาจมีโอกาสจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้มากกว่าขณะที่กำลังใช้ยาเมทฟอร์มิน
  • ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
  • ภาวะขาดวิตามินบี 12 — ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้สภาวะนี้รุนแรงขึ้น
  • โรคหัวใจวาย แบบเฉียบพลันหรือไม่คงที่
  • ภาวะขาดน้ำ
  • โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia)
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • ภาวะเลือดเป็นพิษ (Sepsis)
  • ช็อค (ความดันโลหิตต่ำ การหมุนเวียนของเลือดไม่ดี) — อาจเกิดสภาวะหายากอย่างภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก (lactic acidosis) โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณมีข้อกังวลในเกี่ยวกับเรื่องนี้
  • ภาวะเลือดเป็นกรด จากคีโตนจากเบาหวาน (Diabetic ketoacidosis)
  • โรคไตระดับรุนแรง
  • ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ (Metabolic acidosis)
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 — ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะนี้
  • เป็นไข้
  • การผ่าตัด
  • อาการบาดเจ็บสาหัส — สภาวะนี้อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมน้ำตาลในเลือดชั่วคราวและแพทย์อาจต้องการรักษาคุณด้วยอินซูลิน

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยา เมทฟอร์มิน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  • ยาออกฤทธิ์ทันที
  • ขนาดยาเริ่มต้น 500 มก. รับประทานวันละสองครั้ง หรือ 850 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • การปรับขนาดยา เพิ่มขนาดยา 500 มก. ทุกสัปดาห์ หรือ 850 มก. ทุกๆ 2 สัปดาห์ เท่าที่สามารถทนได้
  • ขนาดยาปกติ 2,000 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุด 2,550 มก. ต่อวัน
  • ยาออกฤทธิ์นาน
  • ขนาดยาเริ่มต้น 500 ถึง 1000 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • การปรับขนาดยา เพิ่มขนาดยา 500 มก. ทุกสัปดาห์เท่าที่สามารถทนได้
  • ขนาดยาปกติ 2,000 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุด 2,500 มก. ต่อวัน
  • ขนาดยา เมทฟอร์มิน สำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อายุ 10 ปีขึ้นไป

    • ยาออกฤทธิ์ทันที
    • ขนาดยาเริ่มต้น 500 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
    • การปรับขนาดยา เพิ่มขนาดยา 500 มก. ทุกสัปดาห์เท่าที่สามารถทนได้
    • ขนาดยาปกติ 2,000 มก. ต่อวัน
    • ขนาดยาสูงสุด 2,000 มก. ต่อวัน

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ดออกฤทธิ์นานสำหรับรับประทาน 500 มก. 1,000 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา