backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เอสโตรเจน (Estrogens)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

เอสโตรเจน (Estrogens)

ข้อบ่งใช้

ยา เอสโตรเจน ใช้สำหรับ

ยาเอสโตรเจน (Estrogens) ใช้สำหรับสภาวะดังต่อไปนี้

  • อาการที่เกียวข้องกับหลอดเลือด (vasomotor symptoms) ระดับปานกลางถึงรุนแรง ในวัยหมดประจำเดือน
  • ภาวะช่องคลอดแห้ง (Vulvular and vaginal atrophy)
  • ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ (Female hypogonadism)
  • การทำหมันในผู้หญิง (Female castration) หรือภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด (primary ovarian failure)
  • ใช้ในมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostatic carcinoma)
  • เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในสตรีวัยหมดประจำเดือน
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ

วิธีการใช้ยาเอสโตรเจน

ยาเอสโตรเจนเป็นยาในรูปแบบเม็ดสำหรับรับประทาน โดยปกติสามารถรับประทานพร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากวันละครั้ง ในบางครั้งอาจรับประทานยาเอสโตรเจนทุกวัน และบางครั้งอาจรับประทานตามกำหนดการหมุนเวียน ที่สับเปลี่ยนระหว่างการรับประทานยาเอสโตรเจน กับช่วงที่ไม่ต้องรับประทานยา เมื่อใช้ยาเอสโตรเจนเพื่อบรรเทาอาการของโรคมะเร็ง มักจะรับประทานยาวันละ 3 ครั้ง รับประทานยาเอสโตรเจนในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรทำตามแนวทางการใช้ยาบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด และสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร หากมีส่วนที่ไม่เข้าใจ รับประทานยาเอสโตรเจนตามที่กำหนด อย่ารับประทานมากกว่า หรือน้อยกว่าที่แพทย์กำหนด

แพทย์อาจเริ่มต้นรักษาที่ยาขนาดต่ำ แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดยา หากอาการยังรบกวนคุณอยู่ หรืออาจลดขนาดยา หากสามารถควบคุมอาการได้แล้ว ปรึกษากับแพทย์ว่า ยาเอสโตรเจนนั้นออกฤทธิ์กับคุณได้ดีแค่ไหน

ขอข้อมูลของผลิตภัณฑ์จากเภสัชกรหรือแพทย์

การเก็บรักษายาเอสโตรเจน

ยาเอสโตรเจนควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเอสโตรเจนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเอสโตรเจนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เอสโตรเจน

ก่อนใช้ยาเอสโตรเจน

  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยาเอสโตรเจนสำหรับรับประทานบางยี่ห้อ ยาเอสโตรเจนบางรูปแบบ ยาอื่นๆ หรือส่วนประกอบในยาเม็ดเอสโตรเจน หากคุณจะรับประทานยาเม็ดยี่ห้อเอสเทรส® (estrace®) แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยาแอสไพรินหรือ ทาร์ทราซีน (tartrazine) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งสีอาหาร สอบถามเภสัชกรหรือตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ เพื่อดูรายชื่อของส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ในยาเอสโตรเจนยี่ห้อที่คุณรับประทาน
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ หรือมีแผนว่าจะใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน และอาหารเสริม โดยเฉพาะยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) อย่าง คอร์ดาโรน (cordarone) หรือพาเซโรน (pacerone) ยาต้านเชื้อราบางชนิด เช่น ยาไอทราโคนาโซล (itraconazole) อย่าง สปอรานอกซ์ (sporanox) และยาคีโตโคนาโซล (ketoconazole) อย่าง ไนโซรอล (nizoral) ยาอะเพรบพิแทนท์ (aprepitant) อย่าง อีเมนด์ (emend) ยาคาร์บามาเซพีน (carbamazepine) อย่าง คาร์บาทอล (carbatrol) หรือเอพิทอล (epitol) หรือเทเกรทอล (tegretol) ยาไซเมทิดีน (cimetidine) อย่าง ทากาเมต (tagamet) ยาคลาริโทรมัยซิน (clarithromycin) อย่าง ไบอาซิน (biaxin) ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) อย่าง นีโอรอล (neoral) หรือแซนด์อิมมูน (sandimmune) ยาเดกซาเมทาโซน (dexamethasone) อย่าง เดคาดรอน (decadron) หรือเดกซ์แพค (dexpak) ยาดิลไทอะเซม (diltiazem) อย่างคาร์ดิเซม (cardizem) หรือไดลาคอร์ (dilacor) หรือไทอาแซค (tiazac) และอื่นๆ ยาอิริโทรมัยซิน (erythromycin) อย่างอิริโทรซิน (erythrocin) ยาฟลูออกซิทีน (fluoxetine) อย่าง โพรแซค (prozac) หรือซาราเฟม (sarafem) ยาฟลูวอกซามีน (fluvoxamine) อย่าง ลูวอกซ์ (luvox) ยากริซีโอฟูลวิน (griseofulvin) อย่าง ฟูลไวซิน (fulvicin) หรือกริฟูลวิน (grifulvin) หรือกริสเพก (gris-peg) ยาโลวาสแตติน (lovastatin) อย่าง อัลโทคอร์ (altocor) หรือเมวาคอร์ (mevacor) ยาสำหรับไวรัสเอชไอวี (human immunodeficiency virus) หรือโรคเอดส์ (acquired immunodeficiency syndrome) เช่น ยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) อย่าง เรยาทาส (reyataz) ยาดีลาเวอร์ดีน (delavirdine) อย่าง เรสคริปทอร์ (rescriptor) ยาเอฟฟาไวเร็นซ์ (efavirenz) อย่าง ซุสทิวา (sustiva) ยาอินดินาเวียร์ (indinavir) อย่าง คริซิแวน (crixivan) ยาโลปินาเวียร์ (lopinavir) ในคาเลทรา (in kaletra) ยาเนวฟินนาเวียร์ (nelfinavir) อย่าง ไวราเซป (viracept) ยาเนวิราปีน (nevirapine) อย่าง ไวรามูน (viramune) ยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่าง นอร์เวียร์ (norvir) ในคาเลทรา (in kaletra) และยาซาควินาเวียร์ (saquinavir) อย่าง ฟอโทแวส (fortovase) หรืออินไวราส (invirase) ยาสำหรับโรคไทรอยด์ ยาเนฟาโซโดน (nefazodone) ยาฟีโนบาร์บิทัล (phenobarbital) ยาเฟนิโทอิน (phenytoin) อย่าง ไดลันทิน (dilantin) หรือเฟนีเทก (phenytek) ยาไรฟาบิวติน (rifabutin) อย่าง ไมโซบูติน (mycobutin) ยาไรแฟมพิซิน (rifampin) อย่าง ไรฟาดิน (rifadin) หรือไรแมคเทน (rimactane) ในไรฟาเมต (in rifamate) ยาเซอร์ทราลีน (sertraline) อย่าง โซลอฟ (zoloft) ยาโทรลีแอนโดมัยซิน (troleandomycin) อย่าง ทาโอ (tao) ยาเวอราปามิล (verapamil) อย่าง คาลัน (calan) หรือโคเวรา (covera) หรือไอโซปทิน (isoptin) หรือเวเรแลน (verelan) และยาซาฟิรลูคาสท์ (zafirlukast) อย่าง แอคโซเลต (accolate) แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาของคุณ หรือเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับสมุนไพรที่คุณใช้ โดยเฉพาะสมุนไพรเซนต์จอห์นวอร์ต
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีหรือเคยมีอาการผิวหรือดวงตาเป็นสีเหลือง ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ หรือขณะที่กำลังรักษาด้วยยาเอสโตรเจน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) มีเนื้องอกมดลูก (uterine fibroids) เป็นก้อนเนื้องอกภายในมดลูกที่ไม่ใช่มะเร็ง โรคหอบหืด ปวดหัวไมเกน อาการชัก พอร์ฟิเรีย (porphyria) ซึ่งเป็นอาการที่มีสารสะสมในเลือดอย่างผิดปกติ และทำให้เกิดปัญหาที่ผิวหรือระบบประสาท มีแคลเซียมในเลือดสูงมากหรือน้อยมาก หรือโรคไทรอยด์ โรคตับ โรคไต โรคถุงน้ำดี หรือโรคตับอ่อน
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยาเอสโตรเจน ควรติดต่อแพทย์ในทันที
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ย งและประโยชน์ในการใช้ยาเอสโตรเจน หากคุณมีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป ผู้หญิงสูงอายุมักจะไม่ควรรับประทานยาเอสโตรเจน เว้นแต่ว่าจะรับประทานยาฮอร์โมนอื่นด้วย ยาเอสโตรเจนแบบรับประทาน ที่รับประทานโดยไม่มีฮอร์โมนอื่นนั้น ไม่ปลอดภัย หรือมีประสิทธิภาพเท่ากับยาอื่น ที่ใช้เพื่อรักษาอาการเดียวกัน
  • หากคุณใช้ยาเอสโตรเจนเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีอื่นในการป้องกันโรค เช่น การออกกำลังกายและรับประทานวิตามินดี และ/หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเอสโตรเจนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เอสโตรเจน

ผลข้างเคียงมีดังนี้คือ อาการเลือดออกผิดปกติ อาเจียน คลื่นไส้ เจ็บเต้านม น้ำหนักเพิ่ม คั่งน้ำ ปวดหัว ซึมเศร้า

ผู้ชายอาจมีอาการ ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (Gynaecomastia) เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (impotence)

โอกาสในการเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต การบำบัดทดแทนฮอร์โมนเพียงอย่างเดียว (Unopposed replacement therapy) สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนนั้น มีความเกี่ยวข้องกันการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งเต้านม

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเอสโตรเจนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ โดยเฉพาะยาไรแฟมพิซิน ยาบาบิทูเรท ซึ่งจะเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึมของเอสโตรเจนได้

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเอสโตรเจนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเอสโตรเจนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

สภาวะดังต่อไปนี้อาจส่งผลกระทบกับยาได้ แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะโรคหอบหืด โรคลมชัก (Epilepsy) ปวดหัวไมเกรน มีความบกพร่องของหัวใจหรือไต โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disorders) โรคเบาหวาน ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcaemia) โรคถุงน้ำดี (gall bladder disease) โรคพอร์ฟิเรีย (porphyria)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเอสโตรเจนสำหรับผู้ใหญ่

รับประทาน:

อาการปรับขนาดหลอดเลือดที่เกี่ยวข้องกับวัยหมดประจำเดือนระดับปานกลางถึงรุนแรง

  • ผู้ใหญ่ : 45 มก./วัน อาจเพิ่มขึ้นถึง 1.25 มก./วัน หยุดใช้ยาเอสโตรเจนโดยเว้นช่วง 3-6 เดือน
  • ภาวะช่องคลอดเสื่อม

    • ผู้ใหญ่ : 3 มก./วัน

    ภาวะฮอร์โมนเพศหญิงต่ำ

    • ให้ยาวนเป็นรอบ อาจปรับขนาดยาโดยเว้นช่วง 6-12 เดือน เพิ่มการรักษาด้วยยาโปรเจสติน (progestin) เพื่อรักษาระดับของความหนาแน่นของกระดูกเมื่อโครงกระดูกเจริญเติบโตเต็มที่

    การทำหมันในผู้หญิงหรือภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด

    • ผู้ใหญ่ : 25 มก./วัน ให้ยาวนเป็นรอบ ปรับขนาดยาขึ้นกับการตอบสนองของผู้ป่วย สำหรับการประคับประคองควรปรับใช้ขนาดยาต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพ

    เพื่อการรักษาบรรเทาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

    • ผู้ใหญ่ : 25-2.5 มก. 3 ครั้ง/วัน

    เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือน

    • ผู้ใหญ่ : เริ่มต้น : 0.3 มก./วัน ให้ยาวนเป็นรอบหรือทุกวัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของผู้ป่วย ปรับขนาดยาโดยขึ้นอยุ่กับความหนาแน่นของกระดูกและการตอบสนองทางการแพทย์ ควรใช้ขนาดยาต่ำที่สุดเท่าที่มีประสิทธิภาพ

    ฉีดยา      

    มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติ

    • ผู้ใหญ่ : 25มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดหรือเข้ากล้ามเนื้อ อาจให้ซ้ำภายใน 6-12 ชั่วโมงหากจำเป็น การรักษาควรตามด้วยการรับประทานยาคุมกำเนิดขนาดต่ำ

    ขนาดยาเอสโตรเจนสำหรับเด็ก

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้ สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ด : 1 มก. 2 มก.
    • ยาเม็ด : 0.3 มก. 0.625 มก. 1.25 มก.
    • ยาเจล : 0.1%/1 กรัม 0.06%/5 กรัม
    • แผ่นแปะยา : 0.025 มก. 0.05 มก. 0.1 มก. 1.5 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา