backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ (Tiotropium Bromide)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ (Tiotropium Bromide)

ข้อบ่งใช้

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ ใช้สำหรับ

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ (Tiotropium Bromide) ใช้ในการรักษาโรคปอด เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ หรือถุงลมโป่งพอง จำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการหายใจติดขัด ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจทำให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ จัดอยู่ในกลุ่มของยาแอนติโคลิเนอร์จิก (anticholinergics) หากได้รับการแก้ไขปัญหาทางเดินหายใจได้อย่างถูกขั้นตอนก็จะสามารถช่วยประหยัดเวลาในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ได้

ผลของการใช้ไทโอโทรเปียม โบรไมด์จะยังไม่ออกฤทธิ์ในทันทีไม่ทำงานในทันทีและไม่ควรใช้เพื่อบรรเทาการหายใจแบบฉับพลัน หากเกิดอาการหายใจติดขัด ให้ใช้ยาพ่นบรรเทาอาการฉับพลัน เช่น ยาอัลบูเทอรอล (albuterol) หรือที่เรียกว่ายาซัลบูทามอล (salbutamol) ในบางประเทศ ตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกำหนด

วิธีการใช้ไทโอโทรเปียม โบรไมด์

  • หันขวดสเปรย์ออกจากใบหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ละอองเข้าสู่ดวงตา พ่นเข้าทางปากตามที่แพทย์แนะนำ โดยปกติคือ พ่นสเปรย์ 2 ครั้ง ต่อวัน ไม่ควรพ่นยาเกิน 2 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง
  • พ่นยาอย่างระมัดระวังป้องกันไม่ให้เข้าสู่ดวงตา เพราะอาจทำให้มีอาการปวดหรือระคายเคืองที่ดวงตา มองเห็นไม่ชัดชั่วคราว
  • บ้วนปากทันทีหลักจากพ่นยาเพื่อป้องกันอาการปากแห้งและระคายเคืองในลำคอ
  • หากมีการใช้ยาพ่นอื่นร่วมด้วย ควรรออย่างน้อย 1 นาที จากนั้นค่อยใช้ยาตัวถัดไป
  • ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน
  • ไม่ควรเพิ่มขนาดยา หรือใช้ยาบ่อยกว่ากำหนด นอกจากอาการจะไม่หายเร็วขึ้นแล้วยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจะเพิ่มขึ้น
  • ทำความสะอาดที่เป่าปากของเครื่องพ่นยาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งตามที่กำหนด
  • เรียนรู้ว่าเครื่องพ่นยาแบบไหนที่ควรใช้ทุกวัน และยาชนิดไหนที่ควรใช้เมื่อการหายใจของคุณรุนแรงแบบฉับพลัน

สอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเรียนรู้วิธีการรักษาด้วยตัวเองในเบื้องต้น เมื่อเกิดอาการหายใจผิดปกติ แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง

การเก็บรักษาไทโอโทรเปียม โบรไมด์

  • ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • โปรดเก็บให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามแพทย์ที่ทำการจ่ายยาให้เสมอ เพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ไทโอโทรเปียม โบรไมด์

  • แจ้งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทราบถึงโรคประจำตัวและยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกายโดยเฉพาะประวัติคนในครอบครัวที่มีการรักษาโรคต้อหิน ปัสสาวะติดขัด ต่อมลูกหมากโต และโรคไต
  • เกิดอาการวิงเวียนศรีษะหรือมองเห็นไม่ชัด
  • งดใช้ยานพาหนะและกิจกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพ จนกว่าจะสามารถได้รับการอนุญาตจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • จำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงในการเกิดอาการปัสสาวะติดขัดขณะใช้ ไทโอโทรเปียม โบรไมด์

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีมีครรภ์ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยานี้

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ไทโอโทรเปียม โบรไมด์

  • อาจเกิดอาการปากแห้งและวิงเวียนศรีษะ
  • ปัสสาวะติดขัด
  • การหายใจอาจแย่ลงอย่างรุนแรง และฉับพลัน หากคุณมีอาการหายใจแย่ลง ควรใช้ยาพ่นบรรเทาอาการฉับพลันและรับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที
  • ดวงตามีอาการปวด บวม หรือแดง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง (เช่น มองเห็นรุ้งรอบๆ แสงในตอนกลางคืน มองเห็นไม่ชัด)
  • ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ)

หากมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นจนถึงขั้นรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญทันทีเพื่อได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่มีการใช้ร่วมด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับไทโอโทรเปียม โบรไมด์ ได้แก่ ยาแอนติโคลิเนอร์จิกอื่นๆ (anticholinergics) เช่น ยาไอปราโทรเปียม (ipratropium) หรือยาอะโทรปีน (atropine) ควรแจ้งรายละเอียดให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกรที่จำหน่ายทราบเพิ่มเติม ถึงยาที่กำลังใช้ร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าหยุดหรือเริ่มการใช้โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา ที่จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรง โปรดปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไทโอโทรเปียม โบรไมด์อาจส่งผลให้โรคที่คุณเป็นอยู่แย่ลง หรือทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบถึงสภาวะโรคประจำตัวของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดไทโอโทรเปียม โบรไมด์สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease)

ยาผงสำหรับพ่นไทโอโทรเปียม โบรไมด์รูปแบบแคปซูลแข็ง

  • 18 ไมโครกรัม (พ่นยา 2 ครั้ง) พ่นยาเข้าปากวันละครั้ง โดยใช้เครื่องพ่นยาแฮนด์ดิเฮเลอร์ (HandiHaler)

ยาสารละลายสำหรับพ่นไทโอโทรเปียม โบรไมด์

  • 5 ไมโครกรัม (พ่นยา 2 ครั้ง) พ่นยาเข้าปากวันละครั้ง

การใช้งาน

เพื่อการควบคุมอาการในระยะยาวสำหรับหลอดลมหดตัว (bronchospasm) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคถุงลมโป่งพอง เพื่อลดอาการกำเริบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหอบหืด (Asthma) – ควบคุมอาการ (Maintenance)

  • 2.5 ไมโครกรัม (พ่นยา 1.25 ไมโครกรัม 2 ครั้ง) พ่นยาเข้าปากวันละครั้ง

คำแนะนำ:

  • อาจต้องใช้เวลานานกว่า 4 ถึง 8 สัปดาห์ ในการเห็นประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยา
  • การใช้งาน : เพื่อการควบคุมอาการในระยะยาวสำหรับโรคหอบหืด
  • การปรับขนาดยาสำหรับไต

    • ไตบกพร่องระดับต่ำ (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ [CrCl] 60 มล./นาที หรือมากกว่านั้น): ไม่มีการปรับปริมาณยาที่แนะนำควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน
    • ไตบกพร่องระดับปานกลางถึงรุนแรง (ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์น้อยกว่า 60 มล./นาที): ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

    การปรับขนาดยาสำหรับตับ

    ไม่มีการปรับขนาดยาที่แนะนำ

    คำแนะนำอื่นๆ

    คำแนะนำในการใช้งาน

    • ยาพ่นเสปรย์ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ควรใช้กับเครื่องพ่นยาเรสพิแมต (Respimat inhaler) เท่านั้นและไม่ควรใช้ยาอื่นกับเครื่องพ่นยานี้
    • แคปซูลไทโอโทรเปียม โบรไมด์ใช้สำหรับพ่นภายในปากไม่ควรกลืนยา ควรใช้ยาแคปซูลกับเครื่องพ่นยาแฮนด์ดิเฮเลอร์เท่านั้น
    • จำเป็นต้องพ่นยานำก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าได้ขนาดยาที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง
    • ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อให้เข้าใจวิธีการใช้ยาอย่างสมบูรณ์
    • ไม่ควรใช้ยานี้เพื่อเริ่มต้นรักษาหลอดลมหดเกร็งฉับพลัน

    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

    • ผู้ป่วยควรแจ้งหากมีสัญญาณหรืออาการของโรคต้อหิน เช่น มีอาการปวดหรือไม่สบายที่ดวงตา มองเห็นไม่ชัด มองเห็นวงกลมหรือภาพสีที่มีความเกี่ยวข้องกับอาการตาแดงจากเพราะเลือดคลั่ง กระจกตาบวมน้ำ และอาการปัสสาวะไม่ออก เช่น ปัสสาวะติดขัด
    • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยาเข้าสู่ดวงตาเพราะอาจทำให้มองเห็นไม่ชัดและทำให้ม่านตาขยายตัวได้
    • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศรีษะ ง่วงซึม และมองเห็นไม่ชัด ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือใช้ยานพาหนะ

    ขนาดยาไทโอโทรเปียม โบรไมด์สำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหอบหืด (Asthma) – ควบคุมอาการ (Maintenance)

    อายุ 12 ปีขึ้นไป:

    • 2.5 ไมโครกรัม (พ่นยา 1.25 ไมโครกรัม 2 ครั้ง) พ่นยาเข้าปากวันละครั้ง

    คำแนะนำ:

    • อาจต้องใช้เวลานานกว่า 4 ถึง 8 สัปดาห์ ยาถึงออกฤทธิ์และส่งผลเต็มที่กับการทำงานของปอด
    • การใช้งาน: เพื่อการรักษาในระยะยาวสำหรับโรคหอบหืด

    ข้อควรระวัง

    • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง : ยังไม่มีการพิสูจน์ได้ถึงความปลอดภัยในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี
    • โรคหอบหืด: ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 12 ปี

    รูปแบบของยา

    รูปแบบของยามี ดังนี้

    • ยาแคปซูลสำหรัยพ่นยา
    • ยาพ่นสำหรับพ่นยา

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา