backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ดิลไทอะเซม (Diltiazem)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้ ดิลไทอะเซม

ยา ดิลไทอะเซม ใช้สำหรับ

ยา ดิลไทอะเซม (Diltiazem) ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง และเพื่อป้องกันอาการปวดเค้นในหน้าอก (angina) การลดระดับความดันโลหิตที่เพิ่มสูง และช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไต หากใช้เป็นประจำ ยา ดิลไทอะเซม ยังสามารถลดจำนวนและความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการออกกำลังกาย

ยา ดิลไทอะเซม เป็นยาในกลุ่มแคลเซียมแชแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blocker) ทำงานโดยการคลายตัวของหลอดเลือดในร่างกายทำให้เลือดไหลเวียนได้ง่ายขึ้น ยา ดิลไทอะเซม นั้นยังลดอัตราการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักน้อยลง และลดความดันโลหิต

การใช้งานยา ดิลไทอะเซม ในด้านอื่น

ในส่วนนี้จะมีวิธีการใช้งาน ที่ไม่ได้รับอาการอนุมัติจากผู้เชี่ยวชาญ ให้แสดงบนฉลากยา แต่ผู้ดูแลสุขภาพอาจสั่งให้ใช้ หากคุณได้รับคำสั่งให้ใช้ยา จึงควรใช้ยาเพื่อรักษาอาการเท่าที่อยู่ในส่วนนี้ ตามที่ได้รับการสั่งจากหมอของคุณเท่านั้น

ยาดิลไทอะเซม ยังอาจใช้เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจหากคุณมีอาการหัวใจเร็วหรือผิดปกติ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation)

วิธีการใช้ยาดิลไทอะเซม

รับประทานยาดิลไทอะเซม พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก โดยปกติวันละครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด กลืนยาแคปซูลลงไปทั้งเม็ด อย่าบด หรือเคี้ยวยาแคปซูล เนื่องจากอาจทำให้ยาออกฤทธิ์ทั้งหมดในคราวเดียว และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง

หากคุณมีปัญหาในการกลืนยาแคปซูล อาจเปิดยาแคปซูล แล้วผสมยากับซอสแอปเปิ้ลเย็นๆ ก่อนรับประทาน กลืนยาที่ผสมอาหารลงไปทันที อย่าเคี้ยว จากนั้นกลั้วปากแล้วกลืนน้ำที่ใช้ล้างปาก เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับยาทั้งหมด อย่าเตรียมยาด้วยวิธีนี้ไว้ล่วงหน้า

แพทย์ของคุณอาจค่อยๆ เพิ่มขนาดยา ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ใช้ยาดิลไทอะเซมเป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ควรใช้ยาดิลไทอะเซมอย่างต่อเนื่อง แม้จะรู้สึกเป็นปกติ เพราะคนส่วนใหญ่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จะไม่รู้สึกเจ็บป่วยใดๆ สำหรับการรักษาความดันโลหิตสูง อาจต้องใช้เวลานานถึง 2 ถึง 4 สัปดาห์ กว่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา

ต้องใช้ยาดิลไทอะเซมเป็นประจำ เพื่อป้องกันอาการเจ็บหน้าอก ไม่ควรใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บหน้าอก เวลามีอาการเกิดขึ้น ควรใช้ยาอื่น เช่น ยาไนโตรกลีเซอริน (nitroglycerin) อมใต้ลิ้น เพื่อบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกตามที่แพทย์กำหนด สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณแย่ลง (เช่น เจ็บหน้าอกเพิ่มขึ้นหรือความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น)

การเก็บรักษายา ดิลไทอะเซม

ยา ดิลไทอะเซม ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาดิลไทอะเซมบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาดิลไทอะเซมลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาดิลไทอะเซม

ก่อนใช้ยาดิลไทอะเซม

  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาดิลไทอะเซม ยาอื่น หรือส่วนประกอบของยาดิลไทอะเซม โปรดสอบถามเภสัชกร เกี่ยวกับส่วนประกอบของของยา
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ หรือตั้งใจจะใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร โดยเฉพาะยาอะทาซานาเวียร์ (atazanavir) อย่างเรยาทาส (Reyataz), ยาเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) เช่น ยามิดาโซแลม (midazolam) อย่างเวอร์เซ็ด (Versed) และยาไตรอาโซแลม (triazolam) อย่างฮาลคอยน์ (Halcion), ยาเบต้าบล็อกเกอร์ (beta blockers) เช่น ยาอะทีโนลอล (atenolol) อย่างเทนอร์มิน (Tenormin), ยาลาเบทาลอล (labetalol) อย่างทรานเดต (Trandate), ยาเมโทโพรลอล (metoprolol) อย่างโลเพรสเซอร์ (Lopressor) หรือโทพรอล เอ็กซ์แอล (Toprol XL), ยานาโดลอล (nadolol) อย่างคอร์การ์ด (Corgard) และยาโพรพราโนลอล (propranolol) อย่างอินเดรอล (Inderal), ยาบูสไพโรน (buspirone) อย่างบูสปาร์ (BuSpar), ยาคาร์บามาเซพีน (carbamazepine) อย่างคาร์บาทรอล (Carbatrol) หรือเอปิทอล (Epitol) หรือเทเกรทอล (Tegretol), ยาไซเมทิดีน (cimetidine) อย่างทากาเมต (Tagamet), ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) อย่างเกนกราฟ (Gengraf) หรือนีโอรอล (Neoral) หรือแซนดิมมูน (Sandimmune), ยาไดจอกซิน (digoxin) อย่างลานอกซิน (Lanoxin) หรือลานอกซิแคป (Lanoxicaps), ยาโลวาสแตติน (lovastatin) อย่างอัลโทเพรฟ (Altoprev) หรือเมวาคอร์ (Mevacor) หรือใน แอดไวเซอร์ (in Advicor), ยาควินิดีน (quinidine) อย่างควินิเดกซ์ (Quinidex) และยาไรแฟมพิน (rifampin) อย่างไรฟาดิน (Rifadin) หรือใน ไรฟาเมต (Rifamate), ไรฟาเตอร์ (Rifater), ไรแมคแทน (Rimactane) แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด มียาอื่นๆ อีกมาก ที่มีปฏิกิริยากับยาดิลไทอะเซม ดังนั้น จึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ รวมไปถึงยาที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อนี้ด้วย
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial infarction) ระบบทางเดินอาหารแคบหรืออุดตัน หรือสภาวะอื่นๆ ที่ทำให้อาหารไหลผ่านระบบทางเดินอาหารได้ช้าลง ความดันโลหิตต่ำ โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยาดิลไทอะเซมให้ติดต่อแพทย์ทันที
  • หากคุณกำลังจะรับการผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยาดิลไทอะเซม

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยา

ยาดิลไทอะเซมจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C จัดโดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาดิลไทอะเซม

ผลข้างเคียงทั่วไปได้แก่ มึนงง วิงเวียน อ่อนแรง คลื่นไส้ หน้าแดง และปวดหัว

รับการรักษาในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังนี้

  • ที่ผิวหนังมีผดผื่นสีแดงและเป็นแผลพุพอง
  • บวมที่มือหรือเท้า
  • หายใจติดขัด
  • หัวใจเต้นช้า
  • มึนงง หมดสติ หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
  • ปวดกระเพาะส่วนบน คัน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีคล้ายดินเหนียว ดีซ่าน (ผิวและดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • ปฏิกิริยาของผิวที่รุนแรง — เป็นไข้ เจ็บคอ บวมที่ใบหน้าหรือลิ้น แสบร้อนที่ดวงตา เจ็บผิว ตามด้วยผดผื่นสีแดงหรือสีม่วงที่ผิวหนังที่แพร่กระจาย (โดยเฉพาะที่ใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองหรือผิวลอก

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

  • ปวดหัว
  • มึนงง อ่อนแรง รู้สึกเหนื่อย
  • ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้
  • เจ็บคอ ไอ จมูกอุดตัน
  • หน้าแดง (รู้สึกอุ่น แดง หรือเป็นเหน็บ)

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาดิลไทอะเซมอาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ไม่แนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แพทย์อาจพิจารณาไม่รักษาคุณด้วยยานี้ หรือเปลี่ยนยาบางอย่างที่คุณกำลังใช้

  • ซิซาไพรด์ (Cisapride), โคลชิซิน (Colchicine), โลมิทาไพด์ (Lomitapide)

โดยปกติ จะไม่แนะนำการใช้ยานี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากคุณได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองชนิด

  • อะซีบูโทลอล (Acebutolol), อะฟาทินิบ (Afatinib), อัลพรีโนลอล (Alprenolol), อะมิโอดาโรน (Amiodarone), อะเพรบพิแทนท์ (Aprepitant), อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir), อะทีโนลอล (Atenolol), อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin), เบต้าโซลอล (Betaxolol), เบแวนโทลอล (Bevantolol), ไบโซโปรลอล (Bisoprolol), โบซูทินิบ (Bosutinib), บิวซินโดลอล (Bucindolol), คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine), คาร์ทีโอลอล (Carteolol), คาร์วีไดลอล (Carvedilol), เซลิโพรลอล (Celiprolol), เซริทินิบ (Ceritinib), คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin), โคลนิดีน (Clonidine), โคลพิโดเกรล (Clopidogrel), โคลซาปีน (Clozapine), คริซอทนิบ (Crizotinib), ดาบิกาแทรนอีเทกซิเลต (Dabigatran Etexilate), แดนโทรลีน (Dantrolene), ดิเลวาลอล (Dilevalol), ดอมเพอริโดน (Domperidone), ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin), ด็อกโซรูบิซินไฮโดรคลอไลด์ไลโปโซม (Doxorubicin Hydrochloride Liposome), โดรเนดาโรน (Dronedarone), ดรอเพอริดอล (Droperidol), เอลิกลูสแตท (Eliglustat), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), เอสโมลอล (Esmolol), เอเวอโรลิมัส (Everolimus), เฟนทานิล (Fentanyl), ฟินโกลิมอด (Fingolimod), ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone), ไอบรูทินิบ (Ibrutinib), ไอเดลาลิซิบ (Idelalisib), ไอฟอสฟามายด์ (Ifosfamide), ไอวาบราดีน (Ivabradine), ลาเบทาลอล (Labetalol), ลาโคซาไมด์ (Lacosamide), ลีโวบูโนลอล (Levobunolol), โลวาสแตติน (Lovastatin), ลูราซิโดน (Lurasidone), เมพินโดลอล (Mepindolol), เมทิพราโนลอล (Metipranolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), มอร์ฟีน (Morphine), มอร์ฟีนซัลเฟตไลโปโซม (Morphine Sulfate Liposome), นาโดลอล (Nadolol), เนวิโวลอล (Nebivolol), ไนโลไทนิบ (Nilotinib), นินเทดานิบ (Nintedanib), อ็อกซ์พรีโนลอล (Oxprenolol), เพนบูโทลอล (Penbutolol), พินโดลอลP(indolol), ไพเพอราควิน (Piperaquine), พิกแซนโทรน (Pixantrone), พาโมลิโดไมด์ (Pomalidomide), โพรพราโนลอล (Propranolol), ราโนลาซีน (Ranolazine), โรมิเดบซิน (Romidepsin), ซิลทูซิแมบ (Siltuximab), ไซมีพรีเวียร์ (Simeprevir), ซิมวาสแตติน (Simvastatin), โซทาลอล (Sotalol), สมุนไพรเซนต์จอห์น (St John’s Wort), ทาลิโนลอล (Talinolol), เทอเทโทลอล (Tertatolol), ทิโมลอล (Timolol), โทลแวปแทน (Tolvaptan), โทโพทีแคน (Topotecan), เทรแบคเทดิน (Trabectedin), วิลาโซโดน (Vilazodone), วินคริสทีน (Vincristine), วินคริสทีนซัลเฟตไลโปโซม (Vincristine Sulfate Liposome)

การใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกัน อาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณได้รับสั่งยาทั้งสองร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยา ตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองชนิด

  • อะซีโคลฟีแนค (Aceclofenac)อะซีบูโทลอล (Acebutolol), อะฟาทินิบ (Afatinib), อัลพรีโนลอล (Alprenolol), อะมิโอดาโรน (Amiodarone), อะเพรบพิแทนท์ (Aprepitant), อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir), อะทีโนลอล (Atenolol), อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin), เบต้าโซลอล (Betaxolol), เบแวนโทลอล (Bevantolol), ไบโซโปรลอล (Bisoprolol), โบซูทินิบ (Bosutinib), บิวซินโดลอล (Bucindolol), คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine), คาร์ทีโอลอล (Carteolol), คาร์วีไดลอล (Carvedilol), เซลิโพรลอล (Celiprolol), เซริทินิบ (Ceritinib), คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin), โคลนิดีน (Clonidine), โคลพิโดเกรล (Clopidogrel), โคลซาปีน (Clozapine), คริซอทนิบ (Crizotinib), ดาบิกาแทรนอีเทกซิเลต (Dabigatran Etexilate), แดนโทรลีน (Dantrolene), ดิเลวาลอล (Dilevalol), ดอมเพอริโดน (Domperidone), ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin), ด็อกโซรูบิซินไฮโดรคลอไลด์ไลโปโซม (Doxorubicin Hydrochloride Liposome), โดรเนดาโรน (Dronedarone), ดรอเพอริดอล (Droperidol), เอลิกลูสแตท (Eliglustat), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), เอสโมลอล (Esmolol), เอเวอโรลิมัส (Everolimus), เฟนทานิล (Fentanyl), ฟินโกลิมอด (Fingolimod), ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone), ไอบรูทินิบ (Ibrutinib), ไอเดลาลิซิบ (Idelalisib), ไอฟอสฟามายด์ (Ifosfamide), ไอวาบราดีน (Ivabradine), ลาเบทาลอล (Labetalol), ลาโคซาไมด์ (Lacosamide), ลีโวบูโนลอล (Levobunolol), โลวาสแตติน (Lovastatin), ลูราซิโดน (Lurasidone), เมพินโดลอล (Mepindolol), เมทิพราโนลอล (Metipranolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), มอร์ฟีน (Morphine), มอร์ฟีนซัลเฟตไลโปโซม (Morphine Sulfate Liposome), นาโดลอล (Nadolol), เนวิโวลอล (Nebivolol), ไนโลไทนิบ (Nilotinib), นินเทดานิบ (Nintedanib), อ็อกซ์พรีโนลอล (Oxprenolol), เพนบูโทลอล (Penbutolol), พินโดลอลP(indolol), ไพเพอราควิน (Piperaquine), พิกแซนโทรน (Pixantrone), พาโมลิโดไมด์ (Pomalidomide), โพรพราโนลอล (Propranolol), ราโนลาซีน (Ranolazine), โรมิเดบซิน (Romidepsin), ซิลทูซิแมบ (Siltuximab), ไซมีพรีเวียร์ (Simeprevir), ซิมวาสแตติน (Simvastatin), โซทาลอล (Sotalol), สมุนไพรเซนต์จอห์น (St John’s Wort), ทาลิโนลอล (Talinolol), เทอเทโทลอล (Tertatolol), ทิโมลอล (Timolol), โทลแวปแทน (Tolvaptan), โทโพทีแคน (Topotecan), เทรแบคเทดิน (Trabectedin), วิลาโซโดน (Vilazodone), วินคริสทีน (Vincristine), วินคริสทีนซัลเฟตไลโปโซม (Vincristine Sulfate Liposome อะซีบูโทลอล (Acebutolol), อะฟาทินิบ (Afatinib), อัลพรีโนลอล (Alprenolol), อะมิโอดาโรน (Amiodarone), อะเพรบพิแทนท์ (Aprepitant), อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir), อะทีโนลอล (Atenolol), อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin), เบต้าโซลอล (Betaxolol), เบแวนโทลอล (Bevantolol), ไบโซโปรลอล (Bisoprolol), โบซูทินิบ (Bosutinib), บิวซินโดลอล (Bucindolol), คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine), คาร์ทีโอลอล (Carteolol), คาร์วีไดลอล (Carvedilol), เซลิโพรลอล (Celiprolol), เซริทินิบ (Ceritinib), คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin), โคลนิดีน (Clonidine), โคลพิโดเกรล (Clopidogrel), โคลซาปีน (Clozapine), คริซอทนิบ (Crizotinib), ดาบิกาแทรนอีเทกซิเลต (Dabigatran Etexilate), แดนโทรลีน (Dantrolene), ดิเลวาลอล (Dilevalol), ดอมเพอริโดน (Domperidone), ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin), ด็อกโซรูบิซินไฮโดรคลอไลด์ไลโปโซม (Doxorubicin Hydrochloride Liposome), โดรเนดาโรน (Dronedarone), ดรอเพอริดอล (Droperidol), เอลิกลูสแตท (Eliglustat), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), เอสโมลอล (Esmolol), เอเวอโรลิมัส (Everolimus), เฟนทานิล (Fentanyl), ฟินโกลิมอด (Fingolimod), ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone), ไอบรูทินิบ (Ibrutinib), ไอเดลาลิซิบ (Idelalisib), ไอฟอสฟามายด์ (Ifosfamide), ไอวาบราดีน (Ivabradine), ลาเบทาลอล (Labetalol), ลาโคซาไมด์ (Lacosamide), ลีโวบูโนลอล (Levobunolol), โลวาสแตติน (Lovastatin), ลูราซิโดน (Lurasidone), เมพินโดลอล (Mepindolol), เมทิพราโนลอล (Metipranolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), มอร์ฟีน (Morphine), มอร์ฟีนซัลเฟตไลโปโซม (Morphine Sulfate Liposome), นาโดลอล (Nadolol), เนวิโวลอล (Nebivolol), ไนโลไทนิบ (Nilotinib), นินเทดานิบ (Nintedanib), อ็อกซ์พรีโนลอล (Oxprenolol), เพนบูโทลอล (Penbutolol), พินโดลอลP(indolol), ไพเพอราควิน (Piperaquine), พิกแซนโทรน (Pixantrone), พาโมลิโดไมด์ (Pomalidomide), โพรพราโนลอล (Propranolol), ราโนลาซีน (Ranolazine), โรมิเดบซิน (Romidepsin), ซิลทูซิแมบ (Siltuximab), ไซมีพรีเวียร์ (Simeprevir), ซิมวาสแตติน (Simvastatin), โซทาลอล (Sotalol), สมุนไพรเซนต์จอห์น (St John’s Wort), ทาลิโนลอล (Talinolol), เทอเทโทลอล (Tertatolol), ทิโมลอล (Timolol), โทลแวปแทน (Tolvaptan), โทโพทีแคน (Topotecan), เทรแบคเทดิน (Trabectedin), วิลาโซโดน (Vilazodone), วินคริสทีน (Vincristine), วินคริสทีนซัลเฟตไลโปโซม (Vincristine Sulfate Liposome), อะซีบูโทลอล (Acebutolol), อะฟาทินิบ (Afatinib), อัลพรีโนลอล (Alprenolol), อะมิโอดาโรน (Amiodarone), อะเพรบพิแทนท์ (Aprepitant), อะทาซานาเวียร์ (Atazanavir), อะทีโนลอล (Atenolol), อะทอร์วาสแตติน (Atorvastatin), เบต้าโซลอล (Betaxolol), เบแวนโทลอล (Bevantolol), ไบโซโปรลอล (Bisoprolol), โบซูทินิบ (Bosutinib), บิวซินโดลอล (Bucindolol), คาร์บามาเซพีน (Carbamazepine), คาร์ทีโอลอล (Carteolol), คาร์วีไดลอล (Carvedilol), เซลิโพรลอล (Celiprolol), เซริทินิบ (Ceritinib), คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin), โคลนิดีน (Clonidine), โคลพิโดเกรล (Clopidogrel), โคลซาปีน (Clozapine), คริซอทนิบ (Crizotinib), ดาบิกาแทรนอีเทกซิเลต (Dabigatran Etexilate), แดนโทรลีน (Dantrolene), ดิเลวาลอล (Dilevalol), ดอมเพอริโดน (Domperidone), ด็อกโซรูบิซิน (Doxorubicin), ด็อกโซรูบิซินไฮโดรคลอไลด์ไลโปโซม (Doxorubicin Hydrochloride Liposome), โดรเนดาโรน (Dronedarone), ดรอเพอริดอล (Droperidol), เอลิกลูสแตท (Eliglustat), อิริโทรมัยซิน (Erythromycin), เอสโมลอล (Esmolol), เอเวอโรลิมัส (Everolimus), เฟนทานิล (Fentanyl), ฟินโกลิมอด (Fingolimod), ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone), ไอบรูทินิบ (Ibrutinib), ไอเดลาลิซิบ (Idelalisib), ไอฟอสฟามายด์ (Ifosfamide), ไอวาบราดีน (Ivabradine), ลาเบทาลอล (Labetalol), ลาโคซาไมด์ (Lacosamide), ลีโวบูโนลอล (Levobunolol), โลวาสแตติน (Lovastatin), ลูราซิโดน (Lurasidone), เมพินโดลอล (Mepindolol), เมทิพราโนลอล (Metipranolol), เมโทโพรลอล (Metoprolol), มอร์ฟีน (Morphine), มอร์ฟีนซัลเฟตไลโปโซม (Morphine Sulfate Liposome), นาโดลอล (Nadolol), เนวิโวลอล (Nebivolol), ไนโลไทนิบ (Nilotinib), นินเทดานิบ (Nintedanib), อ็อกซ์พรีโนลอล (Oxprenolol), เพนบูโทลอล (Penbutolol), พินโดลอลP(indolol), ไพเพอราควิน (Piperaquine), พิกแซนโทรน (Pixantrone), พาโมลิโดไมด์ (Pomalidomide), โพรพราโนลอล (Propranolol), ราโนลาซีน (Ranolazine), โรมิเดบซิน (Romidepsin), ซิลทูซิแมบ (Siltuximab), ไซมีพรีเวียร์ (Simeprevir), ซิมวาสแตติน (Simvastatin), โซทาลอล (Sotalol), สมุนไพรเซนต์จอห์น (St John’s Wort), ทาลิโนลอล (Talinolol), เทอเทโทลอล (Tertatolol), ทิโมลอล (Timolol), โทลแวปแทน (Tolvaptan), โทโพทีแคน (Topotecan), เทรแบคเทดิน (Trabectedin), วิลาโซโดน (Vilazodone), วินคริสทีน (Vincristine), วินคริสทีนซัลเฟตไลโปโซม (Vincristine Sulfate Liposome), อะเซเมทาซิน (Acemetacin), อัลเฟนทานิล (Alfentanil), อัลฟูโซซิน (Alfuzosin), แอมโลดิปีน (Amlodipine) แอมโทลเมทิน กวาซิล (Amtolmetin Guacil), แอสไพริน บรอมเฟแนค (Bromfenac) บูเฟซาแมค (Bufexamac) บูสไพโรน (Buspirone) เซเลโคซิบ (Celecoxib) โคลีนซาลิไซเลต (Choline Salicylate) ซิลอสทาซอล (Cilostazol) ไซเมทิดีน (Cimetidine) คลอนิกซิน (Clonixin) คอเลสทิพอล (Colestipol) ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) ดาลโฟพริสทิน (Dalfopristin) เดกซิบูโพรเฟน (Dexibuprofen) เดกคีโตโพรเฟน (Dexketoprofen) ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ไดฟลูนิซัล (Diflunisal) ดิจิท็อกซิน (Digitoxin) ไดจอกซิน (Digoxin) ไดพิโรน (Dipyrone) ดูทาสเตอไรด์ (Dutasteride) เอฟฟาไวเร็นซ์ (Efavirenz) เอนฟลูเรน (Enflurane) เอโทโดแลค (Etodolac) เอโทเฟนาเมต (Etofenamate) อิโทริคอกซิบ (Etoricoxib) เฟลบิแนค (Felbinac) เฟโนโพรเฟน (Fenoprofen) เฟพราดินอล (Fepradinol) เฟพราโซน (Feprazone) ฟลอคทาเฟไน (Floctafenine) กรดฟลูเฟเนแมค (Flufenamic Acid) เฟลอร์บิโพรเฟน (Fosaprepitant) ฟอสเฟนทิโทน (Fosphenytoin) กักเกิล (Guggul) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ไอบูโพรเฟนไลซีน (Ibuprofen Lysine) อินดินาเวียร์ (Indinavir) อินโดเมทาซิน (Indomethacin) คีโตโปรเฟน (Ketoprofen) คีโตโรแลค (Ketorolac) ลิเทียม (Lithium) ลอร์โนซิแคม (Lornoxicam) โลโซโพรเฟน (Loxoprofen) ลูมิราคอซิบ (Lumiracoxib) เมโคลเฟนาเมต (Meclofenamate) กรดเมเฟนามิก (Mefenamic Acid) มีลอกซิแคม (Meloxicam) เมทิลเพรดนิโซโลน (Methylprednisolone) มิดาโซแลม (Midazolam) โมริซิซีน (Moricizine) ลอร์นิฟลูเมต (Morniflumate) นาบูเมโทน (Nabumetone) นาพรอกเซน (Naproxen) เนพาเฟแนค (Nepafenac) เนวิราปีน (Nevirapine) ไนเฟดิปีน (Nifedipine) กรดไนฟลูมิก (Niflumic Acid) นิมีซูไลด (Nimesulide) ออกซาโพรซิน (Oxaprozin) ออฟเฟนบูทาโซน (Oxyphenbutazone) พารีโคซิบ (Parecoxib) ฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) เฟนิโทอิน (Phenytoin) ฟิเคโทโพรเฟน (Piketoprofen) ไพร็อกซิแแคมPiroxicam) พราโนโพรเฟน (Pranoprofen) โพรกลูเมทาซิน (Proglumetacin) พรอบพิเฟเนโซน (Propyphenazone) โพรควาโซน (Proquazone) ควินูพริสทิน (Quinupristin) ไรแฟมพิน (Rifampin) ไรฟาเพนทีน (Rifapentine) ริโทนาเวียร์ (Ritonavir) โรฟีคอกซิบ (Rofecoxib) กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ซาลซาเลต (Salsalate) ไซโรลิมัส (Sirolimus) โซเดียมซาลิไซเลต (Sodium Salicylate) ซูลินแดค (Sulindac) ทาโครลิมัส (Tacrolimus) เทโนซิแคม (Tenoxicam) หรกไทอาโพรเฟนิค (Tiaprofenic Acid) กรดโทลเฟเนมิก (Tolfenamic Acid) โทลเมทิน (Tolmetin) ไทรอาโซแลม (Triazolam) วาลเฟคอซิบ (Valdecoxib)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาดิลไทอะเซมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาดิลไทอะเซมอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

  • ลำไส้อุดตันระดับรุนแรง
  • หัวใจวาย—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่ลงได้
  • หัวใจขาดเลือดฉับพลัน
  • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Heart block) ซึ่งเป็นอาการหัวใจเต้นผิดปกติประเภทหนึ่ง สามารถใช้ยาได้หากมีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจที่ทำงานเป็นปกติ
  • ความดันโลหิตต่ำขั้นรุนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับปอด เช่น ภาวะเลือดคั่งในปอด (pulmonary congestion);
  • กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick sinus syndrome) ซึ่งเป็นอาการหัวใจเต้นผิดปกติประเภทหนึ่ง สามารถใช้ยาได้หากมีเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจที่ทำงานเป็นปกติ —ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีสภาวะนี้
  • โรคไต
  • โรคตับ—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ผลของยาอาจเพิ่มขึ้นเพราะกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาดิลไทอะเซมสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 30 ถึง 60 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 180 ถึง 360 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 60 ถึง 120 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD) หรือ (XR): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (XR): 240 ถึง 480 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 240 ถึง 420 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด:
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับฉีดภายในครั้งเดียว (bolus): 0.25 มก./กก.ฉีดภายในครั้งเดียวนานกว่า 2 นาที อาจฉีดเพิ่มครั้งที่สองที่ 0.35 มก./กก. หากจำเป็น
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับหยอดยา (infusion) : 5 มก/ชม.
  • ขนาดยาปกติสำหรับหยอดยา (infusion) : อาจเพิ่มอัตราการหยอดยา 5 มก./ชม. เพิ่มขึ้นถึง 15 มก./ชม.

ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

  • ขนาดยาเริ่มต้น (รับประทาน): 30 ถึง 60 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 180 ถึง 360 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 60 ถึง 120 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD) หรือ (XR): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 240 ถึง 420 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้น (Intravenous): 0.25 มก./กก. ของน้ำหนักตัวตามความเป็นจริง ฉีดยาในคราวเดียวนานกว่า 2 นาที หากจำเป็นอาจฉีดครั้งที่สองที่ขนาด 0.35 มก./กก. ของน้ำหนักตัวตามความเป็นจริง ในบางกรณีอาจเริ่มหยอดยาดิลไทอะเซม 5 มก./ชั่วโมง และเพิ่มขึ้น 5 มก./ชั่วโมง เพิ่มไปถึง 15 มก./ชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Atrial Flutter)

  • ขนาดยาเริ่มต้น (oral): 30 ถึง 60 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 180 ถึง 360 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 60 ถึง 120 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD) หรือ (XR): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 240 ถึง 420 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้น (Intravenous): 0.25 มก./กก. ของน้ำหนักตัวตามความเป็นจริง ฉีดยาในคราวเดียวนานกว่า 2 นาที หากจำเป้นอาจฉีดครั้งที่สองที่ขนาด 0.35 มก./กก. ของน้ำหนักตัวตามความเป็นจริง ในบางกรณีอาจเริ่มหยอดยาดิลไทอะเซม 5 มก./ชั่วโมง และเพิ่มขึ้น 5 มก./ชั่วโมง เพิ่มไปถึง 15 มก./ชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องบน (Supraventricular Tachycardia)

  • ขนาดยาเริ่มต้น(oral): 30 ถึง 60 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 180 ถึง 360 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 60 ถึง 120 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD) หรือ (XR): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 240 ถึง 420 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาเริ่มต้น (Intravenous): 0.25 มก./กก. ของน้ำหนักตัวตามความเป็นจริง ฉีดยาในคราวเดียวนานกว่า 2 นาที หากจำเป้นอาจฉีดครั้งที่สองที่ขนาด 0.35 มก./กก. ของน้ำหนักตัวตามความเป็นจริง ในบางกรณีอาจเริ่มหยอดยาดิลไทอะเซม 5 มก./ชั่วโมง และเพิ่มขึ้น 5 มก./ชั่วโมง เพิ่มไปถึง 15 มก./ชั่วโมงเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
  • ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris)

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 30 ถึง 60 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง
    • ขนาดยาปกติ: 180 ถึง 360 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน
    • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 60 ถึง 120 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
    • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD) หรือ (XR): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่สำหรับโรคหัวใจวาย (Congestive Heart Failure)

    • ขนาดยาเริ่มต้น: 30 ถึง 60 มก. รับประทานวันละ 3 ถึง 4 ครั้ง
    • ขนาดยาปกติ: 180 ถึง 360 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน
    • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 60 ถึง 120 มก. รับประทานวันละสองครั้ง
    • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (SR): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD) หรือ (XR): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (CD): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาเริ่มต้นสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 120 ถึง 240 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติสำหรับรูปแบบยาที่ควบคุมการปลดปล่อย (LA): 240 ถึง 360 มก. รับประทานวันละครั้ง

    ขนาดยาดิลไทอะเซมสำหรับเด็ก

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    ยาแคปซูลออกฤทธิ์นาน 12 ชั่วโมง ในรูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์

    • รูปแบบทั่วไป: 60 มก., 90 มก., 120 มก.
    • ยาแคปซูลออกฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมงสำหรับประทานเป็นไฮโดรคลอไรด์
    • คาร์ดิเซม ซีดี (Cardizem CD): 120 มก., 180 มก., 240 มก., 300 มก., 360 มก.
    • คาร์เทีย เอ็กที (Cartia XT): 120 มก., 180 มก., 240 มก., 300 มก.
    • ดิลาคอร์ เอ็กอาร์ (Dilacor XR): 240 มก.
    • ดิลท์ ซีดี (Dilt-CD): 120 มก.
    • ดิลท์ ซีดี (Dilt-CD): 180 มก., 240 มก.
    • ดิลท์ ซีดี (Dilt-CD): 300 มก.
    • ดิลท์ เอ็กอาร์ (Dilt-XR): 120 มก., 180 มก., 240 มก.
    • ดิลไทอะเซม เอชซีแอล ซีดี (Diltiazem HCL CD): 360 มก.
    • ดิลท์แซค (Diltzac): 120 มก., 180 มก., 240 มก., 300 มก., 360 มก.
    • แทสเทีย เอ็กที (Taztia XT): 120 มก., 180 มก., 240 มก., 300 มก., 360 มก.
    • เทียแซค (Tiazac): 120 มก., 180 มก., 240 มก., 300 มก., 360 มก., 420 มก.
    • รูปแบบทั่วไป: 120 มก., 180 มก. ,240 มก., 300 มก. ,360 มก., 420 มก.

    สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด ในรูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์

    • ทั่วไป: 25 มก./5 มล. (5 มล.) 50 มก./10 มล. (10 มล.) 125 มก./25 มล. (25 มล.)

    สารละลายสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด ในรูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์ [ไม่ใส่สารกันบูด]

    • ทั่วไป: 25 มก./5 มล. (5 มล.) 50 มก./10 มล. (10 มล.) 125 มก./25 มล. (25 มล.)

    สารละลายคืนรูปสำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด ในรูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์

    • ทั่วไป: 100 มก.

    ยาเม็ดสำหรับประทาน ในรูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์

    • คาร์ดิเซม (Cardizem): 30 มก. 60 มก. 90 มก. 120 มก.
    • ทั่วไป: 30 มก. 60 มก. 90 มก. 120 มก.

    ยาเม็ดออกฤทธิ์นาน 24 ชั่วโมงสำหรับประทาน ในรูปแบบเกลือไฮโดรคลอไรด์

    • คาร์ดิเซม แอลเอ (Cardizem LA): 120 มก. 180 มก. 240 มก. 300 มก. 360 มก. 420 มก.
    • แมทซิม แอลเอ (Matzim LA): 120 มก. 180 มก. 240 มก. 300 มก. 360 มก. 420 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังนี้

    • หัวใจเต้นช้า เร็ว หรือผิดปกติ
    • หมดสติ
    • หายใจติดขัด
    • ชัก
    • วิงเวียน
    • สับสน
    • คลื่นไส้
    • อาเจียน
    • มีเหงื่อออกเพิ่มขึ้น

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา