backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

นิซาทิดีน (Nizatidine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

นิซาทิดีน (Nizatidine)

ข้อบ่งใช้ นิซาทิดีน

นิซาทิดีน ใช้สำหรับ

นิซาทิดีน (Nizatidine) ใช้เพื่อรักษาแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้ และป้องกันอาการเหล่านี้กลับมาหลังจากรักษาหายแล้ว ยานี้ยังสามารถใช้เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารอักเสบ โรคกรดไหลย้อน

ยานี้ยังสามารถลดปริมาณของกรดที่ผลิตในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการ เช่น อาการไอเรื้อรัง แสบร้อนกลางอก และย่อยอาหารลำบาก ยานิซาทิดีนนั้นอยู่ในกลุ่มของยาเอช 2 บล็อกเกอร์ (H2 blockers)

วิธีการใช้ นิซาทิดีน

  • รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหาก ตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละ 1-2 ครั้ง มักจะรับประทานก่อนนอน หากคุณใช้นิซาทิดีนชนิดน้ำควรตวงยาด้วยช้อน หรือเครื่องมือตวงยาโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ช้อนธรรมดา เพราะอาจได้ปริมาณยาที่ไม่ถูกต้อง
  • ขนาดยาและระยะเวลาในการรักษา ขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา ควรทำตามแนวทางของแพทย์อย่างใกล้ชิด
  • สามารถรับประทานยาลดกรดพร้อมกับยานี้ได้

ใช้ยานี้เป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรใช้ยาในระยะเวลาเดียวกันทุกวัน ไม่ควรเพิ่มปริมาณของยา หรือใช้ยานานกว่ากำหนด อาจเกิดความเสี่ยงและผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้ว่าจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษา นิซาทิดีน

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนิซาทิดีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

นาลเทรกโซนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ นิซาทิดีน

  • ก่อนใช้ยานิซาทิดีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณมีอาการแพ้ส่วนประกอบของนิซาทิดีน หรือยาในกลุ่มเอช2 บล็อกเกอร์ (H2 blockers)อื่นๆ เช่น ไซเมทิดีน (cimetidine) ฟาโมทิดีน (famotidine) หรือแรนิทิดีน (ranitidine)
  • หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
  • ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติโรคประจำตัวทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคปอดบางชนิด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารอื่นๆ เช่น เนื้องอก
  • อาการบางอย่างอาจจะเป็นสภาวะที่รุนแรงได้ ควรรับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกพร้อมกับอาการหน้ามืด เหงื่อออก วิงเวียน อาการปวดที่หน้าอก กราม แขน หรือไหล่ (โดยเฉพาะอาการหายใจไม่อิ่ม เหงื่ออกผิดปกติ) น้ำหนักลดผิดปกติ
  • ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกร และสมุนไพรต่างๆ)

ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้สามารถเข้าสู่น้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรี ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นิซาทิดีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ นิซาทิดีน

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้อาเจียนไม่หยุด
  • เบื่ออาหาร ปวดท้อง
  • ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง
  • ปัสสาวะสีคล้ำ
  • มีอาการหน้าอกบวมหรือเจ็บในผู้ชาย
  • มีรอยช้ำหรือเลือดออกง่าย
  • มีสัญญาณของการติดเชื้อ (เช่น เจ็บคอไม่หาย เป็นไข้ หนาวสั่น) หัวใจเต้นเร็วหรือรัว เหนื่อยล้าผิดปกติ
  • ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ)
  • วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น โปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่า ยามีสรรพคุณในการรักษามากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงเพิ่มเติม โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาบางชนิดจำเป็นต้องใช้ลดกรดในกระเพาะอาหาร เพื่อจะได้สามารถดูดซึมได้อย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงอาจทำให้เกิดการทำงานของยาที่ใช้ร่วมด้วยเปลี่ยนแปลง ยาเหล่านี้ ได้แก่

  • อะทาซานาเวียร์ (atazanavir)
  • ดาซาทินิบ (dasatinib)
  • ดีลาเวอร์ดีน (delavirdine)
  • ยาต้านเชื้อรากลุ่มเอโซลบางชนิด (azole antifungals) เช่น ไอทราโคนาโซล (itraconazole) หรือคีโตโคนาโซล (ketoconazole) พาโซพานิบ (pazopanib) และอื่นๆ

อย่ารับประทานยานี้พร้อมกับยาอื่นที่มีนิซาทิดีนหรือยาในกลุ่มเอช2 บล็อกเกอร์อื่นๆ เช่น

  • ไซเมทิดีน (cimetidine)
  • ฟาโมทิดีน (famotidine)
  • แรนิทิดีน (ranitidine)

ยานี้อาจส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงผลตรวจทางการแพทย์หรือการตรวจในห้องแล็บบางชนิด (เช่น ผลการตรวจโปรตีนในปัสสาวะบางอย่าง) และอาจทำให้เกิดผลเป็นเท็จได้ ควรแจ้งให้บุคลากรในห้องแล็บและแพทย์ของคุณทราบว่าถึงการใช้อื่นร่วมด้วย

ยานิซาทิดีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

นิซาทิดีนอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

นิซาทิดีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด นิซาทิดีน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 300 มก. รับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนนอน หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ 150 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 150 มก. รับประทานวัน 1 ครั้งก่อนนอน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น

  • 150 มก. รับประทานวัน 1 ครั้งก่อนนอน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

  • 300 มก. รับประทานวันละครั้งก่อนนอน หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ 150 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหลอดอาหารอักเสบแบบมีแผล

  • 150 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน

  • 150 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาหารไม่ย่อย

  • 75 มก. รับประทานวันละ 1-2 ครั้ง รับประทานไม่เกิน 60 นาที ก่อนรับประทานอาหาร

การปรับขนาดยาสำหรับไต

ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) น้อยกว่า 20 มล./นาที

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 150 มก. รับประทานวันเว้นวัน
  • ขนาดยาปกติ: 150 มก. รับประทานทุกๆ 3 วัน

ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 20 ถึง 50 มล./นาที

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 150 มก. รับประทานวัน 1 ครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 150 มก. รับประทานวันเว้นวัน

การปรับขนาดยา

อาจต้องมีการปรับปริมาณยาในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุเพราะจากผู้ป่วยสูงอายุนั้นมีโอกาสที่สมรรถภาพของไตลดลงได้มากกว่า

ข้อควรระวัง

  • ควรผ่าตัดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารใดๆ ก่อนเริ่มต้นการรักษาด้วยยานิซาทิดีน เนื่องจากอาการที่บรรเทาลงนั้น อาจชะลอการวินิจฉัยที่เหมาะสมและทันเวลาได้
  • ยานิซาทิดีนอาจทำให้เกิดผลการตรวจหาสารยูโรบิลิโนเจน (urobilinogen) ด้วยมัลทิสทิกซ์ (Multistix)เป็นเท็จได้
  • ทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุถึงความแตกต่าง ในการตอบสนองระหว่างผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า แต่อาการปฏิกิริยาไวในผู้ป่วยสูงอายุบางรายไม่สามารถเลี่ยงได้ ยานิซาทิดีนเป็นที่ทราบว่ามีผลข้างเคียงในผู้ป่วยที่มีไตบกพร่อง อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นพิษของยาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสที่สมรรถภาพของไตจะลดลง จึงควรระมัดระวังในการให้ปริมาณยา และควรเฝ้าระวังสมรรถภาพของไต

การฟอกไต (Dialysis)

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : ยังไม่มีผลสรุปที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการกำจัดยานิซาทิดีนจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แต่เนื่องจากการกระจายตัวในปริมาณมาก ไม่คาดว่าจะสามารถกำจัดยานิซาทิดีนออกจากร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำแนะนำอื่นๆ

  • ระยะเวลาการใช้ยานิซาทิดีนไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์

ขนาดยานิซาทิดีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน

งานวิจัย

  • อายุมากกว่า 1 ปี (n=26) : โรคกรดไหลย้อนระดับเบาถึงปานกลาง : 10 มก./กก./วัน แบ่งให้ยา 2 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์
  • อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ถึง 11 ปี (n=104) : 6 มก./กก./วัน แบ่งให้ยา 2 ครั้ง ให้ครั้งแรกเวลาสามทุ่มในคืนก่อนการผ่าตัด และอีกครั้งเวลา 6.30 เช้าวันผ่าตัด

ข้อควรระวัง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในผู้ป่วยเด็ก

รูปแบบของยา

รูปแบบของยามี ดังนี้

  • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
  • สารละลายสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานนิซาทิดีน ควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา