backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

พิทาวาสแตติน (Pitavastatin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้ พิทาวาสแตติน

พิทาวาสแตติน ใช้สำหรับ

พิทาวาสแตติน (Pitavastatin) เป็นยาใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารที่เหมาะสมเพื่อลดคอเลสเตอรอลและไขมันชนิด “เลว’ (อย่างเช่น ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ หรือ LDL และไตรกลีเซอไรด์) และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิด “ดี’ (ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง หรือ HDL) ในเลือด ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาที่เรียกว่าสแตติน (statin) ยานี้ออกฤทธิ์โดยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลที่ผลิตโดยตับ การลดคอเลสเตอรอลชนิด “เลว’ และไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มคอเรสเตอรอลชนิด “ดี’ จะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ รวมถึงป้องกันการเกิดสโตรกหรือเส้นเลือดในสมองแตกและหัวใจวาย

นอกจากการควบคุมอาหารที่เหมาะสม (เช่น การกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลหรือไขมันต่ำ) การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจช่วยให้ยานี้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น เช่น การออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก หากคุณน้ำหนักเกิน และเลิกสูบบุหรี่ ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

วิธีการใช้ยาพิวาทาสแตติน

รับประทานยานี้พร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้ ปกติแล้วจะเป็น 1 ครั้งต่อวัน หรือตามที่แพทย์สั่ง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับโรคและการตอบสนองต่อการรักษา รวมถึงยาอื่นๆ ที่คุณอาจจะใช้อยู่ ให้แน่ใจว่าคุณได้แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา และผลิตภัณฑ์สมุนไพร)

หากคุณใช้ยาชนิดอื่นเพื่อลดคอเลสเตอรอล เช่น ยากลุ่มที่ใช้จับกับน้ำดีในทางเดินอาหาร (bile acid-binding resin) อย่างยาคอเลสไทรามีน (cholestyramine) หรือยาคอเลสติพอล (colestipol) รับประทานยาพิวาทาสแตตินก่อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 4 ชั่วโมง หลังจากใช้ยากลุ่มนี้ ยาเหล่านี้อาจทำปฏิกิริยากับยาพิวาทาสแตติน และทำให้ดูดซึมได้ไม่เต็มที่

ใช้ยานี้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด เพื่อช่วยเตือนความจำ รับประทานยานี้ในเวลาเดียวกันของทุกวัน สิ่งสำคัญคือ ใช้ยานี้อย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าคุณจะรู้สึกดีขึ้น ผู้คนส่วนมากที่มีคอเลสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์สูง จะไม่รู้สึกว่าป่วย

เป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกันที่ต้องทำตามคำแนะนำของหมอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกาย อาจใช้เวลาถึง 4 สัปดาห์กว่าคุณจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากยา

การเก็บรักษายาพิทาวาสแตติน

คุณควรเก็บยาพิวาทาสแตตินไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บบยาพิวาทาสแตตินไว้ให้ห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาพิวาทาสแตตินแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนฉลากผลิตภัณฑ์ หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งบยาพิวาทาสแตตินลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำอย่างนั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

คำเตือนและข้อควรระวัง

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาพิวาทาสแตติน

ก่อนใช้ยาพิวาทาสแตติน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาชนิดนี้ รวมถึงหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ แต่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ หรือปัญหาอื่นๆ ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติสุขภาพและการใช้ยา โดยเฉพาะโรคตับ โรคไตและการดื่มแอลกอฮอล์

ก่อนเข้ารับการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา และผลิตภัณฑ์สมุนไพร)

จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับ โดยเฉพาะเมื่อรับประทานยาพิวาทาสแตตินร่วมด้วย สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ผู้สูงอายุอาจตอบสนองต่อผลข้างเคียงของยานี้มากกว่า โดยเฉพาะปัญหาที่กล้ามเนื้อ

ห้ามใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ ยาพิวาทาสแตตินอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยานี้ ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติม และปรึกษาเพื่อหาวิธีคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้ในระหว่างใช้ยานี้ เช่น ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด หากคุณตั้งครรภ์ หรือคิดว่าคุณอาจจะตั้งครรภ์ แจ้งให้แพทย์ทราบทันที ปรึกษาแพทย์ว่า เมื่อไหร่ที่คุณควรหยุดใช้ยาพิวาทาสแตติน หากคุณต้องการที่จะตั้งครรภ์

ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ายานี้จะซึมเข้าสู่น้ำนมหรือไม่ เนื่องจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากทารก จึงไม่แนะนำให้ใช้ยาระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ยาพิทาวาสแตตินระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนรับประทานยาพิทาวาสแตติน อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยาพิทาวาสแตตินจัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท D

ต่อไปนี้คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา

  • A = ไม่เสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจมีความเสี่ยงบางอย่าง
  • D = พบหลักฐานเกี่ยวกับความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาพิวาทาสแตติน

ผู้คนจำนวนไม่มากนัก ที่ใช้ยาพิวาทาสแตตินแล้วอาจมีปัญหาเรื่องการจดจำขั้นไม่รุนแรง หรือมึนงง หากมีผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนักเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์

น้อยครั้งที่ยาพิวาทาสแตตินอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน หรือทำให้อาการเบาหวานแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อดีและความเสี่ยง

น้อยครั้งที่ยานี้จะทำให้เกิดปัญหาที่กล้ามเนื้อ ซึ่งอาจนำไปสู่โรครุนแรงที่เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) และความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อ เนื่องจากการต้านภูมิตนเอง (autoimmune myopathy) แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากคุณมีอาการเหล่านี้ระหว่างใช้ยา และหากอาการเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้น แม้ว่าแพทย์จะหยุดจ่ายยาแล้ว ได้แก่ อาการปวดกล้ามเนื้อ อาการกดเจ็บ หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง (โดยเฉพาะเป็นไข้หรือเหนื่อยล้าผิดปกติร่วมด้วย) สัญญาณของโรคไต เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณปัสสาวะ

น้อยครั้งที่ยานี้จะทำให้เกิดปัญหาที่ตับ หากคุณสังเกตผลข้างเคียงที่รุนแรงเหล่านี้ แจ้งให้แพทย์ทราบทันที เช่น เจ็บกระเพาะอาหารหรือปวดท้อง คลื่นไส้หรืออาเจียนไม่หยุด ผิวหรือตาเป็นสีเหลือง ปัสสาวะมีสีเข้ม

ไม่ค่อยมีอาการแพ้ยาที่รุนแรงเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม ควรเข้ารับการรักษาทันทีหากคุณสังเกตเห็นอาการแพ้รุนแรง ได้แก่ เกิดผื่น คันผิวหรือผิวบวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ) วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการหายใจ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาบางชนิดที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ ยาโคลชิซิน (colchicine) ยาเจมไฟโบรซิล (gemfibrozil)

ยาอื่นอาจทำให้ร่างกายจับยาพิทาวาสแตตินออก ซึ่งอาจส่งผลต่อฤทธิ์ของยาพิทาวาสแตติน ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ได้แก่ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) ยาเลเทอร์โมเวียร์ (letermovir) ยาปฏิชีวนะกลุ่มแมคโครไลด์เช่นยาอิริโทรมัยซิน (erythromycin) ยาไรฟามัยซิน (rifamycin) เช่น ยาไรแฟมพิน (rifampin) เป็นต้น

ยาพิทาวาสแตตินอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการทำปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรเก็บรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งยา ยาที่จำหน่ายโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา และผลิตภัณฑ์สมุนไพร) และแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หรือหยุดรับประทาน รวมถึงเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ปฏิกิริยาต่ออาหารหรือยาอื่น

ยาพิทาวาสแตตินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับอาหารหรือแอลกอฮอล์ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนรับประทานยา

อย่ารับประทานอาหารที่มีข้าวยีสต์แดง (ผลิตภัณฑ์จากข้าวหมักเชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่มยีสย์รา) ระหว่างรับประทานยาพิทาวาสแตติน เนื่องจากข้าวยีสต์แดงบางชนิดมีสารสแตตินที่เรียกว่า โลวาสแตติน (lovastatin) การรับประทานยาพิทาวาสแตตินร่วมกับข้าวยีสต์แดง จะเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาที่กล้ามเนื้อและตับ

ปฏิกิริยาต่ออาการโรคอื่น

ยาพิทาวาสแตตินอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ อาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลงหรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา สิ่งสำคัญคือโปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาพิทาวาสแตติน

ขนาดยาพิทาวาสแตตินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาไขมันในเลือดสูง

ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทานยาครั้งละ 2 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษา: รับประทานยาครั้งละ 1 ถึง 4 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาสูงสุด: 4 มิลลิกรัมต่อวัน

คำแนะนำ

ขนาดยามากกว่า 4 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวันเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคของกล้ามเนื้อชนิดรุนแรงในการศึกษาผลที่เกิดกับผู้บริโภค ดังนั้นขนาดยาจึงไม่ควรเกิน 4 มิลลิกรัมต่อวัน

การใช้  ควรใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหารเพื่อลดระดับคอเรสเตอรอลโดยรวม ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL-C) อะโพไลโปโปรตีนชนิดบี (Apo B) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) รวมถึงเพิ่มลิโพรโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL-C) ในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงในระยะแรกและมีลิโพรโปรตีนความหนาแน่นต่ำ รวมถึงไตรกลีเซอไรด์สูง

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาไขมันในเลือดผิดปกติ

ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทานยาครั้งละ 2 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษา: รับประทานยา 1 ถึง 4 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาสูงสุด: 4 มิลลิกรัมต่อวัน

คำแนะนำ

ขนาดยามากกว่า 4 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวันเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคของกล้ามเนื้อชนิดรุนแรงในการศึกษาผลที่เกิดกับผู้บริโภค ดังนั้นขนาดยาจึงไม่ควรเกิน 4 มิลลิกรัมต่อวัน

การใช้: ใช้ควบคู่กับการควบคุมอาหารเพื่อลดระดับคอเรสเตอรอลโดยรวม ลิโพรโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL-C) อะโพลิโพโปรตีนชนิดบี (Apo B) และไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) รวมถึงเพิ่มลิโพรโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL-C) ในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงในระยะแรกและมีลิโพรโปรตีนความหนาแน่นต่ำ รวมถึงไตรกลีเซอไรด์สูง

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไตทำงานผิดปกติขั้นปานกลางถึงรุนแรง (ไม่ได้ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม) และมีค่าอัตราการกรองของไต 15 ถึง 59 มิลลิลิตรต่อวินาทีต่อ 1.73 ตารางเมตร:

ขนาดยาเริ่มต้น: รับประทานยาครั้งละ 1 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาที่มีผลต่อการรักษา: รับประทานยาครั้งละ 2 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคตับ

โรคตับขั้นรุนแรง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของระดับสารทรานอะมิเนส (transaminase) ในตับอย่างต่อเนื่องและหาสาเหตุไม่ได้: ห้ามใช้

การปรับขนาดยา

ใช้ร่วมกับยาอีริโทรมัยซิน (erythromycin)

ขนาดยาสูงสุด: ครั้งละ 1 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

ใช้ร่วมกับยาไรแฟมพิน (rifampin)

ขนาดยาสูงสุด: ครั้งละ 4 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

การกรองของเสียจากเลือด

ผู้ป่วยไตระยะท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

  • ขนาดยาเริ่มต้น: ครั้งละ 1 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน
  • ขนาดยาสูงสุด: ครั้งละ 2 มิลลิกรัม 1 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำอื่น

คำแนะนำในการใช้

รับประทานยา 1 ครั้งต่อวันในเวลาใดก็ได้และพร้อมอาหารหรือไม่ก็ได้

ข้อกำหนดในการเก็บรักษา

เก็บให้พ้นจากแสงแดด

โดยทั่วไป

  • ไม่ได้มีการศึกษาการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดผิดปกติชนิดที่ 1 3 และ 4 ตามการจัดประเภทของเฟรดริกสัน (Fredrickson)
  • ขนาดยาควรเป็นไปตามอาการของผู้ป่วยแต่ละราย รวมถึงเป้าหมายและการตอบสนองต่อการรักษา
  • ควรใช้ยานี้เสริมกับการควบคุมอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอล เมื่อการตอบสนองต่อการควบคุมอาหารและวิธีรักษาโดยไม่ใช้ยาไม่เพียงพอเท่านั้น

การเฝ้าสังเกต

  • ตับ: ตรวจเอนไซม์ในตับก่อนเริ่มใช้ยาและตรวจซ้ำเมื่อมีอาการหรือสัญญาณของการที่ตับได้รับความเสียหายเกิดขึ้น
  • ระบบเมตาบอลิก: ทำตามวิธีการใช้ยา โดยขั้นเริ่มต้นคือการตรวจหาความเข้มข้นของสาร ควรวัดระดับลิพิดหลังจากใช้ยา 4 สัปดาห์และปรับขนาดยาให้สอดคล้องกัน
  • คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

    • รายงานทันทีหากมีอาการปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุหรือมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นกับความรู้สึกไม่สบายหรือเป็นไข้ หรือหากอาการหรือสัญญาณที่กล้ามเนื้อยังคงเกิดขึ้นแม้จะหยุดใช้ยา
    • ตรวจตับทันทีหากมีอาการที่ดูน่าจะเป็นผลจากตับได้รับบาดเจ็บ รวมถึงเหนื่อยล้า เบื่ออาหาร อึดอัดท้องส่วนบนขวา ปัสสาวะเป็นสีเข้มหรือดีซ่านเกิดขึ้น
    • ควรคุมกำเนิดระหว่างใช้ยานี้
    • แจ้งให้ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ทราบหากคุณกำลังตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ขนาดยาพิทาวาสแตตินสำหรับเด็ก

    ไม่ได้มีการกำหนดขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็ก ยานี้อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก สิ่งที่สำคัญคือต้องศึกษาการใช้ยาอย่างปลอดภัยก่อนรับประทาน โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    รูปแบบของยา

    ยาพิทาวาสแตตินมีรูปแบบดังต่อไปนี้

    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

    กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา