backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา วาลาไซโคลเวียร์ ใช้สำหรับ

ยา วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir หรือ Valaciclovir) มักจะใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด สำหรับเด็ก ยานี้จะใช้เพื่อรักษาโรคเริมที่ริมฝีปาก ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (herpes simplex) และโรคอีสุกอีใส ที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (varicella zoster) ในเด็กที่อายุอย่างน้อย 12 ปี สำหรับผู้ใหญ่ยานี้จะใช้รักษาโรคงูสวัด ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์ (herpes zoster) และโรคเริมรอบๆ ปาก

ยาวาลาไซโคลเวียร์ยังใช้เพื่อรักษาโรคเริม ที่อวัยวะเพศที่ลุกลาม สำหรับผู้ที่มีอาการลุกลามบ่อยครั้ง ยานี้ยังสามารถลดจำนวนครั้งการลุกลามในอนาคตได้อีกด้วย

ยาวาลาไซโคลเวียร์จะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสบางชนิด แต่ไม่สามารถรักษาการติดเชื้อเหล่านี้ให้หายขาดได้ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในร่างกายต่อไป แม้แต่ในช่วงระหว่างการลุกลาม ยาวาลาไซโคลเวียร์สามารถลดความรุนแรง และระยะเวลาในการลุกลามเหล่านี้ ช่วยให้แผลหายได้ไวขึ้น ทำให้แผลใหม่ไม่เกิดขึ้น และช่วยลดอาการปวดหรืออาการคัน

วิธีการใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์

รับประทานยาวาลาไซโคลเวียร์พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด ควรดื่มน้ำให้มากขณะที่กำลังใช้ยานี้ เพื่อลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง

ยานี้จะได้ผลดีที่สุดหากใช้ตามที่แพทย์กำหนด เมื่อเริ่มมีสัญญาณของการลุกลาม ยานี้อาจจะไม่ได้ผล หากคุณเริ่มต้นการรักษาช้า สำหรับโรคอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด ควรเริ่มใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์เมื่อเริ่มมีอาการให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากเกิดผดผื่นขึ้น สำหรับโรคเริมที่ริมฝีปากหรือเริมที่อวัยวะเพศ ควรเริ่มใช้ยานี้เมื่อเริ่มรู้สึกคัน หรือแสบร้อน

แผลที่เกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์นั้น ควรรักษาความสะอาดและความแห้งให้ดีเท่าที่เป็นไปได้ การสวมเสื้อผ้าหลวมๆ อาจช่วยป้องกันการระคายเคืองแผลได้

ยาวาลาไซโคลเวียร์จะทำงานได้ดีที่สุด หากมีปริมาณของยาภายในร่างกายอยู่ในระดับคงที่ ดังนั้น จึงควรใช้ยาโดยเว้นช่วงที่เท่ากัน

การเก็บรักษายาวาลาไซโคลเวียร์

ยาวาลาไซโคลเวียร์ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาวาลาไซโคลเวียร์บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาวาลาไซโคลเวียร์ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา วาลาไซโคลเวียร์

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่มีฤทธิ์ในการรักษาของยาวาลาไซโคลเวียร์ หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณติดเชื้อเอชไอวีหรือเป็นโรคเอดส์ (HIV/AIDS) ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคไตหรือหากคุณกำลังอยู่ในกระบวนการไดอะไลซิส (Dialysis) หรือหากคุณรับการปลูกถ่ายไตหรือปลูกถ่ายไขกระดูก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยา วาลาไซโคลเวียร์ จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

โปรดติดต่อแพทย์ทันที หากคุณมีอาการ

  • สับสน ก้าวร้าว หรือรู้สึกตัวสั่นหรือไม่มั่นคง
  • ภาพหลอน (มองเห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่มีจริง)
  • มีปัญหากับการพูด
  • ชัก
  • ปัญหาเกี่ยวกับไต — ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด มีอาการบวมที่เท้าหรือข้อเท้า รู้สึกเหนื่อยหรือหายใจลำบาก

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปของยาวาลาไซโคลเวียร์อาจมีดังนี้

  • คลื่นไส้ ปวดท้อง
  • ปวดหัว
  • ผดผื่น
  • รู้สึกเหนื่อย

หยุดใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์ และติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีสัญญาณของผลข้างเคียงที่รุนแรง ที่สามารถทำอันตรายต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ดังต่อไปนี้

  • เป็นไข้ ผิวซีด
  • อาการเลือดออกผิดปกติ (เลือดกำเดาไหล เลือดออกที่เหงือก)
  • ปัสสาวะสีแดงหรือสีชมพู ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย
  • มีจุดสีแดงที่ผิวหนัง (ไม่เกี่ยวข้องกับโรคเริมหรือโรคอีสุกอีใส)
  • รู้สึกอ่อนแรงหรือเหนื่อยล้า
  • ปวดท้อง ท้องร่วงเป็นเลือด อาเจียน
  • มีอาการบวมที่ใบหน้า มือ หรือขา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาวาลาไซโคลเวียร์อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจจะมีปฏิกิริยากับยานี้คือยาอื่นที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับไต รวมถึงยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือยานาพรอกเซน (Naproxen)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาวาลาไซโคลเวียร์อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาวาลาไซโคลเวียร์อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ไตบกพร่อง
  • ภาวะทรอมโบติค ทรอมโบไซโตพีนิค เพอร์พูร่า (Ttp) หรือกลุ่มอาการฮีโมไลติกยูรีมิก (Hus)
  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาวาลาไซโคลเวียร์สำหรับผู้ใหญ่

สำหรับโรคเริมริมฝีปาก 

  • 2 กรัม รับประทานทุก ๆ 12 ชั่วโมง เป็นจำนวนทั้งหมด 2 ครั้ง (4 กรัม)
  • ควรเริ่มการรักษาให้เร็วที่สุดเมื่อเริ่มมีสัญญาณของโรคเริมที่ริมฝีปาก (เช่น แสบร้อน หรือคัน)

สำหรับเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ — เยื่อเมือก / ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 

เริมที่อวัยวะเพศ

  • ช่วงแรก 1 กรัม รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน
  • ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพหากเริ่มรักษาหากเวลาผ่านไปนานกว่า 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีสัญญาณและอาการ
  • ช่วงอาการกำเริบ 500 มก. รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 3 วัน
  • ควรเริ่มต้นการรักษาทันทีเมื่อมีสัญญาณแรกของโรคเริมที่อวัยวะเพศ ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพหากเริ่มรักษาหากเวลาผ่านไปนานกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีสัญญาณและอาการ

สำหรับเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ — กดอาการ

การยับยั้งโรคเริมที่อวัยวะเพศกำเริบในระยะยาว

  • ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน 1 กรัม รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาอีกทางเลือกของผู้ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีประวัติอาการกำเริบปีละ 9 ครั้งหรือน้อยกว่า คือ 500 มก. รับประทานวันละครั้ง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษานานกว่า 1 ปีสำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

  • ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีจำนวนเซลล์ซีดีโฟร์ (CD4) 100 เซลล์/ลูกบาศก์เมตรหรือมากกว่า 500 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษานานกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคเริมที่อวัยวะเพศในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีประวัติอาการกำเริบปีละ 9 ครั้งหรือน้อยกว่า 500 มก. รับประทานวันละครั้งสำหรับคู่ที่เป็นแหล่งของโรค

ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการรักษานานกว่า 8 เดือน สำหรับคู่ที่ผู้หนึ่งติดเชื้อเอชไอวี และอีกคนไม่ติดเชื้อเอชไอวี

สำหรับเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซอสเตอร์

  • 1 กรัม รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน

จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดหากเริ่มการรักษาภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อเริ่มมีผดผื่น ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นการรักษาเมื่อเวลาผ่านไปแล้วมากกว่า 72 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีผดผื่น

สำหรับเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ — เยื่อเมือก/ ผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

โรคเริมที่อวัยวะเพศในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี

  • ช่วงแรก 1 กรัม รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 7 ถึง 14 วัน

ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพหากเริ่มรักษาหากเวลาผ่านไปนานกว่า 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีสัญญาณและอาการ

  • ช่วงอาการกำเริบ 1 กรัม รับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลา 5 ถึง 14 วัน

ควรเริ่มต้นการรักษาทันที เมื่อมีสัญญาณแรกของโรคเริมที่อวัยวะเพศ ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพ หากเริ่มรักษาหากเวลาผ่านไปนานกว่า 24 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีสัญญาณและอาการ

การใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์ เพื่อรักษาโรคเริมที่อวัยวะเพศช่วงเริ่มต้น และช่วงอาการกำเริบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีนั้น ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ

สำหรับการป้องกันการติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (CMV)

  • สำหรับผู้รับการปลูกถ่ายไต 2 กรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง

การใช้ยาวาลาไซโคลเวียร์เพื่อป้องกันการติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัสนั้น ไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งอเมริกา

ขนาดยาวาลาไซโคลเวียร์สำหรับเด็ก

สำหรับโรคเริมริมฝีปาก

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 2 กรัม รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง เป็นจำนวนทั้งหมด 2 ครั้ง (4 กรัม)

ควรเริ่มการรักษาให้เร็วที่สุด เมื่อเริ่มมีสัญญาณของโรคเริมที่ริมฝีปาก (เช่น แสบร้อน หรือคัน)

สำหรับเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์

โรคอีสุกอีใสในผู้ป่วยที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน

อายุ 2 ถึงน้อยกว่า 18 ปี

  • 20 มก./กก. รับประทาน 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน
  • ขนาดยาสูงสุด 1 กรัม รับประทานวันละ 3 ครั้ง

ควรเริ่มการรักษาให้เร็วที่สุดเมื่อเริ่มมีสัญญาณของโรคอีสุกอีใส ไม่ควรช้ากว่า 24 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการผดผื่น

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด 500 มก. 1 กรัม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา