backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สโคโปลามีน (Scopolamine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

สโคโปลามีน (Scopolamine)

ข้อบ่งใช้

ยา สโคโปลามีน ใช้สำหรับ

ยา สโคโปลามีน (Scopolamine) ลดการหลั่งของสารในอวัยวะบางส่วน เช่น กระเพาะอาหารและลำไส้ ยาสโคโปลามีนยังสามารถลดสัญญาณประสาท ที่กระตุ้นกระเพาะอาหารของคุณให้คุณอาเจียน

ยาสโคโปลามีนยังใช้เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียน ที่เกิดการเมายานพาหนะ (motion sickness) หรือยาชาที่ได้รับระหว่างการผ่าตัด

ยาสโคโปลามีนยังใช้เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือปัญหาเกี่ยวกับลำไส้บางประเภท กล้ามเนื้อกระตุก สภาวะที่คล้ายกับโรคพาร์กินสัน (Parkinson)

วิธีการใช้ยา สโคโปลามีน

ควรทำตามแนวทางทั้งหมดบนฉลาก อย่าใช้รับประทานขนาดที่มากกว่า น้อยกว่า หรือนานกว่าที่แนะนำ

รับประทานยาพร้อมกับดื่มน้ำอย่างน้อยหนึ่งแก้ว

คุณสามารถรับประทานยาสโคโปลามีน พร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก็ได้

หากคุณใช้ยาสโคโปลามีน เพื่อรักษาสภาวะที่คล้ายกับโรคพาร์กินสัน อย่าหยุดใช้ยานี้อย่างกะทันหัน การหยุดใช้ยาอย่างกะทันหันอาจทำให้สภาวะนั้นรุนแรงขึ้น

การเก็บรักษายาสโคโปลามีน

ยาสโคโปลามีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาสโคโปลามีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาสโคโปลามีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาสโคโปลามีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาสโคโปลามีน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณไม่ควรใช้ยานี้หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้ต่อยาสโคโปลามีนหรือยาที่คล้ายกัน เช่น เมทสโคโพลามีน (methscopolamine) หรือไฮออสไซยามีน (hyoscyamine) หรือหากคุณเป็นโรค

    • โรคต้อหินมุมปิด
    • ลำไส้อุดตัน
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจอย่างรุนแรง
    • หากคุณไม่สามารถปัสสาวะได้

    ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

    ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

    ยาสโคโปลามีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

    การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

    • A= ไม่มีความเสี่ยง
    • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
    • C= อาจจะมีความเสี่ยง
    • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
    • X= ห้ามใช้
    • N= ไม่ทราบแน่ชัด

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยาสโคโปลามีน

    โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการ

    • ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเลย
    • หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
    • สับสน
    • หวาดระแวง
    • กลืนลำบาก

    ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปอาจมีดังนี้

    • ปากแห้ง กระหายน้ำเพิ่มขึ้น
    • ผิวแห้ง
    • ท้องผูก
    • มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด
    • ง่วงซึม
    • วิงเวียน
    • รู้สึกร้อนรน
    • มองเห็นไม่ชัด รูม่านตาขยาย ดวงตามีปฏิกิริยาไวต่อแสงมากขึ้น

    ผลข้างเคียงนี้มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยกว่าในผู้สูงอายุ

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยาสโคโปลามีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่ยาโพแทสเซียมแบบยาเม็ดหรือยาแคปซูล ยาพรามลินไทด์ (pramlintide)

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาสโคโปลามีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ยาสโคโปลามีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

    โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

    • โรคต้อหิน
    • ต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะอุดตัน หรือปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ
    • ปัญหาเกี่ยวกับหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้
    • โรคไต
    • โรคตับ
    • โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
    • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) หลอดเลือดแดงแข็งตัว
    • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Overactive thyroid)
    • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia gravis)
    • โรคหอบหืดหรือปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอื่นๆ
    • เคยมีการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือโรคเนื้องอกในสมอง

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาสโคโปลามีนสำหรับผู้ใหญ่

    สำหรับอาหารคลื่นไส้อาเจียน

    แก้คลื่นไส้อาเจียนทั่วไป 0.3 ถึง 0.65 มก. ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เข้ากล้ามเนื้อ หรือใต้ผิวหนัง ทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น

    แก้คลื่นไส้และอาเจียนหลังจากการผ่าตัด แปะแผ่นยาซึมผ่านผิวหนังสโคโปลามีนขนาด 1.5 มก. ไว้ที่ด้านหลังใบหูในตอนเย็น คือวันก่อนการผ่าตัด ควรแปะแผ่นยาไว้ 24 ชั่วโมงหลังจากการผ่าตัด แล้วจึงค่อยกำจัดทิ้ง

    หากคุณใช้แผ่นแปะยาสโคโปลามีนกับผู้ป่วยที่คลอดบุตร ควรแปะแผ่นยา 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดคลอด เพื่อจำกัดปริมาณยาที่จะเข้าสู่เด็กทารก

    สำหรับภาวะเมายานพาหนะ

    แปะแผ่นแผะยาซึมผ่านผิวหนังสโคโปลามีนขนาด 1.5 มก. ไว้ที่ด้านหลังใบหูอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเดินทาง ทุกๆ 3 วันเท่าที่จำเป็น

    สำหรับอาการสั่นเทาที่เหมือนโรคพาร์กินสัน

    ขนาดยาที่แนะนำคือ 0.4 ถึง 0.8 มก. รับประทานทุกๆ 8 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น

    ขนาดยาสโคโปลามีนสำหรับเด็ก

    สำหรับอาหารคลื่นไส้อาเจียน

    อายุ 1 ถึง 12 ปี 6 ไมโครกรัม/กก./ครั้ง (ขนาดยาสูงสุดที่ 0.3 มก./ครั้ง) ฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ เข้ากล้ามเนื้อ หรือใต้ผิวหนังทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น

    สำหรับภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว

    อายุมากกว่า 12 ปี แปะแผ่นยาซึมผ่านผิวหนังสโคโปลามีนขนาด 1.5 มก. ไว้ที่ด้านหลังใบหูอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนเริ่มมีการเคลื่อนไหว ทุกๆ 3 วันเท่าที่จำเป็น

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ด 1.5 มก. 1 มก./มล. 0.4 มก./มล. 0.4 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา