backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ออกซีบิวไทนิน (Oxybutynin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ออกซีบิวไทนิน (Oxybutynin)

ข้อบ่งใช้

ยา ออกซีบิวไทนิน ใช้สำหรับ

ยา ออกซีบิวไทนิน (Oxybutynin) คือยาที่ใช้เพื่อรักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (overactive bladder) และภาวะที่เกี่ยวกับปัสสาวะ โดยคลายกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะ และอาการปัสสาวะบ่อย ยาออกซีบิวไทนินเป็นยาในกลุ่มของยาคลายกล้ามเนื้อ

ยานี้ยังใช้เพื่อรักษาเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน เนื่องจากความผิดปกติของเส้นประสาทบางชนิด เช่น Spina bifida

วิธีใช้ยา ออกซีบิวไทนิน

สามารถรับประทานนี้ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการ และการตอบสนองต่อการรักษา ระยะเวลาของการรักษานั้น แพทย์จะเป็นผู้กำหนด ซึ่งแพทย์อาจจะแนะนำให้ทดลองใช้ยานี้เป็นระยะๆ เพื่อดูว่าคุณยังจำเป็นต้องใช้ยานี้ต่อหรือไม่

ห้ามบดยา หรือเคี้ยวยาแบบออกฤทธิ์นาน เนื่องจากจะทำให้ยาปล่อยฤทธิ์ออกมาภายในทีเดียว และเพิ่มผลข้างเคียงได้ นอกจากนี้อย่าแบ่งยาเม็ด ยกเว้นว่ายานั้นจะมีรอยเส้นแบ่งให้อยู่แล้ว และแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำให้ทำ กลืนยาทั้งเม็ด หรือยาที่แบ่งแล้วลงไป โดยไม่ต้องบดหรือเคี้ยวยา

ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือมีอาการแย่ลง

การเก็บรักษายา ออกซีบิวไทนิน

ควรเก็บยานี้ไว้ในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาออกซีบิวไทนินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาออกซีบิวไทนินลงในชักโครก หรือทิ้งลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาออกซีบิวไทนิน

ก่อนใช้ยาออกซีบิวไทนิน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่า คุณแพ้ยานี้หรือไม่ หรือหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ในการรักษา ที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นๆ สอบถามกับเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนรับประทานยานี้ แจ้งประวัติทางการแพทย์ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ โดยเฉพาะหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการตกเลือดภายใน เป็นโรคต้อหิน โรคเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น ภาวะท่อปัสสาวะอุดตัน หรือปัสสาวะไม่ออก โรคกล้ามเนื้อบางชนิด เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคหัวใจ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคตับ สมองเสื่อม ความผิดปกติที่ระบบประสาทบางชนิด เข่น เส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม ต่อมลูกหมากโต โรคในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เช่น มีการอุดตัน ลำไส้เป็นอัมพาต กรดไหลย้อน ไส้เลื่อน โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

ยานี้สามารถทำให้เกิดอาการมึนงง หรือเซื่องซึม หรือมองเห็นไม่ชัด แอลกอฮอล์และกัญชายังสามารถเพิ่มอาการมึนงงและเซื่องซึมได้ ห้ามขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำอะไรก็ตามที่ต้องการความตื่นตัว หรือการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะทำได้อย่างปลอดภัย ปรึกษากับแพทย์ หากคุณใช้กัญชาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ก่อนการผ่าตัด แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ให้ทราบว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ)

ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อให้เกิดอาการเป็นลมแดด เพราะทำให้เหงื่อออกลดลง หลีกเลี่ยงความร้อนที่มากเกินไป การใช้เซาน่า และระหว่างการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมต้องใช้แรงอื่นๆ

ผู้สูงอายุอาจมีความรู้สึกไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการง่วงซึม สับสน ท้องผูก มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ อาการง่วงซึมและสับสน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการลื่นล้มได้

ในช่วงการตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น และควรปรึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลดีกับแพทย์

ยานี้อาจส่งผลต่อการให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยาออกซีบิวไทนิน ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาความเสี่ยงของการใช้ยา

ยาออกซีบิวไทนินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดย FDA มีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาออกซีบิวไทนิน

อาจมีอาการปากแห้ง มึนงง เซื่องซึม มองเห็นไม่ชัด ตาแห้ง คลื่นไส้ อาเจียนท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย ปวดหัว การรับรสชาติผิดปกติ ผิวหนังแห้งหรือแดง และอ่อนแรง หากเกิดผลข้างเคียงใดๆ หรือมีอาการแย่ลง ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบโดยทันที

เพื่อบรรเทาอาการปากแห้ง ให้อมลูกอม (ที่ไม่มีน้ำตาล) หรือน้ำแข็ง เคี้ยวหมากฝรั่ง (ที่ไม่มีน้ำตาล) ดื่มน้ำ หรือใช้น้ำลายเทียม เพื่อลดอาการตาแห้ง ให้ใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาอื่นๆ ปรึกษากับเภสัชกรของคุณสำหรับคำแนะนำเพิ่มเติม

เพื่อป้องกันอาการท้องผูก รักษาระดับของอาหารที่มีใยอาหารเพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก และออกกำลังกาย หากคุณมีอาการท้องผูก ขอความช่วยเหลือจากเภสัชกรของคุณเพื่อเลือกยาระบาย (เช่น ยากระตุ้นที่ทำให้อุจจาระอ่อนตัว)

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์ มากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

โปรดแจ้งแพทย์ทันที หากคุณเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ทำกิจกรรมทางเพศได้น้อยลง ปัสสาวะได้ลำบาก หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ มีสัญญาณของการติดเชื้อที่ไต (เช่น ปวดแสบปวดร้อน ปวด ปัสสาวะบ่อย ปวดหลังส่วนล่าง มีไข้) อารมณ์แปรปรวน (เช่น สับสน เห็นภาพหลอน) แขน ขา ข้อศอก หรือเท้าบวม มีปัญญาเกี่ยวกับการมองเห็น (รวมไปถึงปวดตา) ชัก กระเพาะหรือลำไส้อุดตัน (เช่น คลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ ท้องผูกเป็นเวลานาน)

การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง ได้แก่ ผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ) เวียนหัวขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจมีผลข้างเคียงอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไปข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่เกิดปฏิกิริยากับยานี้มีดังนี้ ยาแพรมลินไทด์ (pramlintide) ยาที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่หลอดอาหารหรือกระเพาะ เช่น ยาเม็ดหรือแคปซูลโพแทสเซียม ยากลุ่มบีสฟอสโฟเนตส์แบบรับประทาน (bisphosphonates) เช่น ยาอะเลนโดรเนท (alendronate) ยาเอติโดรเนต (etidronate) ยาที่ทำให้เกิดอาการปากแห้งและท้องผูก เช่น ยาต้านโคลีเนอร์จิคจำพวกอะโทรปีน (atropine) หรือสโคโปลามีน (scopolamine) ยาต้านฮิสตามีน เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) ยาบรรเทาอาการปวดท้องอื่นๆ เช่น ไดไซโคลมีน (dicyclomine) เบลลาดอนนา อัลคาลอยด์ (belladonna alkaloids)

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณกำลังใช้ยาอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น ยาแก้ปวดโอปิออยด์ (opioid) หรือยาบรรเทาอาการไอ เช่น โคดีน (codeine) ไฮโดรโคโดน (hydrocodone) แอลกอฮอล์ กัญชา ยานอนหลับ หรือยาระงับภาวะวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (alprazolam) ลอราซีแพม (lorazepam) โซลพิเดม (zolpidem) ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น คาริโซโพรดอล (carisoprodol) ไซโคลเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) หรือยาต้านฮิสตามีน เช่น เซทิริซีน (cetirizine) ไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine)

ตรวจสอบฉลากยาทั้งหมดของคุณ (เช่น ยาแก้แพ้ หรือยาแก้หวัดแก้ไอ) เนื่องจากอาจจะมีส่วนผสมที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ท้องผูก หรือมองเห็นไม่ชัด ควรสอบถามวิธีการใช้ยาพวกนี้อย่างปลอดภัยจากเภสัชกร

ยาออกซีบิวไทนินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งยาที่คุณใช้ทั้งหมด (รวมไปถึงยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) ให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาออกซีบิวไทนินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาออกซีบิวไทนินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยาออกซีบิวไทนิน เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาออกซีบิวไทนินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อใช้รักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ

ขนาดยาที่แนะนำ: 5 มก. รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 5 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด

ขนาดยาที่แนะนำ: 5-10 มก. รับประทานวันละครั้ง ในเวลาเดียวกันโดยประมาณ ทุกๆ วัน

การไตเตรท: สามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นได้ 5 มก. เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความทนต่อยา

ขนาดยาสูงสุด: 30 มก. ต่อวัน

แผ่นยาแปะผิวหนัง

ขนาดยาที่แนะนำ: 3.9 มก.ต่อวัน แปะลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก สองครั้งต่อสัปดาห์ (ทุก 3 หรือ 4 วัน) ควรเลือกบริเวณใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นแปะ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

ยาเจลทาผิวหนัง 3%

ขนาดยาที่แนะนำ: ปั๊ม 3 ครั้ง (84 มก.ต่อวัน) ทาลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณท้อง หรือต้นแขน ไหล่ หรือต้นขา ควรใช้ยาในทันทีหลังจากที่กระตุ้นยาแล้ว ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่ทายา เพื่อลดความรุนแรงของการเกิดปฏิกิริยาตรงส่วนที่ทายา

ยาเจลทาผิวหนัง 10%

ขนาดยาที่แนะนำ: ใช้ยาหนึ่งซองทาลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณท้อง หรือต้นแขน ไหล่ หรือต้นขา ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่ทายา ไม่ควรทายาในตำแหน่งเดียวกันเป็นติดต่อกัน

คำแนะนำ

-ควรกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำ

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอและรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

-ควรใช้แผ่นแปะกับผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผลในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก ควรใช้ทันทีหลังจากที่แกะออกจากซอง ควรเลือกบริเวณใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นแปะ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

วิธีการใช้: ใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะในผู้ป่วยที่ระบบประสาททำงานไม่ปกติ หรือมีปฏิริยาต่อภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากระบบประสาท (เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรั่ว กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด) ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะปัสสาวะบ่อย ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อใช้รักษาภาวะปัสสาวะบ่อย

ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ

ขนาดยาที่แนะนำ: 5 มก. รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 5 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด

ขนาดยาที่แนะนำ: 5-10 มก. รับประทานวันละครั้ง ในเวลาเดียวกันโดยประมาณ ทุกๆ วัน

การไตเตรท: สามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นได้ 5 มก. เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความทนต่อยา

ขนาดยาสูงสุด: 30 มก.ต่อวัน

แผ่นยาแปะผิวหนัง

ขนาดยาที่แนะนำ: 3.9 มก.ต่อวัน แปะลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก สองครั้งต่อสัปดาห์ (ทุก ๆ 3 หรือ 4 วัน) ควรเลือกบริเวณใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นแปะ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

ยาเจลทาผิวหนัง 3%

ขนาดยาที่แนะนำ: ปั๊ม 3 ครั้ง (84 มก.ต่อวัน) ทาลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณท้อง หรือต้นแขน ไหล่ หรือต้นขา ควรใช้ยาในทันทีหลังจากที่กระตุ้นยาแล้ว ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่ทายาเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดปฏิกิริยาตรงส่วนที่ทายา

ยาเจลทาผิวหนัง 10%

ขนาดยาที่แนะนำ: ใช้ยาหนึ่งซองทาลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณท้อง หรือต้นแขน ไหล่ หรือต้นขา ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่ทายา ไม่ควรทายาในตำแหน่งเดียวกันเป็นเวลาติดต่อกัน

คำแนะนำ

-ควรรับประทานยาทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำ

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอและรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

-ควรใช้แผ่นแปะกับผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผลในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก ควรใช้ทันทีหลังจากที่แกะออกจากซอง ควรเลือกบริเวณใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นแปะ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

วิธีการใช้: ใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะในผู้ป่วยที่ระบบประสาททำงานไม่ปกติ หรือมีปฏิริยาต่อภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากระบบประสาท (เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรั่ว กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด) ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะปัสสาวะบ่อย ภาวะกกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อใช้รักษาภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากระบบประสาท

ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ

ขนาดยาที่แนะนำ: 5 มก. รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง

ขนาดยาสูงสุด: 5 มก. รับประทานวันละ 4 ครั้ง

ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด

ขนาดยาที่แนะนำ: 5-10 มก. รับประทานวันละครั้ง ในเวลาเดียวกันโดยประมาณ ทุกๆ วัน

การไตเตรท: สามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นได้ 5 มก. เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความทนต่อยา

ขนาดยาสูงสุด: 30 มก.ต่อวัน

แผ่นยาแปะผิวหนัง

ขนาดยาที่แนะนำ: 3.9 มก.ต่อวัน แปะลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก สองครั้งต่อสัปดาห์ (ทุกๆ 3 หรือ 4 วัน) ควรเลือกบริเวณใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นแปะ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

ยาเจลทาผิวหนัง 3%

ขนาดยาที่แนะนำ: ปั๊ม 3 ครั้ง (84 มก.ต่อวัน) ทาลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณท้อง หรือต้นแขน ไหล่ หรือต้นขา ควรใช้ยาในทันทีหลังจากที่กระตุ้นยาแล้ว ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่ทายาเพื่อลดความรุนแรงของการเกิดปฏิกิริยาตรงส่วนที่ทายา

ยาเจลทาผิวหนัง 10%

ขนาดยาที่แนะนำ: ใช้ยาหนึ่งซองทาลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ในบริเวณท้อง หรือต้นแขน ไหล่ หรือต้นขา ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่ทายา ไม่ควรทายาในตำแหน่งเดียวกันเป็นเวลาติดต่อกัน

คำแนะนำ

-ควรกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำ

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอและรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

-ควรใช้แผ่นแปะกับผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผลในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก ควรใช้ทันทีหลังจากที่แกะออกจากซอง ควรเลือกบริเวณใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแผ่นแปะ เพื่อหลีกเลี่ยงให้ยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

วิธีการใช้: ใช้พื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ระบบประสาททำงานไม่ปกติ หรือมีปฏิริยาต่อภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระบบประสาท (เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรั่ว กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด) ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะปัสสาวะบ่อย ภาวะกกลั้นปัสสาวะไม่ได้

การปรับขนาดยาสำหรับโรคไต

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การปรับขนาดยาสำหรับโรคตับ

ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้

-กลืนยาออกฤทธิ์นานแบบเม็ดลงไปทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว บด หรือแบ่งยา ยาออกฤทธิ์นานแบบเม็ดสามารถรับประทานพร้อมอาหารหรือรับประทานแยกต่างหากได้ รับประทานในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน

-ยาเม็ด ไซรัป และยาน้ำควรรับประทานคู่กับอาหารหรือนมเพื่อลดอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

-แผ่นยาแปะผิวหนังควรแปะในบริเวณหน้าท้อง เอว หรือสะโพก แปะลงบนผิวที่แห้งและไม่มีบาดแผล ควรมีการสับเปลี่ยนบริเวณที่แปะยาเพื่อลดศักยภาพของการเกิดปฏิกิริยาตรงส่วนที่แปะ อย่าแปะแผ่นยาซ้ำตำแหน่งเดิมภายใน 7 วัน

การเฝ้าสังเกต

-ระบบประสาท: เฝ้าระวังสัญญาณของฤทธิ์แอนตีโคลีนเนอร์จิค

(anticholinergic effects) ในช่วงเดือนแรกๆ หลังจากเริ่มการรักษาหรือเพิ่มขนาดยา

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

-ภาวะหมดแรงเนื่องจากความร้อน (Heat prostration) เช่น เป็นไข้ และเป็นลมแดด เนื่องจากเหงื่อออกลดลง สามารถเกิดขึ้นหากให้ยานี้ ในช่วงที่มีอุณหภูมิแวดล้อมสูง

-แนะนำให้ผู้ป่วยระมัดระวังเรื่องการออกกำลังกาย เนื่องจากยานี้สามารถทำให้เกิดอาการง่วงซึม (somnolence) และมองเห็นไม่ชัด

-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มอาการง่วงซึมที่มาจากยานี้

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอ และรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

-ยาในรูปแบบออกฤทธิ์นานนั้น มีส่วนผสมที่อาจจะถูกขจัดออกจากร่างกาย และอาจปรากฏในอุจจาระ

-ยานี้มีความเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านโคลีเนอร์จิคระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ภาพหลอน กระสับกระส่าย สับสน และง่วงนอนมากเกินไป

-อาการง่วงซึมและมองเห็นไม่ชัด อาจส่งผลกระทบต่อความตื่นตัวทางจิตและการทำงาน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาระงับประสาทอื่นๆ ก็อาจทำให้อาการง่วงนอนเพิ่มมากขึ้น

ขนาดยาออกซีบิวไทนินสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อใช้รักษาภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ

ผู้ป่วยเด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป

-ขนาดยาปกติ: 5 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

-ขนาดยาสูงสุด: 5 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง

ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด

ผู้ป่วยเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป

-ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มก. รับประทานวันละครั้ง ในเวลาเดียวกันโดยประมาณ ทุกๆ วัน สามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นได้ 5 มก. เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความทนต่อยา

-ขนาดยาสูงสุด: 15 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

-ควรกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำ

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอ และรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

วิธีการใช้

-ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ: ใช้เพื่อบรรเทาอาการไม่คงที่ของกระเพาะปัสสาวะ ที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะในผู้ป่วยที่ระบบประสาทไม่ได้ถูกยับยั้ง หรือมีปฏิริยาต่อภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระบบประสาท (เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรั่ว กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด) ในผู้ป่วยที่อายุ 5 ปีขึ้นไป

-ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด: ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีอาการของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (detrusor overactivity) ที่เกี่ยวข้องกับอาการทางระบบประสาท เช่น สไปนา ไบฟิดา (spina bifida)

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อใช้รักษาภาวะปัสสาวะบ่อย

ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัปยาน้ำ

ผู้ป่วยเด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป

-ขนาดยาปกติ: 5 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

-ขนาดยาสูงสุด: 5 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง

ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด

ผู้ป่วยเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป

-ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มก. รับประทานวันละครั้ง ในเวลาเดียวกันโดยประมาณ ทุกๆ วัน สามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นได้ 5 มก. เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความทนต่อยา

-ขนาดยาสูงสุด: 15 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

-ควรรับประทานยาทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำ

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอและรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

วิธีการใช้

-ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ: ใช้เพื่อบรรเทาอาการไม่คงที่ของกระเพาปัสสาวะ ที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ระบบประสาทไม่ได้ถูกยับยั้ง หรือมีปฏิริยาต่อภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระบบประสาท (เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรั่ว กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด) ในผู้ป่วยที่อายุ 5 ปีขึ้นไป

-ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด: ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีอาการของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (detrusor overactivity) ที่เกี่ยวข้องกับอาการทางระบบประสาท เช่นสไปนา ไบฟิดา

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อใช้รักษาภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากระบบประสาท

ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ

ผู้ป่วยเด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป

-ขนาดยาปกติ: 5 มก. รับประทานวันละ 2 ครั้ง

-ขนาดยาสูงสุด: 5 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง

ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด

ผู้ป่วยเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป

-ขนาดยาเริ่มต้น: 5 มก. รับประทานวันละครั้ง ในเวลาเดียวกันโดยประมาณ ทุกๆ วัน สามารถปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นได้ 5 มก. เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความทนต่อยา

-ขนาดยาสูงสุด: 15 มก. รับประทานวันละครั้ง

คำแนะนำ

-ควรกลืนยาทั้งเม็ดพร้อมกับดื่มน้ำ

-ในกรณีลืมรับประทานยา ผู้ป่วยควรรอและรับประทานยารอบถัดไปในเวลาปกติ

วิธีการใช้

-ยาออกฤทธิ์ทันทีในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ: ใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการขับปัสสาวะในผู้ป่วยที่ระบบประสาททำงานไม่ปกติ หรือมีปฏิริยาต่อภาวะผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะเนื่องจากระบบประสาท (เช่น ปวดปัสสาวะฉับพลัน ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขัด) ในผู้ป่วยที่อายุ 5 ปีขึ้นไป

-ยาออกฤทธิ์นานในรูปแบบยาเม็ด: ใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป ที่มีอาการของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (detrusor overactivity) ที่เกี่ยวข้องกับอาการทางระบบประสาท เช่นสไปนา ไบฟิดา (spina bifida)

ข้อควรระวัง

-ยาในรูปแบบยาเม็ด ไซรัป ยาน้ำ: ยังไม่มีการจัดทำยาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 5 ปี

-ยาในรูปแบบออกฤทธิ์นาน: ยังไม่มีการจัดทำยาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 6 ปี

– ยาในรูปแบบแผ่นแปะหรือเจล: ยังไม่มีการจัดทำยาที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี

รูปแบบของยา

จุดเด่นและรูปแบบการใช้งานมีดังนี้

  • ยาเจลทาผิวหนัง
  • ไซรัปแบบรับประทาน
  • ยาเม็ดแบบรับประทาน
  • ยาเม็ดแบบรับประทานออกฤทธิ์นาน
  • แผ่นแปะแบบฟิล์มให้ทางผิวหนังออกฤทธิ์นาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา