backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อะโปมอร์ฟีน (Apomorphine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อะโปมอร์ฟีน (Apomorphine)

ข้อบ่งใช้

ยา อะโปมอร์ฟีน ใช้สำหรับ

ยา อะโปมอร์ฟีน (Apomorphine) มีผลเดียวกันกับสารในร่างกาย ที่เรียกว่า โดพามีน (dopamine) ซึ่งร่างกายสามารถสร้างขึ้นเอง ระดับของสารโดพามีน ในสมองที่ลดลงนั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคพาร์กินสัน

ยาอะโปมอร์ฟีนเพื่อรักษาอาการยาหมดฤทธิ์ก่อนกำหนดสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันขั้นรุนแรง เช่น อาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ยาอะโปมอร์ฟีนยังอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น นอกเหนือจากคู่มือการใช้ยาได้อีกด้วย

วิธีการใช้ยา อะโปมอร์ฟีน

ทำตามแนวทางการใช้ยาบนฉลากยา ในบางครั้งแพทย์จะเปลี่ยนขนาดยาของคุณ อย่าใช้ยาอะโปมอร์ฟีนในขนาดที่มากกว่า หรือใช้นานกว่ากำหนด แจ้งให้แพทย์ทราบหากยาไม่ได้ผลที่ดีขึ้น

ฉีดยาอะโปมอร์ฟีนเข้าใต้ผิวหนัง คุณอาจต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยาที่บ้าน อย่าใช้ยานี้จนกว่าคุณจะเข้าใจวิธีการฉีดยา และการกำจัดกระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาที่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง

ห้ามฉีดยาอะโปมอร์ฟีนเข้าในหลอดเลือดดำ

ผู้ดูแลจะแจ้งให้ทราบว่า ส่วนใดบนร่างกายของคุณเหมาะสมจะฉีดยาอะโปมอร์ฟีนมากที่สุด ควรฉีดยาในบริเวณที่แตกต่างกันทุกครั้งที่ฉีดยา อย่าฉีดยาเข้าบริเวณเดิมสองครั้งในคราวเดียว

อ่านข้อมูลสำหรับผู้ป่วยทั้งหมด คู่มือการใช้ยา และแนวทางการใช้ยาที่ได้รับ สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรหากมีข้อสงสัยใดๆ

ยาอะโปมอร์ฟีนสามารถทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ และอาเจียนอย่างรุนแรง เพื่อป้องกันอาการนี้ อาจต้องเริ่มใช้ยาแก้คลื่นไส้สองสามวันก่อนเริ่มใช้ยาอะโปมอร์ฟีน ควรใช้ยาแก้คลื่นไส้นี้อย่างต่อเนื่อง ตลอดการรักษาด้วยยาอะโปมอร์ฟีน

อย่าใช้ยาแก้คลื่นไส้ใดๆ โดยไม่ปรึกษาแพทย์ ยาแก้คลื่นไส้บางชนิดอาจเพิ่มผลข้างเคียงของยาอะโปมอร์ฟีน หรือทำให้อาการของโรคพาร์กินสันรุนแรงขึ้น

การตวงขนาดยาอะโปมอร์ฟีนนั้นสำคัญมาก เมื่อคุณใช้เครื่องฉีดยาอะโปมอร์ฟีน จะมีเครื่องหมายตวงเป็นมิลลิลิตร แต่คุณอาจได้รับสั่งขนาดยามาเป็นมิลลิกรัม ยาอะโปมอร์ฟีน 1 มก. เท่ากับเครื่องหมาย 0.1 มล. ในเครื่องฉีดยา

อย่าใช้ยาอะโปมอร์ฟีน หากมีการเปลี่ยนสีหรือมีฝุ่นละออง ควรขอรับยาตัวใหม่ทันที

เมื่อคุณหมุนหน้าปัดขนาดยาในเครื่องฉีดยา ควรแน่ใจว่ามีปริมาณยาเหลือเพียงพอกับขนาดยาของคุณ สอบถามเภสัชกรถึงวิธีการวัดขนาดยาที่ถูกต้อง

จำเป็นต้องมีการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ

อย่าหยุดใช้ยาอะโปมอร์ฟีนอย่างกะทันหัน ไม่เช่นนั้นอาจจะมีอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ได้ สองถามแพทย์ถึงวิธีการหยุดใช้ยาอย่างปลอดภัย

หากคุณหยุดใช้ยาอะโปมอร์ฟีนเป็นเวลา 7 วันขึ้นไป สอบถามแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยาอีกครั้ง เพราะคุณอาจต้องเริ่มต้นในยาในขนาดยาที่ต่ำ

ใช้เข็มแบบใช้แล้วทิ้งเพียงแค่หนึ่งครั้งเท่านั้น ควรทำตามกฏหมายของรัฐหรือท้องถิ่น เกี่ยวกับการกำจัดเข็มและกระบอกฉีดยาที่ใช้งานแล้ว ใช้ห่อกำจัดขยะของมีคมที่ป้องกันการฉีกขาดได้ (สอบถามเภสัชกรถึงการได้มาและการกำจัดทิ้ง) ควรเก็บห่อนี้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

การเก็บรักษายาอะโปมอร์ฟีน

ยาอะโปมอร์ฟีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอะโปมอร์ฟีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอะโปมอร์ฟีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาอะโปมอร์ฟีน

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ ของยาอะโปมอร์ฟีนหรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผลที่ไม่ต้องการหรืออันตราย เมื่อใช้ร่วมกับยาอะโปมอร์ฟีน แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแผนการรักษา หากคุณใช้ยาดังต่อไปนี้

  • ยาอโลเซตรอน (Alosetron) อย่างโลโทรเนกซ์ (Lotronex)
  • ยาโดลาซีตรอน (Dolasetron) อย่างแอนเซเมท (Anzemet)
  • ยาแกรนิซีตรอน (Granisetron) อย่างไคทริล (Kytril)
  • ยาออนดาเซทรอน (Ondansetron) อย่างโซฟราน (Zofran)
  • ยาพาโลโนเซทรอน (Palonosetron) อย่างอะโลซิ (Aloxi)

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันอาจมีความเสี่ยงสูงกว่า ที่จะเป็นโรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (melanoma) โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงนี้ และหากมีอาการที่ผิวหนังเกิดขึ้น

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยานี้ทำอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือไม่ แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ยาอะโปมอร์ฟีนสามารถผ่านสู่น้ำนมแม่ หรือส่งผลกระทบกับการให้นมบุตรหรือไม่ โปรดปรึกษาแพทย์ หากคุณกำลังให้นมบุตร

ผู้ป่วยบางคนที่ใช้ยาอะโปมอร์ฟีน อาจจะเผลอหลับในช่วงระหว่างที่กำลังทำกิจกรรมตามปกติในเวลากลางวัน เช่น ระหว่างทำงาน พูดคุย รับประทานอาหาร หรือขับรถ หลีกเลี่ยงการขับรถ หรือใช้เครื่องจักร จนกว่าจะทราบว่ายานี้ส่งผลกระทบกับคุณอย่างไร อาการวิงเวียนหรือง่วงซึมอย่างรุนแรงนั้น สามารถทำให้เกิดการหกล้มหรืออุบัติเหตุอื่นๆ ได้

หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอนเร็วเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้ ควรลุกขึ้นอย่างช้าๆ และยืนให้มั่นคง เพื่อป้องกันการหกล้ม

อย่าดื่มสุรา เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตลดลง และเพิ่มผลข้างเคียงบางอย่างของยาอะโปมอร์ฟีน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาอะโปมอร์ฟีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาอะโปมอร์ฟีน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ติดต่อแพทย์ในทันทีหากคุณมีอาการ

  • คลื่นไส้หรืออาเจียนที่ยังมีอยู่ แม้จะให้ยาแก้คลื่นไส้แล้ว
  • อาการกระตุกหรือการเคลื่อนไหวที่ควบคุมไม่ได้ที่ดวงตา ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า แขน หรือขา
  • อาการของโรคพาร์กินสันแย่ลง
  • รู้สึกเวียนศีรษะเหมือนจะหมดสติ
  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • รู้สึกง่วงนอนในตอนกลางวัน
  • ซึมเศร้า สับสน มีพฤติกรรมที่ผิดปกติหรือไม่เหมาะสม
  • จิตหวาดระแวง หลงผิด เห็นภาพหลอน เพ้อ มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ร้อนรน
  • หัวใจเต้นช้า ชีพจรอ่อน หมดสติ หายใจช้า หรืออาจหยุดหายใจ
  • อวัยวะเพศชายแข็งตัวโดยมีอาการปวด หรือแข็งตัวนานกว่า 4 ชั่วโมงขึ้นไป
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ–มีอาการปวดหรือความดันที่หน้าอก หายใจไม่อิ่ม หัวใจเต้นเร็ว
  • ปัญหาเกี่ยวกับปอด–อาการไอครั้งใหม่หรือแย่ลง มีอาการปวดเมื่อหายใจ รู้สึกหายใจไม่อิ่มเวลานอนลง หายใจมีเสียงหวีด หายใจหอบ ไอมีเสมหะเป็นฟอง เป็นไข้

คุณอาจมีความต้องการทางเพศที่เพิ่มขึ้น ความต้องการเล่นพนันอย่างผิดปกติ หรือความต้องการอื่นๆ อย่างหนัก ขณะที่กำลังใช้ยานี้ โปรดปรึกษาแพทย์หากเกิดอาการดังกล่าวขึ้น

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ง่วงซึม วิงเวียน
  • กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวไม่ได้ดั่งใจ
  • เจ็บหน้าอก
  • ผิวซีด เหงื่อออกมากขึ้น หน้าแดง (รู้สึกอุ่น แดง หรือเป็นเหน็บ)
  • มีอาการบวมที่แขน มือ ขา หรือเท้า
  • หาว
  • น้ำมูกไหล
  • มีอาการคัน รอยช้ำ หรือผิวแข็งขึ้นในบริเวณที่ฉีดยา

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอะโปมอร์ฟีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาสำหรับความดันโลหิต
  • ยาขยายหลอดเลือด (vasodilator)
  • ยาไนเตรท (Nitrate medication)– ยาไนโตรกลีเซอริน (nitroglycerin) อย่างไนโตรเดอร์ (Nitro Dur) ไนโตรลินกัว (Nitrolingual) ไนโตรสแตท (Nitrostat) ทรานสเดิร์ม ไนโตร (Transderm Nitro) และอื่นๆ ยาไอโซซอร์ไบด์ไดไนเตรท (isosorbide dinitrate) อย่างไดลาเตรท (Dilatrate) ไอซอร์ดิล (Isordil) ไอโซครอน (Isochron) หรือยาไอโซซอร์ไบด์โมโนไนเตรท (isosorbide mononitrate) อย่างอิมเดอร์ (Imdur) ไอเอสเอ็มโอ (ISMO) โมโนเกท (Monoket)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอะโปมอร์ฟีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอะโปมอร์ฟีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • โรคหัวใจ หรือประวัติคนในครอบครัวเคยมีปัญหาเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ความดันโลหิตต่ำหรือช่วงเวลาวิงเวียน
  • หัวใจขาดเลือดฉับพลัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคตับ
  • โรคไต
  • โรคหอบหรือหรือภูมิแพ้ซัลไฟต์ (sulfite allergy)
  • โรคลมหลับ (Narcolepsy) หรือเคยมีอาการนอนหลับในตอนกลางวัน
  • เคยมีอาการป่วยทางจิตหรือโรคจิต

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม.

ขนาดยาอะโปมอร์ฟีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease):

  • ขนาดยาทดลอง: 0.2 มล. (2 มก.) ในช่วงยาหมดฤทธิ์
  • ขนาดยาเริ่มต้น: 0.2 มล. (2 มก.) ฉีดเข้าใต้ผิวหนังในช่วงยาหมดฤทธิ์ ให้มากสุดถึง 3 ครั้งต่อวันหากสามารถทนขนาดยาทนลองได้และมีการตอบสนองที่ดี
  • ขนาดยาปกติ: ปรับขนาดยาทุกๆ สองถึงสามวันในขนาด 0.1 มล. (1 มก.) เพิ่มขึ้นจนถึงขนาดยาสูงสุดที่ 0.6 มล. (6 มก.) ต่อครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุดสำหรับหนึ่งครั้งคือ 0.6 มล. (6 มก.)
  • ขนาดยาสูงสุด: ห้ามให้เกิน 5 ครั้งต่อวัน และไม่เกิน 2 มล. (20 มก.) ต่อวัน

ขนาดยาอะโปมอร์ฟีนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาสำหรับฉีด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา