backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อัลโลพูรินอล (Allopurinol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อัลโลพูรินอล (Allopurinol)

ข้อบ่งใช้

ยา อัลโลพูรินอล ใช้สำหรับ

ยา อัลโลพูรินอล (Allopurinol) ใช้เพื่อรักษาโรคเกาต์ และโรคนิ่วในไตบางชนิด นอกจากนี้ยานี้ยังใช้เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของระดับกรดยูริก ในผู้ป่วยที่กำลังทำเคมีบำบัดเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้มีระดับของกรดยูริกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเซลล์มะเร็งที่ตายแล้วนั้นปล่อยกรดยูริกออกมา ยาอัลโลพูรินอลทำงานโดยการลดปริมาณของกรดยูริกที่ผลิตในร่างกาย ปริมาณของกรดยูริกที่เพิ่มขึ้น สามารถทำให้เป็นโรคเกาต์ และมีปัญหากับไตได้

วิธีการใช้ยา อัลโลพูรินอล

รับประทานยานี้ โดยปกติคือ วันละครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด รับประทานยาหลังอาหาร เพื่อลดอาการท้องไส้ปั่นป่วน หากขนาดยาของคุณมากกว่า 300 มก. ต่อวัน คุณจำเป็นต้องรับประทานยาในขนาดน้อยๆ หลายครั้งในหนึ่งวัน เพื่อให้ได้เท่าขนาดยานั้น (สอบถามแนวทางจากแพทย์)

ควรจะดื่มน้ำเต็มแก้วทุกครั้งที่รับประทานยา และดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว (แก้วละ 8 ออนซ์) ต่อวัน หากแพทย์สั่งให้คุณดื่มน้ำน้อยกว่านี้ เพราะเหตุผลทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อน แพทย์อาจจะแนะนำวิธีการลดกรดยูริกในปัสสาวะได้อีกด้วย (เช่น หลีกเลี่ยงกรดแอสคอร์บิค/วิตามินซี)

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ใช้ยานี้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา เพื่อให้ง่ายต่อการจำ ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

สำหรับรักษาโรคเกาต์ อาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์เพื่อให้ยานี้ได้ผล คุณอาจจะเจออาการของโรคเกาต์มากขึ้น เป็นเวลาหลายเดือนหลังจากเริ่มใช้ยานี้ ขณะที่ร่างกายกำลังกำจัดกรดยูริกส่วนเกิน ยาอัลโลพูรินอลนี้ไม่ใช่ยาบรรเทาอาการปวด เพื่อบรรเทาอาการปวดจากโรคเกาต์ ควรใช้ยาสำหรับอาการของโรคเกาต์ต่อไป เช่น ยาโคลชิซิน (colchicine) ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ตามที่แพทย์กำหนด

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา อัลโลพูรินอล

ยาอัลโลพูรินอลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาอัลโลพูรินอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาอัลโลพูรินอลลงในชักโครก หรือท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาอัลโลพูรินอล

ก่อนใช้ยาอัลโลพูรินอล

  • แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาอัลโลพูรินอลหรือยาอื่นๆ
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ทั้งหมด ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร โดยเฉพาะยาต่อไปนี้ ได้แก่ ยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) อย่างอะม็อกซิล (Amoxil) หรือไตรม็อก (Trimox) ยาแอมพิซิลลิน (ampicillin) อย่างโพลิซิลิน (Polycillin) หรือพรินซิเพน (Principen) ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาวาฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin) ยาสำหรับทำเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง เช่น ยาไซโคลฟอสฟาไมด์ (cyclophosphamide) อย่างไซโทแซน (Cytoxan) และยาเมอร์เเคปโตพิวรีน (mercaptopurine) อย่างพูรีนทอล (Purinethol) ยาคลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide) อย่างดิอาไบเนส (Diabinese) ยาขับปัสสาวะ (diuretics) หรือยาขับน้ำ (water pills) ยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ยาอะซาไธโอพรีน (azathioprine) อย่างอิมูรัน (Imuran) ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine) อย่างนูโอรอล (Neoral) แซนดิมมูน (Sandimmune) ยาอื่นๆ สำหรับโรคเกาต์ เช่น ยาโพรเบเนซิด (probenecid) อย่างเบเนมิด (Benemid) และยาซัลฟินไพราโซน (sulfinpyrazone) อย่างแอนทูเรน(Anturane) และยาโทลบูตาไมด์ (tolbutamide) อย่างออริเนส (Orinase) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือเฝ้าสังเกตผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคไต โรคตับ หรือหัวใจวาย
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยาอัลโลพูรินอลควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที
  • ยาอัลโลพูรินอลอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักร จนกว่าคุณจะทราบว่ายานี้ส่งผลกับคุณอย่างไร
  • สอบถามแพทย์เกี่ยวกับความปลอดภัยในการดื่มสุรา ขณะใช้ยาอัลโลพูรินอล แอลกอฮอล์อาจจะลดประสิทธิภาพของยาอัลโลพูรินอลได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาอัลโลพูรินอลอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้สตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาอัลโลพูรินอล

รับการรักษาฉุกเฉินในทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ดังนี้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาอัลโลพูรินอลและติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • เป็นไข้ เจ็บคอ และปวดหัว โดยมีแผลพุพอง ผิวลอก และผื่นผิวหนังสีแดงที่รุนแรง
  • สัญญาณเริ่มแรกของผดผื่นผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นน้อยแค่ไหนก็ตาม
  • ปวดหรือมีเลือดออกเวลาปัสสาวะ
  • คลื่นไส้ ปวดกระเพาะส่วนบน คัน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีเหมือนดินเหนียว ดีซ่าน (ผิวและดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือไม่มีเลย
  • ปวดข้อต่อ มีอาการของไข้หวัดใหญ่
  • รู้สึกเป็นเหน็บ ชา ปวด กล้ามเนื้ออ่อนแรง อย่างรุนแรง
  • มีรอยช้ำง่าย มีเลือดออกที่ผิดปกติ (จมูก ปาก อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก) มีรอยจุดมีม่วงหรือสีแดงใต้ผิวหนัง

ผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่ามีดังนี้

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอัลโลพูรินอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

บทความนี้ไม่ได้มีโอกาสในการเกิดปฏิกิริยาของยาทั้งหมด ควรเก็บรายชื่อของยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ หาที่หาซื้อเอง และสมุนไพร) แล้วแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรรับทราบ

  • ยาอะซาไธโอพรีน (Azathioprine) อย่างอิมูรัน (Imuran)
  • ยาโคลโพรพาไมด์ (Chlorpropamide) อย่างไดอะบินีส (Diabinese)
  • ยาไซโคลสปอริน (Cyclosporine) อย่างเกนกราฟ (Gengraf) แซนดิมมูน (Sandimmune) นีโอรอล (Neoral)
  • ยาเมอเเคปโตพิวรีน (Mercaptopurine) อย่างพิวริเนทอล (Purinethol)
  • ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแอมพิซิลลิน (ampicillin) อย่างพรินซิเพน (Principen) ออมนิเพน (Omnipen) และอื่นๆ หรือยาอะม็อกซีซิลลิน (amoxicillin) อย่างอะมอกซิล (Amoxil) อักเมนทิน (Augmentin) ไตรมอกซ์ (Trimox) ไวมอกซ์ (Wymox)
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาไดคูมารอล (dicoumarol) หรือยาวาร์ฟาริน (warfarin) อย่างคูมาดิน (Coumadin)
  • ยาขับปัสสาวะ (diuretic) หรือยาขับน้ำ (water pill)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอัลโลพูรินอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอัลโลพูรินอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคต่อไปนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับไขกระดูก
  • โรคตับ—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่ลง
  • โรคไต—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ประสิทธิภาพอาจจะเพิ่มขึ้นเพราะความเร็วในการกำจัดยาออกจากร่างกายลดลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาอัลโลพูรินอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคเกาต์

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 100 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 200 ถึง 300 มก. (เกาต์ระดับต่ำ) รับประทานวันละครั้ง หรือแบ่งรับประทาน 400 ถึง 600 มก./วัน (โรคเกาต์ที่มีก้อนโทฟัส [tophaceous gout] ระดับรุนแรงปานกลาง)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะกรดยูริกเกินในเลือดแบบทุติยภูมิขณะการทำเคมีบำบัด (Hyperuricemia Secondary)

  • ให้ยาทางหลอดเลือด (Parenteral): 200 ถึง 400 มก./ตารางเมตร/วัน สูงสุดถึง 600 มก./วัน
  • รับประทาน: 600 ถึง 800 มก./วัน เป็นเวลา 1 ถึง 3 วัน โดยบริโภคน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร/วัน
  • ขนาดยาปกติ: 200 ถึง 300 มก./วัน รับประทานจนผู้ป่วยไม่มีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะกรดยูริกเกินในเลือด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษานิ่วแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate Calculi) ร่วมกับ ภาวะกรดยูริกเกินในปัสสาวะ 

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 200 ถึง 300 รับ มก. ประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาปกติ: 300 มก./วัน หรือน้อยกว่านั้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหัวใจวาย

  • งานวิจัย (จำนวนผู้เข้าร่วม = 11 คน) เพื่อป้องกันการเกิดสารอนุมูลอิสระซูเปอร์ออกไซด์ (superoxide free radicals) และเพื่อพัฒนาการทำงานของผนังภายใน (endothelial function) ในสมาคมหัวใจแห่งนิวยอร์ก (NYHA) โรคหัวใจวายกลุ่ม II ถึง III: 300 มก. รับประทานทุกวัน เป็นเวลา 1 เดือน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก

  • งานวิจัย: การผ่าตัดหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ 600 มก. รับประทานหนึ่งวันก่อนการผ่าตัด และรับประทานอีก 600 มก. ในวันผ่าตัด.

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนีย (Leishmaniasis)

  • งานวิจัย (จำนวนผู้เข้าร่วมงานวิจัย =31 คน -โรคติดเชื้อลิชมาเนียแบบผิวหนัง: 20 มก./กก./วัน ร่วมกับเมกลูมีนแอนทิโมเนียต (meglumine antimoniate) ในขนาดยาที่ต่ำ (30 มก./กก./วัน) เป็นเวลา 20 วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการฟุ้งพล่าน หรืออาการมาเนีย (mania)

  • รายงานกรณี – อาการฟุ้งพล่าน (bipolar I) ที่เกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกเกินในเลือด: 300 มก. รับประทานทุกวัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการทำบอลลูนหัวใจ 

  • งานวิจัย (จำนวนผู้เข้าร่วมงานวิจัย = 38 คน) – การทำบอลลูนหัวใจ (Primary Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty): 400 มก. รับประทานทันทีหลังจากเข้ารับการรักษาในแผนกฉุกเฉิน (ประมาณ 60 นาทีก่อนภาวะการไหลย้อนของเลือด [reperfusion]) และหลังจากที่การทำบอลลูนหัวใจหลักเสร็จสิ้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาปฏิกิริยาผิวหนังเป็นรูเนื่องจากคอลลาเจนผิดปกติ (Reactive Perforating Collangenosis)

  • รายงานกรณี: 100 มก. รับประทานทุกวัน
  • ขนาดยาอัลโลพูรินอลสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาภาวะกรดยูริกเกินในเลือดแบบทุติยภูมิขณะการทำเคมีบำบัด 

    ให้ยาทางหลอดเลือด

    • อายุต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10 ปี: 200 มก./ตารางเมตร/วัน โดยแบ่งให้เป็น 1 ถึง 3 ครั้งเท่ากันและไม่เกิน 600 มก./24 ชม. ขนาดยาทั้งหมดที่มากกว่า 300 มก. ควรแบ่งให้ยาในขนาดที่เท่ากัน
    • อายุมากกว่า 10 ปี: 200 ถึง 400 มก./ตารางเมตร/วัน โดยแบ่งให้เป็น 1 ถึง 3 ครั้งเท่ากันและไม่เกิน 600 มก./24 ชม.

    รับประทาน

    • อายุน้อยกว่า 6 ปี: 150 มก./วัน แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง
    • อายุ 6 ถึง 10 ปี: 300 มก./วัน แบ่งรับประทาน 2 ถึง 3 ครั้ง
    • อายุมากกว่า 10 ปี: 600 ถึง 800 มก./วัน แบ่งรับประทานในขนาดที่เท่ากัน 2 ถึง 3 ครั้ง

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคติดเชื้อลิชมาเนีย 

    • อายุมากกว่า 5 ปี
    • งานวิจัย (จำนวนผู้เข้าร่วมงานวิจัย = 31 คน -โรคติดเชื้อลิชมาเนียแบบผิวหนัง: 20 มก./กก./วัน ร่วมกับเมกลูมีนแอนทิโมเนียต (meglumine antimoniate) ในขนาดยาที่ต่ำ (30 มก./กก./วัน) เป็นเวลา 20 วัน

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    ยาเม็ดสำหรับรับประทาน: 100 มก., 300 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา