backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เซฟฟิซิม (Cefixime)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/11/2023

เซฟฟิซิม (Cefixime) มักใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) ทำงานโดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ข้อบ่งใช้

ยาเซฟฟิซิมใช้สำหรับ

ยาเซฟฟิซิม (Cefixime) มักใช้เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ยานี้อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะเซฟาโลสปอริน (cephalosporin) ทำงานโดยการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ยาปฏิชีวนะนี้ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่มีผลกับการติดเชื้อไวรัส (เช่น โรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นหรือใช้มากเกินไป สามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้

วิธีการใช้ยาเซฟิซิม

รับประทานยานี้พร้อมอาหาร หรือรับประทานต่างหากตามที่แพทย์สั่ง โดยปกติคือ วันละครั้ง สำหรับเด็กอาจต้องใช้ยาวันละ 2 ครั้ง (ทุกๆ 12 ชั่วโมง) หากคุณใช้ยาเม็ดแบบเคี้ยว ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนยา

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา สำหรับเด็กนั้นขนาดยาต้องขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวด้วย

เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรใช้ยาปฏิชีวนะโดยเว้นระยะห่างที่เท่ากัน เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน

ใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบตามที่แพทย์สั่ง แม้ว่าอาการจะหายไปหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตต่อไป ส่งผลให้กลับมาติดเชื้ออีกครั้ง แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาเซฟิซิม

ยาเซฟฟิซิมควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเซฟิซิมแต่ละยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเซฟิซิมลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเซฟิซิม

ก่อนใช้ยาเซฟิซิม แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยานี้ หรือแพ้ยาเพนิซิลลิน (penicillins) หรือแพ้ยาในกลุ่มเซฟาโลสปอรินอื่นๆ เช่น ยาเซฟาเลกซิน (cephalexin) หรือหากคุณมีการแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบที่ไม่ออกฤทธิ์ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดสอบถามกับเภสัชกร

ก่อนใช้ยานี้ โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ โรคไต โรคลำไส้บางชนิด เช่นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis)

ยาเซฟิซิมอาจทำให้วัคซีนจากแบคทีเรียชนิดเชื้อเป็น (เช่น วัคซีนไทรอยด์) ทำงานได้ไม่ดี ห้ามกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (immunizations) หรือรับวัคซีน ขณะที่กำลังใช้ยานี้นอกจากแพทย์จะสั่ง

ก่อนการผ่าตัด โปรดแจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ (ทั้งยาตามใบสั่ง ยาที่หาซื้อได้เอง และสมุนไพร)

ยานี้ในรูปแบบเคี้ยวอาจมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแอสปาร์แตม (aspartame) หากคุณเป็นโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (phenylketonuria) หรือภาวะอื่นๆ ที่จำเป็นต้องจำกัด/หลีกเลี่ยงแอสปาร์แตม หรือฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ในอาหาร สอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้เพื่อความปลอดภัย

ขณะตั้งครรภ์ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งต่อผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดปรึกษากับแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการใช้ยานี้ ยาเซฟฟิซิมจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเซฟิซิม

อาจเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน หรือปวดกระเพาะ ท้องร่วง คลื่นไส้ มีแก๊ส ปวดศีรษะ หรือวิงเวียนได้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบในทันที หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือแย่ลง

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่า ยามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงของผลข้างเคียง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่หายากแต่รุนแรง ได้แก่ ปวดท้องหรือกระเพาะอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียนบ่อยๆ ดวงตาหรือผิวเป็นสีเหลือง ปัสสาวะสีคล้ำ เหนื่อยล้าอย่างผิดปกติ มีสัญญาณของการติดเชื้อใหม่ (เช่น เจ็บคอบ่อยๆ เป็นไข้) มีรอยช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย มีสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับไต (เช่น ปริมาณของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง) มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ (เช่น สับสน)

น้อยครั้งมากที่ยานี้อาจทำให้เกิดสภาวะทางลำไส้ที่รุนแรง เช่น อาการท้องร่วงที่เกี่ยวข้องกับเชื้อคลอสไทรเดียมดิฟิซายล์ (Clostridium difficile) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา อาการนี้อาจเกิดขึ้นหลังจากหยุดการรักษาไปแล้วหลายสัปดาห์ จนถึงหลายเดือน อย่าใช้ยาแก้ท้องร่วง หรือยาแก้ปวดชนิดเสพติด (narcotic pain medications) หากคุณมีอาการเหล่านี้ เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีอาการ ได้แก่ ท้องร่วงบ่อยๆ ปวดท้องหรือกระเพาะ หรือมีเลือด/มูกในอุจจาระ

การใช้ยานี้เป็นเวลานานหรือใช้ซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องปาก หรือติดเชื้อยีสต์ชนิดใหม่ในช่องคลอด แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณสังเกตเห็นรอยสีขาวภายในปาก มีการเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ หรืออาการใหม่อื่นๆ

อาการแพ้ที่รุนแรงของยานี้เกิดขึ้นน้อยมาก แต่ควรรับการรักษาในทันทีหากเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ผดผื่น คัน/บวม (โดยเฉพาะใบหน้า ลิ้น ลำคอ) เวียนหัวอย่างรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟาริน (warfarin)

แม้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ จะไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการคุมกำเนิดโดยใช้ฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น ไรแฟมพิน (rifampin) ไรฟาบูทิน (rifabutin) สามารถลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ หากคุณกำลังใช้ฮอร์โมนในการคุมกำเนิด ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ยานี้อาจทำให้ผลเกิดผลบวกลวง ในการใช้ผลิตภัณฑ์ตรวจปัสสาวะโรคเบาหวานบางชนิด (cupric sulfate-type) อย่าลืมแจ้งให้บุคคลากรในห้องแล็บและแพทย์ทุกคนทราบว่า คุณกำลังใช้ยานี้อยู่

ยาเซฟิซิมอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้ คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเซฟฟิซิมอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงรุนแรง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเซฟฟิซิมอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะทางสุขภาพของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเซฟฟิซิมสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

  • การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชม.

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)

  • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน หรือยาเม็ดแบบเคี้ยว : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชม.
  • ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)/คออักเสบ (Pharyngitis)

    • 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชม.

    คำแนะนำ

    • โดยปกติยาเพนนิซิลลินมักถูกเลือกใช้เป็นยาลำดับแรกๆ เพื่อรักษาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes infections) ยาเซฟฟิซิมนั้นโดยทั่วไป จะได้ผลสำหรับการกำจัดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีนัสที่บริเวณโพรงหลังจมูก (Nasopharynx) แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพสำหรับการป้องกันไข้รูมาติก (rheumatic fever) ที่ตามมาภายหลัง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)

    • โรคหลอดลมอักเสบกำเริบเฉียบพลัน : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชม.

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน (Gonococcal Infection) – ชนิดไม่ซับซ้อน

    • การติดเชื้อที่ปากมดลูก/ท่อปัสสาวะที่ไม่ซับซ้อน : 400 มก. รับประทานครั้งเดียว

    คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อแห่งสหรัฐฯ (CDC)

    • การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อนที่บริเวณปากมดลูก ท่อปัสสาวะ หรือทวารหนัก : 400 มก. รับประทานครั้งเดียว ร่วมกับยาอะซิโธรมัยซิน (azithromycin) [แนะนำ] หรือยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) ร่วมกับการทดสอบว่าหายจากโรค (test-of-cure) ใน 1 สัปดาห์

    คำแนะนำ

    • สูตรการใช้ยาจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ถูกแนะนำให้ใช้เป็นทางเลือกในกรณีที่ไม่มียาเซฟไตรอะโซน
    • ควรทำการตรวจ/รักษา คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน – ระยะแพร่กระจาย

    (ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)

    • คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ : 400 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

    คำแนะนำ:

    • การเริ่มต้นการรักษาสำหรับการติดเชื้อหนองในระยะแพร่กระจายนั้นจะเป็นต้องรักษาโดยการให้ยาทางหลอดเลือด (parenteral therapy) ซึ่งควรทำอย่างต่อเนื่อง 24-48 ชั่วโมง หลังจากสังเกตพบว่าอาการทางคลินิกดีขึ้น หลังจากนั้นอาจจะให้ยาชนิดรับประทานเพื่อให้การรักษาครบสมบูรณ์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์
    • แนะนำการรักษาด้วยด็อกซีไซคลินเป็นเวลา 7 วัน (หากไม่ได้ตั้งครรภ์) หรือรับประทานอะซิโธรมัยซินขนาดให้ครั้งเดียว ในการรักษาการติดเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia infection) ที่อาจจะเกิดขึ้นร่วมด้วย
    • ควรทำการตรวจ/รักษา คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    (ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)

    • คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสำหรับเหยื่อที่ถูกคุมคามทางเพศ : 400 มก. รับประทานครั้งเดียว ร่วมกับยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) ร่วมกับ (อะซิโธรมัยซินหรือด็อกซีไซคลิน)

    การปรับขนาดยาสำหรับไต

    ผู้ใหญ่ เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก. หรืออายุมากกว่า 12 ปี

    ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 21 ถึง 59 มล/นาที

    • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (ความเข้มข้นที่แนะนำคือ 200 มก/5 มล หรือ 500 มก/5 มล) : 260 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ยาเม็ด หรือยาเม็ดแบบเคี้ยว : ไม่แนะนำ

    ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ 20 มล/นาที หรือน้อยกว่า

    • 100 มก/5 มล ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : 172 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 200 มก/5 มล ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : 176 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 500 มก/5 มล ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : 180 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ยาเม็ด หรือยาเม็ดแบบเคี้ยว : 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

    การปรับขนาดยาสำหรับตับ

    • ไม่มีข้อมูล

    ข้อควรระวัง

    • ควรทำการศึกษาส่วนของคำเตือนสำหรับขนาดยาที่เกี่ยวข้องกับข้อควรระวัง
    • ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน

    การฟอกไต

    ผู้ใหญ่ เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก. หรืออายุมากกว่า 12 ปี

    ฟอกไต (Hemodialysis)

    • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน (ความเข้มข้นที่แนะนำคือ 200 มก./5 มล. หรือ 500 มก./5 มล.) : 260 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ยาเม็ด หรือยาเม็ดแบบเคี้ยว : ไม่แนะนำ

    การฟอกไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (CAPD)

    • 100 มก./5 มล. ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : 172 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 200 มก./5 มล. ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : 176 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • 500 มก./5 มล. ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : 180 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ยาเม็ด หรือยาเม็ดแบบเคี้ยว : 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

    คำแนะนำ

    • ทั้งการฟอกไตและการฟอกไตทางช่องท้องไม่สามารถกำจัดยาปริมาณมากออกจากร่างกายได้
    • ควรเฝ้าระวังผู้ป่วยที่ทำการฟอกไตด้วยความระมัดระวัง

    คำแนะนำอื่นๆ

    คำแนะนำการให้ยา

    • เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก. หรือเด็กที่อายุมากกว่า 12 ปีควรรักษาด้วยขนาดยาปกติเท่ากับของผู้ใหญ่
    • การรักษาเนื่องจากการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีนัส ควรให้ขนาดยาเพื่อการรักษา อย่างน้อย 10 วัน
    • ไม่ควรใช้ยาเม็ดหรือยาแคปซูลทดแทนยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน หรือยาเม็ดแบบเคี้ยวสำหรับการรักษาหูชั้นกลางอักเสบ
    • รับประทานยาเม็ดหรือยาแคปซูลได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอาหาร ยาเม็ดแบบเคี้ยวควรเคี้ยวหรือบดให้ละเอียดก่อนกลืน
    • ควรเขย่ายาแขวนตะกอนสำหรับรับประทานให้ดีก่อนใช้ทุกครั้ง

    การเก็บรักษา

    • ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาเม็ดแบบเคี้ยว : เก็บควบคุมไว้ที่อุณหภูมิห้อง
    • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน : เก็บควบคุมไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนการผสมยา, เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องหรือในตู้เย็นเป็นเวลา 14 วันหลังจากผสมยาแล้ว (กำจัดทิ้งหลังจาก 14 วัน)

    เทคนิคการผสมยา/การเตรียมยา

    • ควรศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต

    ทั่วไป

    • ยาเม็ดแบบเคี้ยวมีฟีนิลอะลานีน 3.3 มก. 5 มก. และ 6.7 มก. ต่อความแรง 100 มก. 150 มก. และ 200 มก. ตามลำดับ

    การเฝ้าระวัง

    • หัวใจและหลอดเลือด : ค่าเวลาโปรทรอมบิน (Prothrombin time) ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง

    คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

    • ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการลืมใช้ยาและควรใช้ยาให้ครบตามกำหนดการรักษา

    ขนาดยาเซฟิซิมสำหรับเด็ก

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาหูชั้นกลางอักเสบ

    ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ยาเม็ดแบบเคี้ยว

    • อายุ 6 เดือน ถึง 12 ปี (น้ำหนัก 45 กก.หรือน้อยกว่า) : 8 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 4 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก หรืออายุมากกว่า 12 ปี : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ

    การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อน

    • อายุ 6 เดือน ถึง 12 ปี (น้ำหนัก 45 กก.หรือน้อยกว่า)

      ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ยาเม็ดแบบเคี้ยว : 8 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 4 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

    • เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก หรืออายุมากกว่า 12 ปี : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาทอนซิลอักเสบ/คออักเสบ

    อายุ 6 เดือน ถึง 12 ปี (น้ำหนัก 45 กก.หรือน้อยกว่า):

    • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ยาเม็ดแบบเคี้ยว : 8 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 4 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก หรืออายุมากกว่า 12 ปี : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

    คำแนะนำ

    โดยปกติยาเพนนิซิลินมักจะถูกใช้เป็นยาลำดับแรกๆ เพื่อรักษาการติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes infections) ยาเซฟิซิมนั้นโดยทั่วไปมักจะได้ผลสำหรับการกำจัดเชื้อสเตรปโตค็อกคัสไพโอจีนัสที่บริเวณโพรงหลังจมูก (Nasopharynx) แต่ยังไม่มีการพิสูจน์ประสิทธิภาพสำหรับการป้องกันไข้รูมาติก (rheumatic fever) ที่ตามมาภายหลัง

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาหลอดลมอักเสบ

    หลอดลมอักเสบเรื้อรังกำเริบเฉียบพลัน

    อายุ 6 เดือน ถึง 12 ปี (น้ำหนัก 45 กก.หรือน้อยกว่า)

    • ยาแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ยาเม็ดแบบเคี้ยว : 8 มก./กก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 4 มก./กก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง
    • เด็กที่น้ำหนักมากกว่า 45 กก หรืออายุมากกว่า 12 ปี : 400 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 200 มก. รับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน – ไม่ซับซ้อน

    (ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)

    คำแนะนำจากหน่วยงานกุมารเวชในสหรัฐอเมริกา

    • อายุ 8 ปีขึ้นไปหรือน้ำหนัก 45 กก. ขึ้นไป : 400 มก. รับประทานครั้งเดียว

    คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ

    • การติดเชื้อที่ไม่ซับซ้อนที่บริเวณปากมดลูก ท่อปัสสาวะ หรือทวารหนัก ในเด็กวัยรุ่น : 400 มก. รับประทานครั้งเดียว ร่วมกับยาอะซิโธรมัยซิน (azithromycin) [แนะนำ] หรือยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) ร่วมกับการทดสอบว่าหายจากโรค (test-of-cure) ใน 1 สัปดาห์

    คำแนะนำ

    • สูตรการใช้ยาจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (CDC) ถูกแนะนำให้ใช้เป็นทางเลือก ในกรณีไม่มียาเซฟไตรอะโซน
    • ควรทำการตรวจ/รักษา คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อหนองใน – ระยะแพร่กระจาย

    (ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)

    คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ

    • สำหรับเด็กวัยรุ่น : 400 มก. รับประทานวันละสองครั้ง

    คำแนะนำ

    • การเริ่มต้นการรักษาสำหรับการติดเชื้อหนองในระยะแพร่กระจายนั้นจะเป็นต้องรักษาโดยการให้ยาทางหลอดเลือด (parenteral therapy) ซึ่งควรทำอย่างต่อเนื่อง 24-48 ชั่วโมง หลังจากสังเกตพบว่าอาการทางคลินิกดีขึ้น หลังจากนั้นมักจะให้รับประทานยาเพื่อให้การรักษาครบสมบูรณ์เป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์
    • แนะนำการรักษาด้วยด็อกซีไซคลินเป็นเวลา 7 วัน (หากไม่ได้ตั้งครรภ์) หรือรับประทานอะซิโธรมัยซินขนาดให้ครั้งเดียว ในการรักษาการติดเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia infection)ที่อาจจะเกิดขึ้นร่วมด้วย
    • ควรทำการตรวจ/รักษา คู่รักที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

    ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

    (ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา)

    คำแนะนำจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ

    • สำหรับเหยื่อที่ถูกคุมคามทางเพศ : 400 มก. รับประทานครั้งเดียว ร่วมกับยาเมโทรนิดาโซล (metronidazole) ร่วมกับ (อะซิโธรมัยซินหรือด็อกซีไซคลิน)

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

    • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
    • ยาผงชนิดผสมน้ำสำหรับรับประทาน
    • ยาเม็ดแบบเคี้ยวสำหรับรับประทาน
    • ยาแคปซูลสำหรับรับประทาน

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 28/11/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา