backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เอพิเนฟรีน (Epinephrine)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

เอพิเนฟรีน (Epinephrine)

ข้อบ่งใช้

ยา เอพิเนฟรีน ใช้สำหรับ

ยาเอพิเนฟรีน (Epinephrine) ใช้ในการรักษาฉุกเฉินสำหรับอาการแพ้ที่รุนแรงมากต่อ แมลงกัด/ต่อย อาหาร ยา หรือสารอื่นๆ ยาเอพิเนฟรีนนั้นออกฤทธิ์เร็ว เพื่อช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น กระตุ้นหัวใจ และเพิ่มความดันโลหิตที่ตกลง แก้ลมพิษ และลดอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก และลำคอ

อาจมีการฉีดยาเอพิเนฟรีนเพื่อจุดประสงค์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในคำแนะนำการใช้ยา

วิธีการใช้ยา เอพิเนฟรีน

ยาเอพิเนฟรีนแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีการเตรียมยาและใช้แตกต่างกัน เรียนรู้วิธีการใช้ยาเอพิเนฟรีนที่ถูกต้องสำหรับเวลาใช้งานจริง และควรสอนวิธีการฉีดยาให้คนในครอบครัวและผู้ดูแลทราบ เผื่อเวลาที่คุณไม่สามารถฉีดยาเองได้ อ่านเอกสารข้อมูลสำหรับคนไข้ที่เภสัชกรให้มาก่อนใช้ยาเอพิเนฟรีนและทุกครั้งที่เติมยา ปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณมีข้อสงสัยใดๆ

ผลของยาเอพิเนฟรีนนั้นออกฤทธิ์เร็ว แต่อยู่ได้ไม่นาน ควรเข้ารับการรักษาในทันที หลังจากที่ฉีดยาเอพิเนฟรีน แจ้งให้ผู้ดูแลสุขภาพทราบว่าคุณได้ฉีดยาเอพิเนฟรีนไปแล้ว หลีกเลี่ยงการเผลอฉีดยาเอพิเนฟรีนที่มือ หรือบริเวณอื่นในร่างกายนอกเหนือจากต้นขา หากเผลอฉีดไปแล้ว ควรแจ้งแพทย์ในทันที กำจัดที่ฉีดยาอย่างเหมาะสม

ยานี้ในรูปแบบสารละลายควรจะใส ตรวจสอบยาด้วยตาว่ามีฝุ่นละอองหรือสีเปลี่ยนแปลงหรือไม่ในบางครั้ง หากยาขุ่นหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล/ชมพู อย่าใช้ยานั้น ให้ไปรับยาชุดใหม่มาแทน

การเก็บรักษายาเอพิเนฟรีน

เก็บยานี้ไว้ใกล้ตัวคุณตลอดเวลา

ยาเอพิเนฟรีนนั้นควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเอพิเนฟรีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาเอพิเนฟรีนลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เอพิเนฟรีน

ก่อนการฉีดยา เอพิเนฟรีน

  • แจ้งแพทย์หรือเภสัชกร หากคุณแพ้ยาเอพิเนฟรีน ยาเอพิเนฟรีนแบบอื่นๆ ซัลไฟต์ (sulfites) หรือส่วนประกอบอื่นๆ ในยาฉีดเอพิเนฟรีน แพทย์อาจจะสั่งให้คุณใช้ยาฉีดเอพิเนฟรีน แม้ว่าคุณจะแพ้หนึ่งในส่วนประกอบของยา เนื่องจากยานี้เป็นยาช่วยชีวิต ยาในเครื่องฉีดยาเอพิเนฟรีนแบบอัตโนมัติ ไม่มีส่วนประกอบของยาง (latex) จึงปลอดภัยต่อผู้ที่แพ้ยาง
  • แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาตามใบสั่งยา และยาที่หาซื้อได้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ ที่คุณกำลังใช้อยู่หรือมีแผนว่าจะใช้ อย่าลืมกล่าวถึงยาดังต่อไปนี้ ได้แก่ ยาต้านซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาอะมิทริปไทลีน (amitriptyline) อย่าง เอลาวิล (Elavil) ยาอะม็อกซาปีน (amoxapine) ยาโคลมิพรามีน (clomipramine) อย่างเอนาเฟรนิล (Anafranil), ยาเดซิพรามีน (desipramine) อย่าง นอร์พรามิน (Norpramin) ยาด็อกเซปิน (doxepin) อย่าง ไซเลนอร์ (Silenor) ยาอิมิพรามีน (imipramine) อย่าง ทอฟรานิล (Tofranil), ยามาโพรทิลีน (maprotiline), ยาเมอร์เทซาปีน (mirtazapine) อย่าง เรเมรอน (Remeron) ยานอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) อย่าง พาเมลอร์ (Pamelor) ยาโพรทริพไทลีน (protriptyline) อย่างไววาทิล (Vivactil) และยาไทรมิพรามีน (trimipramine) อย่าง เซอร์มอนทิล (Surmontil) ยาต้านฮิสตามีน (antihistamines) เช่น ยาคลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) อย่าง คลอไทรเมทอน (Chlor-Trimeton) และยาไดเฟนไฮดรามีน (diphenhydramine) อย่าง เบเนดริล (Benadryl)
  • ยาในกลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์ (beta blockers) เช่น ยาโพรพาโนโลล (propranolol) อย่าง อินเดอรัล (Inderal) ยาไดจ็อกซิน (digoxin) อย่าง ดิจิเทค (Digitek) หรือลานอกซ์ซิแคป (Lanoxicaps) หรือลานอกซ์ซิน (Lanoxin) ยาขับปัสสาวะ (diuretics) ยาเออร์กอต (ergot) เช่น ยาไดไฮโดรเออร์โกตามีน (dihydroergotamine) อย่าง ดีเอชอี 45 (D.H.E. 45) หรือไมเกรนอล (Migranal) ยาเออร์โกลอยด์ มิซิเลท (ergoloid mesylates) อย่าง ไฮเดอร์จีน (Hydergine) ยาเออร์โกโนวีน (ergonovine) อย่าง เออร์โกเทรต (Ergotrate) ยาเออร์โกทามีน (ergotamine) อย่างในคาเฟอร์กอต (Cafergot) และไมเอกร์กอต (Migergot) ยาเมไธเลอร์โกโนวีน (methylergonovine) อย่าง เมเธอร์จีน (Methergine) และยาเมไธเซอร์ไจด์ (methysergide) อย่าง แซนเสิร์ท (Sansert) ยาเลโวไทรอกซีน (levothyroxine) อย่าง เลโวทรอยด์ (Levothroid) หรือเลโวซิล (Levoxyl) หรือซินทรอยด์ (Synthroid) หรือยูไนทรอยด์ (Unithroid) และยาสำหรับอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น ยาควินิดีน (quinidine)
  • ควรแจ้งแพทย์หากคุณใช้ยายับยั้งเอนไซม์โมโนเอมีนออกซิเดส (monoamine oxidase inhibitor) เช่น ยาไอโซคาร์บอกซาซิด (isocarboxazid) อย่าง มาร์แพลน (Marplan) ยาฟีเนลซีน (phenelzine) อย่าง นาร์ดิล (Nardil) ยาเซเลกิลีน (selegiline) อย่าง เอลเดอพริล (Eldepryl) หรือเอ็มแซม (Emsam) หรือเซลาพาร์ (Zelapar) และยาทรานิลซัยโปรมีน (tranylcypromine) อย่าง พาร์เนต (Parnate) หรือหยุดใช้ยาเหล่านี้ภายใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์อาจจะต้องเฝ้าสังเกตผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด
  • แจ้งแพทย์หากคุณมีอาการหรือเคยมีอาการปวดหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจอื่นๆ โรคเบาหวาน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะซึมเศร้า หรืออาการป่วยทางจิตอื่นๆ หรือโรคพาร์กินสัน หากคุณใช้เครื่องทวินเจค (Twinject device) สำหรับฉีดยา แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการข้ออักเสบ หรือมีปัญหาในการใช้มือ
  • แจ้งแพทย์หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ปรึกษากับแพทย์ว่าคุณควรจะใช้ยาฉีดเอพิเนฟรีนขณะที่คุณตั้งครรภ์หรือไม่

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาเอพิเนฟรีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา เอพิเนฟรีน

ก่อนใช้ยาเอพิเนฟรีนครั้งที่สอง แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณใช้ยาเอพิเนฟรีนในครั้งแรกแล้วมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น หายใจติดขัดมากขึ้น หรือมีระดับความดันโลหิตสูงจนอันตราย (ปวดหัวอย่างรุนแรง มองเห็นไม่ชัด มีเสียงพึมพำในหู วิตกกังวล สับสน ปวดหน้าอก หายใจลำบาก จังหวะการเต้นของหัวใจไม่เท่ากัน มีอาการชัก)

ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงน้อยกว่ามีดังนี้ ได้แก่ เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาเจียน ผิวซีด หายใจไม่อิ่ม วิงเวียน อ่อนแรงหรือร่างกายสั่นเทา ปวดหัว หรือรู้สึกกังวลใจหรือวิตกกังวล

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเอพิเนฟรีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเอพิเนฟรีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเอพิเนฟรีน อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • โรคหืดหลอดลม (Bronchial asthma)
  • โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
  • โรคตา
  • โรคหัวใจหรือหลอดเลือด
  • ความดันโลหิตสูง
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ยาเอพิเนฟรีนอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้
  • การผ่าตัดทำฟันที่บริเวณเหงือก การผ่าตัดทำฟันอาจมีการใช้ยาเอพิเนฟรีนในรูปแบบเฉพาะหรือแบบฉีด การใช้ยาเอพิเนฟรีนสำหรับดวงตาขณะการผ่าตัด อาจทำให้ระดับของยาในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยา เอพิเนฟรีน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการช็อก

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : 2-10 ไมโครกรัม/นาที (1 มก. ในน้ำเกลือเดกซ์โทรส 5% 250 มล. หรือ 4 ไมโครกรัม/มล.) อาจให้เพิ่มได้เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตเพียงพอ ในกรณีหายาก อาจต้องใช้ยาขนาดสูงถึง 20 ไมโครกรัม/นาที
  • ผ่านทางท่อช่วยหายใจ : 1 มก. (10 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) หนึ่งครั้ง ตามด้วยยาพ่นเร็วๆ 5 ครั้ง
  • การฉีดเข้าหัวใจ : 0.3-0.5 มก. (3 ถึง 5 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) โดยการฉีดโดยตรงเข้าไปในห้องหัวใจด้านซ้ายมือ หนึ่งครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการหัวใจหยุดเต้น (Asystole)

  • การฉีดเข้าหัวใจ : 0.3-0.5 มก. (3 ถึง 5 มล. ของสารละลาย 1: 10,000) โดยการฉีดโดยตรงเข้าไปในห้องหัวใจด้านซ้ายมือ หนึ่งครั้ง
  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ: 0.5 ถึง 1 มก. (5-10 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) หนึ่งครั้ง อาจให้ซ้ำทุกๆ 3-5 นาทีเท่าที่จำเป็น หากไม่มีการตอบสนองที่เพียงพอต่อขนาดยา 1 มก. ให้ใช้ยาในขนาดสูง (2-5 มก.) ทุกๆ 3-5 นาที เพิ่มความแรง 1 3 และ 5 นาที
  • ท่อช่วยหายใจ : 1 มก. (10 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) หนึ่งครั้ง ตามด้วยยาพ่นเร็วๆ 5 ครั้ง
  • การฉีดเข้าหัวใจ : 0.3-0.5 มก. (3-5 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) โดยการฉีดโดยตรงเข้าไปในห้องหัวใจด้านซ้ายมือ หนึ่งครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาหัวใจห้องล่างเต้นแต่ไม่มีการไหลเวียนเลือด (Electromechanical Dissociation)

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : 0.5-1 มก. (5-10 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) หนึ่งครั้ง อาจให้ซ้ำทุกๆ 3-5 นาทีเท่าที่จำเป็น หากไม่มีการตอบสนองต่อขนาดยา 1 มก. ให้ใช้ยาในขนาดสูง (2-5 มก.) ทุกๆ 3-5 นาที เพิ่มความแรง1 3 และ 5 มก. ทุกๆ 3 นาที หรือ 0.1 มก./กก. ทุกๆ 3-5 นาที
  • ท่อช่วยหายใจ : 1 มก. (10 มล. ของสารละลาย 1: 10,000) หนึ่งครั้ง ตามด้วยยาพ่นเร็วๆ 5 ครั้ง
  • การฉีดเข้าหัวใจ : 0.3-0.5 มก. (3-5 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) โดยการฉีดโดยตรงเข้าไปในห้องหัวใจด้านซ้ายมือ หนึ่งครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษา AV block

ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : 0.5-1 มก. (5-10 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) หนึ่งครั้ง อาจให้ซ้ำทุกๆ 3-5 นาทีเท่าที่จำเป็น หากไม่มีการตอบสนองที่เพียงพอต่อขนาดยา 1 มก. ให้ใช้ยาในขนาดสูง (2-5 มก.) ทุกๆ 3-5 นาที เพิ่มความแรง 1 3 และ 5 มก. ทุกๆ 3 นาที หรือ 0.1 มก./กก. ทุกๆ 3-5 นาที

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหอบหืด (Asthma) – ฉับพลัน

  • ฉีดใต้ผิวหนัง :0.1-0.5 มก. (0.1-0.5 มล. ของสารละลาย 1 : 1000) อาจให้ซ้ำได้ทุกๆ 20 นาที จนถึงให้หนึ่งครั้งทุกๆ 4 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น
  • ยาแขวนตะกอนฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneous suspension) : 0.5 มก. (0.1 มล. ของยาแขวนตะกอน 1 : 200) หนึ่งครั้ง อาจให้ยาเพิ่มเติมได้ 0.5-1 มก. ตามความจำเป็น แต่ห้ามบ่อยเกินกว่าทุกๆ 6 ชั่วโมง
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ: 0.1-0.5 มก. (0.1-0.5 มล. ของสารละลาย 1 : 1000) อาจให้ซ้ำได้ทุกๆ 20 นาที จนถึงหนึ่งครั้งทุกๆ 4 ชั่วโมง เทาที่จำเป็น
  • ชนิดสูด (Inhalation aerosol): 160-220 ไมโครกรัม (ต่อครั้ง) หนึ่งครั้ง อาจสูดเพิ่มเติมหลังจากผ่านไปอย่างน้อยหนึ่งนาที แนะนำไม่ควรใช้ยาหลังจากนั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • ชนิดพ่น (Nebulized) : 1-3 ครั้ง (8 ถึง 10 หยดของสารละลาย 1% 1 : 100) หนึ่งครั้ง หากการบรรเทาอาการไม่ได้ผลภายใน 5 นาที ยา อาจให้ยาซ้ำหนึ่งครั้ง แนะนำไม่ควรใช้ยาซ้ำหลังจากนั้นมากกว่าทุกๆ 3 ชั่วโมง
  • อัดอากาศเข้าปอดเป็นพักๆ (Intermittent positive pressure breathing) : 0.3 มก. (0.03 มล. ของสารละลาย 1: 100) หนึ่งครั้ง ขนาดยาที่แนะนำคือ สูดยาในขนาดที่ต่ำที่สุดทนได้ เพื่อบรรเทาอาการปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการตอบสนองภายใน 15 นาที อาจให้ยาซ้ำได้หนึ่งครั้ง ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) – ฉับพลัน

  • ฉีดใต้ผิวหนัง : 0.3 มก. (0.3 มล. ของสารละลาย 1 : 1000) ทุกๆ 20 นาที ได้มากถึง 3 ครั้ง อาจให้ซ้ำหนึ่งครั้งทุกๆ 2 ชั่วโมงเท่าที่จำเป็น
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ : 0.1-0.5 มก. (0.1-0.5 มล. ของสารละลาย 1 : 1000) อาจให้ซ้ำได้ทุกๆ 20 นาที จนถึงหนึ่งครั้งทุกๆ 4 ชั่วโมง เทาที่จำเป็น
  • ชนิดสูด : 160-220 ไมโครกรัม (ต่อครั้ง) หนึ่งครั้ง อาจสูดเพิ่มเติมหลังจากผ่านไปอย่างน้อยหนึ่งนาที แนะนำไม่ควรใช้ยาหลังจากนั้นเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
  • ชนิดพ่น (Nebulized) : 1-3 ครั้ง (8-15 หยดของสารละลาย 1% 1 : 100 หรือสารละลายเรสพิเนฟรีน (racepinephrine) 2.25%) หนึ่งครั้ง หากการบรรเทาอาการไม่ได้ผลภายใน 5 นาที อาจให้ยาซ้ำหนึ่งครั้ง แนะนำไม่ควรใช้ยาซ้ำหลังจากนั้นมากกว่าทุกๆ 3 ชั่วโมง
  • อัดอากาศเข้าปอดเป็นพักๆ (Intermittent positive pressure breathing) : 0.3 มก. (0.03 มล. ของสารละลาย 1 : 100) หนึ่งครั้ง ขนาดยาที่แนะนำคือสูดยาในขนาดที่ต่ำที่สุดทนได้เพื่อบรรเทาอาการปวด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการตอบสนองภายใน 15 นาที อาจให้ยาซ้ำได้หนึ่งครั้ง ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการแพ้

  • ฉีดใต้ผิวหนัง : 0.1-0.5 มก. (0.1-0.5 มล. ของสารละลาย 1 : 1000) อาจให้ซ้ำได้ทุกๆ 20 นาที จนถึงให้หนึ่งครั้งทุกๆ 4 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น
  • ยาแขวนตะกอนฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneous suspension) : 0.5 มก. (0.1 มล. ของยาแขวนตะกอน 1 : 200) หนึ่งครั้ง อาจให้ยาเพิ่มเติมได้ 0.5-1 มก. ตามความจำเป็น แต่ห้ามบ่อยเกินกว่าทุกๆ 6 ชั่วโมง
  • ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ : 0.1-0.5 มก. (0.1-0.5 มล. ของสารละลาย 1 : 1000) อาจให้ซ้ำได้ทุกๆ 10-15 นาที
  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : 0.1-0.25 มก. (1-2.5 มล. ของสารละลาย 1 : 10,000) หนึ่งครั้งโดยใช้ช้าๆ และระมัดระวังเป็นเวลานานกว่า 5-10 นาที อาจให้ยาซ้ำทุกๆ 5-15 นาที เท่าที่จำเป็นและทนได้ ในบางกรณีหากมีอาการแพ้รุนแรง อาจเริ่มหยดยาเอพิเนฟรีนเข้าหลอดเลือดดำ (1 มก. ในน้ำเกลือเดกซ์โทรส 5% 250 มล. หรือ 4 ไมโครกรัม/มล.) ตั้งแต่ 1-4 ไมโครกรัม/นาที (15-60 มล./ชั่วโมง)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อทำให้รูม่านตาขยาย (Pupillary Dilation)

การเหนี่ยวนำและทำให้ภาวะรูม่านตาขยายคงตัว (Mydriasis) ระหว่างการผ่าตัดช่องตา

  • ใช้สารละลายทำหรับล้างตาเท่าที่จำเป็นขณะการดำเนินการผ่าตัด
  • ฉีดยาขนาด 0.1 มล. ที่เจือจางด้วยความเข้มข้น 1 : 100,000 ถึง 1 : 400,000 (10 ไมโครกรัม/มล.-2.5 ไมโครกรัม/มล.) เข้าไปในดวงตา

ขนาดยา เอพิเนฟรีน สำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการหัวใจหยุดเต้น (Asystole)

ทารกแรกเกิด

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือทางหลอดลม : 0.01-0.03 มก./กก. (0.1-0.3 มล./กก. 1 : 10,000) ทุกๆ 3-5 นาทีเท่าที่จำเป็น เจือจางสำหรับให้ทางหลอดลมในน้ำเกลือ 1-2 มล.

ทารกและเด็ก

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ : ขนาดยาเริ่มต้น 0.01 มก./กก. (0.1 มก./กก. ของสารละลาย 1 : 10,000) อาจให้ซ้ำทุกๆ 3-5 นาที ขนาดยาสูงสุด : 1 มก. หรือ 10 มล.
  • ให้ทางหลอดลม : 0.1 มก./กก. (0.1 มล. ของสารละลาย 1 : 1,000) ขนาดยาสูงถึง 0.2 มก./กก. อาจจะมีประสิทธิภาพ อาจให้ยาซ้ำได้ทุกๆ 3-5 นาที

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการช็อก

ทารกแรกเกิด

  • ฉีดเข้าหลอดเลือดหรือทางหลอดลม : 0.01-0.03 มก./กก. (0.1-0.3 มล./กก. 1 : 10,000) ทุกๆ 3-5 นาทีเท่าที่จำเป็น เจือจางยาพ่นทางหลอดลมในน้ำเกลือ 1-2 มล.

ทารกและเด็ก

  • ฉีดเข้าหลอดเลือด : ขนาดยาเริ่มต้น ขนาดยาเริ่มต้น 0.01 มก./กก. (0.1 มก./กก. ของสารละลาย 1 : 10,000). อาจให้ซ้ำทุกๆ 3-5 นาที ขนาดยาสูงสุด : 1 มก. หรือ 10 มล.
  • ให้ทางหลอดลม : 0.1 มก./กก. (0.1 มล. ของสารละลาย 1 : 1,000). ขนาดยาสูงถึง 0.2 มก./กก. อาจจะมีประสิทธิภาพ อาจให้ยาซ้ำได้ทุกๆ 3-5 นาที

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการแพ้

ทารกที่อายุไม่เกิน 2 ปี : 0.05-0.1 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนังด้วยสารละลาย 1 : 1000 หากผ่านไป 10 นาทีหลังจากฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาครั้งที่ 2

เด็ก

  • 2-5 ปี : 0.15 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
  • 6-11 ปี : 0.2 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
  • 12 ปีขึ้นไป : 0.3 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
  • หากผ่านไป 10 นาทีหลังจากฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาครั้งที่ 2
  • อีกตัวเลือกของขนาดยาฉีดใต้ผิวหนัง : 0.01 มก./กก. (0.01 มล./กก./ครั้ง ของสารละลาย 1 : 1000) ห้ามเกิน 0.5 มก.
  • ยาตะกอนแขวนฉีดใต้ผิวหนัง : 0.025 มก./กก. (0.005 มล./กก. ของยาตะกอนแขวน 1 : 200) ห้ามเกิน 0.15 มล. ทุกๆ 8-12 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคหอบหืด (Asthma) – ฉับพลัน                 

ทารกที่อายุไม่เกิน 2 ปี : 0.05-0.1 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนังด้วยสารละลาย 1 : 1000 หากผ่านไป 10 นาทีหลังจากฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาครั้งที่ 2

เด็ก

  • 2-5 ปี : 0.15 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
  • 6-11 ปี : 0.2 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
  • 12 ปีขึ้นไป : 0.3 มล. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง
  • หากผ่านไป 10 นาทีหลังจากฉีดยาครั้งแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้น ให้ฉีดยาครั้งที่ 2
  • อีกตัวเลือกของขนาดยาฉีดใต้ผิวหนัง : 0.01 มก./กก. (0.01 มล./กก./ครั้ง ของสารละลาย 1 : 1000) ห้ามเกิน 0.5 มก.
  • ยาแขวนตะกอนฉีดใต้ผิวหนัง : 0.025 มก./กก. (0.005 มล./กก. ของยาแขวนตะกอนในสัดส่วน 1 : 200) ห้ามเกิน 0.15 มล. ทุกๆ 8-12 ชั่วโมง
  • อายุ 4 ปีขึ้นไป : การสูด : 220 ไมโครกรัม (1 ครั้งการสูด) หนึ่งครั้ง อาจสูดเพิ่มหลังจากใช้อย่างน้อย 1 นาที แนะนำไม่ควรใช้ยาตามภายในเวลาอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อทำให้รูม่านตาขยาย (Pupillary Dilation)

การเหนี่ยวนำและรักษาให้ภาวะรูม่านตาขยายคงตัว (Mydriasis) ระหว่างการผ่าตัดช่องตา

  • ใช้สารละลายทำหรับล้างตาเท่าที่จำเป็น ขณะการดำเนินการผ่าตัด
  • ฉีดยาขนาด 0.1 มล. ที่เจือจางด้วยความเข้มข้น 1 : 100,000 ถึง 1 : 400,000 (10 ไมโครกรัม/มล.-2.5 ไมโครกรัม/มล.) เข้าไปในดวงตา

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • เครื่องฉีดยา : 0.15 มก./0.15 มล. 0.3 มก./0.3 มล. 0.15 มก./0.3 มล.
  • สำหรับสูดพ่น : 2.25%
  • สารละลายสำหรับฉีด : 0.1 มก./มล. (10 มล.) 1 มก./มล. (1 มล.)
  • สารละลายสำหรับฉีดเป็นไฮโดรคลอไรด์ (hydrochloride) : 1 มก./มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา