backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โคเดอีน (Codeine) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/10/2023

โคเดอีน (Codeine) ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

โคเดอีน  (Codeine) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดระดับเบาถึงระดับรุนแรงปานกลาง โคเดอีน เป็นยาแก้ปวดและ โคเดอีน เป็นยาในกลุ่มยาโอปิออยด์ (opioid pain medication) ซึ่งในบางครั้งยาโอปิออยด์จะถูกเรียกว่า เป็นยาเสพติด (narcotic)

ข้อบ่งใช้

ยา โคเดอีน ใช้สำหรับ

ยา โคเดอีน  (Codeine) ใช้เพื่อรักษาอาการปวดระดับเบาถึงระดับรุนแรงปานกลาง โคเดอีน เป็นยาแก้ปวดและ โคเดอีน เป็นยาในกลุ่มยาโอปิออยด์ (opioid pain medication) ซึ่งในบางครั้งยาโอปิออยด์จะถูกเรียกว่า เป็นยาเสพติด (narcotic)

วิธีใช้ยาโคเดอีน

ปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ยาโคเดอีนสามารถชะลอหรือหยุดการหายใจของคุณได้ ไม่ควรใช้ยาโคเดอีนในขนาดมากกว่าหรือนานกว่าที่กำหนด หากดูเหมือนยาโคเดอีนจะใช้บรรเทาอาการปวดของคุณไม่ได้ผล ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

ยาโคเดอีนอาจจะเสพติดได้ แม้จะใช้ในขนาดยาปกติ ห้ามแบ่งปันยานี้กับผู้อื่น โดยเฉพาะกับผู้ที่มีประวัติการติดยาเสพติด การใช้ยาแก้ปวดแบบเสพติด (Narcotic Medicine) อย่างไม่เหมาะสม สามารถนำไปสู่การเสพหรือใช้ยาเกินขนาด จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกับเด็กหรือผู้ที่ใช้ยาโดยไม่มีใบสั่งจากแพทย์ ในประเทศไทยโคเดอีนจัดเป็นยาเสพติดให้โทษทั่วไปประเภทที่ 2

รับประทานยาโคเดอีนคู่กับอาหารหรือนม เพื่อป้องกันอาการท้องไส้ปั่นป่วน

วัดขนาดของยาน้ำด้วยช้อนตวงแบบพิเศษ หรือถ้วยตวงยา หากคุณไม่มีเครื่องมือสำหรับตวง ควรถามจากเภสัชกร

ดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อป้องกันอาการท้องผูกขณะใช้ยาโคเดอีน ห้ามใช้ยาระบาย (laxative) โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์

หากใช้ยาโคเดอีนติดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน ห้ามหยุดใช้ยาในทันทีเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอาการถอนยาที่ไม่พึงประสงค์ได้ สอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการหลีกเลี่ยงอาการถอนยาเมื่อคุณหยุดใช้ยานี้

ควรเก็บยาโคเดอีนในอุณหภูมิห้อง ให้พ้นจากความชื้นและความร้อน

คอยนับปริมาณของยาที่ใช้ไปจากยาขวดใหม่แต่ละขวด ยาโคเดอีนเป็นยาเสพติด และคุณควรจะทราบหากมีใครใช้ยาของคุณอย่างไม่เหมาะสมหรือใช้โดยไม่มีใบสั่งยา

หลังจากที่คุณหยุดใช้ยาตัวนี้ ควรทิ้งยาที่ไม่ได้ใช้ลงในชักโครก การกำจัดยานี้โดยการทิ้งลงในชักโครกเป็นเรื่องที่แนะนำ เพื่อลดอันตรายจากการเผลอใช้ยาเกินขนาดจนถึงแก่ชีวิต คำแนะนำนี้ใช้สำหรับการใช้ยาในปริมาณน้อยเท่านั้น

การเก็บรักษายาโคเดอีน

ยาโคเดอีนควรเก็บควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาโคเดอีนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาโคเดอีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาโคเดอีน

ในขณะที่กำลังตัดสินใจใช้ยานี้ คุณและแพทย์ควรพิจารณาความเสี่ยงและประโยชน์ของยาให้ถี่ถ้วน

สำหรับยาโคเดอีน ควรพิจารณาดังต่อไปนี้

การแพ้

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีอาการผิดปกติหรือเกิดอาการแพ้ใดๆกับยานี้หรือยาชนิดอื่น หรือหากคุณมีอาการแพ้ใดๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด แพ้สัตว์ สำหรับยาที่หาซื้อได้เอง ควรอ่านฉลากยาหรือส่วนประกอบให้ละเอียด

เด็ก

ยังไม่มีงานวิจัยที่เหมาะสมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอายุ กับประสิทธิภาพของยาโคเดอีนสำหรับกลุ่มประชากรที่เป็นเด็ก ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

ผู้สูงอายุ

ยังไม่มีงานวิจัยที่เหมาะสมที่พิสูจน์ปัญหาที่เกี่ยวกับผู้สุงอายุ โดยเฉพาะที่จะจำกัดประสิทธิภาพของยาโคเดอีน อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุมักจะเกิดอาการสับสน ง่วงซึม โรคตับ โรคไต หรือโรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอายุ ทำให้ต้องการความระมัดระวัง และการปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาโคเดอีน

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนใช้ยานี้

ยาโคเดอีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาโคเดอีน

เข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีอาการแพ้ ได้แก่ เกิดลมพิษ หายใจติดขัด มีอาการบวมที่ใบหน้า  หรือลำคอ

เข้ารับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากเด็กที่ใช้ยาตัวนี้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ได้แก่ หายใจมีเสียงดัง หายใจช้า มีช่วงการหยุดหายใจนาน ง่วงผิดปกติ หรือตื่นได้ยาก ริมฝีปากเขียว

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังนี้

  • หัวใจเต้นช้า ชีพจรอ่อน หมดสติ หายใจไม่อิ่ม
  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • สับสน กระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ไม่ปกติ
  • รู้สึกมีความสุขมากหรือเศร้ามาก
  • มีอาการชัก
  • การปัสสาวะมีปัญหา

ผลค้างเคียงที่รุนแรงน้อยลงมา ได้แก่

  • รู้สึกวิงเวียนหรือง่วงซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • ท้องผูก
  • เหงื่อออก
  • คันเล็กน้อย หรือมีผดผื่น

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาโคเดอีนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

การใช้ยาเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาทั้งคู่อาจจะเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด หากคุณได้รับใบสั่งยานี้ร่วมกัน แพทย์อาจจะปรับขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งของคุณ

  • อัลเฟนทานิล (Alfentanil) อัลปราโซแลม (Alprazolam) แอนิเลริดีน (Anileridine)
  • บาโคลเฟน (Baclofen) โบรมาซีแพม (Bromazepam) บิวพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine) บูโพรพิออน (Bupropion) บิวทอลบิทอล (Butalbital) บิวทอร์พานอล (Butorphanol)
  • คาร์บินอกซาไมน์ (Carbinoxamine) คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) คลอรอล ไฮเดรต (Chloral Hydrate) คลอไดอะซิปอกไซด์ (Chlordiazepoxide) คลอร์ซอกซ์เซโซน (Chlorzoxazone)
  • โคลบาแซม (Clobazam) โคลนาซีแพม (Clonazepam) คลอราซีเพท (Clorazepate)
  • แดนโทรลีน (Dantrolene) เดโซซีน (Dezocine) ไดอะซีแพม (Diazepam)
  • เอสตาโซแลม (Estazolam) เอธคลอร์ไวนอล (Ethchlorvynol)
  • เฟนทานิล (Fentanyl) ฟลูไนตราซีแพม (Flunitrazepam) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ฟลูราซีแพม (Flurazepam)
  • ฮาราเซแพม (Halazepam) ไฮโดรโคโดน (Hydrocodone) ไฮโดรมอร์โฟน (Hydromorphone)
  • คีตาโซแลม (Ketazolam)
  • เลวอร์ฟานอล (Levorphanol) ไลโปโซม (Liposome) ลอราซีแพม (Lorazepam) ลอร์เมทาเซแพม (Lormetazepam)
  • มีไคลซีน (Meclizine) เมดาเซแพม (Medazepam) เมเพอริดีน (Meperidine) เมเฟเนซิน (Mephenesin) เมโฟบราบิทอล (Mephobarbital) เมโฟรบาเมต (Meprobamate) เมพเทซินอล (Meptazinol)
  • เมตาซาโลน (Metaxalone) เมทาโดน (Methadone) เมโทคาร์บามอล (Methocarbamol) เมโธเฮกซิทาล (Methohexital) มิดาโซแลม (Midazolam) มอร์ฟีน (Morphine) มอร์ฟีนซัลเฟต (Morphine Sulfate)
  • นาลบูฟีน (Nalbuphine) ไนตราซีแพม (Nitrazepam)
  • ฝิ่น (Opium)
  • ออเฟเนดรีน (Orphenadrine) ออกซาซีแพม (Oxazepam) ออกซิโคโดน (Oxycodone) ออกซิมอร์โฟน (Oxymorphone)
  • เพนตาโซซีน (Pentazocine) พราเซแพม (Prazepam) โพรพอกซิฟีน (Propoxyphene)
  • ควอเซแพม (Quazepam)
  • รีมิเฟนทานิล (Remifentanil)
  • โซเดียมออกซีเบต (Sodium Oxybate) ซูเฟนทานิล (Sufentanil) ซูโวเรกซ์เซนท์ (Suvorexant) ทาเพนทาดอล (Tapentadol) เทมาซีแพม (Temazepam) ทิซานิดีน (Tizanidine) ไตรอาโซแลม (Triazolam)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาโคเดอีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาโคเดอีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะโรคต่อไปนี้

  • โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมหมวกไตชนิดหนึ่ง
  • เคยมีประวัติการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือปอด เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) โรคหัวใจเพราะปอด (cor pulmonale) ภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia)
  • ระบบประสาทกลางถูกกด (CNS depression)
  • การติดยา โดยเฉพาะการติดยาแก้ปวด หรือเคยมีประวัติการติดยา
  • ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia หรือ BPH)
  • ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
  • กระดูกสันหลังคด (Kyphoscoliosis) ที่สามารถส่งผลให้เกิดปัญหากับการหายใจได้
  • มีอาการป่วยทางจิตป่วยทางจิต
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะ ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น
  • เนื้องอกที่สมอง
  • บาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ผลข้างเคียงบางอย่างของยาโคเดอีน สามารถทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงกับผู้ที่มีอาการนี้
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น หอบหืด (asthma) มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดมาก (hypercapnia) จะมีปฏิกิริยารุนแรง
  • ภาวะลำไส้ไม่เคลื่อนไหว (Paralytic ileus) หรือลำไส้อุดตัน
  • การกดการหายใจ (Respiratory depression) เช่น ภาวะหายใจช้า (hypoventilation) ไม่ควรใช้ยากับผู้ที่มีอาการนี้
  • ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
  • ตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)
  • เคยเกิดอาการชัก ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้อาการนี้แย่ลงได้
  • โรคไต
  • โรคตับ ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ประสิทธิภาพอาจเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้า
  • ปัญหาที่กระเพาะอาหารหรือระบบย่อยอาหาร ยาตัวนี้อาจไปบดบังการวินิจฉัยโรคนี้ได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาโคเดอีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการไอ

ขนาดยาเริ่มต้น : 15 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาได้มากถึง 20 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 120 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการปวด

ขนาดยาเริ่มต้น : 30 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาได้เพื่อให้ได้ผลของยาแก้ปวดเท่าที่ต้องการ

ขนาดยาได้สูงสุด : 60 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาอาการไอ

ขนาดยาเริ่มต้น : 10 มก. รับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาด้วยความระมัดระวังได้มากถึง 20 มก. ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 120 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับผู้สูงอายุเพื่อรักษาอาการปวด

ขนาดยาเริ่มต้น : 15 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

อาจปรับขนาดยาได้เพื่อให้ได้ผลของยาแก้ปวดเท่าที่ต้องการ

ขนาดยาสูงสุด : 60 มก. รับประทาน หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 ชั่วโมง

ขนาดยาโคเดอีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการไอ

อายุ 2 ถึง 6 ปี : 2.5 ถึง 5 มก. รับประทานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 30 มก./วัน

อายุ 6 ถึง 12 ปี : 5 ถึง 10 มก. รับประทานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ขนาดยาสูงสุด : 60 มก./วัน

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการปวด

อายุ 1 ปีขึ้นไป : 0.5 มก./กก. หรือ 15 มก./ตร.ม. รับประทาน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมง เท่าที่จำเป็น

รูปแบบของยาโคเดอีน

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาผง
  • ยาเม็ด 15 มก. 30 มก. 60 มก.
  • ยาฉีด 15 มก./มิลลิลิตร 30 มก./มิลลิลิตร 60 มก./มิลลิลิตร 600-1200 มก./มิลลิลิตร
  • ยาน้ำใส 3-15มก./ 5 มิลลิลิตร

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังนี้

  • หายใจติดขัด
  • ง่วงซึมอย่างรุนแรง
  • หมดสติ
  • สูญเสียความตึงตัว ของกล้ามเนื้อ
  • ผิวเย็นชื้น
  • หน้ามืด
  • วิงเวียน
  • หัวใจเต้นช้า

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/10/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา