backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไซโปร® (Cipro®)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ไซโปร® (Cipro®) ใช้สำหรับ

ไซโปร® ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) ไซโปร® อยู่ในกลุ่มของยาปฏิชีวนะควิโนโลน (quinolone antibiotics) ไซโปร® ทำงานโดยหยุดยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ไซโปร® ยังใช้เพื่อรักษาผู้ที่เคยรับเชื้อแอนแทรกซ์ (anthrax) หรือ ใช้ ไซโปร® เพื่อรักษาเชื้อกาฬโรคบางชนิด (plague)

วิธีการใช้ ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ไซโปร® เป็นยาปฏิชีวนะฟลูออโรควิโนโลน (fluoroquinolone antibiotic) ที่ต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียภายในร่างกาย แต่สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือทำให้ไร้สมรรถภาพได้ ไซโปร® ควรใช้ก็ต่อเมื่อไม่สามารถรักษาการติดเชื้อนั้นด้วยยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยกว่าเท่านั้น

ไซโปร® อาจทำให้เส้นเอ็นเกิดอาการบวมหรือฉีกขาด โดยเฉพาะหากคุณอายุมากกว่า 60 ปี หากคุณใช้ยาสเตียรอยด์ (steroid medication) หรือหากคุณรับการปลูกถ่ายไต หัวใจ หรือปอด

การรับประทาน รับประทานยานี้พร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติคือวันละสองครั้ง (ทุกๆ 12 ชั่วโมง) ในตอนเช้าและตอนเย็น รับประทานยานี้พร้อมกับดื่มน้ำเปล่า และควรดื่มน้ำให้มากเพื่อให้ไตสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง

ควรจะกลืนยาเม็ดลงไปทั้งเม็ด เนื่องจากยาอาจจะมีรสขมได้ หากคุณแบ่งยา เคี้ยวยา หรือบดยาก่อนรับประทานรับประทานยานี้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือ 6 ชั่วโมง หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจจะผูกติดกับยานี้และลดประสิทธิภาพของยาลงได้

การเก็บรักษา ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ไซโปร® ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็งไซโปร® บางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอเพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้ง ไซโปร® ลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ก่อนใช้ยานี้แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์หรือไม่ออกฤทธิ์ของยาไซโปร หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ไซโปร® อาจทำให้เกิดเส้นเอ็นเกิดอาการบวมหรือฉีกขาดได้ โดยเฉพาะหากคุณอายุมากกว่า 60 ปี หากคุณใช้ยาสเตียรอยด์ (steroid medication) หรือหากคุณรับการปลูกถ่ายไต หัวใจ หรือปอด

คุณอาจจะไม่สามารถใช้ไซโปร® ได้ หากคุณมีความผิดปกติทางกล้ามเนื้อ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (myasthenia gravis)

คุณไม่ควรใช้ไซโปร® หากคุณกำลังใช้ยาทิซานิดีน (tizanidine)

หยุดใช้ไซโปร® และติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการปวด บวม รอยช้ำ กดเจ็บ แข็งเกร็ง หรือปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่บริเวณข้อต่อใดๆ เฉียบพลัน ควรพักข้อต่อของคุณ จนกว่าคุณจะได้รับการดูแลหรือคำแนะนำทางการแพทย์

อย่าใช้ไซโปร® ร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น นมหรือโยเกิร์ต หรือน้ำผลไม้เสริมแคลเซียม คุณอาจจะดื่มหรือรับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้จากมื้ออาหารตามปกติ แต่อย่ารับประทานผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพียงอย่างเดียว เมื่อกำลังรับประทานไซโปร®  เพราะอาจทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง

หลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ภายใน 6 ชั่วโมงก่อน หรือ 2 ชั่วโมงหลังจากใช้ไซโปร® ยาเหล่านี้สามารถทำให้ยาไซโปรฟลอกซาซินมีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก หากใช้ร่วมกัน

  • ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมหรืออะลูมิเนียม เช่น มาร์ลอกซ์ (Maalox) ไมแลนตา (Mylanta) หรือโรเลด (Rolaids) หรือยาสำหรับแผลในกระเพาะอาหารซูคราลเฟต (sucralfate) อย่างคาราเฟต (Carafate)
  • ยาไดดาโนซีน (Didanosine) อย่างไวเดกซ์ (Videx) รูปแบบผลหรือยาเม็ดสำหรับเคี้ยว
  • ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต (phosphate binder) เช่น ยาแลนทานัม คาร์บอเนต (lanthanum carbonate) อย่างฟอสเรนอล (Fosrenol) หรือยาเซเวลาเมอร์ (sevelamer) อย่างเรเนเจล (Renagel)
  • อาหารเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุที่มีส่วนผสมของแคลเซียม เหล็ก หรือสังกะสี

ควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีนขณะที่กำลังใช้ไซโปร® เนื่องจากอาจทำให้ผลของคาเฟอีนรุนแรงขึ้น

ไซโปร® อาจทำให้ความสามารถในการคิด หรือปฏิกิริยาตอบสนองของคุณลดลงได้ ควรระมัดระวังหากคุณต้องขับรถ หรือทำกิจกรรมที่ต้องการความตื่นตัว

ยาปฏิชีวนะสามารถทำให้เกิดอาการท้องร่วง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อครั้งใหม่ได้ หากคุณมีอาการท้องร่วงไหลเป็นน้ำหรือเป็นเลือด โปรดติดต่อแพทย์ในทันที อย่าใช้ยาแก้ท้องร่วงนอกเสียจากแพทย์จะสั่งให้ทำเช่นนั้น

ควรหลีกเลี่ยงการเปิดรับแสงแดดหรือเตียงอาบแดด ไซโปร® นั้นสามารถทำให้คุณโดนแดดเผาได้ง่ายขึ้น ควรสวมเสื้อผ้าป้องกันและทาครีมกันแดด (SPF 30 ขึ้นไป) ขณะที่คุณอยู่นอกบ้าน โปรดติดต่อแพทย์หากคุณมีอาการแสบร้อน รอยแดง คัน ผดผื่น หรืออาการบวมอย่างรุนแรงหลังจากที่โดนแสงแดด

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ไซโปร® จัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน)

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปอาจมีดังนี้

หยุดใช้ไซโปร® และติดต่อแพทย์ในทันที หากคุณมีอาการ

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องร่วงไหลเป็นน้ำหรือเป็นเลือด
  • ปวดหัวพร้อมกับอาการปวดหน้าอกและวิงเวียนอย่างรุนแรง หมดสติ หัวใจเต้นเร็วหรือรัว
  • กล้ามเนื้อมีอาการปวดหรืออ่อนแรง
  • ชัก
  • สัญญาณของเส้นเอ็นฉีกขาด มีอาการปวดอย่างกะทันหัน มีรอยช้ำ กดเจ็บ มีปัญหากับการเคลื่อนไหว หรือมีเสียงกรอบแกรบหรือเสียงดังเป๊าะภายในข้อต่อ
  • อาการของเส้นประสาท มีอาการชา อ่อนแรง เหน็บ แสบร้อน ปวด หรือมีปฏิกิริยาไวต่ออุณหภูมิ สัมผัสของแสง หรือความรู้สึกบนตำแหน่งของร่างกายมากขึ้น
  • ความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือพฤติกรรม ซึมเศร้า สับสน มองเห็นภาพหลอน หวาดระแวง สั่นเทา รู้สึกร้อนรนหรือวิตกกังวล มีความคิดหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติ นอนไม่หลับ ฝันร้าย
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ – ปวดท้องส่วนบน เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีคล้ำ อุจจาระสีดินเหนียว ดีซ่าน
  • ความดันภายในกระโหลกเพิ่มขึ้น ปวดหัวอย่างรุนแรง มีเสียงอื้อในหู มีปัญหากับการมองเห็น ปวดด้านหลังลูกตา
  • ปฏิกิริยาผิวหนังที่รุนแรง — ปวดผิว ตามด้วยผดผื่นผิวหนังสีแดงหรือสีม่วงที่แพร่กระจาย (โดยเฉพาะใบหน้าหรือร่างกายส่วนบน) และทำให้เกิดแผลพุพองและผิวลอก

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ หรืออาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ไซโปร® อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง

เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) เมโทเทรเซต (methotrexate) เมโทโคลพราไมด์ (metoclopramide) โอเมพราโซล (omeprazole) เพนโทซิฟีลลีน (pentoxifylline) เฟนีโทอิน (phenytoin) โพรเบเนซิด (probenecid) โรพินิโรล (ropinirole) ซิลเดนาฟิล (sildenafil) ทีโอฟีลลีน (theophylline)
  • ยาขับปัสสาวะหรือยาขับน้ำ
  • ยาสำหรับอัตราการเต้นของหัวใจ – ยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) ยาไดโซพิราไมด์ (disopyramide) ยาโดเฟทิลไลด์ (dofetilide) ยาโดรนดาโรน (dronedarone) ยาโพรคาอินาไมด์ (procainamide) ยาควินิดีน (quinidine) ยาโซทาลอล (sotalol) และอื่นๆ
  • ยารักษาโรคซึมเศร้าหรืออาการป่วยทางจิต – ยาอะมิทริปแทน (amitriptylline) ยาโคลมิพรามีน (clomipramine) ยาโคลซาพีน (clozapine) ยาเดซิพรามีน (desipramine) ยาดูโลเซทีน (duloxetine) ยาไอโลเพริโดน (iloperidone) ยาอิมิพรามีน (imipramine) ยานอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) และอื่นๆ
  • ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) – ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อย่างแอดวิล (Advil) หรือมอทริน (Motrin) ยานาพรอกเซน (naproxen) อย่างอะลีฟ (Aleve) ยาเซเลโคซิบ (celecoxib) ยาไดโคลเฟแนค (diclofenac) ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) ยาเมโลซิแคม (meloxicam) และอื่นๆ

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ไซโปร® อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ รวมถึงการใช้คาเฟอีนร่วมกับยาไซโปรฟลอกซาซิน อาจเพิ่มผลของคาเฟอีนได้

ไม่ควรรับประทานยาไซโปรฟลอกซาซิน กับวิตามินรวมที่มีแร่ธาตุในเวลาเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม อะลูมิเนียม แคลเซียม เหล็ก และ/หรือ แร่ธาตุอื่นๆ อาจจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมยาไซโปรฟลอกซาซินและลดประสิทธิภาพของยา

อย่าใช้ยาไซโปรฟลอกซาซินร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น นมหรือโยเกิร์ต หรืออาหารที่เสริมแคลเซียม (เช่น ซีเรียล น้ำผลไม้) คุณสามารถรับประทานหรือดื่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรืออาหารเสริมแคลเซียมได้จากมื้ออาหารตามปกติ แต่ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว ขณะที่กำลังใช้ยาไซโปรฟลอกซาซิน

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ไซโปร® อาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง (CNS Disorders)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis)
  • ภาวะระยะคิวทียาว (QT Interval Prolongation)
  • เส้นเอ็นอักเสบ (Tendonitis)
  • ลำไส้อักเสบ (Colitis)
  • ผลึกสารในปัสสาวะ (Crystalluria)
  • โรคเบาหวาน
  • การกรองเลือดโดยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)
  • ไตวาย (Renal Dysfunction)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน) สำหรับผู้ใหญ่

ผิวและโครงสร้างผิว ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

กระดูกและข้อต่อ ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 4 ถึง 8 สัปดาห์

ติดเชื้อภายในช่องท้องแบบซับซ้อน ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

ท้องร่วงจากการติดเชื้อ ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 5 ถึง 7 วัน

ไข้ไทฟอยด์ (Typhoid Fever) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 10 วัน

การติดเชื้อหนองในที่ท่อปัสสาวะและปากมดลูกแบบไม่ซับซ้อน (Uncomplicated Urethral and Cervical Gonococcal Infections) ขนาดยาที่แนะนำคือ 250 mg / หนึ่งครั้ง / หนึ่งครั้ง

เชื้อแอนแทรกซ์จากการสูดดม (หลังได้รับเชื้อ) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 60 วัน /4 ถึง 8 สัปดาห์

กาฬโรค 3 ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 14 วัน

ต่อมลูกหมากอักเสบจากแบคทีเรียเรื้อรัง (Chronic Bacterial Prostatitis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 28 วัน

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ขนาดยาที่แนะนำคือ 500–750 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ขนาดยาที่แนะนำคือ 250–500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 7 ถึง 14 วัน

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ซับซ้อนเฉียบพลัน (Acute Uncomplicated Cystitis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 250 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 3 วัน

โรคไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute Sinusitis) ขนาดยาที่แนะนำคือ 500 มก. / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 10 วัน

ขนาดไซโปร® (ไซโปรฟลอกซาซิน) สำหรับเด็ก

การติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อนหรือโรคกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) (ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 1 ถึง 17 ปี) 10 มก./กก. ถึง 20 มก./กก. (ขนาดยาสูงสุด 750 มก. ต่อครั้ง ไม่ควรเกิดขนาดยานี้แม้ว่าผู้ป่วยจะน้ำหนักมากกว่า 51 กก.) / ทุกๆ 12 ชั่วโมง / 10–21 วัน

เชื้อแอนแทรกซ์จากการสูดดม (หลังได้รับเชื้อ) ขนาดยาที่แนะนำคือ 15 มก./กก. (ขนาดยาสูงสุดคือ 500 มก. ต่อครั้ง) / ขนาดยาที่แนะนำคือ / 60 วัน

กาฬโรค ขนาดยาที่แนะนำคือ 15 มก./กก. (ขนาดยาสูงสุดคือ 500 มก. ต่อครั้ง) / ทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง / 10–21 วัน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด และยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน ไซโปรฟลอกซาซิน ไฮโดรคลอไรด์ (ciprofloxacin hydrochloride) 250 มก.
  • ยาเม็ดเคลือบฟิล์มสำหรับรับประทาน ไซโปรฟลอกซาซิน ไฮโดรคลอไรด์ 250 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยา ควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา