backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไบโซโปรลอล (Bisoprolol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

ไบโซโปรลอล (Bisoprolol) อาจใช้ร่วมกับยาอื่นหรือใช้แยกต่างหากเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension) การลดระดับความดันโลหิตสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไตได้

ข้อบ่งใช้

ยา ไบโซโปรลอล ใช้สำหรับ

ยา ไบโซโปรลอล (Bisoprolol) อาจใช้ร่วมกับยาอื่นหรือใช้แยกต่างหากเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (hypertension) การลดระดับความดันโลหิตสามารถช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และปัญหาเกี่ยวกับไตได้

ยา ไบโซโปรลอล นั้นเป็นยาในกลุ่มยาเบต้าบล็อกเกอร์ (beta blockers) ทำงานโดยการปิดกั้นการทำงานของสารเคมีตามธรรมชาติในร่างกายบางชนิด เช่น เอพิเนฟรีน (Epinephrine) ภายในหัวใจและหลอดเลือด ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ลดความดันโลหิต และลดความตึงเครียดของหัวใจ

ข้อบ่งใช้อื่นๆ : (ข้อบ่งใช้ที่ไม่ได้อยู่บนฉลาก ใช้ตามแพทย์สั่งเท่านั้น)

ยาไบโซโปรลอลยังอาจใช้เพื่อรักษาอาการหัวใจวาย ระดับเบาไปจนถึงปานกลางได้อีกด้วย

วิธีการใช้ยา ไบโซโปรลอล

รับประทานยาไบโซโปรลอลคู่กับอาหารหรือแยกต่างหาก โดยปกติแล้วคือวันละครั้ง หรือตามที่แพทย์กำหนด

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา

ใช้ยา ไบโซโปรลอล เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากยา เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานในเวลาเดียวกันทุกวัน

สำหรับการรักษาความดันโลหิตสูง อาจต้องใช้เวลานานกว่าหลายสัปดาห์ ก่อนจะได้รับประสิทธิภาพเต็มที่จากยาไบโซโปรลอล ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่อง แม้คุณจะรู้สึกเป็นสบายดี คนส่วนใหญ่ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงนั้นจะไม่รู้สึกป่วย

แจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง (เช่น ความดันโลหิตของคุณยังสูงอยู่ หรือเพิ่มมากขึ้น)

การเก็บรักษายาไบโซโปรลอล

ยาไบโซโปรลอลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไบโซโปรลอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยา หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไบโซโปรลอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อสินค้าหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาไบโซโปรลอล

ก่อนใช้ยาไบโซโปรลอล

  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ ถ้าหากคุณแพ้ยาไบโซโปรลอลหรือยาอื่นๆ
  • แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อได้เอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพร โดยเฉพาะ ยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (calcium channel blockers) เช่น ยาดิลไทอะเซม (Diltiazem) อย่าง คาร์ดิเซม (Cardizem) ไดลาคอร์ (Dilacor) ไทอาแซค (Tiazac) และอื่นๆ และยาเวอราปามิล (verapamil) อย่าง เคลัน (Calan) ไอโซปทิน (Isoptin) เวเรลัน (Verelan) ยาโคลนิดีน (clonidine) อย่างคาตาเพรส (Catapres) ยากัวเนธิดีน (Guanethidine) อย่าง อิสเมลิน (Ismelin) ยาสำหรับหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น ยาไดโซไพราไมด์ (Disopyramide) อย่าง นอร์เพส (Norpace) ยาเบต้าบล็อกเกอร์อื่นๆ ยารีเซอร์พีน (Reserpine) อย่าง เซอร์เพลัน (Serpalan) เซอร์เพซิล (Serpasil) เซอร์เพแท็บ (Serpatabs) และยาไรแฟมพิน (rifampin) อย่าง ไรฟาดิน (Rifadin) ไรแมคเทน (Rimactane) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือเฝ้าสังเกตผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็น หรือเคยเป็นโรคหอบหืด หรือโรคปอดอื่นๆ อัตราหัวใจเต้นช้า หัวใจวาย โรคหัวใจ โรคตับ หรือโรคไต โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ที่รุนแรง มีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperthyroidism)
  • แจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ มีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ขณะใช้ยาไบโซโปรลอลควรติดต่อแพทย์ในทันที
  • หากคุณกำลังจะรับการผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดทำฟัน แจ้งให้แพทย์และทันตแพทย์ทราบว่า คุณกำลังใช้ยาไบโซโปรลอล
  • ยาไบโซโปรลอลนั้นทำให้เกิดอาการง่วงซึม อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักร จนกว่าคุณจะทราบว่ายานี้ส่งผลอย่างไรกับคุณ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถเพิ่มอาการง่วงซึมจากยานี้ได้เช่นกัน
  • คุณควรทราบว่า หากคุณมีอาการแพ้ต่อสารที่ต่างๆ อาการแพ้ของคุณอาจจะแย่ลงขณะที่ใช้ยาไบโซโปรลอล และอาการแพ้ของคุณอาจจะไม่ตอบสนองต่อการฉีดเอพิเนฟรีน (epinephrine) ในขนาดปกติ

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ยาไบโซโปรลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= พบหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่มีข้อมูลเพียงพอ
  • ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้ยาไบโซโปรลอล

    อาการดังต่อไปนี้ คือรายการของอาการที่ไม่พึงประสงค์ของการใช้ยาไบโซโปรลอลฟูมาเรตในงานวิจัยทั่วโลก ได้แก่

    • ระบบประสาทส่วนกลาง : มึนงง ไม่แน่นอน เวียนศีรษะ วูบ ปวดหัว ภาวะความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน (paresthesia) ภาวะความรู้สึกสัมผัสลดลง (hypoesthesia) ภาวะความรู้สึกสัมผัสเพิ่มขึ้น (hyperesthesia) อาการง่วงนอนมากเกินไปในช่วงกลางวัน (somnolence) การนอนหลับผิดปกติ (sleep disturbances) วิตกกังวล/ไม่อยู่สุข สมาธิ/ความจำลดลง
    • ระบบประสาทอัตโนมัติ : ปากแห้ง โรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) ใจสั่น (Palpitation) และจังหวะหัวใจผิดปกติ (rhythm disturbances) แขนและขาเย็น ภาวะปวดขาจากระบบประสาท (claudication) ความดันโลหิตต่ำ (hypotension) ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืน ปวดหน้าอก ภาวะหัวใจวาย อาการหอบเหนื่อยเมื่อออกกำลังกาย (dyspnea on exertion)
    • จิตเวช : ฝัน นอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า
    • ระบบทางเดินอาหาร : ปวดที่กระเพาะอาการ ลิ้นปี่ หรือท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
    • กล้ามเนื้อและกระดูก : ปวดกล้ามเนื้อ/ข้อต่อ ปวดข้อ ปวดหลัง/คอ ปวดกล้ามเนื้อ ตะคริว กระตุก/สั่นเทา
    • ผิวหนัง : ผดผื่น สิว ผิวหนังอักเสบผื่นแพ้ สะเก็ดเงิน ระคายเคืองผิว คัน หน้าแดง เหงื่อออก ผมร่วง ผิวหนังอักเสบ อาการบวม ภาวะอักเสบของผิวหนังซึ่งมีผื่นผิวหนังแดงลอกทั่วร่างกาย (exfoliative dermatitis) หลอดเลือดอักเสบที่ผิวหนัง (Cutaneous Vasculitis)
    • ทางการรับรู้ : การมองเห็นผิดปกติ ปวดหรือมีแรงดันที่ดวงตา การหลั่งน้ำตาผิดปกติ มีเสียงอื้อในหู การได้ยินลดลง ปวดหู การรับรสผิดปกติ
    • การเผาผลาญ : โรคเกาต์
    • ระบบทางเดินหายใจ : หอบหืด หลอดลมหดตัว หลอดลมอักเสบ ไอ หายใจลำบาก คออักเสบ จมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ โรคติดเชื้อระบบหายใจส่วนบน (URI)
    • ระบบทางเดินปัสสาวะ : ความต้องการทางเพศลดลง โรคอวัยวะเพศชายโค้งงอ (Peyronie’s disease) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ อาการปวดบีดรัดที่ไต (renal colic) ปัสสาวะมาก (Polyuria)
    • ระบบโลหิตวิทยา : โรคผื่นเพอร์พิวรา (Purpura)
    • ทั่วไป : เหนื่อยล้า อาการขาดกำลัง ปวดหน้าอก รู้สึกไม่สบาย บวมน้ำ น้ำหนักเพิ่ม อาการบวมใต้ชั้นผิวหนัง

    นอกจากนี้ยังมีรายงานอาการที่ไม่พึงประสงค์ของยาเบต้าบล็อกเกอร์ชนิดอื่น ที่ควรพิจารณาว่าอาจเป็นผลข้างเคียงที่เป็นไปได้ของยาเซเบต้า (ZEBETA) หรือไบโซโปรลอลฟูมาเรต (bisoprolol fumarate) ได้แก่

    • ระบบประสาทส่วนกลาง : การเคลื่อนไหวผิดปกติ (catatonia) มองเห็นภาพหลอน กลุ่มอาการทางประสาทที่ไม่ถาวร เช่น ความงุนงงสับสนต่อเวลาและสถานที่ อารมณ์ไม่คงที่ ตัวรับรู้ที่ไม่ชัดเจน
    • โรคภูมิแพ้ : เป็นไข้รวมกับปวดและเจ็บคอ กล่องเสียงหดเกร็ง (laryngospasm) หายใจลำบาก
    • ระบบโลหิตวิทยา : ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Agranulocytosis) เกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) ภาวะเลือดออกง่ายจากเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenic purpura)
    • ระบบทางเดินอาหาร : ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดงมิเซนเตอริก (Mesenteric arterial thrombosis) ลำไส้อักเสบจากการขาดเลือด (ischemic colitis)
    • เบ็ดเตล็ด : ยังไม่มีรายงานเรื่องกลุ่มอาการออคิวโลมิวโคคิวเทเนียส (oculomucocutaneous syndrome) ที่เกี่ยวข้องกับเบต้าบล็อกเกอร์แพรกโทลอลกับยาเซเบต้า (Zebeta) อย่าง ไบโซโปรลอลฟูมาเรต (bisoprolol fumarate) ในช่วงขณะการตรวจสอบการใช้งานหรือการขายในต่างประเทศที่กว้างขวาง
    • ความผิดปกติในห้องแล็บ : ในช่วงการทดลองทางการแพทย์ รายงานในห้องแล็บที่บ่อยที่สุดก็คือ การเพิ่มขึ้นของระดับเซรั่มไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่ใช่การค้นพบที่สอดคล้องกัน

    ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยากับยาอื่น

    ยาไบโซโปรลอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

    แม้ว่ายาบางชนิดจะไม่ควรใช้ร่วมกัน แต่อาจมีกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาที่แตกต่างกันสองชนิดแม้ว่ายานั้นจะมีปฏิกิริยาต่อกัน ในกรณีนี้แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือมีข้อควรระวังอื่นๆ ที่จำเป็น หากคุณใช้ยานี้ ควรจะให้ผู้ดูแลสุขภาพของคุณทราบหากคุณกำลังใช้ยาที่อยู่ในรายชื่อด้านล่างนี้ ปฏิกิริยาต่อจากนี้เลือกมาจากโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นได้พื้นฐานและไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทั้งหมด

    โดยปกติแล้วไม่แนะนำให้ใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นต้องใช้ในบางกรณี หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งสองมาร่วมกัน แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาหรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสอง

    • อัลบูเทอรอล (Albuterol) อะมิโอดาโรน (Amiodarone) อาฟอร์โมเตอร์รอล (Arformoterol) แบมบิวเทอรอล (Bambuterol) เคลนบูเทอรอล (Clenbuterol) โคลนิดีน (Clonidine) คอลเทอร์รอล (Colterol) คริซอทนิบ (Crizotinib) ดิลไทอะเซม (Diltiazem) โดรเนดาโรน (Dronedarone) เอโนโดแพม (enoldopam) ฟีโนเทอรอล (Fenoterol) ฟิงโกลิมอด (Fingolimod) ฟอร์โมเทอรอล (Formoterol) เฮ็กซ์โซกรีนาไลน์ (Hexoprenaline) อินดาคาเทอรอล (Indacaterol) ไอโซอีทารีน (Isoetharine) ลาโคซาไมด์ (Lacosamide) เลวาลบิวเทอรอล (Levalbuterol) เมทาโพรเทเรนอล (Metaproterenol) ออโลเดเทอรอล (Olodaterol) เพียร์บิวเทอรอล (Pirbuterol) โพรคาเทอรอล (Procaterol) เรโพรเทอรอล (Reproterol) ริโทดรีน (Ritodrine) ซาลเมเทอรอล (Salmeterol) เทอร์บูทาลีน (Terbutaline) เทรโทควิทอล (Tretoquinol) ทูโลบิวเทอรอล (Tulobuterol) เวราพามิล (Verapamil) ไวแลนเทอรอล (Vilanterol)

    การใช้ยานี้กับยาดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่าง แต่การใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน อาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งสองมาร่วมกัน แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสอง

    • อะคาร์โบส (Acarbose) อะซีโคลฟีแนค (Aceclofenac) อะซีเมทาซิน (Acemetacin) อะซีโตเฮกซาไมด์ (Acetohexamide) อะเซทิลไดจอกซิน (Acetyldigoxin) อัลฟูโซซิน (Alfuzosin) แอมโลดิปีน (Amlodipine) แอมทอลเมทิล กวาซิล (Amtolmetin Guacil) อาร์บิวทามีน (Arbutamine) แอสไพริน เบนฟลอเร็กซ์ (Benfluorex) บรอมเฟแนค (Bromfenac) บูเฟกซ์เซแมค (Bufexamac) บูนาโซซิน (Bunazosin) เซเลโคซิบ (Celecoxib) คลอร์โพรพาไมด์ (Chlorpropamide) คลอรีนซาลิไซเลต (Choline Salicylate) คลอนิกซ์ซิน (Clonixin) เดสลาโนไซด์ (Deslanoside) เดกซ์ซิบิวโพรเฟน (Dexibuprofen) เดกซ์คีโตโพรเฟน (Dexketoprofen) ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) ไดฟลูนาแซล (Diflunisal) ไดจิทอกซ์ซิน (Digitoxin) ไดจอกซิน (Digoxin) ไดพิวโรน (Dipyrone) ดอกซาโซซิน (Doxazosin) เอโทโดแลค (Etodolac) เอโทเฟนาเมต (Etofenamate) อิโทริคอกซิบ (Etoricoxib) เฟลบิแนค (Felbinac) ฟิโลดิปีน (Felodipine) เฟโนโพรเฟน (Fenoprofen) เฟพราดินอล (Fepradinol) เฟพราโซน (Feprazone) ฟลอคทาเฟไนน์ (Floctafenine) กรดฟลูเฟนามิค (Flufenamic Acid) เฟลอร์บิโพรเฟน (Flurbiprofen) ไกลคลาไซด์ (Gliclazide) ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ไกลพิไซด์ (Glipizide) กลิควิโดน (Gliquidone) ไกลบิวไรด์ (Glyburide) กัวร์ กัม (Guar Gum) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ไอบูโพรเฟนไลซีน (Ibuprofen Lysine) อินโดเมทาซิน (Indomethacin) อินซูลิน อินซูลินแอสพาร์ท รีคอมเบียนต์ (Recombinant) อินซูลินกลูไลซีน (Insulin Glulisine) อินซูลิน ลิสโปร (Insulin Lispro) รีคอมเบียนต์ (Recombinant) คีโตโพรเฟน (Ketoprofen) คีโตโรแลค (Ketorolac) เลซิดิไพน์ (Lacidipine) เลอร์แคนิดิไพน์ (Lercanidipine) ลอร์นอกซ์ซิแคม (Lornoxicam) ลอกซ์โซโพรเฟน (Loxoprofen) ลูมิแรคโคซิบ (Lumiracoxib) มานิดิปีน (Manidipine) เมโคลเฟเนเมต (Meclofenamate) กรดเมเฟนามิค (Mefenamic Acid) เมลอกซ์แคม (Meloxicam) เมทฟอร์มิน (Metformin) เมทิลโดปา (Methyldopa) เมทิลไดจอกซิน (Metildigoxin) ไมเบฟราดิล (Mibefradil) ไมกลิทอล (Miglitol) มอร์นิฟลูเมต (Morniflumate) มอกซ์ซิไซไลต์ (Moxisylyte) นาบิวเมโทน (Nabumetone) นาพรอกเซน (Naproxen) เนพาเฟแนค (Nepafenac) ไนคาร์ดิพีน (Nicardipine) ไนเฟดิพีน (Nifedipine) กรดไนฟลูมิค (Niflumic Acid) นิลวาดิไพน์ (Nilvadipine) ไนเมซูไลด์ (Nimesulide) ไนโมดิพีน (Nimodipine) ไนโซลดิพีน (Nisoldipine) ไนเทรนดิพีน (Nitrendipine) ออกซาโพรซิน (Oxaprozin) ออกซีเฟนบิวตาโซน (Oxyphenbutazone) พารีโคซิบ (Parecoxib) ฟีนอกซีเบนซามีน (Phenoxybenzamine) เฟนโตลามีน (Phentolamine) ฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) ไพโตโพรเฟน (Piketoprofen) ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) แพรนิดิไพน์ (Pranidipine) พราโนโพรเฟน (Pranoprofen) พราโซซิน (Prazosin) โพรกลูเมตาซิน (Proglumetacin) พรอบพีเฟนาโซน (Propyphenazone) โพรควาโซน (Proquazone) รีพาไกลไนด์ (Repaglinide) ไรฟาเพนทีน (Rifapentine) โรเฟคอซิบ (Rofecoxib) กรดซาลิไซลิก ซาลซาเลต (Salsalate) โซเดียมซัลลิไซเลต (Sodium Salicylate) สมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต ซูลินแดค (Sulindac) แทมซูโลซิน (Tamsulosin) เทนอกซิแคม (Tenoxicam) เทราโซซิน (Terazosin) กรดเทียโพรเฟนิค (Tiaprofenic Acid) โทลาซาไมด์ (Tolazamide) โทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) กรดทอลเฟเนมิค (Tolfenamic Acid) ทอลเมทิน (Tolmetin) ไทรเมโซซิน (Trimazosin) ไธอะโซลิดีนไดโอน (Troglitazone) ยูราพิดิล (Urapidil) วาลเดคอซิบ (Valdecoxib)

    ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

    ยาไบโซโปรลอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

    ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

    ยาไบโซโปรลอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะ

    • อาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) —หากหยุดใช้ยาเร็วเกินไปอาจไปกระตุ้นอาการปวดเค้นในหน้าอก
    • โรคหลอดเลือด—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ยานี้อาจทำให้อาการแย่ลง
    • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradycardia)
    • สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (Heart block)
    • หัวใจล้มเหลว—ผู้ป่วยที่มีอาการนี้ไม่ควรใช้ยานี้
    • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
    • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)—อาจไปปกปิดสัญญาณและอาการบางอย่างของโรค เช่น อาการหัวใจเต้นเร็ว
    • โรคไต
    • โรคตับ—ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ประสิทธิภาพอาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากการความเร็วในการกำจัดยาออกจากร่างกายลดลง
    • โรคปอด (เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง)—อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้หายใจได้ลำบาก

    ขนาดยา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ขนาดยาไบโซโปรลอลสำหรับผู้ใหญ่

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ : 5- 20 มก. รับประทานวันละครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

    • ขนาดยาปกติ: 1.25 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยา 1.25 มก. หลังจาก 48 ชั่วโมง และตามด้วยแต่ละสัปดาห์ เท่าที่จำเป็นและทนได้ ขนาดยาสูงสุดที่แนะนำต่อวันคือ 5 มก.

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันอาการปวดเค้นหัวใจ (Angina Pectoris)

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็นและทนได้ เพื่อป้องกันอาการปวดเค้นหัวใจ หากจำเป็นอาจเพิ่มขนาดยาได้ประมาณทุกๆ 3 วัน เป็น 10 มก. ตามด้วย 20 มก. วันละครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคหัวใจพีวีซี (Premature Ventricular Depolarizations)

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็นและทนได้ เพื่อรักษาโรคหัวใจพีวีซี หากจำเป็นอาจเพิ่มขนาดยาได้ประมาณทุกๆ 3 วัน เป็น 10 มก. ตามด้วย 20 มก. วันละครั้ง

    ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการหัวใจเต้นเร็ว (Supraventricular Tachycardia)

    • ขนาดยาเริ่มต้น : 5 มก. รับประทานวันละครั้ง
    • ขนาดยาปกติ : อาจเพิ่มขนาดยาเท่าที่จำเป็นและทนได้ เพื่อรักษาอาการหัวใจเต้นเร็วที่เกิดในหัวใจห้องบน หากจำเป็นอาจเพิ่มขนาดยาได้ประมาณทุกๆ 3 วัน เป็น 10 มก. ตามด้วย 20 มก. วันละครั้ง

    ขนาดยาไบโซโปรลอลสำหรับเด็ก

    ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร

    รูปแบบของยา

    ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้คือ

    ยาเม็ดสำหรับรับประทาน : 5 มก. 10 มก.

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/11/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา