backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไมโซพรอสทอล (Misoprostol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ไมโซพรอสทอล (Misoprostol)

ข้อบ่งใช้

ยา ไมโซพรอสทอล ใช้สำหรับ

ยา ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) ใช้เพื่อป้องกันแผลในกระเพาะอาหารขณะที่กำลังใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือนาพรอกเซน (naproxen) โดยเฉพาะหากคุณมีความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือเคยมีแผลมาก่อน ยาไมโซพรอสทอล จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงจากแผลในกระเพาะอาหาร เช่น อาการเลือดออก ยานี้จะช่วยปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหารโดยการลดปริมาณของกรดที่มาสัมผัส

นอกจากนี้ ยานี้ยังใช้ร่วมกับยาอื่น อย่างเช่น ยามิฟีพริสโตน (mifepristone) เพื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ (การแท้งบุตร)

วิธีการใช้ยา ไมโซพรอสทอล

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา

*หากคุณใช้ยานี้เพื่อป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร รับประทานยานี้ โดยปกติ คือ วันละสี่ครั้งหลังมื้ออาหารและก่อนนอน เพื่อลดโอกาสในการเกิดอาการท้องร่วง หรือตามที่แพทย์กำหนด

**หากใช้ยานี้เพื่อให้แท้งบุตร ควรรับประทานยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด และใช้ยานี้ภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์

***หากคุณใช้ยานี้เพื่อเริ่มการคลอดบุตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพจะสอดยานี้เข้าทางช่องคลอด

หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมขณะที่กำลังใช้ยานี้ เนื่องจากอาจทำให้อาการท้องร่วงรุนแรงขึ้น หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาลดกรด โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อช่วยเลือกยาให้คุณ

สำหรับการป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร ควรใช้ยานี้อย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่คุณกำลังใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ควรใช้ยาเป็นประจำเพื่อให้ได้ประโยชน์จากยาสูงสุด และควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือแย่ลง

การเก็บรักษายา ไมโซพรอสทอล

ยาไมโซพรอสทอล ควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาไมโซพรอสทอลบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาไมโซพรอสทอลลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ไมโซพรอสทอล

ก่อนใช้ยาไมโซพรอสทอล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะหากคุณมีโรคดังต่อไปนี้

  • โรคกระเพาะ หรือโรคลำไส้ เช่น โรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease)
  • มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการมดลูกแตก หากให้ยานี้ทางช่องคลอด เช่น เคยผ่าคลอด เคยผ่าตัดมดลูก เคยตั้งครรภ์ห้าครั้งขึ้นไป
  • การดื่มสุราและสูบบุหรี่ทุกวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร ควรจำกัดปริมาณการดื่มสุราและหยุดสูบบุหรี่ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

หากคุณกำลังใช้ยานี้ร่วมกับยามิฟีพริสโตน เพื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ในนานๆ ครั้งอาจจะเกิดอาการแท้งไม่สมบูรณ์ เป็นเรื่องสำคัญมากที่แพทย์จะต้องเฝ้าสังเกตคุณอย่างใกล้ชิด และควรไปตามนัดแพทย์เพื่อติดตามความคืบหน้าทุกครั้ง ควรรับคำแนะนำอย่างชัดเจนจากแพทย์เกี่ยวกับผู้ที่ควรติดต่อและสิ่งที่ควรทำในกรณีฉุกเฉิน อาจจะเกิดอาการเลือดออกจากช่องคลอดหลังจากที่คุณใช้ยาร่วมกัน

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณเกิดอาการที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น เช่น อาการเลือดออกจากช่องคลอดอย่างรุนแรง หรือเป็นเวลานาน สัญญาณของการติดเชื้อ เป็นไข้หรือหนาวสั่น หรือหมดสติ

ห้ามใช้ยานี้เพื่อป้องกันแผลในกระเพาะอาหารขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากโอกาสในการเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ (อ่านเพิ่มเติมในส่วนคำเตือน)

หากคุณอยู่ในวัยเจริญพันธ์ ควรใช้การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพขณะที่กำลังใช้ยาไมโซพรอสทอลและเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนหรือครบหนึ่งรอบการมีประจำเดือนหลังจากที่คุณหยุดใช้ยานี้ หากคุณตั้งครรภ์หรือคิดว่าอาจจะตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

ยานี้สามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมแม่ได้ แต่ไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อทารก โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยาไมโซพรอสทอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด X โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา ไมโซพรอสทอล

อาจเกิดอาการคลื่นไส้หรือปวดท้องอย่างรุนแรง หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที

โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

อาการท้องร่วงนั้น พบได้มากจากการใช้ยาไมโซพรอสทอลและมักจะเกิดประมาณสองสัปดาห์ หลังจากเริ่มใช้ยานี้และเป็นนานประมาณหนึ่งสัปดาห์ โปรดบริโภคน้ำและแร่ธาตุหรืออิเล็กโทรไลต์ (electrolytes) ให้เพียงพอเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ อาการท้องร่วงบ่อยครั้ง

ในบางครั้งอาจจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุในปริมาณมากได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากคุณมีสัญญาณที่รุนแรงเกี่ยวกับภาวะขาดน้ำและภาวะแร่ธาตุไม่สมดุลดังต่อไปนี้ วิงเวียนอย่างรุนแรง ปัสสาวะน้อยลง มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นช้าหรือผิดปกติ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดังต่อไปนี้ มีปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนหรือประจำเดือนผิดปกติ มีเลือดออกจากช่องคลอดอย่างผิดปกติหรือมามาก

การแพ้ยาที่รุนแรงต่อยานี้ ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรงมีดังนี้ ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาไมโซพรอสทอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาไมโซพรอสทอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาไมโซพรอสทอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาไมโซพรอสทอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer)

200 ไมโครกรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังมื้ออาหารและก่อนนอน

ขนาดยาปกติ

100 ถึง 200 ไมโครกรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง

คำแนะนำ

ควรดำเนินการรักษาตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์

การใช้งาน

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหาร เช่นผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่ใช้ร่วมยาขณะที่เป็นโรคที่ทำให้อ่อนเพลีย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น เคยมีแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหาร

200 ไมโครกรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังมื้อาหารและก่อนนอน

ขนาดยาปกติ

100 ถึง 200 ไมโครกรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง

คำแนะนำ

ควรดำเนินการรักษาตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์

การใช้งาน

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหาร เช่นผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่ใช้ร่วมยาขณะที่เป็นโรคที่ทำให้อ่อนเพลีย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (เช่นเคยมีแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันแผลเปื่อย ที่เกิดจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์

200 ไมโครกรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังมื้อาหารและก่อนนอน

ขนาดยาปกติ

100 ถึง 200 ไมโครกรัม รับประทานวันละ 4 ครั้ง

คำแนะนำ

ควรดำเนินการรักษาตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์

การใช้งาน

เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ที่เกิดจากยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจากแผลในกระเพาะอาหาร เช่นผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่ใช้ร่วมยาขณะที่เป็นโรคที่ทำให้อ่อนเพลีย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (เช่นเคยมีแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อทำให้ปากมดลูกเปิด (Cervical Ripening)

คำแนะนำจากวิทยาลัยสูติแพทย์และนรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา

  • 25 ไมโครกรัม สอดช่องคลอดทุกๆ 3 ถึง 6 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ยาในขนาด 50 ไมโครกรัม ทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ

  • ผู้ผลิตระบุว่าการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ที่ได้รับการยอมรับนั้น ควรจะสงวนไว้สำหรับการใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น
  • ผู้เชี่ยวชาญบางรายระบุว่า ยานี้จะเป็นวิธีสำหรับการคลอดที่มีประสิทธิภาพมากกว่า (เทียบกับยาออกซิโทซิน [oxytocin]) ในผู้ป่วยก่อนการตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์
  • ขนาดยาที่สูงนั้น อาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงในการเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ภาวะมดลูกหดรัดตัวมากกว่า 5 ครั้งภายใน 10 นาที (uterine tachysystole) โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงที่อันตรายถึงชีวิต
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาระหว่างช่วงไตรมาสที่ 3 หรือ ในผู้ป่วยที่เคยผ่าคลอด หรือเคยรับการผ่าตัดครั้งใหญ่ที่มดลูก

การใช้งาน

เพื่อทำให้ปากมดลูกเปิดและเริ่มต้นการคลอด สำหรับผู้หญิงที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด (premature rupture of membranes)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อเริ่มต้นการคลอดบุตร

คำแนะนำจาก วิทยาลัยสูติแพทย์และนรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา

  • 25 ไมโครกรัม สอดช่องคลอดทุกๆ 3 ถึง 6 ชั่วโมง
  • ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ยาในขนาด 50 ไมโครกรัม ทุกๆ 6 ชั่วโมง

คำแนะนำ

  • ผู้ผลิตระบุว่า การใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ที่ได้รับการยอมรับนั้น ควรจะสงวนไว้สำหรับการใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น
  • ผู้เชี่ยวชาญบางรายระบุว่า ยานี้จะเป็นวิธีสำหรับการคลอดที่มีประสิทธิภาพมากกว่า (เทียบกับยาออกซิโทซิน) ในผู้ป่วยก่อนการตั้งครรภ์ 28 สัปดาห์
  • ขนาดยาที่สูงนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่สูงในการเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ภาวะมดลูกหดรัดตัวมากกว่า 5 ครั้งภายใน 10 นาที (uterine tachysystole) โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงที่อันตรายถึงชีวิต
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาระหว่างช่วงไตรมาสที่ 3 หรือในผู้ป่วยที่เคยผ่าคลอดหรือเคยรับการผ่าตัดครั้งใหญ่ที่มดลูก

การใช้งาน

เพื่อทำให้ปากมดลูกเปิดและเริ่มต้นการคลอดสำหรับผู้หญิงที่ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์คลอด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด (Postpartum Bleeding)

คำแนะนำจากวิทยาลัยสูติแพทย์และนรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา

800 ถึง 1000 ไมโครกรัม สอดทวารหนักหนึ่งครั้ง

การใช้งาน

เพื่อรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอด

คำแนะนำจากสมาพันธ์นรีเวชวิทยาและสูติศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Federation of Gynecology Obstetrics)

600 ไมโครกรัม รับประทาน หรือ 800 ไมโครกรัม อมใต้ลิ้นหนึ่งครั้งทันทีหลังจากคลอดบุตร

คำแนะนำ

  • ผู้ผลิตระบุว่าการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ที่ได้รับการยอมรับนั้น ควรจะสงวนไว้สำหรับการใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น
  • ก่อนให้ยา ควรคลำตรวจท้องเพื่อยืนยันว่า ไม่มีทารกคนอื่นในมดลูกอีก
  • ขนาดยานั้น ไม่ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ป่วย
  • การใช้ยานี้เพิ่มจากการใช้ยาออกซิโทซินนั้น ไม่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นแต่ความเสี่ยงในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อาจจะเพิ่มขึ้น

การใช้งาน

เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด (ในกรณีที่ไม่มียาออกซิโทซิน)

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อการแท้งบุตร

คำแนะนำจากวิทยาลัยสูติแพทย์ และนรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา

ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

  • การแท้งตั้งแต่ช่วงแรก 800 ไมโครกรัม สอดช่องคลอดหนึ่งครั้ง อาจให้ยาครั้งที่สองหากไม่มีการตอบสนองต่อการให้ยาครั้งแรก โดยไม่เร็วกว่า 3 ชั่วโมงหลังจากให้ยาครั้งแรก และโดยปกติจะให้ภายใน 7 วัน
  • การแท้งไม่สมบูรณ์ 600 ไมโครกรัม รับประทานหนึ่งครั้ง
  • การแท้งค้าง (Missed Abortion) 800 ไมโครกรัม สอดช่องคลอด หรือ 600 ไมโครกรัม อมใต้ลิ้นหนึ่งครั้ง อาจให้ยาซ้ำทุกๆ 3 ชั่วโมงเพิ่มอีก 2 ครั้ง

คำแนะนำ

  • ควรให้ยาแก้ปวด
  • ผู้ป่วยที่มีเลือดอาร์เอชลบ (Rh(D) negative) และไม่ไวต่อแสง (unsensitized) ควรให้อาร์เอชอิมมิวโนโกลบูลิน (Rh(D)-immune globulin) ภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากให้ยาครั้งแรก
  • การรักษาเพิ่มเติมควรจะทำ ภายใน 7 ถึง 14 วัน เพื่อให้แน่ใจว่า ขับออกอย่างสมบูรณ์
  • หากการรักษาล้มเหลว ผู้ป่วยอาจจะเลือกว่าจะทำการรักษาแบบประคับประคอง (expectant management) หรือ ดูดเนื้อรกออกพร้อมกับขูดมดลูก (suction curettage)

การใช้งาน

เพื่อรักษาการแท้ง ตั้งแต่ช่วงแรก การแท้งไม่สมบูรณ์ หรือการแท้งค้าง

การปรับขนาดยาสำหรับไต

อาจต้องมีการปรับขนาดยา แต่ยังไม่มีคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางที่เฉพาะเจาะจง (ควรระมัดระวังการใช้ยา และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด)

คำแนะนำอื่นๆ

คำแนะนำการใช้ยา

  • ควรรับประทานยาพร้อมกับอาหาร และยาครั้งสุดท้ายควรรับประทานก่อนนอน
  • เมื่อใช้ยานี้เพื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ควรถอดห่วงคุมกำเนิด (intrauterine devices) ก่อนใช้ยา

การเก็บรักษา

  • เก็บให้พ้นจากความชื้น เก็บไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส

ทั่วไป

  • การรักษานั้นไม่แสดงให้เห็นถึง การลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในลำไส้เล็กตอนต้น ในผู้ป่วยที่ใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์
  • เคยมีการเกิดอาการทางเดินขี้เทา (Meconium passage) ขี้เท้าปนในน้ำคร่ำ (meconium staining of amniotic fluid) การผ่าคลอด การช็อกของมารดา มารดาเสียชีวิต หัวใจทารกเต้นช้า และทารกเสียชีวิต หลังจากใช้ยาในรูปแบบยาเม็ดเพื่อการคลอดบุตร
  • การทดลองแบบควบคุมนานกว่า 3 เดือนเคยแสดงให้เห็น การลดความเสี่ยงในการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร แต่ยานี้จะไม่มีประสิทธิภาพจากอาการปวดหรือไม่สบายในระบบทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์เทียบกับยาหลอก
  • การตั้งครรภ์ครั้งใหม่ สามารถเกิดได้ระหว่างการขับลูกและการกลับมาเริ่มมีประจำเดือน ( ควรกลับมาคุมกำเนิดต่อในทันที )

การเฝ้าระวัง

  • อวัยวะสืบพันธุ์ อาการเลือดออกจากช่องคลอด
  • เลือด สัญญาณและอาการของภาวะขาดน้ำ
  • อื่นๆ เช่น การแท้งไม่สมบูรณ์ ภาวะรกค้าง (retained placenta)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยไม่ควรให้ยานี้แก่ผู้อื่น
  • ผู้ป่วยที่สิ้นสุดการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ควรจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไกลจากศูนย์สั่งจ่ายยา จนกว่าจะมีหลักฐานถึงการขับลูกจนสมบูรณ์แล้ว
  • ผู้ป่วยควรรับการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หากมีสัญญาณหรืออาการของการติดเชื้อ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดมากเกินไปขณะที่กำลังใช้ยานี้
  • ผู้ป่วยที่มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ ขณะที่กำลังรับการรักษา ผู้ป่วยควรหยุดการรักษาและควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพในทันทีหากตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยควรได้รับคำแนะนำให้อ่านแผ่นพับข้อมูล ที่แถมมาทุกครั้งที่เติมยา

ขนาดยาไมโซพรอสทอลสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัย และประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ( ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อกับแพทย์หรือเภสัชกร )

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา