backup og meta

การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก

    มะเร็งปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้หญิง วันนี้ Hello คุณหมอจึงมาพร้อมกับบทความดีๆ เกี่ยวกับ การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก ให้อ่านกันค่ะ

    การรักษามะเร็งปากมดลูก

    มีหลากหลายวิธีการในการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ชนิดและระยะของมะเร็ง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ความต้องการของผู้ป่วยและปัญหาทางสุขภาพ จากข้อจำกัดเหล่านี้การผ่าตัดจึงเป็นวิธีการที่แพทย์ใช้อย่างแพร่หลาย

    การผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ชนิด

    • การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง
    • การผ่าตัดมดลูก
    • การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง

    การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้าง (Radical trachelectomy)

    การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้างเหมาะสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่ม แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดนี้ให้กับผู้หญิงที่ประสงค์จะมีบุตรต่อไปในอนาคต

    ในระหว่างกระบวนการผ่าตัด ศัลยแพทย์จะทำการกรีดหน้าท้องของคุณเป็นแผลขนาดเล็กหลายแผล อุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะจะนำเอาปากมดลูกและส่วนบนของช่องคลอดออกไป ต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกรานของคุณจะถูกนำออกไปเช่นเดียวกัน จากนั้นศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดต่อมดลูกเข้าไปยังบริเวณช่องคลอดส่วนล่าง

    เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดมดลูกและการผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง ข้อดีคือมดลูกของคุณจะถูกเก็บไว้ นั้นหมายความว่าคุณยังสามารถมีบุตรได้ต่อไป อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควระวังคือ ผู้เชี่ยวชาญไม่อาจรับรองได้ว่าคุณจะสามารถมีบุตรได้หรือไม่

    หากคุณมีบุตรภายหลังการผ่าตัด คุณอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อคลอดบุตร ทั้งนี้แพทย์แนะนำให้คุณมีบุตรภายหลังการรักษาอย่างน้อย 6-12 เดือน

    การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวยแบบกว้างเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยทักษะขั้นสูง ซึ่งมีเพียงไม่กี่ในโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักร ดังนั้นอาจไม่มีการผ่าตัดแบบนี้ในพื้นที่ของคุณ คุณจำเป็นต้องเดินทางไปยังเมืองอื่นเพื่อเข้ารับการรักษา

    การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy)

    แพทย์มักแนะนำการผ่าตัดมดลูกให้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะแรก ซึ่งอาจรักษาร่วมกับวิธีรังสีรักษาเพื่อป้องกันการกลับมาของโรคมะเร็ง

    การผ่าตัดมดลูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

    • การผ่าตัดมดลูกแบบปกติ การผ่าตัดลักษณะนี้ ปากมดลูกและมดลูกจะถูกตัดออก ในบางราย แพทย์จะทำการผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ออกมา ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะกับการรักษาโรคที่เกิดขึ้นในระยะแรก
    • การผ่าตัดมดลูกแบบกว้าง การผ่าตัดลักษณะนี้ ปากมดลูก มดลูก และบริเวณโดยรอบและต่อมน้ำเหลืองจะถูกผ่าตัดออกมา เช่นเดียวกับรังไข่และท่อนำไข่ ดังนั้นวิธีการนี้จึงเหมาะสมกับมะเร็งในระยะลุกลามและระยะที่สอง

    อาการแทรกซ้อนในระยะสั้นของการผ่าตัดมดลูกคือ การติดเชื้อ เลือดออก เลือดแข็งตัว และอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และทวารหนัก

    ความเสี่ยงของอาการแทรกซ้อนระยะยาวพบได้เพียงเล็กน้อยแต่ก็สร้างความกวนใจ ได้แก่

    • ความเสี่ยงที่ช่องคลอดของคุณอาจมีขนาดสั้นลงและแห้ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดในขณะร่วมเพศ
    • ปัญหาในการกลั้นปัสสาวะ
    • แขนและขาบวมเนื่องจากการสะสมของของเหลว
    •  ลำไส้อุดตันเนื่องจากการสะสมของเนื้อเยื่อแผลเป็น ซึ่งอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขภายหลัง

    เนื่องจากมดลูกจะถูกนำออกไปในระหว่างการผ่าตัด คุณจะไม่สามารถมีบุตรได้อีก

    การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง (Pelvic exenteration)

    การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้างเป็นการผ่าตัดใหญ๋เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่กลับมาเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกอีกครั้งภายหลังสิ้นสุดการรักษา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำการผ่าตัดอุ้งเชิงกรานหากมีการกลับมากของโรคมะเร็งแต่ไม่ได้ลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ

    การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้างประกอบไปด้วยการรักษา 2 ขั้นตอน

    • แพทย์ทำการผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออกไป รวมถึงกระเพาะปัสสาวะ ทวารหนัก ช่องคลอด และส่วนล่างของลำไส้
    • แพทย์ทำการสร้างรูสองรู รูแรกที่กระเพาะอาหาร และรูที่สองที่หน้าท้องเพื่อเป็นทางส่องออกปัสสาวะและอุจจาระไปเก็บไว้ในถุงภายนอกที่เรียกว่า ถุงโคลอสโตมี่

    ในขั้นตอนการผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกรานแบบกว้าง แพทย์อาจทำการสร้างช่องคลอดขึ้นมาใหม่จากผิวหนังและเนื้อเยื่อส่วนอื่นของร่างกาย นี้หมายความว่าคุณสามารถประกอบกิจกรรมทางเพศได้เป็นปกติภายหลังการรักษา แม้ว่าอาจจะใช้เวลาหลายเดือนที่กว่าอาการของคุณจะรู้สึกดีขึ้น

    อย่างไรก็ตาม คุณและแพทย์ต้องทำการเลือกการรักษาที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากข้อดีและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจ ทั้งนี้คุณควรปรึกษาผู้ดูแลด้านสุขภาพเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 15/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา