backup og meta

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้หลับง่าย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 28/04/2021

    ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีธรรมชาติที่ช่วยให้หลับง่าย

    ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นโดยต่อเนื่อง เพราะการรักษาจากการใช้ยา หรือฉายแสงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้ผู้ป่วยบางคน มีปัญหากับการนอนหลับได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการทางธรรมชาติ เพื่อช่วยในการนอนหลับ ซึ่งอาจมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกต่อสู้กับปัญหาในการนอนหลับได้

    ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและการนอนหลับ กับวิธีรับมือ

    ปัญหานอนไม่หลับ เป็นหนึ่งในผลข้างเคียงที่เกิดในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเกิดจากการรักษาหรืออาการของโรคที่ทำให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ไม่เต็มที่ จนฟื้นตัวจากอาการได้ช้า เคล็ดลับการนอนหลับแบบวิธีธรรมชาติเหล่านี้ อาจมีส่วนช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้น

    ดื่มนมอุ่น

    นมเป็นแหล่งอาหารที่มีส่วนช่วยต่อสู้กับอาการนอนไม่หลับได้ นมอุดมไปด้วยแคลเซียมซึ่งช่วยให้สมองผลิตสารเมลาโทนิน โดยเฉพาะนมอัลมอนด์ สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับ ควรดื่มนมอุ่นหนึ่งแก้วก่อนนอนทุกวัน นอกจากนี้การดื่มนม ยังมีประโยชน์ในการช่วยปรับปรุงความจำ ซึ่งช่วยให้คุณหลับสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม ที่สามารถบริโภคในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ก่อนทุกครั้ง

    ปิดไฟให้หมด

    เมลาโทนิน เป็นสารที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับ ที่ร่างกายจะสร้างขึ้นตามธรรมชาติ เมื่อมีไม่มีแสงหรือมีปริมาณแสงที่น้อย หากห้องนอนมีแสงไฟที่สว่างเกินไป อาจส่งผลต่อการผลิตเมลาโทนินในร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการนอนหลับ ดังนั้นห้องนอนควรมืดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

    แสงไฟกลางคืน มีผลต่อการยับยั้งเมลาโทนินและทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากการนอนผิดเวลา (social jetlag) ซึ่งคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปยังสถานที่ที่มีเวลาแตกต่างกัน นอกจากนี้ก่อนนอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมงควรอยู่ห่างจากอุปกรณ์อิเลคทรอนิคต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ สมาร์ทโฟน ทีวี หรือคอมพิวเตอร์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแสงสีฟ้าที่รบกวนการนอนหลับ ที่สำคัญแสงไฟจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นอันตรายต่อสมอง ข้อควรระวังอีกอย่างคือไม่ควรมีทีวีอยู่ในห้องนอนเพราะจะยิ่งทำให้หลับยาก

    จัดห้องนอนให้มีความเหมาะกับการนอน

    การจัดสรรพื้นที่สำหรับการนอนเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการนอนเป็นอย่างมาก ห้องนอนจะต้องสะอาด มีความสบายตา อากาศถ่ายเทได้สะดวก และเป็นพื้นที่ที่น่านอนช่วย ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้หลับสบายได้มากขึ้น ที่สำคัญจะต้องจัดเตียง แยกจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น การรับประทานอาหาร และการทำงาน การที่ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้มีพื้นที่ห้องนอนที่สบายก็จะช่วยส่งเสริมการนอนของพวกเขาให้ดียิ่งขึ้น

    ออกกำลังกายตอนเช้า

    ผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก และการนอนหลับ ที่มีอาการอ่อนเพลีย อาจจะเหนื่อยเกินกว่าจะทำกิจกรรมใด ๆ หรือคิดว่าการออกกำลังกายจะยิ่งทำให้เหนื่อล้า แต่จริง ๆ แล้ว การออกกำลังกายช่วยพัฒนาร่างกายได้เป็นอย่างดี แต่ต้องออกกำลังกายในปริมาณและเวลาที่มีความเหมาะสม

    จากการศึกษาพบว่า เมื่อออกกำลังกายอุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นและใช้เวลา 6 ชั่วโมงในการกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้นควรเลือกเวลาในการออกกำลังกายให้มีความเหมาะสมต่อการนอน จากผลการศึกษาพบว่า ในการออกกำลังกายที่มีผลต่อารนอนหลับ คือ ผู้หญิงที่ออกกำลังกายตอนเช้าในระดับปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีเป็นเวลา 7 วันต่อสัปดาห์ มีปัญหาในการนอนหลับน้อยกว่าผู้หญิงที่ออกกลังกายน้อยหรือมากกว่านั้นในรอบวัน ทั้งนี้การออกกำลังกายตอนเช้าให้ผลดีที่สุดในการนอนหลับ สำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก หรือว่าผู้ป่วยโรคใด ๆ ก็ตามควรปรึกษาคุณหมอว่า การออกกำลังกายแบบใดที่มีความเหมาะสมกับสภาวะร่างกายในตอนนั้น ๆ

    ใช้น้ำมันหอมระเหย

    น้ำมันหอมระเหย บางชนิดให้ผลดีในการนอนหลับ หนึ่งในนั้นคือกลิ่นดอกลาเวนเดอร์ การผสมน้ำมันหอมระเหยลงในอ่างน้ำ เป็นอีกวิธีการที่ไม่เป็นอันตรายต่อการนอนหลับ และยังเป็นวิธีที่ประหยัดอีกด้วย ที่สำคัญน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ เป็นตัวเลือกที่ดีที่ควรใช้ก่อนนอน เพราะช่วยผ่อนคลายร่างกายและจิดใจ ทั้งนี้คุณสามารถหยดน้ำมันหอมระเยกลิ่นลาเวนเดอร์ ลงบนหมอนก่อนเข้านอนได้อีกด้วย

    การจัดการกับปัญหาการนอนหลับ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างเพื่อช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น นอกจากนี้การรับประทานอาหาร วิตามินเสริม และสมุนไพร ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ให้ผลดีต่อการนอนหลับ วิธีการเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้คุณนอนกลับได้ง่ายและนานขึ้น แต่ยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย หากการบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติ อย่างการนั่งสมาธิ ไม่ได้ผลกับคุณ ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย นบชุลี นวลอ่อน · แก้ไขล่าสุด 28/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา