backup og meta

เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เทสโทสเตอโรนช่วยคุณได้หรือเปล่า?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เทสโทสเตอโรนช่วยคุณได้หรือเปล่า?

    สำหรับคุณผู้ชาย ระดับเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ของคุณ จะเชื่อมโยงโดยตรงกับสุขภาพทางเพศ ดังนั้นอาจดูสมเหตุผสมผล ที่จะบอกว่าเทสโทสเตอโรนส่งผลต่อการ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศอาจไม่ได้เกี่ยวกับระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเลยก็เป็นได้

    ถ้าอย่างนั้นบทบาทของเทสโทสเตอโรนในเรื่องสุขภาพทางเพศของผู้ชายคืออะไร และมันส่งผลต่อสมรรถทางเพศของคุณอย่างไร? Hello คุณหมอ จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเทสโทสเตอโรนและสมรรถภาพทางเพศกัน

    สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเทสโทสเตอโรน

    เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศชายที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมน ที่เรียกว่าแอนโดรเจน ซึ่งสร้างขึ้นโดยอัณฑะ แต่ต่อมอะดรีนาลีนก็สร้างฮอร์โมนนี้ขึ้นมาด้วยในปริมาณเล็กน้อย เทสโทสเตอโรนมีส่วนในการสร้างอสุจิ และแรงขับทางเพศ ปัญหาเรื่องเทสทอสเทอโรนต่ำ เป็นสิ่งที่พบได้บ่อย จากข้อมูลของ American Urological Association ของสหรัฐฯ ชายชาวอเมริกันหนึ่งในห้า ที่อายุมากกว่า 60 มีระดับ เทสโทสเตอโรนต่ำ แต่ปัญหานี้ก็เกิดกับผู้ชายที่อายุน้อยกว่าด้วยเช่นกัน ที่จริงแล้วเมื่อคุณอายุแตะสามสิบ ระดับเทสโทสเตอโรนของคุณก็อาจจะเริ่มลดลงแล้วก็เป็นได้

    เนื่องจากเทสโทสเตอโรน มีบทบาทในเรื่องที่เกี่ยวกับการทางเพศ และอาการของการมีเทสโทสเตอโรนต่ำ นอกจากการสร้างอสุจิที่ลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง แรงขับทางเพศลดลง และขนาดหน้าอกที่ใหญ่ขึ้นแล้ว ก็ยังอาจมีอาการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศรวมอยู่ด้วย หากนั่นก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า ระดับเทสโทสเตอโรนต่ำเป็นเหตุให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    การ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คืออะไร

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลอดเลือด ไม่ใช่เรื่องของฮอร์โมน ในการรักษาการแข็งตัวของอวัยวะเพศเอาไว้ได้ คุณต้องการการสูบฉีดโลหิตที่มากพอเข้าไปสู่อวัยวะเพศ ซึ่งต้องการหัวใจที่แข็งแรงและการสูบฉีดโลหิตที่ดี ซึ่งไม่เกี่ยวกับระดับเทสโทสเตอโรน

    นักวิจัยอาจยังไม่เข้าใจเต็มที่ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทสโทสเตอโรนและการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ที่พวกเขารู้แน่นอนสองเรื่องก็คือ ระดับเทสโทสเตอโรนปกติ ไม่ได้หมายความถึงการแข็งตัวที่เป็นปกติ และการเพิ่มของระดับเทสโทสเตอโรน ก็ไม่ได้หมายถึงการเพิ่มขึ้นของการแข็งตัว

    ถึงแม้เทสโทสเตอโรนต่ำ ไม่ได้ทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดสองอย่างนี้ก็ซ้อนทับกันอยู่ เช่น เทสทอสเทอโรนต่ำอาจเกิดจากความดันโลหิตสูง โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง เบาหวานชนิดที่2 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็เชื่อมโยงกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศเช่นกัน เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทและการทำงานของหลอดเลือด

    ดังนั้น ถ้าคุณกำลังมีปัญหาเรื่อง เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาอาจเป็นมากกว่าเรื่องของฮอร์โมนเพศชายต่ำ แต่ปัญหาเกี่ยวกับการสูบฉีดโลหิตที่เกี่ยวเนื่องกับเบาหวาน ปัญหาโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือการสูบบุหรี่ดื่มเหล้ามานานหลายปี สามารถทำให้เกิดปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ทั้งสิ้น

    นอกจากนี้การไม่แข็งตัวยังอาจเป็นเรื่องของจิตใจ เกี่ยวกับความวิตกกังวล ความเครียด และอาการซึมเศร้า หรืออาจมาจากการใช้ยาบางอย่าง หรือแม้แต่อาการบาดเจ็บของอัณฑะ

    ระดับเทสทอสเทอโรต่ำกับการ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

    ด้วยสาเหตุที่แตกต่างกันของการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จึงเป็นการยากที่จะระบุว่า อาการเหล่านี้เกี่ยวกับการที่เทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับต่ำ หรือเป็นเรื่องอื่น หรือลองสังเกตอาการดูว่ามีอาการอื่นของเทสทอสเทอโรนต่ำปรากฏอยู่ด้วยหรือไม่ อย่างเช่น ความต้องการทางเพศลดลง วิตกกังวล หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ หรือซึมเศร้า

    ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเห็นพ้องต้องกันว่า การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่เกี่ยวเนื่องกับเทสทอสเทอโรนต่ำ เป็นสิ่งที่รักษาได้ ด้วยการใช้ยาและการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต มีงานวิจัยทางคลินิกที่สำรวจอิทธิพลของการบำบัดด้วยเทสโทสเตอโรนทดแทน

    ในการรักษาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และพบว่าในผู้ชายจำนวนมากที่ระบุว่ามีปัญหาเทสโทสเตอโรนต่ำ การบำบัดสามารถให้ผลดีในเรื่องการของแข็งตัวของอวัยวะเพศ

    ในบางกรณี การให้เทสโทสเตอโรนทดแทนเพียงอย่างเดียว สามารถทำให้การแข็งตัวกลับคืนมาได้เลย แต่ในกรณีที่ร้ายแรง อาจต้องมีการผสานการใช้เทสโทสเตอโรนบำบัดกับการใช้ยา เพื่อรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพร่วมกัน จึงจะได้ผลที่ดีที่สุด

    การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนช่วยได้อย่างไร

    ถ้าระดับเทสโทสเตอโรนของคุณวัดแล้วอยู่ในปริมาณปกติ การให้ฮอร์โมนทดแทนก็จะไม่ช่วยอะไรในเรื่องนี้ ส่วนถ้าผู้ชายที่วัดแล้วว่ามีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำ ก็มีข้อมูลว่าการได้รับฮอร์โมนทดแทนสามารถทำให้ความต้องการทางเพศกลับมาได้ แต่ไม่สามารถรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

    แต่ถึงแม้ผู้ชายหลายคน รายงานถึงอาการแข็งตัวที่ดีขึ้นจากการให้ฮอร์โมนทดแทน ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาก็ยังต้องใช้ความช่วยเหลือจากยารักษาอาการอวัยวะเพศไม่แข็งตัวควบคู่กันไป อย่างเช่นยากลุ่ม PDE-5 inhibitor เช่น ไวอากร้า (Viagra) ไซเดนาฟิล (sildenafil) หรือเลวิตร้า (Levitra) วาร์เดนาฟิล (vardenafil) หรือไซอาลิส (Cialis) ทาดาลาฟิล (tadalafil) เป็นต้น

    ยาเหล่านี้ช่วยในเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ด้วยการเพิ่มการสูบฉีดโลหิตมาที่อวัยวะเพศ แต่ผู้ชายบางคนที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำ มักไม่ตอบสนองต่อยาเหล่านี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาด้วยการให้เทสโทสเตอโรนทดแทนไปด้วยในขณะเดียวกัน

    การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน สามารถทำให้ชีวิตทางเพศของผู้ชายดีขึ้น และยังช่วยปกป้องปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง ที่ทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เช่น ลดการสะสมของไขมันที่หน้าท้อง เพิ่มความไวต่ออินซูลิน และลดความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน

    แต่การใช้เทสโทสเตอโรนเพื่อการบำบัด ก็มีทั้งปัจจัยเสี่ยงและผลข้างเคียง นอกจากนี้ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในระยะยาว ก็ยังไม่ได้รับการศึกษาที่ละเอียดเพียงพอ ผลข้างเคียงบางอย่าง ได้แก่ เป็นสิว อัณฑะหดเล็กลง หน้าอกใหญ่ขึ้น

    นพ.เกรกอรี่ โลเว่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปัสสาวะ แห่งศูนย์การแพทย์ Wexner แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ในเมืองโคลัมบัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ชี้ว่าการปรับปรุงสุขภาพบางอย่าง เป็นตัวช่วยเพิ่มเติมในการต่อสู้กับปัญหา เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และเทสโทสเตอโรนต่ำ เช่น การออกกำลังกายฝึกความแข็งแรงด้วยการยกน้ำหนัก เขายังเน้นถึงความสำคัญของทัศนคติในเชิงบวกด้วยว่า การรับทราบถึงผลกระทบของเทสโทสเตอโรนต่ำที่มีต่ออารมณ์และร่างกาย สามารถช่วยให้ผู้ชายสามารถรับมือกับอาการพวกนี้ได้ดีขึ้น

    ในผู้ชายบางคนที่ไม่เข้าใจอาการที่ตนเองเป็น และหันไปรับประทานพืชสมุนไพรบำรุงร่างกาย หรือหาซื้อยารับประทานทานตามอาการ ซึ่งหากไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุแล้ว ก็จะไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้นได้แต่อย่างใด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 10/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา