backup og meta

ข้อควรรู้เกี่ยวกับประเภทของ การตรวจการทำงานของตับ (LFTs)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    ข้อควรรู้เกี่ยวกับประเภทของ การตรวจการทำงานของตับ (LFTs)

    การตรวจการทำงานของตับ (LFTs) คือการตรวจที่ช่วยให้คุณหมอสามารถวิเคราะห์ว่าตับมีปัญหาหรือไม่ แต่การตรวจการทำงานของตับโดยทั่วไปมักจะใช้ตรวจสอบสภาวะการทำงานของตับโดยรวมเท่านั้น โดยบางครั้ง ค่าที่ได้อาจไม่ได้แม่นยำเท่าใดนักเนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบการทำงานของตับอย่างครอบคลุม โดยทั่วไป การตรวจการทำงานของตับ LFTs สามารถแบ่งแยกย่อยเป็น 3 ประเภทหลักดังต่อไปนี้

    การตรวจการทำงานของตับ แบ่งออกเป็นประเภทใดบ้าง

    1. การตรวจค่าบิลิรูบิน (Bilirubin)

    บิลิรูบิน คือ สารชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสลายของฮีโมโกลบิน โดยกลายเป็นเอนไซม์ที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ โดยร้อยละ 95 ของบิลิรูบิน ถูกผลิตขึ้นเพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงหมดอายุขัย

    สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.บิลิรูบินชนิด Unconjugated

    2.บิลิรูบินชนิด Conjugated

    บิลิรูบินชนิด Unconjugated เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบิลิรูบินแบบทางอ้อม จัดเป็นสารละลายในไขมัน ซึ่งจะจับตัวกับพลาสมาอัลบูมิน (Albumin) ก่อนที่จะลอยไปถึงตับ แต่เมื่อลอยมาถึงตับแล้ว บิลิรูบินชนิด Unconjugated ก็จะถูกเรียกชื่อใหม่เป็นชนิด Conjugated ซึ่งมีการผสมกับกรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) เรียบร้อยแล้ว บิลิรูบินชนิดนี้เรียกได้อีกแบบว่าเป็นบิลิรูบินแบบทางตรง ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ และสามารถขนส่งผ่านทางท่อน้ำดี

    การเพิ่มจำนวนของบิลิรูบินชนิด Unconjugated

    อาจไม่ได้เกิดจากโรคตับ แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ทั้งจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) การที่เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนตายตั้งแต่ในไขกระดูก (ineffective erythropoiesis) หรือการดูดซึมกลับจากภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ การมีบิลิรูบินในเซลล์ตับ (กลุ่มอาการ Gilbert’s syndrome) รวมถึงการขาดเอนไซม์ glucuronyl transferase (กลุ่มอาการ Crigler-Najjar syndrome) เป็นต้น

    การเพิ่มจำนวนของบิลิรูบินชนิด Conjugated

    จัดเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคตับ อาจเกิดขึ้นได้เพราะจำนวน บิลิรูบินในถุงน้ำดีลดลง รวมถึง เกิดจากการคั่งของน้ำดี (cholestatic) และท่อน้ำดีอุดตัน (extrahepatic bile duct) ในทางการแพทย์แล้ว ค่อนข้างยากที่จะแยกแยะระหว่าง การอักเสบของตับเพราะการคั่งของน้ำดี ซึ่งเกิดได้ในโรคตับ โรคตับแข็ง และโรคตับแข็งบิลิอารีชนิดปฐมภูมิ กับการอุดตันของท่อน้ำดี ซึ่งเกิดได้จากนิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งตับอ่อน และท่อน้ำดีตีบตันชนิดปฐมภูมิ

    สาเหตุที่เกิดการคั่งของน้ำดีอาจเป็นได้จากโรคทางพันธุกรรมที่หายาก เช่น กลุ่มอาการ Dubin-Johnson syndrome และ Rotor’s syndrome เป็นต้น

    การรับประทานยาและก้อนนิ่วก็ยังเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน เมื่อระดับของบิลิรูบินเพิ่มจำนวนขึ้น บางส่วนของบิลิรูบินจะเกาะติดอยู่กับพลาสมาอัลบูมิน ซึ่งไม่สามารถขับออกได้ทางปัสสาวะ ผลที่ตามมาก็คือ ภาวะดีซ่านจะหายได้ช้า หลังจากแก้ปัญหาน้ำดีได้แล้ว ในขณะที่ บิลิรูบินส่วนที่เหลือ ซึ่งไม่ได้เกาะติดกับอัลบูมิน ก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยจำกัดภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia) ได้

    การเพิ่มจำนวนของบิลิรูบินทั้งสองชนิด

    ปกติแล้วจะเกิดขึ้นจากกลไกหลายส่วนรวมกัน เช่น จากโรคที่เกี่ยวกับตับ ซึ่งสามารถนำไปสู่การอุดตันของท่อน้ำดี

    2. การตรวจค่าอัลบูมิน (Albumin)

    ตับเป็นอวัยวะเดียวในร่างกายที่สามารถสังเคราะห์อัลบูมินได้ อัลบูมิน คือ ตัวที่ช่วยรักษาความดันในหลอดเลือด คอยลำเลียงสารต่างๆ ในเลือด โดยเฉพาะตัวยารักษาโรค เนื่องจากตับมีพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่ จึงสามารถยืดอายุขัยของอัลบูมินได้ถึงครึ่งหนึ่ง (ราวสามสัปดาห์) ระดับของอัลบูมินในเลือดจะลดลงก็ต่อเมื่อป่วยเป็นโรคตับชนิดเรื้อรัง อย่างโรคตับแข็ง หรือเมื่อตับได้รับความเสียหายอย่างหนักเเท่านั้น ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีอาการท้องมานหลายราย ระดับอัลบูมินจะลดลงเพราะมีการรั่วไหลเข้าสู่หนังกำพร้า

    การลดจำนวนของอัลบูมิน ยังพบได้ในภาวะขาดสารอาหาร หรือแอลบูมินูเรียผิดปกติ (กลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ nephrotic syndrome) รวมถึงเกิดปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง chronic colitis ในกรณีของผู้ป่วยที่มีภาวะดีซ่านอย่างหนัก จำนวนของอัลบูมินอาจลดลง เพราะบิลิรูบินเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลรบกวนต่อการวัดค่าอัลบูมิน

    3. การตรวจสอบค่าเอนไซม์

    การตรวจค่าเอนไซม์ AST (Aspartate aminotransferase) หรือ SGOT (Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase)

    AST เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในไซโทพลาสซึม (cytoplasm) และไมโตคอนเดรีย (mitochondria) ของเซลล์ เอนไซม์ AST มักพบอยู่ในชั้นไมโอคาร์เดียม (myocardium) ของหัวใจมากกว่าตับ นอกจากนี้ ยังสามารถพบได้ในไต สมอง ตับอ่อน ปอด เซลล์เม็ดเลือดขาวและเซลล์เม็ดเลือดแดงอีกด้วย

    การตรวจค่าเอนไซม์ ALT (Alanine aminotransferase) หรือ SGPT (Serum Glutamic Pyruvic Transaminase)

    สันนิษฐานกันว่าเอนไซม์ชนิดนี้ น่าจะอยู่ในไซโทพลาซึมของเซลล์ตับ การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ ALT นั้น มักถูกใช้ในการตรวจการทำงานของตับแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคตับมากกว่าการตรวจเอนไซม์ AST

    ในกลุ่มผู้ใหญ่ ความเข้มข้นของเอนไซม์ AST และ ALT ในผู้ชายจะสูงมากกว่าผู้หญิง แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัวด้วยเช่นกัน เอนไซม์เหล่านี้จะรั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือดเมื่อเยื่อหุ้มเซลล์เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ตับ ไม่ได้บ่งบอกว่าตับอักเสบเสมอไป

    สาเหตุและกลไกในการปล่อยเอนไซม์ AST และ ALT เข้าสู่กระแสเลือดยังคงเป็นปริศนา ในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับ มักมีการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคตับอย่างเฉพาะเจาะจงเสียทีเดียว เนื่องจากเอนไซม์ยังสามารถเพิ่มระดับขึ้นได้จากโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้

    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
    • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis, hypothyroidism)
    • โรคเซลิแอค (Celiac)

    ในทางกลับกัน เอนไซม์เหล่านี้ก็สามารถลดลงได้ด้วยการเพิ่มยูเรียในเลือด การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ AST อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีของ macro-AST ซึ่งหมายถึงภาวะที่เอนไซม์ AST เกาะตัวติดกับสารภูมิต้านทาน

    โดยรวมแล้ว การตรวจการทำงานของตับ LFTs ยังถือว่าไม่ใช่ขั้นตอนที่ช่วยระบุโรคได้อย่างสมบูรณ์แบบนัก แต่อย่างไรก็ตาม การตรวจนี้จะช่วยให้คุณหมอรู้ว่าตับมีความผิดปกติหรือไม่ และควรตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมบ้าง

    การตรวจสอบการทำงานของตับขั้นพื้นฐาน ร่วมกับการตรวจแบบเฉพาะเจาะจง จะช่วยคุณหมอสามรถนำข้อมูลที่ได้มาวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคตับหรือไม่ได้ดีมากยิ่งขึ้น

    การเก็บผลตรวจการทำงานของตับย้อนหลังเอาไว้ ไม่ว่าจะนานเป็นเดือนหรือปี ในบางครั้งก็สามารถช่วยให้หมอและคนไข้สามารถคาดการณ์ได้ว่า ตับมีสภาพที่คงตัว สมบูรณ์มากขึ้น ฟื้นตัวแล้ว หรือมีสภาพแย่ลงได้อีกด้วย

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย เธียรธัช มีโภคา · แก้ไขล่าสุด 16/07/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา