backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 06/08/2020

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo)

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือถูกดึงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาการรู้สึกหมุนเป็นอาการของโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อได้

คำจำกัดความ

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน คืออะไร

เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือถูกดึงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาการรู้สึกหมุนเป็นอาการของโรคและความผิดปกติหลายอย่าง เมื่อมีอาการเวียนศีรษะบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อหูชั้นใน ทำให้มีอาการหูอื้อได้

อย่างไรก็ตามอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้ในระยะยาวและระยาวสั้น สามารถเกิดขึ้นได้กับสตรีมีครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับบริเวณหูชั้นใน

พบได้บ่อยเพียงใด

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป

อาการ

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน

ผู้ป่วยส่วนมใหญ่ทีมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนจะมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้

  • รู้สึกหมุน
  • รู้สึกเอียง
  • รู้สึกแกว่ง
  • รู้สึกไม่สมดุล
  • รู้สึกถูกดึงในทิศทางหนึ่ง
  • รู้สึกคลื่นไส้
  • การเคลื่อนไหวของดวงตาที่กระตุกหรือผิดปกติ (Nystagmus)
  • ปวดศีรษะ
  • เหงื่อออก
  • มีเสียงอื้อในหู หรือสูญเสียการได้ยิน
  • อาการเหล่านี้สามารถคงอยู่ได้เป็นเวลาสองสามนาที หรือนานถึงสองสามชั่วโมงหรือมากกว่า อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ

    ควรไปพบหมอเมื่อใด

    หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีข้อคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    สาเหตุของอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน

    อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนมักเกิดจากอาการเจ็บป่วย หรือความผิดปกติต่างๆ ที่ส่งผลต่อหูชั้นใน ซึ่งได้แก่

    • โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign paroxysmal positional vertigo): มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตำแหน่งของศีรษะที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมุนกะทันหัน ตัวอย่างเช่น ผลึกขนาดเล็กแตกในช่องหูด้านในและสัมผัสปลายประสาทด้านในที่ไวต่อการรู้สึก
    • หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน (Acute labyrinthitis): เกิดจากการอักเสบของโครงสร้างเกี่ยวกับการทำให้สมดุลของหูชั้นใน ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
    • น้ำในหูไม่เท่ากัน (Ménière’s disease): เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเหลวภายในหูชั้นใน

    อาการรู้สึกหมุนสามารถเกิดจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งได้แก่

    • การบาดเจ็บที่ศีรษะหรือคอ
    • ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอก
    • ยาบางชนิดที่ทำให้เกิดความเสียหายที่หู
    • ปวดศีรษะไมเกรน

    ปัจจัยเสี่ยงของอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน

    มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน เช่น

    • อายุ  อาการรู้สึกหมุนมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุมากกว่าในผู้ที่อายุน้อย
    • มีประวัติมีภาวะต่างๆ เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ตัวอย่างเช่น เจ็บแน่นหน้าอก (angina) และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
    • มีประวัติเป็นเบาหวานและโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
    • การทำหน้าที่ที่ผิดปกติของหู
    • การใช้ยาบางชนิด
    • มีประวัติผ่าตัดหู
    • ความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการเวียนศีระษะแบบบ้านหมุน

    ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงการทดสอบอื่นๆ เพื่อทำการวินิจฉัยโรค ดังต่อไปนี้

    • การประเมินดวงตาเพื่อตรวจหาการเคลื่อนไหวที่กระตุกของดวงตาที่ผิดปกติ (Nystagmus)
    • โดยปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบเพิ่มเติมหากแพทย์ไม่สงสัยว่าคุณมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง (Central vertigo)
    • การตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography : CT Scan) หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  (Magnetic Resonance Imaging : MRI) ที่สมองเพื่อตรวจว่าคุณมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่สมอง หรือไม่

    การรักษาอาการเวียนศีระษะแบบบ้านหมุน

    ในบางครั้ง ผู้ป่วยสามารถมีการฟื้นตัวหลังจากช่วงเวลาที่มีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนเนื่องจากการปรับตัวของร่างกาย หากจำเป็น การรักษาอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนขึ้นอยู่กับสาเหตุ ซึ่งได้แก่

    • การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว (Vestibular rehabilitation) เพื่อทำให้ระบบประสาทการทรงตัวแข็งแรง
    • การทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม (Canalith repositioning maneuvers) การเคลื่อนไหวเฉพาะของศีรษะและร่างกายสำหรับโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนจะมีการแนะนำสำหรับผู้ป่วย
    • การใช้ยา  เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น คลื่นไส้หรือภาวะป่วยจากการเคลื่อนไหว (Motion sickness) ที่สัมพันธ์กับอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน อาจมีการให้ยาขับปัสสาวะในกรณีที่เป็นน้ำในหูไม่เท่ากัน
    • การผ่าตัด  เมื่ออาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนเกิดจากโรคประจำตัวที่รุนแรงมากขึ้น เช่น เนื้องอกหรือการบาดเจ็บที่สมองหรือคอ

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองดังต่อไปนี้ อาจช่วยรับมืออาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนได้

    • การรับประทานวิตามินดีอาจมีประโยชน์สำหรับโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Paroxysmal positional vertigo)
    • การรับประทานรากขิง แปะก๊วย และผักชีอาจช่วยลดอาการรู้สึกหมุนในผู้ป่วยบางรายได้
    • กายภาพบำบัด
    • การฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนบางประเภทได้
    • หลีกเลี่ยงการใช้สารต่า งๆ ที่ส่งผลต่อการหมุนเวียนของเลือดได้ ซึ่งได้แก่ คาเฟอีน (Caffeine) บุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ดื่มน้ำให้มาก
    • น้ำมันหอมระเหย ซึ่งได้แก่ สะระแหน่ ขิง ลาเวนเดอร์ และกำยาน เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 06/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา