backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

บาดทะยัก (Tetanus)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 24/01/2020

บาดทะยัก (Tetanus)

คำจำกัดความ

โรคบาดทะยักคืออะไร

โรคบาดทะยัก (Tetanus) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่าคลอสตรีเดียมเททานี (Clostridium tetani) เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้พบทั่วโลก และพบในดินเป็นหลัก แบคทีเรียนี้จะผลิตสารพิษที่ทำให้ระบบประสาทเสียหาย กล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยเส้นประสาทจะแข็งเกร็งและชา หากไม่ได้รับการรักษาทันที โรคนี้อาจทำให้ถึงตายเมื่อกล้ามเนื้อหายใจหยุดทำงาน ชนิดของโรคบาดทะยักมีทั้งชนิดที่เกิดกับระบบร่างกาย เฉพาะบริเวณ และที่พบในเด็กแรกเกิด โรคบาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ และป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

โรคบาดทะยักเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

โรคบาดทะยักมักจะเกิดในผู้คนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนา โดยมากแล้วเด็กทารกและคนหนุ่มสาวมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า

อาการ

อาการของโรคบาดทะยัก

บาดทะยักบนร่างกายเป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด กล้ามเนื้ออาจจะตึง และเกิดการชักเกร็งอย่างเจ็บปวดภายใน 7 วันหลังจากได้รับบาดเจ็บ หรือร่างกายได้รับเชื้อจุลินทรีย์ อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ หรือได้รับเชื้อส่วนมากจะเป็นกราม คอ ไหล่ หลัง ช่องท้องส่วนบน แขนและต้นขา กล้ามเนื้อใบหน้าหดตัวทำให้หน้าย่น บางคนที่มีอาการชักกระตุกของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงจะรู้สึกเจ็บทั่วตัว โรคนี้เป็นได้ทั้งแบบไม่รุนแรง (กล้ามเนื้อเป็นตะคริวและชักเล็กน้อย) แบบปานกลาง (กรามค้างและกลืนอาหารได้ลำบาก) หรือแบบรุนแรง (ชักอย่างรุนแรง หรือหยุดหายใจชั่วคราว)

โรคบาดทะยักชนิดเป็นในบางบริเวณ ไม่ได้เกิดขึ้นทั่วร่างกาย อาการจะเกิดขึ้นที่กล้ามเนื้อใกล้บาดแผล

อาจมีอาการหรือสัญญาณอื่นที่ไม่ได้กล่าวถึง หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับสัญญาณเหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อไหร่ที่ฉันควรจะไปโรงพยาบาล

เมื่อคุณได้รับบาดเจ็บ หากแผลสกปรกหรือลึก รวมถึงเปื้อนดินหรือมูลสัตว์ คุณควรไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีนบาดทะยัก ถ้าคุณไม่ได้ฉีดวัตซีนมาภายใน 5 ปี หรือการฉีดยาครั้งล่าสุดผ่านมานานแล้ว คุณยังควรไปโรงพยาบาลเพื่อฉีดวัคซีน หากคุณไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักภายใน 10 ปี

หากคุณมีอาการหรือสัญญาณใดๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น หรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคบาดทะยัก

การติดเชื้อที่บาดแผล โดยปกติแล้วจะเป็นแผลเปิด ที่มีสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) จะทำให้เกิดโรคบาดทะยัก สปอร์จะแทรกซึมในแผลบนผิวหนัง เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว และสร้างพิษที่เกาะติดอยู่กับเส้นใยประสาทส่วนปลาย พิษจะค่อยๆ แพร่ไปสู่ไขสันหลังและสมอง พิษจะป้องกันไม่ให้สัญญาณทางเคมีจากสมองและไขสันหลังส่งไปถึงกล้ามเนื้อ กลไกลของร่างกายจะผิดปกติ คุณอาจหยุดหายใจและเสียชีวิต โรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด มักจะมีสาเหตุจากการติดเชื้อระหว่างตัดสายสะดือของทารก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคบาดทะยัก

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคบาดทะยัก รวมถึง

  • ขาดภูมิคุ้มกัน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ได้รับวัคซีนบาดทะยักอย่างทันท่วงที
  • สปอร์ของโรคบาดทะยักทำให้ระคายเคืองบาดแผล
  • ร่างกายติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคชนิดอื่น
  • ความเสียหายของเนื้อเยื่อ
  • อาการบวมรอบแผล

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยโรคบาดทะยัก

แพทย์จะวินิจฉัยโรคบาดทะยักด้วยการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจกล้ามเนื้อ และระบบประสาท แพทย์อาจใช้สำลีถูรอบแผล เก็บตัวอย่าง และส่งไปห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อบาดทะยัก แพทย์อาจให้คุณตรวจเลือด การตรวจโรคบาดทะยักในทารกแรกเกิด ขึ้นอยู่กับอาการของเด็ก

การรักษาโรคบาดทะยัก

แพทย์จะรักษาโรคบาดทะยักด้วยการกำจัดแหล่งของพิษ ขับสารพิษ ป้องกันและรักษาอาการชักของร่างกาย รวมถึง

  • ทำความสะอาดแผลทั้งหมด และผ่าเอาเนื้อตายออก ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • คุณจะได้รับการฉีดวัคซีนแก้พิษ ที่เรียกว่าวัคซีนบาดทะยักชนิดอิมมูโนโกลบิน (tetanus immunoglobulin) เพื่อขับสารพิษออก
  • ยาระงับประสาทไดอะซีแพม (diazepam) ช่วยควบคุมอาการชัก
  • หากคุณกรามค้าง กลืนลำบาก หรือกล้ามเนื้อกระตุก คุณอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคบาดทะยักอาจเป็นนานถึง 2 ถึง 3 เดือน อาจใช้เวลา 4 เดือนกว่าจะหายเป็นปกติ การรักษาทางการแพทย์จะช่วยให้ร่างกายกลับมาแข็งแรง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมือกับบาดทะยัก

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการกับโรคบาดทะยักได้

  • ล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำทันที
  • ปรึกษาแพทย์ หากคุณได้รับบาดเจ็บ และไม่แน่ใจว่าคุณจำเป็นต้องฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือไม่
  • ปรึกษาแพทย์หากกล้ามเนื้อชักกระตุก กลืนหรือหายใจลำบาก
  • ให้ลูกฉีดวัคซีนเริ่มตั้งแต่อายุ 2 เดือนจนกว่าจะครบ ผู้ใหญ่ควรฉีดวัคซีนกระตุ้น หากเคยฉีดวัคซีนมาแล้ว 10 ปี

หากคุณมีคำถามใดๆ ปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 24/01/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา