backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (Vaginal Hysterectomy)

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด คือการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออก นอกจากนี้ การผ่าตัดนำรังไข่ออกก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ แต่มักปล่อยรังไข่ทิ้งไว้

ข้อมูลพื้นฐาน

ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด คืออะไร

การผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด (vaginal hysterectomy) คือการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและปากมดลูกออกไป นอกจากนี้ การผ่าตัดนำรังไข่ออกก็สามารถทำได้ด้วยวิธีนี้ แต่มักปล่อยรังไข่ทิ้งไว้

สาเหตุทั่วไปสำหรับการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด ได้แก่ มดลูกหย่อน มีประจำเดือนมากเกินไปและมีอาการปวด รวมทั้งการเกิดเนื้องอกในมดลูก

ความจำเป็นในการ ผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด

การผ่าตัดมดลูกช่วยรักษาหรือทำให้อาการดีขึ้น และคุณจะไม่มีประจำเดือนอีกต่อไป

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด

อาการมดลูกหย่อนอาจดีขึ้นโดยการฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

อาการประจำเดือนมามากผิดปกติสามารถรักษาได้โดยการรับประทานยา หรือการใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือการผ่าตัดนำเยื่อบุมดลูกออกไป

การเลือกวิธีรักษาขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกในมดลูก คุณสามารถใช้ยาเพื่อควบคุมอาการต่างๆ การรักษาอื่นๆ ได้แก่ การผ่าตัดนำเนื้องอกออกไปเพียงอย่างเดียวหรือการอุดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกและเนื้องอกของมดลูก

สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังกล่าว หากคุณมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอน

การเตรียมตัวก่อนการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด

คุณต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาการแพ้ต่างๆ หรือภาวะสุขภาพใดๆ โดยก่อนเข้ารับการผ่าตัด และคุณจะต้องเข้าพบวิสัญญีแพทย์เพื่อวางแผนการใช้ยาสลบร่วมกัน คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับเวลาในการหยุดรับประทานอาหารและดื่มน้ำก่อนเข้ารับการผ่าตัด

คุณควรได้รับคำแนะนำที่ชัดเจนในการปฏิบัติตามก่อนเข้ารับการผ่าตัด เช่น คุณควรรับประทานในช่วงเวลาก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว คุณควรเริ่มอดอาหารประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด แต่อาจสามารถดื่มของเหลว เช่น กาแฟ ได้จนกระทั่งสองสามชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด

ขั้นตอนการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด

การผ่าตัดมักทำโดยใช้ยาสลบ การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 45 นาที

นรีแพทย์จะลงรอยผ่ารอบปากมดลูกในบริเวณช่องคลอดด้านบนเพื่อให้สามารถนำมดลูกและคอมดลูกออกมาได้

โดยปกติแล้ว แพทย์จะเย็บเอ็นยึดมดลูกไว้ที่ช่องคลอดส่วนบนเพื่อลดความเสี่ยงมดลูกหย่อนตัวในอนาคต

ข้อควรปฏิบัติหลังการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด

โดยปกติแล้ว คุณจะสามารถกลับบ้านได้ 1-3 วัน หลังการผ่าตัด ให้พักผ่อนเป็นเวลา 2 สัปดาห์และออกกำลังกายต่อเนื่องตามที่ได้รับการสาธิตจากโรงพยาบาล โดยปกติแล้ว คุณสามารถกลับไปทำงานได้หลังจาก 4-6 สัปดาห์ โดยขึ้นอยู่กับประเภทงานของคุณ

โดยทั่วไป ร่างกายจะกลับเป็นปกติได้ไม่มากก็น้อยหลังจาก 2-3 เดือน

การออกกำลังกายตามปกติอาจช่วยให้คุณกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มออกกำลังกาย ควรขอคำแนะนำจากแพทย์

หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การพักฟื้น

หลังการ ผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอด

การผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดย่อมมีความเสี่ยงบางประการเช่นเดียวกับการทำผ่าตัดทุกประเภท ดังนั้น ควรปรึกษาศัลยแพทย์ให้อธิบายเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดกับคุณ

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดโดยทั่วไป ได้แก่ อาการแพ้ยาสลบที่คาดไม่ถึง อาการเลือดออกมากเกินไป หรือการเกิดลิ่มเลือด (deep vein thrombosis: DVT)

สำหรับการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องคลอด มีอาการแทรกซ้อนเฉพาะบางประการ ซึ่งได้แก่

  • เชิงกรานติดเชื้อหรือเป็นฝี
  • อวัยวะต่างๆ ใกล้มดลูกเกิดความเสียหาย
  • มีแผลทะลุ
  • ความจำเป็นต้องเปลี่ยนไปเป็นการผ่าตัดมดลูกผ่านทางช่องท้อง
  • มีเลือดออกในเนื้อเยื่อ
  • เกิดแผลที่ช่องคลอด

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการในระยะยาวหลายประการ ได้แก่

  • อาการหย่อน
  • อาการปวดต่อเนื่อง
  • การเกิดพังผืด
  • อาการปัสสาวะเล็ด
  • มีความรู้สึกสูญเสียทางจิตใจ (การผ่าตัดมดลูกทำให้มีภาวะมีบุตรยาก)
  • ภาวะหมดประจำเดือน แม้ว่ารังไข่ไม่ถูกผ่าตัดออกไปก็ตาม
  • คุณสามารถลดความเสี่ยงจากอาการแทรกซ้อนได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเเกี่ยวกับการเตรียมตัวผ่าตัด เช่น การอดอาหารและหยุดใช้ยาบางชนิด

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา