backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภูมิแพ้ข้าวสาลี (Wheat Allergy)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ภูมิแพ้ข้าวสาลี (Wheat Allergy)

คำจำกัดความ

ภูมิแพ้ข้าวสาลี ่(Wheat Allergy) คืออะไร

สารก่อภูมิแพ้เป็นสารที่ไม่เป็นอันตรายกับทุกๆ คน เว้นแต่ว่าคนนั้นจะมีอาการแพ้ต่อสารนั้น ภูมิแพ้ข้าวสาลี (Wheat Allergy) เกี่ยวข้องกับการที่แอนตี้บอดี้ หรือสารภูมิต้านทาน (Immunoglobulin) ตอบสนองต่อโปรตีนชนิดใดชนิดหนึ่งที่พบในข้าวสาลี ได้แก่

  • อัลบูมิน (Albumin)
  • โกลบูลิน (Globulin)
  • ไกลอาดิน (Gliadin)
  • กลูเตนินหรือกลูเตน (Glutenin หรือ Gluten)
  • ปฏิกิริยาแพ้ส่วนมากมักเกี่ยวกับอัลบูมินและโกลบูลิน การแพ้ไกลอาดินและกลูเตนพบได้ยากมากกว่า ซึ่งมักจะทำให้ผู้คนมักสับสนระหว่างอาการแพ้กลูเตนในข้าวสาลี กับโรคเซลิแอค (Celiac Disease) และความผิดปกติในการย่อยอาหารอื่นๆ

    บางคนมีปฏิกิริยาแพ้เมื่อหายใจเอาฝุ่นแป้งสาลีเข้าไป ในขณะที่บางคน การกินจะกระตุ้นให้เกิดอาการ ปฏิกิริยาแพ้อาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือบางครั้งหลายชั่วโมง ที่ได้รับประทานหรือสูดหายใจเอาแป้งสาลีเข้าไป

    ภูมิแพ้ข้าวสาลีเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

    ภูมิแพ้ข้าวสาลีเกิดขึ้นได้ทั่วไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    อาการ

    อะไรคืออาการ ภูมิแพ้ข้าวสาลี

    อาการทั่วไปของภูมิแพ้ข้าวสาลีได้แก่

    • เยื่อจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือคัดจมูก
    • หอบหืด
    • ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือผิวหนังอักเสบ
    • ลมพิษ หรือผื่นคัน ที่อาจมีอาการผิวหนังบวมร่วมด้วย
    • คลื่นไส้ ท้องเสียและอาเจียน
    • รู้สึกระคายเคืองปาก คอ หรือทั้งสองอวัยวะ และอาจมีอาการบวมร่วมด้วย
    • คันตาและน้ำตาไหล
    • ท้องอืด

    อาจแพ้ยาอย่างรุนแรงซึ่งจะนำไปสู่

    • คอบวมและตึงในลำคอ รวมถึงกลืนอาหารได้ลำบาก
    • แน่นและเจ็บหน้าอก รวมถึงหายใจได้ลำบาก
    • ผิวซีดหรือเขียวคล้ำ หัวใจเต้นช้าและรุนแรง ที่อาจมีอันตรายถึงตาย ความดันโลหิตลดลง

    ภูมิแพ้เฉียบพลันและรุนแรง (Anaphylaxis) ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

    อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

    เมื่อไหร่ที่ควรไปพบหมอ

    หากคุณมีสัญญาณบ่งชี้หรืออาการใดตามรายการข้างต้น หรือมีคำถามใดๆ โปรดปรึกษาหมอ ร่างกายของคนเราแสดงออกแตกต่างกัน จึงเป็นการดีที่สุดในการพูดคุยกับหมอ เพื่อดูว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สดในสถานการณ์ของคุณ

    สาเหตุ

    อะไรทำให้เกิด ภูมิแพ้ข้าวสาลี

    หากมีอาการภูมิแพ้ข้าวสาลี การรับประทานโปรตีนจากข้าวสาลี จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้เกิดอาการแพ้ คุณอาจแพ้โปรตีนจากข้าวสาลีใดๆ ในสี่ประเภทนี้ ได้แก่ อัลบูมิน โกลบูลิน ไกลอาดินและกลูเตน

    แหล่งของโปรตีนจากข้าวสาลี

    แหล่งของโปรตีนจากข้าวสาลีบางอย่างเป็นที่ทราบกันอย่างแน่ชัด เช่น ขนมปัง แต่โปรตีนจากข้าวสาลีทั้งหมด โดยเฉพาะกลูเตน อาจพบได้ในอาหารสำเร็จรูปหรือแม้กระทั่งเครื่องสำอางบางชนิด ผลิตภัณฑ์สำหรับอาบน้ำและดินน้ำมันสำหรับเด็ก อาหารที่อาจมีโปรตีนจากข้าวสาลีรวมถึง

    • ขนมปังและแป้งขนมปัง
    • เค้กและมัฟฟิน
    • คุกกี้
    • ซีเรียล
    • พาสต้า
    • แป้งเซโมลิน่า (Semolina)
    • แป้งสเปลท์ (Spelt)
    • แครกเกอร์
    • เบียร์
    • ซอสถั่วเหลือง
    • เครื่องปรุงรสบางชนิด เช่น ซอสมะเขือเทศ
    • ผลิตภัณฑ์จากเนื้อ เช่น ฮอตดอกหรือโคลด์คัท (cold cuts)
    • ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ไอศกรีม
    • วัตถุปรุงแต่งกลิ่นรสตามธรรมชาติ
    • ชะเอม
    • เจลลี่บีน
    • ลูกกวาด

    หากคุณเป็นภูมิแพ้ข้าวสาลี คุณอาจแพ้ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต และข้าวไรย์ด้วยก็ได้ แต่ก็มีโอกาสค่อนข้างต่ำ หากคุณไม่ได้แพ้ธัญพืชอะไรยกเว้นข้าวสาลี อาหารที่ไม่มีข้าวสาลีเป็นสิ่งที่ต้องถูกจำกัดน้อยกว่าอาหารที่ไม่มีกลูเตน

    อาการแพ้อย่างเฉียบพลันและรุนแรงจากข้าวสาลีและการออกกำลัง

    บางคนที่เป็นภูมิแพ้ข้าวสาลีจะเกิดอาการแพ้ ก็เมื่อออกกำลังกายภายในสองสามชั่วโมง หลังจากรับประทานข้าวสาลี การเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่มีสาเหตุมาจากการออกกำลัง มักจะกระตุ้นปฏิกิริยาแพ้ หรือทำให้การตอบสนองต่อโปรตีนจากข้าวสาลีของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายแย่ลง ภาวะนี้มักจะส่งผลต่ออาการแพ้เฉียบพลันและรุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

    ปัจจัยเสี่ยง

    อะไรเพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็น ภูมิแพ้ข้าวสาลี

    ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ข้าวสาลี เช่น

    • ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว คุณมีความเสี่ยงที่จะแพ้ข้าวสาลีหรืออาหารประเภทอื่นเพิ่มขึ้น หากบิดามารดาของคุณก็แพ้อาหาร หรือมีอาการแพ้ประเภทอื่นๆ เช่นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
    • ทารกและเด็กที่เพิ่งหัดเดินมักเป็นโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี เนื่องจากพวกเขายังมีระบบภูมิคุ้มกัน และระบบขับถ่ายที่ยังไม่เจริญเต็มที่ เด็กส่วนมากจะหายจากอาการภูมิแพ้ข้าวสาลี 

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี

    สิ่งสำคัญก็คือ การเข้ารับการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ข้าวสาลีอย่างถูกต้อง เพื่อที่คุณจะได้หลีกเลี่ยงอาหาร และรู้ว่าตนไม่ได้เป็นโรคอื่น เช่น โรคเซลิแอค โดยปกติแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้จะสามารถวินิจฉัยอาการนี้ได้

    ในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับอาการและประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว เพื่อชี้ว่าอาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเป็นปกติในครอบครัวของคุณหรือไม่

    เนื่องจากอาการของโรคภูมิแพ้ข้าวสาลีอาจใกล้เคียงกับอาการของโรคเซลิแอคและอาการแพ้กลูเตน (Non-Celiac Gluten Sensitivity) แพทย์จะตรวจด้วยวิธีที่เฉพาะ เพื่อตัดโรคอื่นที่ใกล้เคียงกับโรคที่คุณเป็นออกไป และระบุว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ข้าวสาลีหรือไม่ ผลการตรวจอาจรวมถึง การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยการหยดน้ำยาลงบนผิวหนังที่แขน และใช้เข็มสะกิดตรงกลางหยดน้ำยา (Skin-Prick Test) การตรวจเลือดหรือทำทั้งสองวิธี

    ในการทดสอบทางผิวหนังด้วยการสะกิด แพทย์จะฉีดโปรตีนจากข้าวสาลีที่ฆ่าเชื้อแล้วจำนวนเล็กน้อยใต้ผิวหนังของคุณ ปกติแล้วจะเป็นที่ปลายแขน หรือหลังส่วนบน หากจุดที่ฉีดเป็นรอยแดงหรือบวม แสดงว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี

    โรคภูมิแพ้ข้าวสาลีอาจวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจเลือด แพทย์อาจเจาะเลือดออกเล็กน้อย เพื่อตรวจหาแอนติบอดีบางชนิดในระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านข้าวสาลี มีการตรวจเลือดเฉพาะสำหรับโรคเซลิแอคด้วย

    การรักษาโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี

    วิธีรักษาที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงโปรตีนจากข้าวสาลี แต่อาจจะเป็นเรื่องยากเพราะอาหารหลายชนิดมีข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบฉลากอาหารว่ามีส่วนประกอบของข้าวสาลีหรือไม่ 

    ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) จะลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายผู้ป่วย ทำให้อาการแพ้ลดลงหรือหายไปด้วย ควรรับประทานยานี้หลังจากสูดดมหรือรับประทานข้าวสาลี ควรรับประทานยาต้านฮิสตามีนภายใต้คำแนะนำของแพทย์

    การใช้ยาเอพิเนฟริน (Epinephrine) หรืออะดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นวิธีรักษาอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะแพ้ยาอย่างรุนแรงสูง ควรพกยาเอพิเนฟรินสำหรับฉีดสองหลอด และใช้เครื่องฉีดอัตโนมัติเพื่อฉีดยานี้ทางผิวหนัง

    ยาอะดรีนาลีนช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น ผู้ป่วยจึงหายใจได้ง่ายขึ้น ยานี้ยังช่วยทำให้ความดันโลหิตที่ต่ำมาก กลับมาอยู่ในระดับปกติอีกด้วย

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่จะช่วยจัดการกับโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี

    ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการกับโรคภูมิแพ้ข้าวสาลีได้

    • แจ้งให้คนอื่นทราบ หากบุตรของคุณเป็นโรคภูมิแพ้ข้าวสาลี ให้มั่นใจว่าใครก็ตามที่ดูแลบุตรของคุณ รวมถึงผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและพยาบาลในโรงเรียน ทราบเกี่ยวกับการเป็นโรคภูมิแพ้นี้ และสัญญาณบ่งชี้ของการเจอกับข้าวสาลี หากบุตรของคุณพกยาเอพิเนพรีนติดตัว ให้มั่นใจว่าบุคลากรในโรงเรียนทราบวิธีการใช้หลอดฉีดยาในกรณีที่จำเป็น และบุคลากรจำเป็นต้องติดต่อห้องฉุกเฉินทันที แจ้งให้เพื่อน ญาติ และเพื่อนร่วมงานทราบเกี่ยวกับการแพ้อาหารของคุณ
    • อ่านฉลากเสมอ อย่าคิดว่าผลิตภัณฑ์จะไม่มีสิ่งที่คุณแพ้ จนกว่าคุณจะได้อ่านฉลาก โปรตีนจากข้าวสาลี โดยเฉพาะกลูเตน เพราะกลูเตนมักใช้เป็นสารเพิ่มความข้นหนืดและอยู่ในอาหารหลากหลายชนิดที่คุณอาจคาดไม่ถึง เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้อยู่ตลอดจะปลอดภัย เพราะอาจมีการเปลี่ยนส่วนผสม
    • ร้านขายอาหารที่ไม่มีกลูเตน ร้านค้าบางร้านและห้างสรรพสินค้าจะขายอาหารที่ไม่มีกลูเตนซึ่งปลอดภัยกับผู้ที่แพ้ข้าวสาลี อย่างไรก็ตาม คุณสามารถซื้ออาหารที่มีธัญพืชที่คุณสามารถรับประทานได้ ดังนั้นการรับประทานเฉพาะอาหารที่ไม่มีกลูเตน อาจเป็นการจำกัดสารอาหารที่คุณจะได้รับโดยไม่มีเหตุผลสมควร
    • รับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง แจ้งให้พนักงานร้านอาหารทราบเกี่ยวกับอาการแพ้อาหารและความรุนแรงของอาการ หากคุณรับประทานอาหารที่มีข้าวสาลี สั่งอาหารปรุงสุกที่ทำมาจากของสด หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีแหล่งโปรตีนจากข้าวสาลีเช่น ซอสหรือของทอดที่อาจปรุงด้วยวัตถุดิบอื่นที่มีข้าวสาลี

    หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา