backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis)

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมบริเวณปอดถูกทำลายอย่างถาวร และขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเยื่อมูก มีโอกาสสะสมในปอด และเกิดการติดเชื้อและการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ

คำจำกัดความ

หลอดลมโป่งพอง คืออะไร

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) เป็นภาวะที่หลอดลมบริเวณปอดถูกทำลายอย่างถาวร และขยายตัวขึ้นอย่างผิดปกติ ทางเดินหายใจที่ถูกทำลายนี้ ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเยื่อมูก มีโอกาสสะสมในปอด สุดท้าย เมื่อแบคทีเรียและเยื่อมูกผ่านกลไกการป้องกันของปอด จะเกิดการติดเชื้อและการอุดตันในระบบทางเดินหายใจ

โรคหลอดลมโป่งพองเกิดขึ้น เมื่อผนังของหลอดลมหนาขึ้นจากการอักเสบเรื้อรัง และ/หรือการสะสมของเยื่อมูก

โรคหลอดลมโป่งพองไม่สามารถรักษาได้ แต่ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ หากเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม อาการกำเริบต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน เพื่อไม่ให้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายสูญเสียออกซิเจน

โรคหลอดลมโป่งพองพบบ่อยแค่ไหน

ในประเทศอังกฤษ ประมาณ 2-3 คนจาก 1,000 คน เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง ในความเป็นจริง อาจมีจำนวนมากกว่า เนื่องจากมีแนวคิดว่าผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับปอดเป็นระยะเวลานาน อาจจะเป็นโรคหลอดลมโป่งพองด้วยเช่นกัน อัตราการเกิดโรคหลอดลมโป่งพองมีในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แม้แต่วัยเด็ก แต่มักจะพบบ่อยในกลุ่มผู้ใหญ่ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคหลอดลมโป่งพอง

อาการของโรคหลอดลมโป่งพองที่พบบ่อย ได้แก่

  • ไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียวปนทุกวัน
  • หายใจสั้นและมีอาการแย่ลงระหว่างการกำเริบของโรค
  • รู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง โดยเฉพาะในช่วงที่อาการกำเริบ
  • มีไข้ และ/หรือ หนาวสั่น มักเกิดขึ้นระหว่างการกำเริบของโรค
  • มีเสียงหวีดหรือเสียงลมขณะหายใจ
  • ไอเป็นเลือดหรือมีมูกปนกับเลือด ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ไอเป็นเลือด
  • เจ็บหน้าอก
  • รอยเขียวบริเวณผิวหนัง
  • น้ำหนักลด
  • อ่อนเพลีย
  • หนังใต้เล็บมือเล็บเท้าหนาขึ้น

อาจมีอาการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์

ควรพบหมอเมื่อไร

หากคุณสังเกตสัญญาณหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบหมอ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพอง

  • การติดเชื้อที่ปอด เป็นสาเหตุของโรคหลอดลมโป่งพองที่พบบ่อยที่สุด รวมถึงการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อสแตฟิโลคอกคัส (staph) หรือ วัณโรค
  • ภูมิคุ้มกันทางด้านฮิวเมอรัลต่ำ (ระดับของโปรตีนในเลือดในการต้านการติดเชื้อต่ำ
  • กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (โรคโครห์นและโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล)
  • กลุ่มโรคเกี่ยวกับรูมาตอยด์ (โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และโรคโจเกรน)
  • ถุงลมโป่งพองจากการขาด อัลฟ่า-1 (Alpha1-antitrypsin deficiency) ที่เป็นสาเหตุทางพันธุกรรมของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในบางคน
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • การติดเชื้อเอชไอวี ระดับภูมิคุ้มกันที่ต่ำทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถนำไปสู่การเป็นโรคหลอดลมโป่งพองได้
  • โรคกรดไหลย้อน (GERD)
  • โรคภูมิแพ้ทางระบบทางเดินหายใจ เป็นอาการโรคภูมิแพ้ทางการอักเสบของปอดชนิดหนึ่ง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดลมโป่งพอง

การเกิดโรคหลอดลมโป่งพองมีหลายปัจจัย เช่น

  • ภาวะขาดโปรตีน CFTR หรือการทำงานของโปรตีน CFTR บกพร่องในหลอดลมเนื่องจากอาการโรคซิสติก ไฟโบรซิส (CF)
  • เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทั่วไปของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดลมโป่งพองตามอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น
  • การติดเชื้อที่ปอดอย่างรุนแรงหรือเรื้อรัง (เช่น วัณโรค ซึ่งทำลายระบบทางเดินหายใจ)
  • การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคหลอดลมโป่งพอง

  • ฟังเสียงปอด เพื่อตรวจว่ามีเสียงที่ผิดปกติหรือมีสิ่งที่อุดกั้นทางเดินอากาศ
  • การตรวจเลือด เพื่อบ่งชี้ภาวะติดเชื้อ
  • การตรวจเสมหะ เพื่อหาเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย
  • การเอกซเรย์ปอดหรือซีทีสแกน เพื่อดูภาพของปอด
  • การทดสอบการทำงานของปอด เพื่อตรวจการไหลเวียนของอากาศในปอด
  • การตรวจคัดกรองวัณโรค (PPD)
  • การตรวจโดยใช้แอนติเจนเพื่อหาเชื้อแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus precipitins) และระดับค่าอิมมูโนโกลบูลิน เพื่อวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ ทางระบบทางเดินหายใจ (ABPA)
  • การตรวจหาโรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • การรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง

    ยังไม่มีการรักษาโรคหลอดลมโป่งพองที่แน่นอน หากเข้ารับการรักษาโดยเร่งด่วน จะสามารถควบคุมอาการของโรคได้ จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ การควบคุมการติดเชื้อและการหลั่งสารในหลอดลม สิ่งที่สำคัญคือการป้องกันไม่ให้เกิดการขีดขวางในระบบทางเดินหายใจ และลดอันตรายที่เกิดขึ้นกับปอด

    • การรักษาโรคหลอดลมโป่งพอง ด้วยยาปฏิชีวนะเป็นการรักษาโดยทั่วไปเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่ปอด
    • แมคโครไลด์ (Macrolides) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่ไม่เพียงฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะแต่ยังสามารถลดการอักเสบในหลอดลมได้
    • การให้ยาละลายเสมหะ มักให้ในรูปแบบยาพ่นฝอยละอองที่มีส่วนผสมของสารละลายน้ำเกลือไฮเปอร์โทนิค พ่นและสูดดมเข้าไปในปอด การรักษาประเภทนี้ช่วยละลายเสมหะในหลอดลม ทำให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น
    • การใช้อุปกรณ์ละลายเสมหะ อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยจัดการกับเสมหะ โดยช่วยให้ผู้ป่วยหายใจออกไปโดยใช้เครื่องที่ถือและทำให้เกิดการสั่นของอากาศในหลอดลมเพื่อเป็นการละลายเสมหะ มีอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถใส่ได้และช่วยทำให้หน้าอกสั่นเพื่อขับเสมหะ ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์เหล่านี้
    • การรักษาด้วยการให้ออกซิเจน
    • การเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาล เนื่องจากการกำเริบของโรคที่รุนแรง
    • การรักษาโดยการผ่าตัด
    • การรักษาโดยการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
    • การให้อาหารเสริม

    การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาโรคหลอดลมโป่งพองด้วยตนเอง

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรักษาอาการด้วยตนเอง เพื่อช่วยในการรับมือกับโรคหลอดลมโป่งพอง มีดังนี้

    • ควรเข้ารับการรักษาทันที เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้อาการหลอดลมโป่งพองกลายเป็นการติดเชื้อที่ปอด
    • หากออกไปข้างนอก ควรหลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศและปกป้องปอดของคุณจากควันพิษต่างๆ
    • เลิกสูบบุหรี่เห็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพปอดโดยรวม
    • เด็กๆ ควรได้รับวัคซีนต้านเชื้อไข้หวัดใหญ่ ไอกรนและ โรคหัด เนื่องจากโรคเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องต่อภาวะของร่างกายเมื่อโตขึ้น

    หากมีคำถามเกี่ยวกับโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจในวิธีการรักษาที่ดีที่สุด

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 15/03/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา