backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบ (Plaque) ก่อตัวขึ้นด้านในหลอดเลือดแดง คราบดังกล่าวนี้จะแข็งตัว และทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ซึ่งจะจำกัดการไหลของเลือดที่มีออกซิเจนไปยังอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกาย สามารถนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง ได้แก่ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจถึงแก่ชีวิต

คำจำกัดความ

หลอดเลือดแดงแข็ง คืออะไร

หลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการมีคราบหนา (Plaque) ก่อตัวขึ้นด้านในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงเป็นหลอดเลือดที่ลำเลียงเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไปยังหัวใจ และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย คราบดังกล่าวนี้เกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล แคลเซียม และสารอื่น ๆ ที่พบได้ในเลือด เมื่อเวลาผ่านไป คราบดังกล่าวนี้จะแข็งตัว และทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ซึ่งจะจำกัดการไหลของเลือดที่มีออกซิเจนไปยังอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลอดเลือดแดงแข็งสามารถนำไปสู่ปัญหาร้ายแรง ได้แก่ หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรืออาจถึงแก่ชีวิต

หลอดเลือดแดงแข็ง พบได้บ่อยเพียงใด

หลอดเลือดแดงแข็งเป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งค่อนข้างพบได้โดยทั่วไป เมื่อคุณอายุมากขึ้น คุณมีความเสี่ยงต่อหลอดเลือดแดงแข็งมากขึ้น ปัจจัยทางพันธุกรรมหรือไลฟ์สไตล์ อาจเป็นตัวการที่ทำให้คราบหนาก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดแดงของคุณ เมื่อคุณมีอายุมากขึ้น เข้าสู่วัยกลางคน หรืออายุมากกว่านั้น คราบหนาจะก่อตัวขึ้นมากพอที่จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ โดยในผู้ชาย ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 45 ปี ส่วนในผู้หญิง ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังจากอายุ 55 ปี

อย่างไรก็ดี สามารถรับมือได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

หลอดเลือดแดงแข็ง มีอาการอะไรบ้าง

หลอดเลือดแดงแข็งไม่ได้ก่อตัวขึ้นในทันทีแต่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นทีละน้อย หลอดเลือดแดงแข็งเพียงเล็กน้อยมักไม่มีอาการใด ๆ

คุณอาจไม่มีอาการหลอดเลือดแดงแข็งใด ๆ จนกระทั่งหลอดเลือดแดงมีขนาดแคบ หรือตีบตันเสียจนไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ ในบางครั้ง อาจเกิดลิ่มเลือดปิดกั้นกระแสเลือด หรือแม้แต่แตกตัวออกไป และก่อให้เกิดหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง

อาการหลอดเลือดแดงแข็งในระดับปานกลางจนถึงร้ายแรง ขึ้นอยู่กับหลอดเลือดแดงในบริเวณที่มีอาการ ได้แก่

  • ถ้าคุณมีหลอดเลือดแดงแข็งในหลอดเลือดแดงที่หัวใจ คุณอาจมีอาการ เช่น อาการปวดเค้นที่หัวใจเนื่องจากหัวใจขาดเลือด (Angina)
  • ถ้าคุณมีหลอดเลือดแดงแข็งในหลอดเลือดแดงที่ไปสู่สมอง คุณอาจมีสัญญาณหรืออาการ เช่น อาการชาอย่างกะทันหัน หรือแขนขาอ่อนแรง พูดลำบากหรือไม่ค่อยชัด สูญเสียการมองเห็นชั่วคราวที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบอกถึงภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack หรือ TIA) ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษาจะกลายเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
  • ถ้าคุณมีหลอดเลือดแดงแข็งในหลอดเลือดแดงที่แขนหรือขา คุณอาจมีอาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน (Peripheral Artery Disease) เช่น ปวดขาขณะเดิน
  • ถ้าคุณมีหลอดเลือดแดงแข็งในหลอดเลือดแดงที่ไปสู่ไต คุณจะเกิดโรคความดันโลหิตสูงหรือไตวาย

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

การวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้อาการไม่รุนแรงขึ้นและช่วยป้องกันหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะฉุกเฉินอื่น ๆ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อป้องกันอาการรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของหลอดเลือดแดงแข็ง

คราบที่เกิดขึ้นในหลอดเลือด อาจทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือด และปิดกั้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงอวัยวะอื่น ๆ ได้อย่างเพียงพอ

สาเหตุของหลอดเลือดแข็งที่อาจจะเกิดขึ้น

  • คอเลสเตอรอลสูง คอเลสเตอรอลสามารถกลายเป็นคราบอุดตันภายในหลอดเลือดได้
  • ไขมัน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอาจทำให้เกิดคราบอุดตันในหลอดเลือดได้
  • อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น การทำงานของหัวใจและหลอดเลือดก็จะเพิ่มขึ้น หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง และอาจทำให้เกิดคราบในหลอดเลือดได้ง่าย

สาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดแดงแข็ง

ปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดความเสี่ยงสำหรับหลอดเลือดแดงแข็ง ปัจจัยเสี่ยงบางประการสามารถป้องกันได้ ในขณะที่บางประการไม่สามารถป้องกันได้

  • ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครอบครับของคุณมีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง คุณอาจมีความเสี่ยงด้วย
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงสามารถทำลายหลอดเลือดได้ โดยทำให้หลอดเลือดอ่อนแอได้ในบางบริเวณ

ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่

  • ระดับคอเลสเตอรอลสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • รับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

ในระหว่างการตรวจร่างกาย แพทย์อาจตรวจพบสิ่งบ่งชี้ภาวะหลอดเลือดแดงตีบ ขยาย หรือแข็ง ดังต่อไปนี้

  • ชีพจรอ่อน หรือไม่มีชีพจรในบริเวณหลอดเลือดแดงที่ตีบ
  • ความดันโลหิตลดลง
  • มีเสียงดัง (เสียงผิดปกติ) ในบริเวณหลอดเลือดแดง ได้ยินได้โดยใช้หูฟังของแพทย์

นอกจากนี้ แพทย์ก็อาจจะแนะนำการตรวจอื่น ๆ เช่น

การรักษาภาวะหลอดเลือดแข็ง

การรักษาสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณ ให้สามารถจำกัดปริมาณไขมันและคอเลสเตอรอลที่คุณรับประทานเข้าไป คุณอาจจำเป็นต้องออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อให้สุขภาพของหัวใจและเส้นเลือดของคุณดีขึ้น นอกจากนี้ คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาอีกด้วย เช่น

การใช้ยา

การใช้ยาสามารถช่วยรักษาภาวะหลอดเลือดแข็งได้ ยาที่ใช้รักษา ได้แก่

  • ยาลดคอเลสเตอรอล ได้แก่ ยาสแตติน (Statins) และอนุพันธุ์ของกรดไฟบริค (Fibric Acid Derivatives)
  • ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet Drugs) และยากันเลือดแข็งตัว (Anticoagulants) เช่น ยาแอสไพริน เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดเป็นลิ่มและอุดตันเส้นเลือด
  • ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers) หรือยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blockers) เพื่อลดความดันเลือด
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) หรือยาขับน้ำ (Water Pills) เพื่อช่วยลดความดันเลือด
  • ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์ เอซีอี (Angiotensin Converting Enzyme หรือ ACE Inhibitors) ช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบตัน

การผ่าตัด

ในบางกรณี การผ่าตัดอาจจำเป็น หากมีอาการที่รุนแรงมาก หากกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อผิวหนังได้รับผลกระทบ การผ่าตัดที่เป็นทางเลือกในการรักษาภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ได้แก่

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass Surgery) ซึ่งเป็นการใช้หลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกาย หรือหลอดสังเคราะห์ เพื่อเบี่ยงเลือดจากหลอดเลือดที่ตีบหรือตัน
  • การละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic Therapy) ซึ่งเป็นการละลายลิ่มเลือดโดยการฉีดยาเข้าไปในหลอดเลือดแดงที่มีอาการ
  • การผ่าตัดขยายเส้นเลือด (Angioplasty) ซึ่งเป็นการใช้หลอดขนาดเล็กและยืดหยุ่นได้ที่เรียกว่า “สายสวน (Catheter)’ และบอลลูน เพื่อถ่างขยายเส้นเลือด
  • การผ่าตัดเปิดหลอดเลือด (Endarterectomy) ซึ่งเป็นการผ่าตัดเพื่อเอาไขมันออกจากหลอดเลือดแดง
  • การผ่าตัดหลอดเลือดตีบตัน (Atherectomy) ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาแผ่นหนาออกจากหลอดเลือดแดง โดยการใช้สายสวนที่มีใบมีดไว้ข้างหนึ่ง เพื่อตัดส่วนที่ตีบตันออก
  • การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่ช่วยรับมืออาการหลอดเลือดแดงแข็ง

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลต่ำ
    • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
    • เพิ่มเมนูปลาในมื้ออาหาร สองครั้งต่อสัปดาห์
    • ออกกำลังกาย 30 ถึง 60 นาทีต่อวัน หกวันต่อสัปดาห์
    • เลิกสูบบุหรี่
    • ลดน้ำหนัก
    • จัดการกับความเครียด
    • เข้ารับการรักษาภาวะที่สัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ได้แก่ ความดันเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง และเบาหวาน

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 10/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา