backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์ · โรคหัวใจ · สถาบันโรคทรวงอก


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 01/09/2022

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) เป็นอาการชนิดหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) และบางครั้งอาจมีอัตราการเต้นที่เร็วกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะ หายใจถี่ และเหนื่อยง่าย  โดยผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ได้แก่ ผู้สูงอายุหรือมีอายุเกิน 65 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมทั้งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

คำจำกัดความ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว คืออะไร

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว เป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ส่วนใหญ่มักมีจังหวะการเต้นของหัวใจเร็วที่ไม่สม่ำเสมอและมักจะเร็วกว่าปกติ โดยคนทั่วไปมีอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้ อาจตรวจสอบอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจได้จากการคลำชีพจรบริเวณคอหรือข้อมือ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว พบบ่อยแค่ไหน

ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน ดื่มแอลกอลฮอล์ในปริมาณมาก หรือสูบบุหรี่จัด

อาการ

อาการของ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

ผู้ป่วยบางรายมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว แต่อาจไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าวนี้ อาการที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักประกอบด้วยความรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป นอกจากนั้น อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่

ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด

หากรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่องของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ควรรีบพบหมอทันที นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

สาเหตุ

สาเหตุของ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

โดยปกติหัวใจมี 4 ห้อง ได้แก่ หัวใจสองห้องบน (Atria) และสองห้องล่าง (Ventricles) หัวใจทุกห้องทำงานประสานกันเพื่อช่วยให้การไหลเวียนโลหิตเป็นไปอย่างเหมาะสม ระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจประกอบด้วยเซลล์ที่ถูกกระตุ้น เพื่อส่งสัญญาณให้หัวใจเต้น หากเกิดความผิดปกติในเซลล์เหล่านี้ อาจทำให้เกิดการส่งสัญญาณเกิน หัวใจห้องบนจึงอาจเต้นในอัตราที่ผิดปกติ

หัวใจห้องบนมีขนาดเล็ก บีบตัวน้อย เร็ว และไม่สม่ำเสมอ เมื่อเลือดภายในหัวใจห้องบนไม่ถูกสูบฉีดไปยังหัวใจห้องล่าง จะเกิดภาวะเลือดคั่ง และเลือดแข็งตัว ก้อนเลือดที่แข็งตัวจะไหลไปในกระแสเลือด อาจทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองอุดตัน ทั้งยังส่งผลให้หัวใจห้องล่างทำงานหนักขึ้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจก่อให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลว

ทั้งนี้ อาการหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักพบมากในผู้สูงอายุ นอกจากนั้น ยังพบในกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ
  • ผู้ป่วยโรคปอด
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคอ้วน และอื่นๆ
  • ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาการภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้แก้ ผู้ที่มีภาวะสุขภาพต่อไปนี้

  • อายุที่มากขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ใช้แอลกอฮอล์เกินขนาด
  • มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

ปัจจัยที่ทำให้อาการภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วแย่ลง ได้แก่

  • คาเฟอีน
  • แอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่
  • น้ำหนักเกินหรือชอบรับทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • มีภาวะความดันโลหิตสูงแต่ไม่เข้ารับการรักษา
  • มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ไม่ชอบเคลื่อนไหวร่างกาย
  • เพิกเฉยกับอาการหรือความผิดปกติของร่างกาย
  • ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิฉัยภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

การวินิฉัยภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ทำได้โดยการตรวจสอบรูปแบบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ โดยใช้เครื่องทดสอบสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ (ECG)

แพทย์อาจตรวจการเคลื่อนไหวของหัวใจห้องบน ด้วยเครื่องเอคโคคาร์ดิโอแกรม (Echocardiogram) ซึ่งใช้สัญญาณอัลตร้าซาวด์ในการตรวจและเก็บภาพการเคลื่อนไหวเป็นวิดีโอ หากภาวะหัวใจห้องบนเกิดอาการสั่นพลิ้วแบบเป็น ๆ หาย ๆ คุณหมออาจสั่งให้ทำการติดเครื่องบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor) เพื่อคอยตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจอยู่เสมอ

การรักษาภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว

คุณหมอมักเน้นการรักษาที่สาเหตุ เช่น หากเกิดจากการเป็นโรคไทรอยด์ คุณหมอจะเลือกรักษาโรคไทรอยด์ก่อน หากสาเหตุเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป คุณหมออาจแนะนำให้เลิกหรืองดเครื่องดื่มเหล่านี้

โดยทั่วไป คุณหมออาจสั่งยาเพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และการสั่นพลิ้ว โดยเป็นยาที่มีคุณสมบัติในการช่วยชะลอการเต้นของหัวใจให้ช้าลงจนเป็นปกติ ทั้งนี้ ในผู้ป่วยบางราย ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วอาจหายได้เอง

นอกจากนั้น คุณหมออาจสั่งยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) คูมาดิน  (Coumadin) อย่างไรก็ตาม อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ได้แก่ อาการฟกช้ำหรือเลือดออก ที่สำคัญ ผู้ป่วยควรดูแลตนเองอสม่ำเสมอ

ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการใช้กระแสไฟฟ้ากระแสตรงกระตุ้นหัวใจเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจกลับเป็นปกติ ในระหว่างกระบวนการนี้ คุณหมอโรคหัวใจจะผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าสู่หัวใจ เพื่อหยุดกระแสไฟฟ้าในหัวใจชั่วคราว และอาจทำให้การเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติ

กรณีที่มีอาการเจ็บหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ หรือมีอาการรุนแรงอื่น ๆ อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่านกระแสไฟฟ้าฉุกเฉิน คุณหมอที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจทำการจี้ไฟฟ้าหัวใจโดยการใส่สายสวนเพื่อตัดวงจรที่ทำให้เกิดหัวใจเต้นสั่นพลิ้วในกรณีที่โรคยังเป็นมาไม่นาน

นอกจากนั้น อาจต้องเข้ารับการสวนหัวใจและหลอดเลือด หรือการผ่าตัดกรีดทำลายเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นสั่นพลิ้ว (Maze Procedure)

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการรับมือกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วด้วยตนเอง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาอาการด้วยตนเอง เพื่อช่วยในการรับมือกับภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบหัวใจ (ไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ)
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • หาวิธีจัดการความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หากอยู่ระหว่างการใช้ยาและไม่มีอาการ
  • รับประทานยาตามที่คุณหมอสั่ง รับการตรวจวัดระดับยาในเลือด
  • เข้าพบหมอหากมีอาการข้างเคียงจากการใช้ยา มีอาการใหม่ หรืออาการแย่ลง เช่น เวียนศีรษะ เจ็บหรือแน่นหน้าอก เป็นลม หายใจสั้น
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดการอาการช้ำ โดยเฉพาะยาที่ทำให้เลือดเจือจาง
  • เลิกสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

นายแพทย์พีรธัช โรจนพันธุ์

โรคหัวใจ · สถาบันโรคทรวงอก


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 01/09/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา