backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

อาการปวดในถุงน้ำดี (Gallbladder Pain)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

อาการปวดในถุงน้ำดี (Gallbladder Pain)

อาการปวดในถุงน้ำดี เป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้อธิบายถึงความเจ็บปวดต่างๆ ที่เกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี ได้แก่ โรคบิลลิอารีโคลิก (biliary colic) ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี  โรคตับอ่อนอักเสบ  และท่อน้ำดีอักเสบ

คำจำกัดความ

อาการปวดในถุงน้ำดี คืออะไร

อาการปวดในถุงน้ำดีเป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้อธิบายถึงความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี ปัญหาหลักของถุงน้ำดี ได้แก่ โรคบิลลิอารีโคลิก (biliary colic) โรคถุงน้ำดีอักเสบ (cholecystitis) โรคนิ่วในถุงน้ำดี (gallstones) โรคตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) และ โรคท่อน้ำดีอักเสบ (ascending cholangitis)

อาการปวดในถุงน้ำดีพบบ่อยแค่ไหน

ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการปวดในถุงน้ำดีเป็นอย่างไร

อาการอาจแตกต่างกัน และได้รับการกระตุ้นโดยการรับประทานอาหารบางชนิด ความเจ็บปวดอาจอยู่ในรูปแบบของการเจ็บท้อง และลามไปที่หลัง อาการอาจเป็นๆ หายๆ หรือเป็นต่อเนื่อง และความรุนแรงขึ้นอยู่กับสาเหตุ

อาการปวดในถุงน้ำดีอาจแตกต่างกัน หรือรู้สึกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ผู้ป่วยหลายคนอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บปวดหลายอาการสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยได้

  • โรคบิลลิอารีโคลิก (Biliary colic) อาการปวดเกิดขึ้นเฉียบพลันและรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปวดหรือจุกเสียด) บริเวณท้องส่วนบนขวาหรือบริเวณลิ้นปี่ ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดที่ลามไปถึงบริเวณไหล่ด้านขวา (หรือปวดหลังในส่วนปลายของกระดูกสะบัก) และ/หรือ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย อาการปวดมักเกิดขึ้นและทุเลาลงใน 1 ถึง 5 ชั่วโมง แต่อาการปวดเล็กน้อยยังคงดำเนินอยู่ตลอดทั้งวัน
  • โรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis) เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อถุงน้ำดีมากกว่าจะเป็นจากการอุดตันของท่อน้ำดี เป็นอาการปวดรุนแรงต่อเนื่องบริเวณท้องบนขวาและลามไปสู่ไหล่ด้านขวาหรือหลัง อาการกดเจ็บที่ท้อง เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ หนาวสั่น และท้องอืด อาการที่เกิดขึ้นจะกินเวลานานกว่าอาการของโรคบิลลิอารีโคลิก
  • โรคถุงน้ำดีอักเสบชนิดไม่มีก้อนนิ่ว (Acalculous cholecystitis) มีอาการคล้ายคลึงกับโรคถุงน้ำดีอักเสบ แต่เกิดขึ้นเหมือนกับอาการของโรคอื่นๆ เช่น เกิดอาการเจ็บปวดหรือปวดแสบร้อน ผู้ป่วยมีอาการที่รุนแรงและอาการของโรคแสดงออกชัดเจน
  • โรคตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis) ก้อนนิ่วจากถุงน้ำดีไปอุดตันท่อบริเวณตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบ นำไปสู่อาการปวดบริเวณท้องที่อาจลามสู่หลัง อาการกดเจ็บที่ท้อง และอาการจะรุนแรงขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร พร้อมอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • โรคท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (Ascending cholangitis) หรือท่อน้ำดีอักเสบหรือการติดเชื้อที่ระบบทางเดินน้ำดี (biliary system) ทำให้เกิดอาการไข้ ปวดท้อง ดีซ่าน และแม้แต่ความดันโลหิตต่ำ และอาการมึนงง จึงเป็นอาการที่ต้องเข้ารับการรักษาเร่งด่วน

อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์

ควรพบหมอเมื่อใด

หากพบว่ามีอาการที่กล่าวข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับโรค ควรปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน วิธีที่ดีสุดคือการเข้าพบหมอ

สาเหตุ

สาเหตุของอาการปวดในถุงน้ำดี

นิ่วถุงน้ำดี สาเหตุหลักของอาการปวดในถุงน้ำดีมักจะเกิดขึ้นจากนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในน้ำดีนั้นมีหลายขนาด และในบางครั้งอาจจะสามารถอุดท่อน้ำดีได้ จนทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงที่ถุงน้ำดี

นิ่วในท่อน้ำดี นิ่วนี้อาจจะเป็นนิ่วที่เกิดขึ้นในท่อน้ำดี หรืออาจจะเป็นนิ่วในถุงน้ำดีที่หลุดเข้ามาในท่อน้ำดีก็ได้ นิ่วนี้หากเกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี จะทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงในถุงน้ำดีได้

ภาวะถุงน้ำดีทะลุ (Perforated gallbladder) อาการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อน้ำในถุงน้ำดีไปทำให้ผนังของถุงน้ำดีเกิดการฉีกขาดและกลายเป็นรู เป็นอาการที่หายากแต่ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ถุงน้ำดีอักเสบ อาการนี้จะเกิดจากการสะสมของน้ำดีในถุงน้ำดีเนื่องจากนิ่วอุดตัน หรืออาจจะเกิดจากเนื้องอก แบคทีเรียบางชนิด หรือปัญหาในท่อน้ำดีอื่นๆ จนทำให้ถุงน้ำดีเกิดการอักเสบ และบวมขึ้นจนเกิดอาการปวด

มะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งท่อน้ำดี หรือมะเร็งถุงน้ำดี ต่างก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดได้ทั้งนั้น

แผลเป็นในท่อน้ำดี แผลเป้นในท่อน้ำดีจะทำให้ท่อน้ำดีตีบแคบลง และอาจขัดขวางการไหลเวียนของน้ำดี จนทำให้น้ำดีเกิดการสะสมในถุงน้ำดีและเกิดการอักเสบและอาการปวดได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการปวดในถุงน้ำดี

เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดในถุงน้ำดีมักจะเกิดจากนิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการปวดในถุงน้ำดีจึงมีดังต่อไปนี้

  • เป็นผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี หรือมีญาติที่เคยมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี
  • เพศหญิง
  • อายุ 40 ปีขึ้นไป
  • ตั้งครรภ์
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอลสูง
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการปวดในถุงน้ำดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อีกมาก ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการเจ็บปวดในถุงน้ำดี

    การวินิจฉัยเบื้องต้น แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยการคลำในถุงน้ำดี เพื่อหาอาการปวดในบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ก่อนจะทำการตรวจร่างกาย เช่น ตรวจการทำงานของตับ ตรวจเอนไซม์ลิเพส (lipase) อะมีเลส (amylase) และตรวจเอกซเรย์ในช่องท้อง

    การรักษาอาการปวดในถุงน้ำดี

    หากคุณไม่มีอาการเจ็บปวดที่ถุงน้ำดี คุณยังไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการหนึ่งหรือสองอาการอาจเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา อาการปวดที่กำเริบเฉียบพลันมักได้รับการรักษาโดยการให้มอร์ฟีน การรักษาทางการแพทย์ประกอบด้วย

    • การรักษาด้วยการรับประทานเกลือน้ำดี (ได้ผลมากกว่าร้อยละ 50)
    • ยาเออร์โซไดออล (Ursodiol) เช่น ยาแอกติกอล (Actigall)
    • การละลายนิ่ว (Dissolution)
    • การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก

    การรักษาที่ได้ผลแน่นอนคือ การผ่าเอาถุงน้ำดีออก โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง (laparoscopic surgery) เพื่อตัดเอาถุงน้ำดีออกด้วยเครื่องมือ แต่ผู้ป่วยบางคนอาจต้องการการผ่าตัดใหญ่ โดยปกติแล้ว อาการจะดีขึ้นเมื่อผ่าเอาถุงน้ำดีออก ผู้หญิงตั้งครรภ์จะได้รับการรักษาด้วยวิธีเดียวกับผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการอาการปวดในถุงน้ำดี

    การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาอาการบาดเจ็บในถุงน้ำดีอาจทำได้ ดังนี้

    • การควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย สามารถลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณถุงน้ำดีได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก แม้ว่าการออกกำลังกายจะมีประโยชน์ แต่กิจกรรมบางประเภททำให้เกิดแรงบีบที่หน้าท้อง และอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
    • การเพิ่มปริมาณอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ สามารถช่วยให้ถุงน้ำดีทำงานได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันอาการผิดปกติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
    • การประคบร้อนอาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวด
    • การดื่มชาเปปเปอร์มินท์ช่วยบรรเทาอาการปวดได้

    หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา