backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เลือดออกในสมอง (Brain Hemorrhage)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

เลือดออกในสมอง (Brain Hemorrhage)

คำจำกัดความ

เลือดออกในสมอง คืออะไร

เลือดออกในสมอง หรือภาวะตกเลือดในสมอง เป็นภาวะหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเลือดออกในสมองเกิดจากการที่มีเลือดไหลเข้าสู่เนื้อสมองเฉียบพลัน ทำให้สมองเกิดความเสียหาย เลือดนั้นจะทำให้เนื้อเยื่อในสมองบวม เรียกว่าภาวะสมองบวมน้ำ และเลือดที่สะสมอาจจะรวมกันกลายเป็นก้อนเลือดในสมอง ส่งผลต่อการบีบจัวของเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ และทำให้เซลล์ในสมองเสียหายในที่สุด

ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาทันที คนส่วนใหญ่ที่เกิดภาวะนี้ อาจจะเป็นอัมพาต แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจสามารถฟื้นตัวอย่างได้อย่างสมบูรณ์

เลือดออกในสมองพบบ่อยแค่ไหน

ภาวะนี้สามารถเกิดกับคนทุกเพศทุกวัย โดยทั่วไปแล้วจะมีผลต่อเพศชายมากกว่าเพศหญิง สามารถป้องกันได้โดยลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของเลือดออกในสมอง

อาการที่พบบ่อยในภาวะเลือดออกในสมองคือ:

  • ปวดหัวอย่างรุนแรง
  • แขนและขาอ่อนแรง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เชื่องช้า
  • พูดลำบากหรือมีปัญหาในการพูด
  • การกลืนลำบาก
  • การเขียนหรือการอ่านลำบาก
  • มีปัญหาในการมองเห็นทั้งสองข้าง
  • สูญเสียการทรงตัวและมีอาการวิงเวียน
  • มีความเฉื่อยชา ง่วงนอนและเซื่องซึม
  • หมดสติ
  • มีความสับสน และมึนงง
  • การรับรู้รสชาติลดลง

อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น  โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

ควรพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถามเกี่ยวกับอาการของโรคโปรดปรึกษาแพทย์

ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์ เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของเลือดออกในสมอง

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของภาวะเลือดออกในสมองสำหรับผู้ที่อายุน้อยกว่า50 ปี
  • ความดันโลหิตสูง ภาวะเรื้อรังนี้สามารถเกิดเป็นช่วงเวลานาน หรือจากผนังหลอดเลือดที่อ่อนแอ ความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นสาเหตุสำคัญของอาการเลือดออกในสมอง
  • หลอดเลือดโป่งพอง เกิดจากความอ่อนตัวของหลอดเลือดและมีการบวม ซึ่งสามารถแตกออกและมีเลือดออกในสมองที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง
  • ความผิดปกติของเส้นเลือด ความอ่อนแอของเส้นเลือดรอบๆ สมองอาจเกิดขึ้นได้และจะสามารถวินิจฉัยเมื่อมีอาการเท่านั้น
  • อัมพฤกษ์ นี่คือความผิดปกติของผนังหลอดเลือดที่บางครั้งอาจเกิดขึ้นจากความชรา และความดันโลหิตสูง อาจทำให้เลือดออกเล็กน้อยที่ไม่สามารถสังเกตเห็น ก่อนที่มันจะรวมเป็นก้อนใหญ่
  • ความผิดปกติของเลือด และโรคโลหิตจางอาจทำให้ระดับเม็ดเลือดมีปริมาณลดลง
  • โรคตับ ภาวะนี้อาจพบในการตกเลือดโดยทั่วไป
  • เนื้องอกในสมอง

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของเลือดออกในสมอง

มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการสำหรับภาวะเลือดออกในสมองเช่น

  • โรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง
  • เพศ อาการเลือดออกในสมอง เกิดขึ้นบ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • อายุ เลือดออกในสมองมักเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่นแอฟริกัน อเมริกา และญี่ปุ่น

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยเลือดออกในสมอง

แพทย์ของคุณสามารถตัดสินใจได้ว่าบริเวณใดในสมองของคุณที่ได้รับผลกระทบตามอาการของคุณ โดยอาจใช้การทดสอบต่างๆ เช่น ซีทีสแกน ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นภายในของเลือดที่ออกหรือการสะสมของเลือด หรือ เอ็มอาร์ไอ ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นของการบวมในเส้นประสาทตาได้

การรักษาเลือดออกในสมอง

การรักษาภาวะเลือดออกในสมองขึ้นอยู่กับสถานที่ สาเหตุ และบริเวณที่เลือดที่ออก อาจจำเป็นต้องผ่าตัด เพื่อบรรเทาอาการบวม และป้องกันเลือดที่ไหลออกมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการผ่าตัดเปิดกระโหลกศรีษะ หรือการเจาะดูก้อนเลือดในสมอง  อาจมีการให้ยาบางชนิดได้แก่ ยาแก้ปวด ยาสเตียรอยด์ หรือยาขับปัสสาวะ เพื่อลดอาการบวมและยากันชักเพื่อควบคุมการชัก

อาจต้องใช้เวลาในการรักษา เพื่อเอาชนะอาการที่เกิดจากความเสียหายต่อสมอง นั่นก็ขึ้นอยู่กับอาการของคุณ การรักษา อาจรวมถึงร่างกาย การพูด และกิจกรรมบำบัด

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองที่ช่วยจัดการกับเลือดออกในสมอง

การเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือเลือดออกในสมองด้วยตนเอง มีดังนี้

  • รักษาความดันโลหิตสูง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 80% ของภาวะเลือดออกในสมองนั้น ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูง สิ่งที่สำคัญที่สุดที่คุณสามารถทำได้ คือการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และการใช้ยารักษา
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ระวังสารบางอย่างเช่น โคเคน ซึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกในสมองได้
  • ขับรถอย่างระมัดระวังและสวมเข็มขัดนิรภัย
  • ถ้าคุณขี่รถจักรยานยนต์ให้สวมหมวกนิรภัยเสมอ
  • ระวังเรื่องการใช้ยาคูมาดิน ถ้ามีการใช้ยาตัวนี้หรือที่เรียกว่าวาร์ฟาริน ให้พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ควบคุมโรคเบาหวาน
  • การดูแลรักษาสุขภาพ

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจกับทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

Hello Health Group ไม่ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา