backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the Great Arteries)


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 01/08/2021

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the Great Arteries)

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries) เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดที่หาได้ยาก อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจหลักสองเส้นที่นำเลือดออกจากหัวใจเกิดการสลับขั้วกัน 

คำจำกัดความ

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว คืออะไร

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries) เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดที่หาได้ยาก อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจหลักสองเส้นที่นำเลือดออกจากหัวใจเกิดการสลับขั้วกัน 

การสลับขั้วของเส้นเลือดหัวใจหลัก เปลี่ยนทางไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ขาดออกซิเจนในเลือดที่ไหลจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนมากพอ ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และอาจมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง หรือเสียชีวิตโดยไม่ได้รับการรักษา

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วมักจะตรวจพบก่อนคลอด หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงแรกจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากทารกมีชีวิต

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วถือเป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ที่เกิดขึ้นทั่วไปมากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 และทำให้เกิดปัญหาในทารกแรกเกิด โรคนี้เกิดขึ้นประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดทั้งหมด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

อาการทั่วไปของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว ได้แก่

  • ผิวเขียวคล้ำ
  • หายใจถี่
  • เบื่ออาหาร
  • อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์

    เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ

    เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วมักจะตรวจพบทันทีที่ทารกเกิด หรือระหว่างสัปดาห์แรกของการมีชีวิต

    หากสัญญาณหรืออาการไม่ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล โทรศัพท์หาแผนกฉุกเฉิน หากคุณสังเกตว่าทารกมีผิวเขียวคล้ำ โดยเฉพาะที่ใบหน้าและลำตัว

    สาเหตุ

    สาเหตุของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

    เซลล์จะพัฒนาเป็นหัวใจระหว่าง 8 สัปดาห์แรกในช่วงพัฒนาการของทารก ปัญหาจะเกิดขึ้นในช่วงกึ่งกลางของเวลานี้ ทำให้เส้นเลือดเอออร์ตา (Aorta artery) และเส้นเลือดพัลโมนารี (Pulmonary artery) ติดกับห้องหัวใจผิดห้อง

    ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด อาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ที่ทำให้บางครอบครัวมีปัญหาหัวใจมากกว่าครอบครัวอื่น ส่วนมากแล้วความผิดปกติของหัวใจชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดของการเกิดขึ้น

    ปัจจัยเสี่ยง

    ปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

    ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว เช่น

    • มารดามีประวัติป่วยเป็นหัดเยอรมัน (Rubella) หรือการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นระหว่างตั้งครรภ์
    • การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอระหว่างตั้งครรภ์
    • ดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างตั้งครรภ์
    • มารดามีอายุมากกว่า 40 ปี
    • มารดาเป็นโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก
    • ทารกเป็นดาวน์ซินโดรม

    การวินิจฉัยและการรักษาโรค

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยอาการเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในเด็ก (Pediatric cardiologist) และ/หรือกุมารแพทย์จะช่วยดูแลทารกของคุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจในเด็ก เป็นผู้เชี่ยวชาญการวินิจฉัยและการรักษาความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เช่นเดียวกับปัญหาหัวใจอื่นที่อาจเกิดขึ้นหลังจากพ้นช่วงวัยเยาว์ ส่วนกุมารแพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคที่ส่งผลต่อทารกแรกเกิด ทั้งที่คลอดก่อนกำหนดและคลอดครบกำหนด

    ผิวเขียวคล้ำเป็นสิ่งบ่งชี้หลักว่า มีปัญหาเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด แพทย์ที่ดูแลเด็กอาจได้ยินฟู่จากเลือดที่ไหลผ่านหัวใจ (Heart murmur) ระหว่างการตรวจร่างกาย ในกรณีนี้ เสียงดังกล่าวเกิดจากการไหลเป็นจำนวนมากของเลือด ที่ไหลเวียนผ่านช่องที่เปิดอยู่ ทำให้เลือดไหลมารวมกัน เนื่องจากโรคบางชนิดอย่างเช่นโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (Ventricular septal defect) หรือภาวะหลอดเลือดไม่ปิดหลังคลอด (Patent ductus arteriosus)

    วิธีวินิจฉัยโรคหัวใจแต่กำเนิดต่างกันตามอายุของเด็ก การตรวจในคลินิกและแล้วแต่ดุลยพินิจของแพทย์ แนะนำให้การทดสอบบางชนิด รวมถึง

    • การเอ็กซเรย์หน้าอก การวินิจฉัยที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์ที่มองไม่เห็นจะสร้างภาพของเนื้อเยื่อ กระดูกและอวัยวะภายในบนแผ่นฟิล์ม
    • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) การตรวจนี้จะบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ แสดงให้เห็นถึงจังหวะที่ผิดปกติ (Arrhythmias) และตรวจพบความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหัวใจที่
    • การบันทึกภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (echo) วิธีนี้จะประเมินโครงสร้างและการทำงานของหัวใจโดยใช้คลื่นเสียงที่บันทึกบนเซนเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวของหัวใจและลิ้นหัวใจ
    • การสวนหัวใจและหลอดเลือด การสวนหัวใจและหลอดเลือดเป็นวิธีที่ต้องรุกล้ำเข้าไปในในร่างกาย และทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างภายในหัวใจ ระหว่างที่ยาสลบออกฤทธิ์ แพทย์จะใส่ท่อที่เล็ก บางและยืดหยุ่นได้หรือที่เรียกว่าสายสวน (catheter) เข้าไปในเส้นเลือดที่ขาหนีบ และนำไปสู่ภายในหัวใจ การวัดความดันเลือดและออกซิเจน จะทำในห้องหัวใจทั้งสี่ห้อง เช่นเดียวกับหลอดเลือดพัลโมนารีอละเอออร์ตา แพทย์จะฉีดสีย้อมที่มีสีตัดกัน เพื่อให้เห็นภาพโครงสร้างภายในหัวใจชัดเจนยิ่งขึ้น

    การรักษาเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

    ทารกทั้งหมดที่มีอาการเส้นเลือดหัวใจสลับขั้วจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขอาการผิดปกติดังกล่าว

    ก่อนการผ่าตัด

    แพทย์ที่ดูแลทารกอาจแนะนำให้ใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อช่วยจัดการโรค ก่อนทำการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติ วิธีเหล่านั้นรวมถึง

    • ยาโพรสตาแกลนดินชนิดอีหนึ่ง (Prostaglandin E1) หรือที่เรียกว่ายาอัลโพรสตาดิล (Alprostadil) จะช่วยให้ทางที่เชื่อมระหว่างเอออร์ตาและพัลโมนารีหรือหลอดเลือดแดงดักตัสอาเทอร์ริโอซัส (Ductus arteriosus) เปิดออก และเพิ่มการไหลเวียนเลือด และทำให้การผสมกันระหว่างเลือดที่มีออกซิเจนสูงกับต่ำดีขึ้น จนกระทั่งถึงเวลาทำการผ่าตัด
    • การตัดผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน (Atrial septostomy) วิธีนี้มักจะทำพร้อมกับการสวนหัวใจและหลอดเลือด เพื่อเพิ่มขนาดของทางเชื่อมตามธรรมชาติ ระหว่างห้องหัวใจด้านบนหรือเอเตรีย (atria) ทำให้มีการผสมกันระหว่างเลือดที่มีออกซิเจนสูงและต่ำ ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนในร่างกายทารกดีขึ้น

    การผ่าตัด

    ทางเลือกของการผ่าตัดรวมถึง

    • การผ่าตัดย้ายเส้นเลือดหัวใจอาร์เทอรี (Arterial switch operation) เป็นการผ่าตัดโดยทั่วไปที่ใช้เพื่อแก้ไขเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว ศัลยแพทย์จะผ่าตัดภายในสัปดาห์แรกของการมีชีวิต ระหว่างการผ่าตัด เส้นเลือดพัลโมนารีและเอออร์ตาจะย้ายไปอยู่ในตำแหน่งปกติ เส้นเลือดพัลโมนารีอยู่ติดกับหัวใจห้องล่างด้านขวา ส่วนเส้นเลือดเอออร์ตาจะติดกับหัวใจห้องล่างด้านซ้าย เส้นเลือดหัวใจจะถูกนำไปติดกับเส้นเลือดเอออร์ตาอีกครั้ง หากทารกเป็นโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างหรือห้องบนรั่ว รอยรั่วจะถูกปิดระหว่างการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี แพทย์อาจปล่อยให้รอยรั่วเล็กๆ ที่ผนังกั้นหัวใจห้องล่างสมานด้วยตนเอง
    • การผ่าตัดย้ายเส้นเลือดหัวใจเอเทรียล (Atrial switch operation) ในการผ่าตัดนี้ ศัลยแพทย์จะสร้างอุโมงค์หรือแผ่นกั้น (Baffle) ระหว่างหัวใจห้องบนสองห้องหรือเอเตรีย นี่จะช่วยเปลี่ยนให้เลือดที่มีออกซิเจนต่ำ ไปยังหัวใจห้องล่างซ้ายและเส้นเลือดพัลโมนารี ส่วนเลือดที่มีออกซิเจนสูงไปยังหัวใจห้องล่างขวาและเส้นเลือดเอออร์ตา ด้วยกระบวนการนี้ หัวใจห้องล่างขวาต้องสูบฉีดเลือดไปยังร่างกาย แทนที่จะเป็นปอดเหมือนกับหัวใจโดยปกติ โรคแทรกซ้อนที่เป็นไปได้ของการผ่าตัดวิธีนี้ รวมถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะ แผ่นกั้นอุดตันหรือรั่ว และหัวใจวาย เนื่องจากปัญหาการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาในระยะยาว

    หลังการผ่าตัด

    หลังจากผ่าตัดเพื่อทำให้คืนสภาพปกติ ทารกอาจจำเป็นต้องได้รับการติดตามผลตลอดชีวิต กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจที่เชี่ยวชาญเรื่องโรคหัวใจแต่กำเนิด เพื่อตรวจสุขภาพหัวใจ แพทย์อาจแนะนำให้เด็กหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างเช่น ยกน้ำหนัก เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และสร้างแรงตึงเครียดให้กับหัวใจ

    คุยกับแพทย์เกี่ยวกับประเภทของกิจกรรมที่เด็กสามารถทำได้ รวมถึงความหนักและความถี่ของกิจกรรม

    หลายคนที่เข้ารับการผ่าตัดย้ายเส้นเลือดหัวใจอาร์เทอรี่ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพิ่ม อย่างไรก็ตาม โรคแทรกซ้อนบางชนิดอย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจรั่ว หรือปัญหาการสูบฉีดเลือดของหัวใจ อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพิ่มเติม

    การตั้งครรภ์

    หากคุณจำเป็นต้องรักษาอาการเส้นเลือดหัวใจสลับขั้วระหว่างที่ตั้งครรภ์ การรักษาจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อทารกในครรภ์มีสุขภาพดี แต่การดูแลเป็นพิเศษอาจเป็นเรื่องจำเป็น หากคุณคิดว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและสูตินรีแพทย์ก่อนตัดสินใจ

    หากคุณมีโรคแทรกซ้อนอย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจที่รุนแรง การตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ ทั้งคุณและทารกในครรภ์ ในบางสถานการณ์ เช่น สำหรับผู้หญิงที่มีโรคแทรกซ้อนเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจที่รุนแรง ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ แม้กระทั่งผู้ที่ได้รับการรักษาแล้ว

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่จะช่วยจัดการกับอาการเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

    ไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยให้คุณจัดการกับอาการเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว

    • หาความช่วยเหลือ หาความช่วยเหลือจากสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน คุยกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจของทารกเกี่ยวกับกลุ่มสนับสนุนหรือความช่วยเหลืออื่นที่มีอยู่ใกล้คุณ
    • บันทึกประวัติสุขภาพของทารก คุณอาจต้องการที่จะจดการวินิจฉัย ยา การผ่าตัดหรือวิธีอื่น รวมถึงวันที่ทำสิ่งเหล่านี้ ชื่อของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจที่ดูแลทารกของคุณและหมายเลขโทรศัพท์และข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับการรักษาทารก การบันทึกจะช่วยให้คุณจดจำการรักษาที่ทารกได้รับ และมีประโยชน์ต่อแพทย์ที่ไม่ได้คุ้นเคยกับทารก เพื่อให้เข้าใจประวัติสุขภาพของทารก
    • ปรึกษาเกี่ยวกับความกังวล คุณอาจกังวลถึงความเสี่ยงของกิจกรรมที่ใช้แรง แม้กระทั่งหลังจากทารกได้รับการผ่าตัดรักษา ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเกี่ยวกับกิจกรรมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก หากบางกิจกรรมไม่สามารถทำได้ ให้กำลังเด็กให้ทำกิจกรรมอื่นแทนที่จะสนใจกับสิ่งที่ทำไม่ได้ หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพทารก โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจที่รักษาบุตรของคุณ

    แม้ว่าทุกสถานการณ์จะแตกต่างกัน จำไว้ว่าเนื่องจากความก้าวหน้าทางการรักษาด้วยการผ่าตัด เด็กที่มีเส้นเลือดหัวใจสลับขั้นจะเติบโตมาและใช้ชีวิตอย่างคล่องแคล่วได้

    หากคุณมีคำถามเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 01/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา