backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วิตามินเอ (Vitamin A)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

ข้อบ่งใช้

วิตามินเอใช้สำหรับ

วิตามินเอเป็นวิตามินชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ใน ผลไม้หลายชนิด ผัก ไข่ นมสด เนย มาการีน เนื้อและปลาทะเล วิตามินชนิดนี้ยังสามารถสังเคราะห์ในห้องเล็บได้ด้วย

วิตามินเอใช้เพื่อรักษาภาวะขาดวิตามินเอ และยังช่วยลดโรคแทรกซ้อนจากโรคอย่างมาลาเรีย เอชไอวี หัด และท้องเสียในเด็กที่ขาดวิตามินเอ

ในผู้หญิง มีการใช้วิตามินเอเพื่อรักษาอาการประจำเดือนมามากผิดปกติ กลุ่มอาการก่อนหมดประจำเดือน (PMS) การติดเชื้อในช่องคลอด การติดเชื้อรา ก้อนเนื้อในเต้านม (fibrocystic breast disease) และป้องกันมะเร็งเต้านม ผู้หญิงบางคนที่มีเชื้อเอชไอวี ใช้วิตามินเอเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์ คลอดบุตรหรือให้นมบุตร

ผู้ชายใช้วิตามินเอเพื่อเพิ่มจำนวนอสุจิ

บางคนใช้วิตามินเอเพื่อให้มองเห็นได้ดีขึ้น และรักษาความผิดปกติที่ตา รวมถึงโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (age-related macular degeneration หรือ AMD) โรคต้อหินและโรคต้อกระจก

วิตามินเอยังใช้รักษาโรคทางผิวหนัง เช่น สิว ผื่น โรคสะเก็ดเงิน แผลเปื่อย แผล อาการแสบ ผิวไหม้ โรคขนคุด หรือโรคแดริเอออร์ (Darier’s disease) โรคผิวหนังแห้งแต่กำเนิด โรคไลเคนพลานัส พิกเมนโทสัส (lichen planus pigmentosus) และโรคผิวหนังอักเสบแดงตกสะเก็ดโดยไม่ทราบสาเหตุ (pityriasis rubra pilaris)

วิตามินเอยังใช้เพื่อรักษาแผลในทางเดินอาหาร โรคโครห์น (Crohn’s disease) โรคเหงือก เบาหวาน กลุ่มอาการเฮอร์เลอร์ (Hurler syndrome) หรือมิวโคโพลิซัคคาริโดซิส (mucopolysaccharidosis) การติดเชื้อไซนัส จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ และ การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ (UTIs)

วิตามินเอยังใช้รักษาโรคบิดชิเกลลา (shigellosis) โรคเกี่ยวกับระบบประสาท การติดเชื้อที่จมูก การสูญเสียสัมผัสรับกลิ่น หอบหืด ปวดศีรษะเรื้อรัง นิ่วในไต ภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน เลือดมีเหล็กน้อย (ภาวะโลหิตจาง) หูหนวก มีเสียงก้องในหูและเจ็บปากก่อนเป็นมะเร็งหรือที่เรียกว่าโรคลิวโคพลาเคีย (leukoplakia)

การใช้อื่นๆ รวมถึงการป้องกันและรักษามะเร็ง ป้องกันอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เข้าสู่วัยชราช้าลง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

วิตามินเอยังใช้ทาผิวเพื่อให้แผลสมานตัวไวขึ้น ลดริ้วรอยและป้องกันผิวจากรังสียูวี

ออกฤทธิ์อย่างไร

ไม่ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของวิตามินเอที่เพียงพอ โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า วิตามินเอจำเป็นต่อร่างกายในด้านพัฒนาการ และการทำงานที่เหมาะสมของตา ผิว ระบบภูมิคุ้มกันและอวัยวะอื่นๆ

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้วิตามินเอ

ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังจะให้หรือให้นมบุตรอยู่ คุณควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาชนิดอื่น รวมถึงยาใดๆ ที่คุณซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • คุณแพ้ส่วนประกอบของวิตามินเอ หรือยา หรือสมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือโรคชนิดอื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สารย้อมสี วัตถุกันเสียหรือสัตว์อื่นๆ

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริม ไม่เคร่งครัดเท่ากับข้อกำหนดในการใช้ยา จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อระบุความปลอดภัยของสารนี้ ข้อดีของการใช้อาหารเสริม ต้องมีมากกว่าความเสี่ยง ก่อนใช้ ปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของวิตามินเอ

วิตามินเอค่อนข้างปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ เมื่อรับประทานหรือฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อในปริมาณที่ต่ำกว่า 10000 หน่วยต่อวัน

อาจจะมีความเสี่ยงเมื่อรับประทานวิตามินเอในปริมาณมาก งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์บางส่วนแนะนำว่า การทานวิตามินเอในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และกระดูกสะโพกหัก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ซึ่งมีวิตามินเอเสริม รวมถึงผลไม้และผัก จะไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมวิตามินเอ หรือวิตามินหลายชนิดที่มีวิตามินเอเป็นส่วนประกอบ

วิตามินเอค่อนข้างปลอดภัยสำหรับเด็ก ที่รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ปริมาณวิตามินเอสูงสุดที่ปลอดภัยสำหรับเด็กขึ้นอยู่กับอายุ ดังนี้

  • ต่ำกว่า 2000 หน่วยต่อวัน ในเด็กที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป
  • ต่ำกว่า 3000 หน่วยต่อวัน ในเด็กที่มีอายุ 4 ถึง 8 ปี
  • ต่ำกว่า 5700 หน่วยต่อวัน ในเด็กที่มีอายุ 9 ถึง 13 ปี
  • ต่ำกว่า 9300 หน่วยต่อวัน ในเด็กที่มีอายุ 14 ถึง 18 ปี
  • อาจจะไม่ค่อยปลอดภัยสำหรับเด็ก เมื่อรับประทานวิตามินเอในขนาดยาที่สูง

    ข้อควรระวังและคำเตือนเฉพาะ

    การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร

    วิตามินเอค่อนข้างจะปลอดภัย สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำ คือน้อยกว่า 10,000 หน่วยต่อวัน ปริมาณที่มากกว่านั้นอาจจะไม่ปลอดภัย วิตามินเอสามารถทำให้เกิดความผิดปกติในทารกแรกเกิดได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่จะต้องตรวจสอบการรับประทานวิตามินเอจากแหล่งทั้งหมด ในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ วิตามินเอรูปแบบต่างๆ พบในอาหารหลากหลายชนิด รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ที่มีตับเป็นส่วนประกอบหลัก ธัญพืชสำหรับอาหารเช้าที่เสริมวิตามิน และอาหารเสริม

    การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

    การดื่มแอลกอฮอล์อาจเพิ่มฤทธิ์ของวิตามินเอที่เป็นอันตรายต่อตับ

    ความผิดปกติที่ร่างกายไม่ได้ดูดซึมไขมันอย่างเหมาะสม

    ผู้ที่เป็นโรคซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมไขมัน เช่น โรคแพ้กลูเตน (celiac disease) กลุ่มอาการลำไส้สั้น (short gut syndrome) ดีซ่าน โรคซิสติก ไฟโบรซิส (cystic fibrosis) โรคที่ตับอ่อน และโรคตับแข็ง จะทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินเอได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ร่างกายดูดซับวิตามินเอได้ดีขึ้น คนกลุ่มนี้ควรรับประทานวิตามินเอที่อยู่ในรูปของสารละลายในน้ำ

    ชนิดของอาการคอเรสเตอรอลสูงที่เรียกว่าภาวะ Type V hyperlipoproteinemia: โรคนี้อาจเพิ่มโอกาสที่วิตามินเอจะเป็นพิษ อย่ารับประทานวิตามินเอ หากคุณเป็นโรคนี้

    การติดเชื้อในลำไส้: การติดเชื้อในลำไส้เช่นพยาธิปากขอ อาจลดปริมาณวิตามินเอที่ร่างกายดูดซึมได้

    โรคตับ: วิตามินเอที่มากเกินไปอาจทำให้อาการของโรคตับแย่ลง อย่ารับประทานวิตามินเอ หากคุณเป็นโรคตับ

    ภาวะทุพโภชนาการ: สำหรับผู้ที่ขาดโปรตีนอย่างรุนแรง การรับประทานวิตามินเอ อาจส่งผลให้ร่างกายมีวิตามินเอมากเกินไป

    การขาดสังกะสี: การขาดสังกะสีอาจทำให้เกิดร่างกายขาดวิตามินเอ การรับประทานอาหารเสริมวิตามินเอร่วมกับสังกะสี อาจจำเป็นในการทำให้โรคนี้ดีขึ้น

    ผลข้างเคียง

    ผลข้างเคียงของการใช้วิตามินเอ

    การใช้วิตามินเอปริมาณมากในระยะยาว อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง รวมถึงอ่อนเพลีย หงุดหงิด การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ นอนไม่หลับ อึดอัดในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้อ่อนๆ เหงื่อออกมากเกินไป และผลข้างเคียงอื่นๆ

    สำหรับหญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว การรับประทานวิตามินเอมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และกระดูกสะโพกหัก สำหรับเด็ก เมื่อรับประทานวิตามินเอมากเกินกว่าปริมาณที่แนะนำ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นรวมถึงหงุดหงิด ง่วงนอน อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ ปวดศีรษะ มีปัญหาในการมองเห็น ผิวลอก ความเสี่ยงของโรคปอดบวมและท้องเสียที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโรคอื่นๆ

    มีความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นว่า การรับประทานอาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างวิตามินเอ ในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี งานวิจัยบางงานแสดงให้เห็นว่า การรับประทานวิตามินเอในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากสาเหตุต่างๆ และผลข้างเคียงที่รุนแรงอื่นๆ

    ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

    ปฏิกิริยาของยา

    ปฏิกิริยา

    วิตามินเออาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณใช้หรือโรคที่คุณเป็น ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

    ยาที่อาจทำปฏิกิริยากับวิตามินเอได้แก่

  • ยาที่ใช้รักษาโรคผิวหนังกลุ่มเรตินอยด์ (Retinoid)
  • ยารักษาโรคผิวหนังบางชนิดมีฤทธิ์เหมือนกับวิตามินเอ การรับประทานวิตามินเอชนิดเม็ด พร้อมกับยารักษาโรคผิวหนังเหล่านั้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากวิตามินเอมากเกินไป

    • ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตระไซคลิน (Tetracycline antibiotics)

    วิตามินเออาจทำปฏิกิริยากับยาปฏิชีวนะบางชนิด การรับประทานวิตามินเอมากเกินไป พร้อมๆ กับการรับประทานยาปฏิชีวนะ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ซึ่งเรียกว่าภาวะความดันในกระโหลกศีรษะ แต่การรับประทานวิตามินเอในขนาดยาปกติ พร้อมกับยาเตตระไซคลิน ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่สาเหตุของภาวะดังกล่าว อย่ารับประทานวิตามินเอในปริมาณมาก หากคุณกำลังรับประทานยาปฏิชีวนะ

    ตัวอย่างของยาปฏิชีวนะกลุ่มนี้ ได้แก่ ยาเดเมโคลไซคลีน (demeclocycline) หรือยาเดโคลไมซิน (Declomycin) ยาไมโนไซคลีน (minocycline) หรือยาไมโนซิน (Minocin) และยาเตตระไซคลีนหรือยาอะโครไมซิน (Achromycin)

    • ยาที่อาจทำให้ตับได้รับความเสียหาย หรือกลุ่มยาที่มีพิษต่อตับ (Hepatotoxic drug)

    การรับประทานวิตามินเอมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อตับ การรับประทานวิตามินเอในปริมาณมาก พร้อมกับใช้ยาที่อาจทำให้ตับได้รับความเสียหาย อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อตับ อย่ารับประทานวิตามินเอในปริมาณมาก หากคุณกำลังรับประทานยาที่มีพิษต่อตับ

    ยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อตับรวมถึงยาอะซีตามิโนเฟน (acetaminophen) เช่น ไทลินอล (Tylenol) และอื่นๆ ยาอะมิโอดาโรน (amiodarone) หรือยาคอร์ดาโรน (Cordarone) ยาคาร์บามาซีพีน (carbamazepine) หรือยาทีกรีทอล (Tegretol) ยาไอไซโนอาซิด (INH) ยาเมโทเทรกเซท (methotrexate) หรือยารูมาเทรกซ์ (Rheumatrex) ยาเมทิลโดปา (methyldopa) หรือยาอัลโดเมท (Aldomet) ยาฟลูโคนาโซล (fluconazole) ยาไดฟลูแคน (Diflucan) ยาไอทราโคนาโซล (itraconazole) หรือยาสปอราน็อกซ์ (Sporanox) ยาอีริโธรมัยซิน (erythromycin) หรือยาอีริโธรซิน (Erythrocin) ยาไอโลโซน (Ilosone) และยาชนิดอื่น ยาเฟนิโทอิน (phenytoin) หรือยาไดแลนทิน (Dilantin) ยาโลวาสแตติน (lovastatin) หรือยาเมวาคอร์ (Mevacor) ยาปราวาสแตติน (pravastatin) หรือยาปราวาโชล (Pravachol) ยาซิมวาสแตติน (simvastatin) หรือยาโซคอร์ (Zocor) และยาอื่นๆ

    • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรือยาคูมาดิน (Coumadin)

    ยาวาร์ฟารินหรือยาคูมาดิน ใช้เพื่อให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มช้าลง วิตามินเอในปริมาณมาก อาจลดการจับตัวเป็นลิ่มของเลือดได้เช่นกัน การรับประทานวิตามินเอ พร้อมกับยาวาร์ฟารินหรือคูมาดิน อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการช้ำหรือเลือดออก ให้มั่นใจว่าคุณตรวจเลือดเป็นประจำ อาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาวาร์ฟารินหรือคูมาดิน

    ขนาดยา

    ขนาดใช้ทั่วไปของวิตามินเอ

    การรับรองการรับประทานวิตามินเอ ในระดับที่เพียงพอสำหรับทารก

    • แรกเกิดถึง 6 เดือน 400 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 1300 หน่วย
    • อายุ 7 ถึง 12 เดือน 500 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 1700 หน่วย

    ปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวันสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

    • เด็กอายุ 1 ถึง 3 ปี 300 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 1000 หน่วย
    • อายุ 4 ถึง 8 ปี 400 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 1300 หน่วย
    • อายุ 9 ถึง 13 ปี 600 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 2000 หน่วย
    • ผู้ชายอายุ 14 ปีขึ้นไป 900 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 3000 หน่วย
    • ผู้หญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป 700 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 2300 หน่วย
    • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อายุ 14 ถึง 18 ปี 750 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 2500 หน่วย อายุ 19 ปีขึ้นไป 770 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 2600 หน่วย
    • ผู้หญิงที่ให้นมบุตรอายุ 14 ถึง 18 ปี 1200 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 4000 หน่วย
    • อายุ 19 ปีขึ้นไป 1300 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 4300 หน่วย

    มีการกำหนดไว้ถึงปริมาณสูงสุดของวิตามินเอที่ร่างกายสามารถรับได้ในแต่ละวัน (Upper Intake Level หรือ UL) โดยปริมาณสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้ มีแนวโน้มที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ปริมาณวิตามินเอสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้ นับเฉพาะวิตามินเอที่มีอยู่ก่อนหรือเรตินอล (retinol) ไม่รวมแคโรทีนอยด์ (carotenoid) หรือโปรวิตามินเอ (provitamin A):

    • ทารกและเด็กแรกเกิดถึงอายุ 3 ปี 600 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 2000 หน่วย อายุ 4 ถึง 8 ปี 900 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 3000 หน่วย
    • อายุ 9 ถึง 13 ปี 1700 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 6000 หน่วย
    • อายุ 14 ถึง 18 ปี (รวมถึงผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร) 2800 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 9000 หน่วย
    • ผู้ใหญ่ที่อายุ 19 ปีหรือมากกว่า (รวมถึงผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร) 3000 ไมโครกรัมต่อวันหรือ 10000 หน่วย

    ขนาดยาของวิตามินเอมักจะอยู่ในรูปหน่วย แต่บางครั้งก็ใช้ไมโครกรัม

    การรับประทานผลไม้และผัก 5 ครั้งต่อวันจะช่วยให้ผู้ใหญ่ได้รับปริมาณวิตามินเอที่แนะนำประมาณ 50 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์

    ขนาดการใช้วิตามินเออาจต่างไปตามผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและโรคอื่น สมุนไพรหรืออาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาความเสี่ยงกับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เกี่ยวกับขนาดยาที่เหมาะสม

    รูปแบบของยา

    วิตามินเอมีในรูปแบบดังต่อไปนี้

    • จากการกินอาหาร
    • แคปซูล
    • ยาเม็ด
    • แคปซูลแบบนุ่ม
    • ยาน้ำ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา