backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

สะเดา (Neem)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

สะเดา (Neem)

สะเดา เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดมาจาดประเทศอินเดีย ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะคุ้นชินกับสะเดาที่เป็นอาหารมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นดอกสะเดา ใบสะเดาสามารถนำมากินแกล้มกับน้ำพริกได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นส่วนของเปลือก ใบ เมล็ด ราก ดอก และผลของต้นกำเนิด สามารถนำมาทำเป็นยาได้ทั้งสิ้น

การใช้ประโยชน์ของ สะเดา

ต้นกำเนิดสะเดามาจากอินเดีย โดยเปลือก ใบ เมล็ด ราก ดอก และผลของต้นกำเนิด สามารถนำมาทำเป็นยาได้

ใบ สะเดา

ใบสะเดาใช้ในการรักษาโรคเรื้อน ความผิดปกติที่ตา เลือดกำเดาไหล พยาธิในลำไส้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร แผลบนผิวหนัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นไข้ โรคเบาหวาน โรคเหงือก ปัญหาเกี่ยวกับตับ อีกทั้งยังใช้สำหรับการคุมกำเนิด และต้นเหตุการแท้ง

เปลือก สะเดา

เปลือกไม้ใช้ในการรักษาโรคมาลาเรีย แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ โรคผิวหนัง ความเจ็บปวด และการเป็นไข้

ดอกสะเดา

ดอกใช้ในสำหรับ ลดน้ำดี ควบคุมเสมหะ และรักษาพยาธิในลำไส้

ผลสะเดา

ผลใช้ในการรักษา ริดสีดวงทวารหนัก พยาธิในลำไส้ ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ เลือดกำเดาไหล เสมหะ ความผิดปกติของตา โรคเบาหวาน บาดแผล และโรคเรื้อน

กิ่งสะเดา

กิ่งสะเดาใช้สำหรับการไอ โรคหืด ริดสีดวงทวารหนัก พยาธิในลำไส้ ระดับอสุจิต่ำ ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ และโรคเบาหวาน

การเคี้ยวกิ่งสะเดาเป็นทางเลือกในการใช้แทนแปรงสีฟัน

เมล็ดและเมล็ดน้ำมันสะเดา

เมล็ดและเมล็ดน้ำมันใช้รักษาโรคเรื้อนและพยาธิในลำไส้ อีกทั้งยังใช้สำหรับการคุมกำเนิด และต้นเหตุการแท้ง

ก้านสะเดา ราก ผล

ก้าน ราก เปลือก และผลใช้เป็นยาบำรุงและยาสมานแผล

นอกจากนี้ สะเดาสามารถใช้ทาบนผิวเพื่อรักษาเหาบนศีรษะ โรคผิวหนัง บาดแผล และแผลบนผิวหนัง เป็นยา ทากันยุง และทำให้ผิวอ่อนนุ่ม

สะเดาอาจจะใช้กับอย่างอื่น สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การทำงานของ สะเดา

สะเดามีส่วนประกอบของสารเคมีที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการตั้งท้อง ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันคราบจุลินทรีย์ในปาก ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรทราบก่อนใช้สะเดา

ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากอยู่ในอาการตามลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรรับยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาชนิดอื่น ซึ่งรวมถึงยาที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในสะเดา หรือแพ้ยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่ามีคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

สะเดา มีความปลอดภัยแค่ไหน

ความปลอดภัยในการใช้สะเดา

เด็ก

การบริโภคเมล็ดหรือน้ำมันของสะเดาไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อทารกและเด็กเล็กอาจเกิดขึ้นได้ภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากใช้น้ำมันสะเดา

สตรีตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร

การบริโภคน้ำมันและเปลือกสะเดาไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้งโดยธรรมชาติ

ข้อมูลยังมีไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในช่วงให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ผู้ที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด

สะเดาอาจลดลงระดับน้ำตาลในเลือด และมีความกังวลว่า มันอาจไปรบกวนการควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่าง และ หลังการผ่าตัด หยุดการใช้สะเดาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้สะเดา

ผลข้างเคียงที่รุนแรง มีดังนี้

  • อาเจียน
  • อาการท้องร่วง
  • ง่วงและซึมเซา
  • ความผิดปกติของเลือด
  • อาการชัก
  • หมดสติ
  • โคม่า
  • ความผิดปกติของสมอง
  • ตาย

อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

ปฏิกิริยาของยาอื่นๆ จากการใช้สะเดา

สะเดาอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณกำลังใช้หรือส่งผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

สภาวะสุขภาพหรือยารักษาโรค

ลิเธียม (Lithium)

สะเดาอาจมีผลเช่นยาขับน้ำหรือ “ยาขับปัสสาวะ’ การใช้สะเดาอาจลดประสิทธิภาพที่ร่างกายกำจัดลิเธียม และอาจเพิ่มปริมาณลิเธียมในร่างกายทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นี้ ขนาดการใช้ลิเธียมอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

ยารักษาโรคเบาหวาน (Anti-diabetes drugs)

สะเดาอาจลดน้ำตาลในเลือด และยาโรคเบาหวานก็ทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงเช่นกัน การใช้สะเดาร่วมกับยาโรคเบาหวานอาจเป็นสาเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำจนเกินไป ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด ขนาดยาของยาโรคเบาหวานของคุณอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

ยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ประกอบด้วย ไกลเมพิไรด์ (glimepiride เช่น  Amaryl) ไกลบูไรด์ (glyburide เช่น DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase) อินซูลิน, ไพโอกลิตาโซน (pioglitazone เช่น Actos) โรสิกลิตาโซน (rosiglitazone เช่น Avandia) คลอร์โพรพาไมด์ (chlorpropamide เช่น Diabinese) ไกลพิไซด์  (glipizide เช่น Glucotrol) โทลบูตาไมด์ (tolbutamide เช่น Orinase) และอื่น ๆ

ยาที่ลดระบบภูมิคุ้มกัน (ยากดภูมิคุ้มกัน)

สะเดาช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน จึงอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาภูมิคุ้มกัน

ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้มลดลงกัน เช่น

  • อะซาไธโอพรีน (azathioprine เช่น Imuran)
  • บาซิลิซิแมบ (basiliximab เช่น Simulect)
  • ไซโคลสปอริน (cyclosporine เช่น Neoral, Sandimmune)
  • ดาคลิซูแมบ (daclizumab เช่น Zenapax)
  • มิวโรโมแนบ-ซีดี3 (muromonab-CD3 เช่น OKT3, Orthoclone OKT3)
  • ไมโคฟีโนเลต (mycophenolate เช่น CellCept)
  • ทาโครลิมัส (tacrolimus เช่น FK506, Prograf)
  • ไซโลลิมัส (sirolimus เช่น Rapamune)
  • เพรดนิโซน (prednisone เช่น Deltasone, Orasone)
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids เช่น glucocorticoids) และอื่น ๆ

สะเดาอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากขึ้นซึ่งอาจเพิ่มโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ต่อตนเอง วิธีที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงการใช้สะเดา โรคระบบประสาทมีการเสื่อมของปลอกประสาท (MS) โรคลูปัส (systemic lupus erythematosus, SLE) โรคข้ออักเสบรูมาทอยด์ (RA) และโรคอื่น ๆ

โรคเบาหวาน

สะเดาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และอาจเป็นสาเหตุให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานและใช้สะเดา ควรตรวจสอบน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง

ลดความโอกาสการมีลูก

งานวิจัยบางชิ้นรายงานว่าสะเดาเป็นอันตรายต่อตัวอสุจิและลดการเจริญพันธุ์ในทางอื่น ๆ หากประสงค์จะมีลูก ควรหลีกเลี่ยงการใช้สะเดา

การปลูกถ่ายอวัยวะ

หากมีความกังวลว่าสะเดาอาจจะลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ป้องกันปฏิกิริยาต่อต้านอวัยวะใหม่ ไม่ควรใช้สะเดา ถ้าหากเคยหรือวางแผนที่ปลูกถ่ายอวัยวะ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง

ปกติแล้วควรใช้สะเดาในปริมาณเท่าใด

ปริมาณโดยทั่วไปของการใช้สะเดา

สารสกัดจากเปลือกสะเดา

ผู้ป่วยที่มีปัญหากับกรดและแผลให้ใช้ 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 10 วัน 30 มก.

แผลเปื่อยลำไส้เล็กส่วนต้นจะดีขึ้นอย่างมาก โดยใช้ขนาดยาเพิ่มขึ้น 30-60 มก. 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 10 สัปดาห์

แผลในหลอดอาหารและแผลในกระเพาะอาหารจะได้รับการรักษาอย่างสมบูรณ์ โดยใช้ 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ 30 มก.

น้ำมันสะเดา

สำหรับผู้ใหญ่ แนะนำให้ใช้ 0.2 มล./กก.

แคปซูลสะเดา

ขนาดที่แนะนำคือ 1-2 แคปซูล 2/3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน หลังอาหาร ทานกับน้ำเปล่า

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรตัวนี้อาจจะแตกต่างกันในแต่ละผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ได้รับประกันความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

รูปแบบของ สะเดา

สะเดาอาจพบได้ในรูปแบบต่อไปนี้

  • สารสกัดจากเปลือกสะเดา
  • น้ำมันสะเดาหรือยาป้าย
  • สะเดาในรูปแบบผง หรือ ยาเม็ด หรือ แคปซูล

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/06/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา