backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เกลือฟอสเฟต (Phosphate Salts)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

สรรพคุณของเกลือฟอสเฟต

เกลือฟอสเฟตเป็นการรวมกันทางเคมีของฟอสเฟตกับเกลือ และแร่ธาตุต่าง ๆ

อาหารที่มีฟอสเฟตสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช เมล็ดถั่ว และเนื้อสัตว์บางชนิด ร่างกายจะดูดซึมฟอสเฟตที่พบในผลิตภัณฑ์จากนมและเนื้อสัตว์ง่ายมากกว่าเกลือฟอสเฟตที่พบในธัญพืช ในเครื่องดื่มโคลามีฟอสเฟตเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดฟอสเฟตในเลือดมากเกินไป เกลือฟอสเฟตมักถูกใช้ในทางการแพทย์

เกลือฟอสเฟตถูกนำมาใช้โดยการรับประทานสำหรับรักษาอาการ:

  • การรักษาระดับฟอสเฟตในเลือดต่ำและระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป
  • ป้องกันโรคนิ่วในไต
  • กระดูกพรุน
  • เสริมประสิทธิภาพการออกกำลังกาย
  • เป็นยาลดกรดสำหรับโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal) หรือเกิร์ด (GERD)
  • เป็นยาระบายเพื่อล้างช่องท้องก่อนการผ่าตัด

เกลือฟอสเฟตและแคลเซียมใช้ลดอาการปวดในฟันที่ไม่แข็งแร็ง โดยปกติเกลือฟอสเฟตจะใช้เป็นยาระบายเพื่อทำความสะอาดลำไส้ก่อนการผ่าตัดหรือการตรวจลำไส้ บางครั้ง มีการให้ เกลือฟอสเฟตผ่านสายน้ำเกลือในการรักษาฟอสเฟตต่ำและระดับแคลเซียมสูงในเลือด

กลไกการออกฤทธิ์

มีงานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของเกลือฟอสเฟตยังไม่เพียงพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม เกลือฟอสเฟตมักดูดซึมจากอาหาร และเป็นสารเคมีที่สำคัญในร่างกายในส่วนของโครงสร้างเซลล์ การส่งและการเก็บรักษาพลังงาน วิตามิน และกระบวนการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อสุขภาพ เกลือฟอสเฟตทำหน้าที่เป็นยาระบาย โดยการทำให้เกิดของเหลวมากขึ้น ลำเลียงเข้าสู่ลำไส้ และกระตุ้นลำไส้เพื่อผลักดันออกมาได้เร็วขึ้น

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เกลือฟอสเฟต

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในเกลือฟอสเฟต ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากเกลือฟอสเฟตมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เกลือฟอสเฟตปลอดภัยหรือไม่

เกลือฟอสเฟตที่มีโซเดียม โพแทสเซียม อลูมิเนียมหรือแคลเซียม มีแนวโน้มปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อรับประทาน หรือใช้โซเดียมฟอสเฟตสำหรับในทวารหนักในระยะสั้น หรือใช้โพแทสเซียมฟอสเฟตผ่านสายน้ำเกลือในการรักษาภายใต้การดูแลของแพทย์

ฟอสเฟตอาจเป็นอันตรายเมื่อรับประทานในขนาดยาที่สูงกว่า 4 กรัมต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 70 ปี และ 3 กรัมต่อวันสำหรับผู้ที่มีอายุมากขึ้น ควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้งานระยะยาวและเป็นประจำ

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: เกลือฟอสเฟตจากแหล่งอาหารมีความปลอดภัยสำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอายุระหว่าง 14-18 ปีในขนาดใช้ยา 1250 มิลลิกรัมต่อวัน และ สำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 700 มิลลิกรัมต่อวัน ขนาดยาอื่น ๆ อาจไม่ปลอดภัย และควรใช้ภายใต้การดูแลอย่างต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์

เด็ก: เกลือฟอสเฟตมีความปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้ใน ขนาดยาที่แนะนำประจำวันของเด็ก 1-3 ปี คือ 460 มก. สำหรับเด็ก 4-8 ปี คือ 500 มก.และสำหรับเด็กอายุ 9-18 ปี คือ 1250 มก. เกลือฟอสเฟตอาจไม่ปลอดภัยหากขนาดที่บริโภค เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้ด้านบน (UL) เป็น 3 กรัมต่อวันสำหรับเด็ก 1-8 ปี; และ 4 กรัมต่อวันสำหรับเด็กอายุ 9 ปีขึ้นไป

โรคหัวใจ: หลีกเลี่ยงการใช้เกลือฟอสเฟตที่มีโซเดียมหากคุณมีโรคหัวใจ

อาการบวมน้ำ: หลีกเลี่ยงการใช้เกลือฟอสเฟตที่มีโซเดียมหากคุณมีโรคตับแข็ง โรคหัวใจล้มเหลว หรือภาวะอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการบวมน้ำ

ระดับแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia): ใช้เกลือฟอสเฟตอย่างระมัดระวังหากคุณมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง หากใช้ฟอสเฟตมากเกินไป อาจทำให้แคลเซียมที่ไม่ควรอยู่ในร่างกายของคุณเกิดการสะสม

ระดับฟอสเฟตในเลือดสูง: คนที่มีโรคแอดดิสัน (Addison) โรคหัวใจ และโรคปอด โรคไต ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ หรือโรคตับ มีโอกาสในการมีจำนวนฟอสเฟตมากเกินไปมากกว่าคนอื่น ควรใช้เกลือฟอสเฟตตามคำแนะนำและการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพหากคุณมีเงื่อนไขใด ๆ ต่อไปนี้

โรคไต: ใช้เกลือฟอสเฟตตามคำแนะนำและการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับไต

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจาก เกลือฟอสเฟต

เกลือฟอสเฟตสามารถทำให้ระบบทางเดินอาหารระคายเคือง และทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง ท้องผูกและปัญหาอื่น ๆ ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ   โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

เกลือฟอสเฟตอาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาหรือสภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของคุณ ปรึกษากับแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีผลต่อเกลือฟอสเฟต ได้แก่

ไบฟอสฟอเนทส์ (Bisphosphonates)

ไบฟอสฟอเนทส์และเกลือฟอสเฟตสามารถลดระดับแคลเซียมในร่างกายได้ การใช้เกลือฟอสเฟตเป็นจำนวนมากอาจทำให้ระดับแคลเซียมต่ำเกินไป ไบฟอสฟอเนทส์บางชนิด ได้แก่ อะเลนโดรเนต (Alendronate) หรือโฟซาแมกส์ (Fosamax), เอทิโดรเนต (Etidronate) หรือไดโดรเนล (Didronel), ไรเซโดรเนต (Risedronate) หรือแอคโทเนล (Actonel), ทิลูโดรเนท (Tiludronate) หรือสเกลิด (Skelid) และอื่น ๆ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดยาเกลือฟอสเฟตเป็นเท่าใด

ขนาดการใช้ต่อไปนี้มาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

โดยการรับประทาน: สำหรับการเพิ่มระดับฟอสเฟตที่ต่ำเกินไปหรือลดระดับแคลเซียมที่สูงเกินไป: ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะวัดระดับฟอสเฟตและแคลเซียมในเลือด และให้ฟอสเฟตอย่างเพียงพอ

อาหารเสริมประจำวันที่ควารมีฟอสเฟตแนะนำ (RDAs) : เด็ก 1-3 ปี ขนาดยา 460 มก. เด็ก 4-8 ปี ขนาดยา 500 มก.; ชายและหญิงอายุ 9-18 ปี ขนาดยา 1250 มก.; ชายและหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป ขนาดยา 700 มก.

ขนาดการใช้ฟอสเฟตที่เพียงพอสำหรับทารก คือ 100 มก. สำหรับทารกอายุ 0-6 เดือน และ 275 มก. สำหรับทารกอายุ 7-12 เดือน

ระดับฟอสเฟตต่อวัน: เด็ก 1-8 ปี 3 กรัมต่อวัน; เด็กและผู้ใหญ่ 9-70 ปี 4 กรัมต่อวัน; ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี 3 กรัมกรัมต่อวัน; หญิงตั้งครรภ์ 14-50 ปี 3.5 กรัมกรัมต่อวัน; และให้นมบุตรผู้หญิง 14-50 ปี 4 กรัมกรัมต่อวัน

ขนาดการใช้ฟอสเฟตอาจจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อทราบขนาดการใช้ที่เหมาะสม

เกลือฟอสเฟตมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

เกลือฟอสเฟตอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แมกนีเซียมฟอสเฟตเม็ด
  • โพแทสเซียมฟอสเฟตผง
  • เกลือเสริมฟอสเฟต
  • ยาเม็ดไพริดอกซาล-5-ฟอตเฟส (Pyridoxal-5′-Phosphate)

***Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์, การวินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด***

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 07/12/2017

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา