backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โบตั๋น (Peony)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/01/2019

สรรพคุณของโบตั๋น

โบตั๋นเป็นพืชล้มลุก ราก ดอกและเมล็ดที่ใช้ทำยาได้ เวลาที่ได้ยินชื่อ “โบตั๋นแดง” หรือ “โบตั๋นขาว” นี้ไม่ได้หมายถึงสีของดอกแต่เป็นสีของรากโบตั๋น นอกจากนี้ โบตั๋นยังใช้รักษาโรคเกาต์ โรคข้อเข่าเสื่อม ไข้ โรคทางเดินหายใจและไอ สตรีใช้โบตั๋นรักษาตะคริวช่วงมีประจำเดือน โรครังไข่ โรคก่อนมีประจำเดือน (PMS) และกระตุ้นการมีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม โบตั๋นอาจทำให้เกิดการแท้งได้ นอกจากนี้ โบตั๋นยังใช้รักษาไวรัสตับอักเสบ โรคกระเพาะ หงุดหงิด ปวดท้อง ตะคริว ของกล้ามเนื้อ เส้นเลือดแดงแข็งตัว โบตั๋นทำให้อาเจียน นอกจากนี้ โบตั๋นยังใช้สำหรับไอกรน โรคลมชัก ปวดเส้นประสาท ไมเกรนและอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (CFS) โบตั๋นใช้สำหรับการรักษาผิวแตก โดยเฉพาะรอยแตกรอบทวารหนักที่บางครั้งเกิดขึ้นจากโรคริดสีดวงทวาร

กลไกการออกฤทธิ์

งานวิจัยเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของโบตั๋นยังมีไม่มากพอ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า โบตั๋นอาจต่อต้านสารเคมีที่ผลิตโดยร่างกายซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว และยังอาจป้องกันการแข็งตัวของเลือดและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้โบตั๋น:

ปรึกษาแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในขณะให้นมบุตรนั้น ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาอื่น ๆ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารในโบตั๋น ยาอื่น ๆ หรืออาหารเสริมอื่น ๆ
  • มีโรคอื่น ๆ มีความผิดปกติหรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูดหรือเนื้อสัตว์ต่าง ๆ

ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโบตั๋นนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อกำหนดยาอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย การใช้ผลิตภัณฑ์นี้ต้องมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

โบตั๋นปลอดภัยเพียงใด

โบตั๋นอาจปลอดภัยเมื่อใช้รับประทานระยะสั้น ถูกนำมาใช้อย่างปลอดภัยนานถึง 4 สัปดาห์

ข้อควรระวังและคำเตือน

ช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: โบตั๋นอาจไม่ปลอดภัยเมื่อรับประทานระหว่างตั้งครรภ์ งานวิจัยบางชิ้นพบว่าโบตั๋นทำให้มดลูกหดตัว อย่างไรก็ตาม การวิจัยอื่น ๆ พบว่าการใช้โบตั๋นร่วมกับแองเจลิกา (Angelica) อาจปลอดภัย แต่ห้ามใช้โบตั๋นในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร โบตั๋นอาจทำให้เลือดแข็งตัวผิดปกติ เพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดในคนที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ หากมีโรคเลือดไม่ควรใช้

การผ่าตัด: โบตั๋นอาจทำให้เลือดแข็งตัวได้ ดังนั้น อาจเพิ่มโอกาสของการมีเลือดออกในระหว่างและหลังการผ่าตัด ควรหยุดใช้ Peony อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการใช้โบตั๋น:

โบตั๋นทำให้ท้องเสีย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดผื่นเมื่อสัมผัสกับผิวหนังที่บอบบาง ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

ปฏิกิริยาระหว่างยา

โบตั๋นอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือพยาธิสภาพปัจจุบัน ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ที่มีปฏิกิริยาระหว่างโบตั๋น ได้แก่:

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด / ยาต้านเกล็ดเลือด

โบตั๋นอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด การใช้โบตั๋นควบคู่กับยาที่ทำให้การแข็งตัวช้าอาจทำให้โอกาสช้ำและมีเลือดออกเพิ่มมากขึ้น ยาบางชนิดที่ทำให้เลือดแข็งตัว ได้แก่ แอสไพริน คลอพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือพลาวิกส์ (Plavix), ไดโคลเฟนัค (Diclofenac) หรือโวลทาเรน คาตาแฟลม (Voltaren Cataflam) และอื่น ๆ, ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือแอดวิล มอตริน (Advil Motrin) และอื่น ๆ, นาพร็อกเซน (Naproxen) หรืออนาพรอกซ์ นาโพรซิน (Anaprox Naprosyn) หรืออื่น ๆ, ดาลเทพริน (Dalteparin) หรือแฟรกมิน (Fragmin), เอนนอกซาพาริน (Enoxaparin) หรือโลเวนอกซ์ (Lovenox), เฮพาริน (Heparin) วาฟาริน (Warfarin) หรือคูมาดิน (Coumadin) และอื่น ๆ

  • ไฟนีโทอิน (Phenytoin)

รากโบตั๋นอาจลดขนาดยาไฟนีโทอินในร่างกายลง การใช้โบตั๋นควบคู่กับไฟนีโทอินอาจลดประสิทธิภาพของไฟนีโทอิน หรือไดลานติน (Dilantin) และเพิ่มความเสี่ยงของอาการชักได้

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ขนาดปกติสำหรับการใช้โบตั๋น

ขนาดปกติสำหรับการใช้โบตั๋นอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ การใช้โบตั๋นไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสม

โบตั๋นมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

โบตั๋นอาจมีอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูล 600 มิลลิกรัม
  • สารสกัดจากโบตั๋น
  • สารสกัดจากรากโบตั๋น

*** Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาแต่อย่างใด ***

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 04/01/2019

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา