backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ไวน์ (Wine)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

สรรพคุณของไวน์

ไวน์เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากองุ่นหมัก

ไวน์ใช้เพื่อป้องกันโรคของหัวใจ และระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง ไวน์ยังใช้เพื่อป้องกันการลดลงของทักษะการคิดภายหลังโรคอัลไซเมอและเบาหวานชนิดที่ 2

บางคนใช้ไวน์เพื่อลดความวิตกกังวล กระตุ้นความอยากอาหาร ปรับปรุงการย่อยอาหารโดยการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร

ไวน์ถูกนำมาใช้โดยตรงกับผิวหนังเพื่อช่วยในการรักษาบาดแผล และแก้ปัญหาการก่อตัวใกล้กับข้อต่อ ที่บางครั้งเกิดขึ้นกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

กลไกการออกฤทธิ์

ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีใช้งานของไวน์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม แต่ก็มีข้อค้นพบว่าไวน์มี แอลกอฮอล์เอทานอล ซึ่งบล็อกทางเดินเส้นประสาทต่างๆในสมอง นอกจากนี้ยังมีสารเคมีที่อาจมีประโยชน์ต่อหัวใจและการไหลเวียนของโลหิต เช่น สารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการก่อตัวเป็นก้อนของเกล็ดเลือด

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะใช้ไวน์

ปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณในกรณี:

  • กำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นช่วงที่ควรใช้ยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • กำลังใช้ยาประเภทอื่น รวมถึงยาทุกชนิดที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในไวน์ หรือยาและสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพ
  • เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์
  • ข้อกำหนดในการใช้อาหารเสริมสมุนไพรมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป แต่ควรศึกษาให้รอบคอบเพื่อรับรองความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร ว่าควรเกิดคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย และควรปรึกษาแพทย์หรือหมอสมุนไพรเพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม

    ความปลอดภัยในการใช้ไวน์

    ไวน์มีแนวโน้มปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่เมื่อรับประทาน 2 แก้ว (ห้าออนซ์) ต่อวัน หลีกเลี่ยงปริมาณการใช้ที่มากขึ้น

    ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

    หญิงตั้งครรภ์และผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร:  การดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดความบกพร่องที่ร้ายแรงอื่น ๆ ต่อทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสองเดือนแรก และมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการคลอดก่อนกำหนด อาการของโรคจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของทารกในครรภ์ เช่น พัฒนาการและความผิดปกติหลังคลอด ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างตั้งครรภ์

    ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างให้นมบุตร แอลกอฮอล์สามารถเข้าสู่นมแม่และอาจทำให้เกิดพัฒนาการที่ผิดปกติของทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประสานงาน ทั้งทางด้านจิตใจและกล้ามเนื้อ เช่นความสามารถในการพลิกกลับ แอลกอฮอล์รบกวนรูปแบบการนอนหลับของทารกได้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังลดการผลิตน้ำนมอีกด้วย

    โรคหอบหืด: การดื่มไวน์มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด ซึ่งเกิดจากสารซาลิไซเลตในไวน์

    โรคเกาต์: การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้โรคเกาต์รุนแรงขึ้น

    ภาวะหัวใจ: ในขณะที่มีหลักฐานว่าการดื่มไวน์ด้วยความระมัดระวังอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลว แต่ไวน์เป็นอันตรายกับผู้ที่มีอาการนี้อยู่เดิม การใช้แอลกอฮอล์ทำให้อาการเจ็บหน้าอกและหัวใจล้มเหลวรุนแรงขึ้น

    ความดันโลหิตสูง: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 แก้วหรือมากกว่าต่อวัน สามารถเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นได้

    ระดับไขมันในเลือดสูงหรือไตรกลีเซอไรด์ (hypertriglyceridemia): การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้ภาวะนี้แย่ลง

    ปัญหาการนอนไม่หลับ: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การนอนไม่หลับรุนแรงขึ้น

    โรคตับ: การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้โรคตับรุนแรงขึ้น

    ภาวะประสาทวิทยา: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความผิดปกติบางอย่างในระบบประสาทรุนแรงขึ้น

    ภาวะของตับอ่อนอักเสบ: การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ตับอ่อนอักเสบรุนแรงขึ้น

    แผลในกระเพาะอาหารหรือโรคกรดไหลย้อน gastroesophageal (GERD): การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้อาการเหล่านี้รุนแรงขึ้น

    ภาวะเลือดเรียกว่า porphyria: การใช้แอลกอฮอล์ทำให้ porphyria รุนแรงขึ้น

    ปัญหาทางจิต: การดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 3 แก้วขึ้นไปต่อวัน อาจทำให้ปัญหาสุขภาพจิตแย่ลงและลดความสามารถในการคิด

    การผ่าตัด: ไวน์สามารถชะลอระบบประสาทส่วนกลางได้ การใช้ไวน์กับยาการระงับความรู้สึก และยาอื่น ๆ ที่ใช้ระหว่างและหลังการผ่าตัดอาจทำให้ระบบประสาทส่วนกลางลดการรับรู้ลงมาก หยุดดื่มไวน์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการผ่าตัด

    ผลข้างเคียง

    ไวน์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น

    ปริมาณการใช้ยาที่มากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการสับสน หมดสติ ชัก อาเจียน ท้องร่วงและปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ

    การดื่มไวน์เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงหลายอย่างเช่น ปัญหาทางจิต ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ปัญหาตับปัญหาตับอ่อน และมะเร็งบางชนิด

    อย่างไรก็ตาม  ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนและอาจมีอาการจากผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือ แพทย์

    ปฏิกิริยาระหว่างการใช้ยา

    ไวน์อาจทำปฏิกิริยากับยาที่กำลังใช้หรือมีผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนใช้

    ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำปฏิกิริยากับไวน์ เช่น:

  • Chlorpropamide (Diabinese)
  • ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์ในไวน์เพื่อทำการกำจัดออกจากร่างกาย และ Chlorpropamide (Diabinese) สามารถลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงได้อย่างรวดเร็ว การดื่มไวน์และรับประทาน chlorpropamide (Diabinese) อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะอาเจียน และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ไม่ควรใช้ร่วมกัน

    • Cisapride (Propulsid)

    Cisapride (Propulsid) สามารถลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงได้อย่างรวดเร็ว การใช้ cisapride (Propulsid) พร้อมกับไวน์อาจเพิ่มผลข้างเคียงจากแอลกอฮอล์

    • Cyclosporine (Neoral Sandimmune)

    ไวน์อาจเพิ่มปริมาณการใช้ยา cyclosporine (Neoral Sandimmune) ที่ร่างกายดูดซึม การรับประทานไวน์พร้อมกับ cyclosporine (Neoral Sandimmune) อาจเพิ่มผลข้างเคียงของ cyclosporine มากขึ้น

    • Disulfiram (Antabuse)

    ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์ในไวน์เพื่อทำการกำจัดออกจากร่างกาย แต่ Disulfiram (Antabuse) ยิ่งทำให้การลดลงนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว การดื่มแอลกอฮอล์และใช้ disulfiram (Antabuse) อาจทำให้ปวดหัวอย่างรุนแรง อาเจียน และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ถ้าคุณรับประทาน disulfiram (antabuse)

    • Felodipine (Plendil)

    ไวน์แดงสามารถหยุดวิธีการดูดซึม felodipine การดื่มไวน์แดงในขณะที่ใช้ยา felodipine เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงอาจทำให้ความดันโลหิตของคุณต่ำเกินไป

    • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (MAOIs)

    ไวน์มีสารเคมีที่เรียกว่า tyramine ซึ่งหากมีจำนวนมากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และร่างกายจะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อที่จะกำจัดมันออกไปไม่ให้ tyramine ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ยาบางชนิดที่ใช้ในภาวะซึมเศร้า ได้แก่ phenelzine (Nardil) tranylcypromine (Parnate) และอื่น ๆ

    • ยาแก้ปวด

    ร่างกายย่อยยาแก้ปวดบางชนิดเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย ร่างกาย แอลกอฮอล์ในไวน์อาจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายได้รับยาแก้ปวดบางชนิด  การ รับประทานยาดังกล่าวพร้อมกับไวน์อาจเพิ่มผลข้างเคียงของยามากขึ้น

    ยาบางอย่างสำหรับอาการปวด ได้แก่ meperidine (Demerol) hydrocodone morphine OxyContin และอื่น ๆ

    ยาที่เป็นอันตรายต่อตับ (Hepatotoxic drugs) มีปฏิกิริยากับไวน์

    แอลกอฮอล์ในไวน์อาจเป็นอันตรายต่อตับ การดื่มไวน์พร้อมกับยาที่เป็นอันตรายต่อตับสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายของตับได้ ห้ามดื่มไวน์ถ้าคุณรับประทานยาที่เป็นอันตรายต่อตับ

    ยาบางชนิดที่สามารถทำร้ายตับ ได้แก่ acetaminophen (Tylenol และอื่น ๆ ) amiodarone (cordarone) carbamazepine (Tegretol) isoniazid (INH) methotrexate (Rheumatrex) methyldopa (Aldomet) fluconazole (Diflucan) itraconazole (sporanox) erythromycin (Erythrocin Ilosone อื่น ๆ ) phenytoin (Dilantin) lovastatin (Mevacor) pravastatin (Pravachol) simvastatin (Zocor) และอื่น ๆ

     Metformin (Glucophage)

    Metformin (Glucophage) ถูกทำลายในตับ เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ในไวน์  การดื่มไวน์และการใช้ยา metformin (Glucophage) อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

    • Metronidazole (Flagyl)

    แอลกอฮอล์ในไวน์มีปฏิกิริยากับ metronidazole (Flagyl) อาจทำให้มีการอาเจียน เหงื่อออก ปวดศีรษะและหัวใจเต้นแรงขึ้น อย่าดื่มไวน์ขณะที่รับประทาน metronidazole (Flagyl)

  • Phenytoin (Dilantin)
  • ร่างกายย่อย phenytoin (Dilantin) เพื่อกำจัดออกไปซึ่งแอลกอฮอล์ในไวน์อาจช่วยให้การทำลายสาร phenytoin (Dilantin)เป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การดื่มไวน์และการใช้ phenytoin (Dilantin) อาจลดประสิทธิภาพของ phenytoin (Dilantin) และมีโอกาสชักสูง

    • ยากล่อมประสาท (Barbiturates)

    แอลกอฮอล์ในไวน์อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนเรียกว่ายากล่อมประสาท การรับประทานไวน์และยากล่อมประสาทอาจทำให้ง่วงนอนได้มากขึ้น

    • ยากล่อมประสาท (Benzodiazepines)

    บางส่วนของยาเหล่านี้ ได้แก่ clonazepam (Klonopin) diazepam (Valium) lorazepam (Ativan) และอื่น ๆ

    • ยากล่อมประสาท (CNS)

    บางส่วนของยา ได้แก่ clonazepam (Klonopin) lorazepam (Ativan) phenobarbital (Donnatal) zolpidem (Ambien) และอื่น ๆ

    • ยาปฏิชีวนะ

    แอลกอฮอล์ในไวน์สามารถทำปฏิกิริยากับยาปฏิชีวนะบางชนิดได้ และทำให้อารมณ์เสีย อาเจียน เหงื่อ  ปวดศีรษะและหัวใจเต้นแรง ไม่ควรดื่มเหล้าไวน์ในขณะที่รับประทานยาปฏิชีวนะได้แก่ metronidazole (Flagyl) sulfamethoxazole (Gantanol), sulfasalazine (Azulfidine), sulfisoxazole (Gantrisin), trimethoprim/sulfamethoxazole (Bactrim, Septra),

    • แอสไพริน

    แอสไพรินบางครั้งอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกระเพาะอาหารและทำให้เกิดแผลและมีเลือดออกได้ แอลกอฮอล์ในไวน์อาจทำให้กระเพาะอาหารเสียหายได้เช่นกัน การใช้แอสไพรินร่วมกับไวน์อาจเพิ่มโอกาสเป็นแผลและมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานไวน์และแอสไพรินร่วมกัน

    • Cefamandole (Mandol)

    แอลกอฮอล์ในไวน์สามารถทำปฏิกิริยากับยาcefamandole (mandol) อาจทำให้อาเจียน เหงื่อออก ปวดศีรษะ และหัวใจเต้นแรงขึ้น ไม่ควรดื่มไวน์ขณะรับประทาน cefamandole (mandol)

    • Cefoperazone (Cefobid)

    แอลกอฮอล์ในไวน์สามารถทำปฏิกิริยากับยาcefoperazone (cefobid) อาจทำให้อาเจียน เหงื่อออก ปวดศีรษะ และหัวใจเต้นแรงขึ้น ไม่ควรดื่มไวน์ขณะรับประทาน cefoperazone (cefobid)

    • Erythromycin

    ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์ในไวน์เพื่อกำจัดออกไป Erythromycin สามารถลดความสามารถในการกำจัดแอลกอฮอล์ลงได้อย่างรวดเร็ว การดื่มไวน์และการใช้ erythromycin อาจเพิ่มผลข้างเคียงของแอลกอฮอล์

    • Griseofulvin (Fulvicin)

    ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์ในไวน์เพื่อกำจัดออกไป Griseofulvin (Fulvicin) ช่วยลดปริมาณ แอลกอฮอล์ลงได้อย่างรวดเร็ว การการใช้ยาดังกล่าวร่วมกัน อาจทำให้ปวดหัวอาเจียน และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ได้ ไม่ควรดื่มไวน์ขณะรับประทาน griseofulvin

    • ยาที่ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (H2-Blockers)

    ยาลดกรดในกระเพาะบางชนิดอาจมีผลต่อแอลกอฮอล์ในไวน์ การดื่มไวน์พร้อมด้วยยาดังกล่าว อาจเพิ่มปริมาณแอลกอฮอล์ที่ร่างกายดูดซึมและเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    ยาลดกรดในกระเพาะอาหารบางชนิด ได้แก่ cimetidine (Tagamet) ranitidine (Zantac) nizatidine (Axid) และ famotidine (Pepcid)

  • NSAIDs (ยารักษาการอักเสบ nonsteroidal)
  • NSAIDs เป็นยารักษาการอักเสบที่ใช้ในการลดอาการปวด และบวม NSAIDs บางครั้งอาจทำให้เกิดความเสียหายในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดแผลและมีเลือดออก เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ในไวน์ หลีกเลี่ยงการดื่มไวน์และ NSAIDs ร่วมกัน

    NSAIDs บางชนิดประกอบด้วย ibuprofen (Advil Motrin Nuprin อื่น ๆ ) indomethacin (Indocin) naproxen (Aleve Anaprox Naprelan Naprosyn) piroxicam (Feldene) แอสไพรินและอื่น ๆ

    • Tolbutamide (Orinase)

    ร่างกายย่อยแอลกอฮอล์ในไวน์เพื่อกำจัดออกไป และTolbutamide (Orinase) สามารถลดปริมาณแอลกอฮอล์ลงได้อย่างรวดเร็ว การดื่มไวน์พร้อมกับการรับประทาน tolbutamide (Orinase) อาจทำให้ปวดหัว อาเจียน และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มไวน์ถ้าคุณรับประทาน tolbutamide (orinase)

    • Warfarin (Coumadin)

    Warfarin (Coumadin) ใช้ในการชะลอการแข็งตัวของเลือด แอลกอฮอล์ในไวน์สามารถมีปฏิกิริยาและเปลี่ยนประสิทธิผลของ warfarin (Coumadin) ควรตรวจเลือดเป็นประจำ และเปลี่ยนแปลงปริมาณ Warfarin

    ปริมาณการใช้ยา

    ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ปรึกษาแพทย์ประจำตัวหรือแพทย์ของคุณก่อนที่จะใช้ยานี้

    ปริมาณยาทั่วไปสำหรับไวน์

    ปริมาณการใช้ยา: เครื่องดื่มแอลกอฮอล์หนึ่งแก้วมีขนาดเท่ากับแก้ว 4 ออนซ์ หรือ 120 มล. แก้วเบียร์ 12 ออนซ์หรือสุรา 1 ออนซ์

    ปริมาณการใช้ต่อไปนี้ได้รับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์:

    การรับประทาน:

    เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง: ดื่ม1-2 แก้ว (120-240 มล.) ต่อวัน

    สำหรับการลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจล้มเหลว: ดื่มได้ถึงสี่แก้วต่อวัน

    เพื่อลดการสูญเสียทักษะการคิดในผู้ชายที่มีอายุมาก: ดื่มได้ 1 แก้วต่อวัน

    สำหรับการลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ในผู้ชายที่มีสุขภาพดี: ระหว่าง 2 แก้วต่อสัปดาห์ถึง และสามหรือสี่แก้วต่อวัน

    เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจในคนที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2: ดื่มได้ถึง 7 แก้วต่อสัปดาห์

    เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นแผลที่เรียกว่า Helicobacter pylori: ดื่มได้มากกว่า 75 กรัม

    ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้สมุนไพรชนิดนี้ในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

    รูปแบบของไวน์

    ไวน์อาจมีอยู่ในรูปแบบยาต่อไปนี้:

    • ไวน์
    • แคบซูลสารสกัดจากไวน์แดง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 09/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา