banner

สุขภาพคุณแม่น่ารู้

เคล็ดลับดูแลคุณแม่

เต้านม ของคุณแม่จะเปลี่ยนไปหรือไม่ หลังให้นมลูก

ขนาดและรูปทรงของ เต้านม สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดชีวิตของผู้หญิง โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ และช่วงให้นมลูก การเปลี่ยนแปลงของ เต้านม คุณแม่ เมื่อให้นมลูก การ ให้นมลูก ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากจากการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ไม่เคยให้นมลูกอาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจกำลังมีคำถามว่าหลังให้นมลูก เต้านมจะเปลี่ยนแปลงไปหรือเปล่า การเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านมนั้น ขึ้นอยู่กับว่ามีเนื้อเยื่อไขมันมากแค่ไหน และการสร้างน้ำนมจะสร้างเนื้อเยื่อหนาแน่น (Denser Tissue) ในเต้านม โดยหลังจาก ให้นมลูก ทั้งกล้ามเนื้อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ในเต้านมอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเต้านมของผู้หญิงหลัง ให้นมลูก อาจเปลี่ยนขนาดและรูปทรง เช่น มีขนาดและรูปร่างเหมือนกับตอนก่อนให้นมลูก หรือผู้หญิงบางคนมีเต้านมใหญ่ขึ้น และบางคนมีขนาดลดลง อย่างไรก็ตาม มีคุณแม่หลายคนที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับเต้านมเลย มากไปกว่านั้น เรื่องความหย่อนคล้อยหรือความเต่งตึงของเต้านมนั้น มักจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ด้านพันธุศาสตร์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ และอายุ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถทำให้เต้านมของคุณแม่ เกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ เต้านม หย่อนคล้อย เวลา ให้นมลูก การผลิตน้ำนม สามารถทำให้ผิวและเนื้อเยื่อบริเวณเต้านมขยาย และหลังจากหยุดให้นมลูก โครงสร้างการผลิตน้ำนมอาจหดตัวกลับมาสู่ขนาดปกติ เหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์ จึงอาจทำให้เกิดปัญหาเต้านมหย่อนคล้อย ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย อย่างไรก็ตาม […]

เตรียมพร้อมเป็นคุณแม่

เตรียมตัวก่อนคลอด

ระหว่างตั้งครรภ์

คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร และวิธีนับอายุครรภ์

คํานวณอายุครรภ์ ด้วยตัวเองสามารถทำได้ไม่ยาก แต่คุณแม่ควรมีรอบเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ มีการจดบันทึกประจำเดือนเป็นประจำ และจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้ จึงจะคํานวณอายุครรภ์ได้ และนอกจากการคํานวณอายุครรภ์ วิธีนับอายุครรภ์ที่ถูกต้อง ก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้คุณแม่ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความสมบูรณ์ของเด็ก อีกทั้งดูแลสุขภาพร่างกายให้เหมาะสมในแต่ละไตรมาส การทราบอายุครรภ์ยังช่วยให้แพทย์วางแผนการตรวจครรภ์  [embed-health-tool-due-date] คํานวณอายุครรภ์ ทำได้อย่างไร  วิธีคํานวณอายุครรภ์ ทำได้โดยคำนวณจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ไม่ได้นับตามวันที่ปฏิสนธิ เป็นการนับอายุครรภ์จากประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยการคํานวณอายุครรภ์ด้วยตัวเอง ทำให้คุณแม่สามารถวางแผนเรื่องการฝากครรภ์ได้ตามเวลาที่เหมาะสม เมื่อคุณแม่ใช้ที่ตรวจครรภ์แล้วพบว่า ตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ทันทีไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ ดังนี้ ฝากครรภ์เร็วเพื่อคัดกรองความเสี่ยง  ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ หากแพทย์พบว่า การตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงจะส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดูแลเฉพาะบุคคลได้อย่างรวดเร็ว เมื่อฝากครรภ์แล้ว แพทย์จะตรวจคัดกรองและตรวจยืนยัน โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กำเนิด คัดกรองเบาหวาน  ตรวจอนามัยในช่องปาก ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจอัลตร้าซาวด์ และตรวจครรภ์  แพทย์จะช่วยประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสม การฝากครรภ์คุณภาพ จะได้รับความรู้ตามมาตรฐานโรงเรียนพ่อแม่ วิธีนับอายุครรภ์ เมื่อทราบถึงการคํานวณอายุครรภ์ในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์แล้ว คุณแม่ควรฝึกนับอายุครรภ์หรือคํานวณอายุครรภ์เป็นรายสัปดาห์ วิธีนับอายุครรภ์ของแพทย์ มักจะนับเป็นรายสัปดาห์ เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ หากคุณแม่คํานวณอายุครรภ์เองได้ จะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม โดยการคํานวณอายุครรภ์ […]

การคลอด

อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร ควรบรรเทาอาการอย่างไร

คุณแม่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป อาจเริ่มมี อาการใกล้คลอด เช่น ปวดหน่วง หายใจลำบาก บางคนอาจเริ่มรู้สึกเจ็บท้องอย่างมากเนื่องจากมดลูกมีการหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมสำหรับการคลอด ดังนั้น คุณแม่จึงควรศึกษาว่า อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง เป็นอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-due-date] อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คืออะไร อาการใกล้คลอด ปวดหน่วง คือ สัญญาณเตือนหลักที่ช่วยทำให้คุณแม่ทราบว่าใกล้ถึงช่วงเวลาคลอดบุตร โดยอาการใกล้คลอดที่ทำให้ปวดหน่วงมีสาเหตุมาจากการที่มดลูกขยายกว้างและหดตัวเป็นช่วง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดบุตร ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ทารกจะเริ่มกลับหัวและเคลื่อนตัวไปอยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าหน้าท้องตึงกว่าปกติ ร่วมกับอาการมดลูกขยายและหดตัวในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 30-45 วินาทีต่อครั้ง ส่งผลให้รู้สึกเจ็บท้องเล็กน้อยคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน และอาจมีสารคัดหลั่งสีชมพูใสหรือมีเลือดไหลออกมาเล็กน้อย ระยะที่ 2 เป็นระยะที่จำเป็นต้องเข้ารับการประเมินกับคุณหมอว่าใกล้ถึงเวลาคลอดหรือไม่ และอาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อเตรียมคลอด โดยในระยะนี้มดลูกจะเริ่มขยายและหดตัวถี่มากขึ้นและยาวนานขึ้น ประมาณ 30 วินาที ไปจนถึง 1 หรือ 2 นาทีต่อครั้ง โดยในระหว่างการรอให้ปากมดลูกขยายกว้างกว่า 8 […]

ไตรมาสที่ 1

มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน เกิดจากสาเหตุใด ผิดปกติหรือไม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มี มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน อาจสงสัยว่าว่าเกิดจากสาเหตุใด และเป็นอันตรายหรือไม่ โดยทั่วไปแล้วอาการเลือดออกตอนท้อง1เดือน ซึ่งเป็นระยะแรกของการตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การมีเพศสัมพันธ์ การตรวจภายใน หรือเกิดจากปัจจัยที่ร้ายแรงกว่า เช่น การติดเชื้อ การแท้งบุตร การท้องนอกมดลูก การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คุณแม่ที่มีเลือดออกตอนท้อง1เดือนจึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-due-date] มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน ผิดปกติหรือไม่มี อาการมีเลือดออกตอนท้อง1เดือน หรือในช่วง 3 เดือน (12 สัปดาห์) แรกของการตั้งครรภ์ หรือที่เรียกว่าการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (First Trimester) ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็อาจมีเลือดออกในไตรมาสอื่น ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาการเลือดออกในไตรมาสอื่น ๆ นั้น อาจเกิดจากปัญหาที่ร้ายแรงกว่า เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะรกเกาะต่ำ การคลอดก่อนกำหนด ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ที่มีเลือดออกตอนท้อง1เดือนสามารถอุ้มท้องต่อไปได้โดยไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด และสามารถคลอดลูกที่มีสุขภาพแข็งสมบูรณ์ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม อาการเลือดออกจากช่องคลอดขณะท้องก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะผิดปกติได้เช่นกัน ดังนั้น หากคุณแม่มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน หรือในช่วงอื่น ๆ ของการตั้งครรภ์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน เกิดจากสาเหตุใด อาการมีเลือดออกตอนท้อง1เดือน อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) เป็นเลือดที่เกิดจากตัวอ่อนฝังตัวเข้ากับผนังมดลูกหลังการปฏิสนธิ มักไหลออกจากช่องคลอดไม่เกิน […]

ไตรมาสที่ 3

คุณแม่ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และควรผ่าคลอดในกรณีใดบ้าง

การผ่าคลอด (Cesarean section หรือ C-section) เป็นการผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง มักใช้ในกรณีที่คุณแม่หรือทารกในครรภ์อาจเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพหากคลอดตามธรรมชาติ แม้การผ่าคลอดจะพบได้ทั่วไป แต่หลายคนก็อาจสงสัยว่า คุณแม่สามารถ ผ่าคลอดได้กี่ครั้ง และการผ่าคลอดควรทำในกรณีใดบ้าง โดยทั่วไปแนะนำไม่ให้คุณแม่ผ่าคลอดเกิน 3 ครั้งเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับคุณแม่และทารกแรกเกิด และคุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาว่าภาวะสุขภาพของคุณแม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าคลอดหรือไม่ [embed-health-tool-due-date] การผ่าคลอดใช้ในกรณีใดบ้าง ทางเลือกในการผ่าคลอดอาจแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. การผ่าคลอดแบบวางแผนมาก่อนล่วงหน้า จะใช้ในกรณีต่อไปนี้ คุณแม่เคยผ่าคลอด เพราะในบางกรณี หากเคยผ่าคลอดแล้ว ครั้งต่อไปจะเปลี่ยนไปคลอดธรรมชาติ อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มดลูกแตก คุณหมอจึงอาจแนะนำให้ใช้วิธีผ่าคลอด คุณแม่มีภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta Previa) ที่ทำให้รกบังปากมดลูกบางส่วนหรือทั้งหมดเอาไว้ และเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกมากเกินไปหากคลอดธรรมชาติ ทารกอยู่ในท่าก้น (Breech Presentation) เป็นท่าที่ทารกเอาก้นหรือขาเป็นส่วนนำ ไม่กลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ตามปกติ ทำให้ไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ ทารกอยู่ในท่าขวาง (Transverse Presentation) เป็นท่าที่ทารกนอนขวางอยู่ในมดลูก ทำให้ไม่สามารถกกลับศีรษะลงมาที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่เพื่อคลอดธรรมชาติได้ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด โดยเฉพาะเมื่อทารกอยู่ในท่าก้น ทั้งนี้ คุณแม่ที่มีภาวะดังกล่าวอาจไม่จำเป็นต้องผ่าคลอดเสมอไป คุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพและความต้องการของตัวเองได้ 2. การผ่าคลอดแบบไม่ได้วางแผนมาก่อน จะใช้ในกรณีต่อไปนี้ ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ ศีรษะของทารกไม่เคลื่อนลงมาที่อุ้งเชิงกรานและติดอยู่ในกระดูกอุ้งเชิงกราน ทำคลอดตามปกติไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกหดตัวได้ไม่ดี […]

เตรียมตัวก่อนคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปั๊มนม ให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร และวิธีเก็บน้ำนมแม่ที่เหมาะสม

ปั๊มนม เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคุณแม่มือใหม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่จะต้องกลับไปทำงานหลังครบกำหนดลาคลอด จำเป็นต้องปั๊มนมเก็บเอาไว้ให้ลูกน้อยกินระหว่างวัน คุณแม่มักเริ่มปั๊มนมทันทีหลังจากที่ลูกคลอด โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลซึ่งมักจะมีพยาบาลมืออาชีพคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปั๊มนม นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่ควรศึกษาถึงขั้นตอนการปั๊ม การเก็บรักษา และวิธีการนำนมที่ปั๊มเก็บไว้มาให้ลูกน้อยดื่มเพิ่มเติมอีกด้วย ข้อควรรู้ในการ ปั๊มนม เวลาในการปั๊มนม คุณแม่ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะปั๊มนมในตอนเช้า แต่ทั้งนี้ เวลาในการปั๊มนมอาจขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณแม่แต่ละคน การปั๊มนมอาจทำหลังจากให้นมลูก 30-60 นาที หรือก่อนให้นมลูกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ภายใน 24 ชั่วโมงคุณแม่อาจปั๊มน้ำนมได้ถึง 8-10 ครั้ง โดยปริมาณนมแม่ที่เหมาะสมคือวันละ 750-1,035 มิลลิลิตร การให้นมลูกไปด้วย ปั๊มนมไปด้วย อาจไม่เหมาะกับคุณแม่บางคน คุณแม่จึงอาจปั๊มนมหลังจากให้นมลูก 1 ชั่วโมงแทน คุณแม่และลูกน้อยแต่ละครอบครัวมีกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรจัดเวลาในการปั๊มนมให้เหมาะกับตัวเอง วิธีปั๊มนม โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่มักเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมตามงบประมาณและความชอบเป็นหลัก และเครื่องปั๊มนมมักมีคู่มือวิธีการใช้มาให้ด้วย แต่โดยหลักๆ แล้ววิธีปั๊มนมทำได้ดังนี้ อ่านคู่มือการใช้เครื่องปั๊มนมให้ละเอียด นั่งในท่าสบายๆ ตรวจสอบอุปกรณ์การปั๊มนมให้เรียบร้อย เครื่องปั๊มนมต้องพอดีกับเต้านมคุณแม่ การปั๊มนม จะคล้ายเวลาให้นมลูก คุณแม่สามารถปรับระดับขณะใช้เครื่องปั๊มนมได้ การปั๊มนม ต้องไม่เจ็บ เวลาปั๊มนมลูกต้องไม่รู้สึกเจ็บ คุณแม่อาจมีความรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือรู้สึกไม่สบายตัวได้ แต่ไม่ควรถึงขั้นเจ็บ หากรู้สึกเจ็บ ต้องลองเปลี่ยนที่ปั๊มนม ให้เป็นขนาดที่เหมาะสมกับหน้าอก […]

เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพอื่น ๆ
ดูทั้งหมด

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ดูแลคุณแม่หลังคลอด

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน