โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ติดนิสัยชอบกินหวาน ทั้งชานมไข่มุก น้ำอัดลม ขนมเค้ก หรือแม้แต่สายรักคาร์บทั้งหลาย คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ หากไม่รู้จักการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี เรียนรู้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การดูแลรักษา การป้องกัน และการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ DM type 2 คือ อะไร

DM type 2 คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป เมื่ออินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม จึงควรหมั่นสังเกตอาการและดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน DM type 2 คือ อะไร DM type 2 หรือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน โดยปกติแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน แต่หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จะทำให้การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ผิดปกติ จึงไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ตับอ่อนจึงต้องพยายามสร้างอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อมาชดเชย เมื่อเวลาผ่านไป […]

สำรวจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่ 2 กับการดูแลเรื่องอาหารให้สมดุล

เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น กระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษา หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจ โรคไต ภาวะเส้นประสาทเสื่อม [embed-health-tool-heart-rate] ทำความรู้จักโรคเบาหวาน1 โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งแบ่งได้ 2 ชนิดคือ เบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินที่ผลิตออกมาได้อย่างมีประสิทธิภา อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นอาการจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานดังนั้น หากเพิ่งเริ่มเป็นหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงนัก อาจจะยังไม่มีอาการเเสดงให้สังเกตุได้ชัดเจน และบางครั้งอาจใช้เวลาหลายปี กว่าจะปรากฏอาการให้เห็น ซึ่งมีดังนี้ กระหายน้ำ และความอยากอาหารเพิ่มมากขึ้น ปัสสาวะบ่อยขึ้น รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยเมื่อยล้า แผลหายช้า  รู้สึกชาหรือมีอาการเสียวแปล๊บ ๆ ซ่า ๆตามปลายมือและเท้า ผิวบริเวณข้อพับ เช่น […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานชนิดที่2 อาการ สาเหตุ การรักษา

เบาหวานชนิดที่2 เกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลิน หรือร่างกายอาจผลิตอินซูลินได้ไม่ดีพอ ซึ่งอินซูลินทำหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เมื่อเซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้เซลล์รับน้ำตาลได้น้อยลง จนอาจทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูง และอาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ โดยเบาหวานชนิดที่2 เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคเบาหวาน โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี แต่เด็กที่เป็นโรคอ้วนก็อาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้เช่นกัน เบาหวานชนิดที่2 คืออะไร เบาหวานชนิดที่2 เกิดจากการที่ร่างกายมีความบกพร่องในการควบคุมและใช้น้ำตาล โดยร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท และภูมิคุ้มกัน ปกติแล้ว อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนจากตับอ่อน มีหน้าที่ในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์ เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงาน นำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อและเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย แต่หากเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง จึงทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ เบาหวานชนิดที่2 อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงต้องใช้ยารักษาโรคเบาหวาน หรือการรักษาอินซูลินควบคู่ไปด้วย โรคเบาหวานชนิดที่2 อาจพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่เด็กที่เป็นโรคอ้วนก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 ได้เช่นกัน  อาการของเบาหวานชนิดที่2 สำหรับอาการของเบาหวานชนิดที่2 อาจได้แก่ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง มองเห็นภาพซ้อน ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในช่วงตอนกลางคืน กระหายน้ำตลอดเวลา รู้สึกชาที่มือหรือเท้า รู้สึกหิวตลอดเวลา […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) อาการ ภาวะแทรกซ้อน การป้องกัน

Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) คือ โรคเบาหวานที่มีสาเหตุหลักมาจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่การตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ร่างกายบกพร่อง จึงทำให้ไม่สามารถนำน้ำตาลในกระเเสเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น จนนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ผู้ที่เสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เเก่ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี รวมไปถึงผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary lifestyle) ไม่ค่อยออกกำลังกาย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตับอ่อน ทำให้ผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ เเละมักพบตั้งเเต่วัยเด็กจนถึงช่วงวัยรุ่น ภาวะแทรกซ้อน Type 2 diabetes (เบาหวานชนิดที่ 2) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 หากไม่ควบคุมให้ดี อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายเสื่อมลง จึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง  ภาวะเบาหวานขึ้นตา หากคุมเบาหวานได้ไม่ดี นอกจากเส้นเลือดทั่วทั้งร่างกายจะเสื่อมแล้ว ยังทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตาเสียหายได้ด้วย จนทำให้เกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะจอประสาทตาเสื่อม รวมทั้งโรคต้อหิน เเละโรคต้อกระจก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจรุนเเรงจนทำให้ตาบอดได้ เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เมื่อควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่

การ ฝังเข็ม เป็นหนึ่งในการรักษาตามศาสตร์ดั้งเดิมของทางแพทย์แผนจีน อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอ และเข้ารับการฝังเข็มจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเท่านั้น [embed-health-tool-bmi] ฝังเข็มรักษาเบาหวาน ได้จริงหรือไม่ การฝังเข็มอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น การการศึกษาของประเทศจีนในปี พ.ศ. 2561  พบว่า หนูทดลองที่เป็นเบาหวานกลุ่มที่ได้รับการฝังเข็มเป็นระยเวลา 3 สัปดาห์ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง เเละ มีระดับอินซูลินที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2559 วารสารการฝังเข็มทางการแพทย์ ปีพ.ศ. 2559 ได้กล่าวถึง การฝังเข็มรักษาเบาหวานว่า อาจเป็นทางเลือกในการรักษาหนึ่งที่ช่วยเเก้ไขภาวะดื้ออินซูลิน และช่วยกระตุ้นความไวของอินซูลินระยะยาวได้ แต่ทั้งนี้การดูแลตนเองอย่างถูกต้องด้วยการควบคุมน้ำหนัก หมั่นออกกำลังกาย วางแผนรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงของภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ รูปแบบการฝังเข็มที่แพทย์แผนจีนเลือกใช้ อาจพิจารณาตามความเหมาะสม ดังนี้ การฝังเข็มใช้แรงกระตุ้นจากไฟฟ้า การฝังเข็มแบบสมุนไพร การฝังเข็มตามจุดที่เชื่อมโยง ข้อดีของการฝังเข็มที่ผู้ป่วยเบาหวานควรรู้ ผู้ป่วยเบาหวานที่ทำการรักษาด้วยเทคนิคฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีนอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น โดยพบว่าอาจช่วยปกป้องเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน ลดภาวะดื้ออินซูลินได้ และมีส่วนช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนหลายชนิด เช่น เมลาโทนิน (Melatonin) อินซูลิน (Insulin) กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticold) เอพิเนฟรีน (Epinephrine) ได้อีกด้วย ความเสี่ยงของการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ก่อนชจะตัดสินใจรับการฝังเข็มรักษาเบาหวาน ควรศึกษาความเสี่ยงของการฝังเข็มด้วย โดยความเสี่ยงที่พบได้ อาจมีดังนี้ ความเจ็บ อาจมีรอยช้ำตามจุดที่ปักเข็มลงไป เลือดออก เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนจากการฝังเข็มรักษาเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF ทำได้อย่างไรบ้าง

ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สามารถบ่งบอกได้ว่า เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ หากวัดได้เกินกว่า 100 มิลลิกรัม นั่นอาจหมายความว่า อาจเป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับประทานอาหาร ดังนั้นการรับประทานอาหารบางรูปแบบ เช่น ควบคุม เบาหวาน ด้วยการทำ IF อาจส่งผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการก่อนตัดสินใจทำ IF เพราะหากเลือกรูปแบบของการทำ IF ไม่เหมาะสม อาจยิ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ควบคุม เบาหวาน ด้วย IF มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน อย่างไร ผลการวิจัยระบุไว้ว่าการใช้วิธีคุมเบาหวานด้วย (Intermittent Fasting หรือ IF) อาจทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว และส่งเสริมให้สุขภาพหัวใจมีความแข็งแรงขึ้น เนื่องจาก IF จะช่วยลดน้ำหนักได้ดี ปรับปรุงระดับอินซูลิน ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดเอวันซี (Hemoglobin A1c) ให้คงที่ตามเกณฑ์ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้นั่นเอง จากผลการศึกษา การวิจัย พบว่าผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 3 คน ได้รับการดูแลตามที่แพทย์กำหนด เป็นเวลา 10-25 ปี โดยอดอาหารวันเว้นวัน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

เบาหวานแฝง (Prediabetes) อาการ สาเหตุและการป้องกัน

เบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเบาหวาน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นต่อเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง แต่อาจไม่สูงพอจะที่จะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ถึงอย่างไรหากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่มีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก็อาจส่งผลให้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ได้ เบาหวานแฝง (Prediabetes) คืออะไร เบาหวานแฝง คือ สัญญาณเตือนของโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ซึ่งหมายความว่าหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงแต่ยังไม่ถึงเกณฑ์คือระดับน้ำตาล100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร คุณหมออาจวินิจฉัยให้เบื้องต้นว่าระยะนี้คือเบาหวานแฝง หรือภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน และอาจพัฒนานำไปสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 อย่างเลี่ยงไม่ได้หากไม่รักษาค่าระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต โรคหลอดเลือด อาการเบาหวานแฝง อาการเบาหวานแฝง มีดังต่อไปนี้ ร่างกายขาดน้ำ รู้สึกกระหายน้ำ รู้สึกอยากอาหาร หรือหิวบ่อย เหนื่อยล้า มองเห็นสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน พร่ามัว น้ำหนักเพิ่มหรือลดโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย สาเหตุของเบาหวานแฝง ในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะเบาหวานแฝง แต่คาดการณ์ว่าอาจเกี่ยวข้องกับอินซูลิน เนื่องจากอินซูลินเป็นฮอร์โมนตับอ่อนผลิตขึ้น เพื่อนำกลูโคสจากอาหารที่อยู่ในกระแสเลือดมาแปรเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากร่างกายผลิตอินซูลินน้อยลง หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินก็อาจเป็นไปได้ว่ากลูโคสนั้นจะสะสมอยู่ในกระแสเลือดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวานที่จะพัฒนาสู่โรคเบาหวานประเภทที่ 2 ปัจจัยเสี่ยงของเบาหวานแฝง ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดเบาหวานแฝง ได้แก่ อายุ ส่วนใหญ่โรคเบาหวานอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเบาหวาน หากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะก่อนเบาหวานหรือโรคเบาหวานมาก่อนก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะนี้ได้เช่นกัน เชื้อชาติพันธุ์ ผู้ที่มีเชื้อสายเอเชีย อเมริกันมักมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นภาวะก่อนเบาหวาน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

โฮลเกรน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้หรือไม่

โฮลเกรน หมายถึง ธัญพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้างกล้องงอก ข้าวฟ่าง ซึ่งผ่านกระบวนการขัดสีน้อยมากหรือไม่ผ่านการขัดสีเลย ทำให้ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ไว้ค่อนข้างครบถ้วน ทั้งโปรตีน ใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ นิยมรับประทานกันในหมู่คนรักสุขภาพและผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน เพราะรับประทานง่าย นำมาทำอาหารได้หลากหลาย และที่สำคัญ คุณประโยชน์จากสารอาหารต่าง ๆ ของ โฮลเกรน อาจมีส่วนช่วย ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ [embed-health-tool-bmi] โฮลเกรน ลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างไร โฮลเกรน ได้แก่ ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งไม่ผ่านการขัดสีหรือฟอกขาว ทำให้ยังคงคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ ค่อนข้างครบถ้วน การรับประทานโฮลเกรนจึงเป็นการเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง เพิ่มภูมิต้านทานโรค อีกทั้งยังมีใยอาหารมีส่วนในการช่วยควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ดังนั้นโฮลเกรนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานได้ การรับประทานโฮลเกรนเพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โฮลเกรนสามารถนำไปประกอบอาหารควบคู่กับเมนูอื่น ๆ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จริงหรือไม่?

แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีหลากหลายสายพันธุ์ตามการเพาะปลูก สภาพแวดล้อมและการดูแล แอปเปิ้ล 1 ผล มีใยอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยให้ปรับปรุงระบบย่อยอาหาร ลดคอเลสเตอรอล แต่สำหรับข้อสงสัยว่า แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานหรือไม่ อาจจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป แอปเปิ้ลเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือไม่ แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลในรูปแบบฟรุกโตส  (Fructose) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ และแตกต่างจากน้ำตาลทั่วไปที่นำมาใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือขนมต่าง ๆ จากข้อมูลของ American Journal of Clinical Nutrition ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า การรับประทานฟรุกโตสแทนการได้รับกลูโคสเข้าสู่ร่างกาย อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ดี ที่สำคัญแอปเปิ้ลยังมีเส้นใยอาหารถึง 4 กรัม ที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลป้องกันการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และอินซูลินได้ การรับประทานแอปเปิ้ล ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถรับประทานได้แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม 182 กรัม หรือแอปเปิ้ล 1 ลูกขนาดกลาง อีกทั้งควรรับประทานควบคู่กับผลไม้ และผักชนิดอื่น ๆ ตามความชอบ จากดัชนีการวัดระดับของน้ำตาล ตั้งแต่ 0-100 คะแนน ซึ่งแอปเปิ้ลถูกจัดอยู่ใน 36 คะแนน […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รู้ก่อน รับมือทัน

การได้เข้าใจถึงการดำเนินโรคเเละ ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูเเลตนเองได้ดีขึ้น หากยังอยู่ในระยะแรกควรรีบประบพฤติกรรมสุขภาพและรับคำแนะนำในการรักษาจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อควบคุมเเละลดความเสี่ยงในการพัฒนาไปสู่ระยะถัด ๆ ไป [embed-health-tool-bmi] ระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นภาวะเรื้องรัง เกิดจากความบกพร่องของร่างกายที่เกิดภาวะดื้ออินซูลินทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนอาจนำไปสู่ภาวะเเทรกซ้อนที่ร้ายเเรงตามมา เช่น โรคหัวใจเเละหลอดเลือด โรคไต เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม เบาหวานขึ้นตา โดยระยะของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาจแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ภาวะดื้ออินซูลิน ภาวะดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดมาเปลี่ยนชใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักขึ่นเพื่อผลิตอินซูลินเพิ่มเพื่อมาพยามรักษาสมดุลระดับน้ำตาลให้ยังคงอยู่ในเกณฑ์ ดังนั้นหากทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยังคงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ระยะที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน ภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ยังไม่ถึงระดับที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เมื่อตรวจขณะงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่งโมง) หากไม่มีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้ดี เพื่อควบคุมน้ำตาลให้ลดลงสู่เกณฑ์ปกติ ก็อาจพัฒนาสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้  ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเเป้งเเละน้ำตาลสูง หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเเนะนำไปพบคุณหมอเพื่อตรวจติดตามระดับน้ำตาลเป็นระยะ  ระยะที่ 3 เข้าสู่โรคเบาหวานชนิดที่ […]


โรคเบาหวานชนิดที่ 2

หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับการลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19

หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรให้ความสำคัญในการดูแลตนเองมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 (COVID-19) อีกทั้งคุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ยังนับว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อไวรัสโวิด-19 ดังนั้นในช่วงนี้ คุณเเม่จึงควรดูแลตนเองและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 [embed-health-tool-bmi] หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสถานการณ์โควิด-19 คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นับเป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากสามารถเกิดอาการรุนเเรงได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้น คุณเเม่อาจของคำเเนะนำจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางถึงเเนวทางการดูเเลตนเอง รวมถึงการปรับพฤติกรรมสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 เช่น ดูแลสุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์อยู่เสมอ หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19 อย่างไร ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนเเรงได้มากกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้น คุณเเม่จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ ดูแลรักษาสุขอนามัยของตนอยู่เสมอ โดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือด้วยสบู่ได้ เเนะนำให้ทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์แทน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวหรือสิ่งเเวดล้อมต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงในการการสัมผัสเชื้อโรค เว้นระยะห่างทางสังคม โดยรักษาระยะห่างจากผู้อื่นในที่สาธารณะประมาณ 2 เมตร เเละสวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในที่ชุมชน หรือในห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท เมื่อมีอาการไอ หรือจาม ให้ใช้บริเวณข้อศอกมาปิดแทนการใช้มือ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง หมั่นรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม