backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2020

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma)

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma) จัดเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเซลล์ในระบบน้ำเหลืองเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างเจ็บปวดบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ ขาหนีบ รวมถึงอาการคันอย่างรุนแรง

คำจำกัดความ

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน คืออะไร 

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin’s Lymphoma) จัดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากเซลล์ในระบบน้ำเหลืองเติบโตผิดปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการบวมอย่างเจ็บปวดบริเวณที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น รักแร้ ขาหนีบ รวมถึงอาการคันอย่างรุนแรง

พบได้บ่อยแค่ไหน

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี และในผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี

อาการ

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน

ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินส่วนใหญ่มักมีอาการบวมบริเวณต่อมน้ำเหลือง ซึ่งทำให้เกิดก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง โดยก้อนเนื้อนี้มักไม่มีอาการเจ็บปวด จะขึ้นบริเวณรอบ ๆ บริเวณในร่างกายที่มีต่อมน้ำเหลือง เช่น ขาหนีบ ใต้รักแร้ บริเวณคอ รวมถึงอาการอื่น ๆ ที่แสดงออกดังต่อไปนี้

  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ผิวหนังคัน
  • ไข้
  • ความเหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
  • ไอต่อเนื่อง หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
  • ปวดบริเวณต่อมน้ำเหลืองหลังจากดื่มแอลกอฮอล์
  • ม้ามโต

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีอาการใด ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติที่บริเวณหน้าท้องส่วนล่าง ปวดท้องอย่างรุนแรง และปัสสาวะเป็นเลือด หรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรปรึกษากับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน

ในปัจจุบันยังไม่มีข้อระบุที่แน่ชัดของสาเหตุมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน แต่ได้มีข้อสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบีลิมโฟไซต์ (B Lymphocytes) ที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติจำนวนมากสะสมในระบบน้ำเหลือง เช่นเดียวกับการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr) ที่ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน

  • อายุ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 30 ปี และผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี
  • ประวัติครอบครัว หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินได้
  • เพศ เพศชายมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินมากกว่าเพศหญิง
  • ติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein Barr) คนที่มีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินมากกว่าคนปกติทั่วไป

การวินิจฉัยและการรักษาโรค

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน

ในเบื้องต้นแพทย์จะทำการสอบถามประวัติและอาการ ตรวจร่างกายเพื่อดูความผิดปกติ รวมถึงการทดสอบอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • การตรวจด้วยภาพ เช่น เอกซเรย์ (X-Ray) หรือการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography Scan : CT Scan)
  • การตรวจเนื้อเยื่อ คือการตัดชิ้นส่วนของเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองมาทดสอบว่ามีเซลล์ผิดปกติหรือไม่
  • ตรวจเลือด เช่น ตรวจนับเม็ดเลือด เพื่อวัดระดับเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด
  • อื่น ๆ เช่น การทดสอบสมรรถภาพปอด การตรวจชื้นเนื้อไขกระดูก เป็นต้น

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน

วิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

  • รังสีบำบัด (Radiotherapy) คือการใช้ลำแสงพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือที่เรียกว่าการทำคีโม คือการใช้ยาเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย
  • ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stemcell) คือการใช้เซลล์ต้นกำเนิดเพื่อเข้าไปแทนที่เซลล์มะเร็งในไขกระดูก

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่จะช่วยบรรเทามะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน

ลักษณะไลฟ์สไตล์และการเยียวยาด้วยตนเองต่อไปนี้ อาจช่วยรับมือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินได้ ดังนี้

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินต้องได้รับการตรวจแมมโมแกรมและตรวจโรคหัวใจเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 29/12/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา