backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

แก้หมันชาย (Vasectomy Reversal)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

แก้หมันชาย (Vasectomy Reversal)

ข้อมูลพื้นฐาน

การแก้หมันชาย คืออะไร

การแก้หมันชาย (Vasectomy Reversal) คือ การผ่าตัดเพื่อต่อท่อนำเชื้ออสุจิหรือสเปิร์มเข้าด้วยกันใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เคยตัดท่อน้ำเชื้อออกจากกันแล้วผูกปลายทั้งสองข้างเอาไว้ หรือที่เรียกว่าการทำหมันชาย (Vasectomy) ซึ่งถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดถาวรที่นิยมมากวิธีหนึ่ง โดยทั่วไป อัตราการมีบุตรของผู้ชายที่แก้หมันจะอยู่ที่ประมาณ 30-90 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด และระยะเวลาในการทำหมัน อายุของฝ่ายหญิง ความชำนาญของแพทย์ เป็นต้น

ความจำเป็นในการ แก้หมันชาย

การแก้หมันเป็นการแก้ปัญหาสำหรับใครที่เคยทำหมันไปแล้ว และต้องการจะมีบุตรอีกครั้ง

ความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการแก้หมันชาย

โอกาสที่การแก้หมันชายจะประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับว่าทำหมันชายมานานแค่ไหนแล้ว เพราะยิ่งทำหมันนาน ก็ยิ่งมีโอกาสที่ท่อนำเชื้ออสุจิจะอุดตันมากขึ้น ทั้งยังพบว่าบางคนที่แก้หมันชายไปแล้ว อาจเกิดปฏิกิริยาต่อต้านอสุจิของตนเองได้ด้วย ซึ่งหากเกิดการอุดตันระหว่างท่อนำเชื้ออสุจิและท่อเก็บอสุจิ ก็จะยิ่งทำให้การผ่าตัดแก้หมันชายใช้เวลานานและซับซ้อนขึ้นไปอีก

หากอยากมีลูก แต่ไม่อยากผ่าตัดแก้หมันชาย

คุณอาจจะพิจารณาใช้อสุจิจากผู้บริจาค ซึ่งอาจจะเป็นของคนรู้จัก หรือจากธนาคารอสุจิก็ได้ บางครั้งหมอจะเลือกใช้เข็มดูดอสุจิจากอัณฑะออกมา ซึ่งเป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF Treatment)

ก่อนตัดสินใจผ่าตัดแก้หมันชาย คุณควรทำความเข้าใจความเสี่ยงและอาการแทรกซ้อนให้ดี หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์

ขั้นตอนการผ่าตัด

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการ แก้หมันชาย

ก่อนผ่าตัด แพทย์จะซักถามข้อมูลสุขภาพ ยาที่กิน อาการแพ้ต่างๆ จากนั้นคุณจะได้พบวิสัญญีแพทย์ เพื่อวางแผนการใช้ยาระงับความรู้สึก คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรงดรับประทานอาหารและน้ำดื่มก่อนการผ่าตัดตามที่แพทย์แนะนำ

แพทย์จะแจ้งวิธีการปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงการงดน้ำงดอาหาร ว่าต้องงดก่อนผ่าตัดกี่ชั่วโมง โดยปกติแล้ว คุณควรเริ่มงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด แต่อาจสามารถจิบเครื่องดื่มบางอย่างได้ เช่น กาแฟ และไม่ควรทานอะไรเลยก่อนการผ่าตัด 1-2 ชั่วโมง

ขั้นตอนการแก้หมันชาย

แพทย์จะทำการผ่าตัดโดยใช้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป โดยปกติแล้ว การผ่าตัดแก้หมันชายจะใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที ศัลยแพทย์ต้องผ่าตัดโดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์ เริ่มจากกรีดที่ถุงอัณฑะทั้งสองข้าง แล้วตรวจดูที่อัณฑะก่อน เพื่อหาท่อนำอสุจิที่เคยตัดและผูกเอาไว้ จากนั้นจึงขยายท่อโดยการนำเนื้อเยื่อที่ไม่ต้องการออกไป แล้วเย็บส่วนปลายของท่อนำอสุจิทั้งสองข้างต่อเข้าหากันใหม่

หากคุณมีข้อสงสัยหรือความกังวลใดๆ  โปรดปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การพักฟื้น

หลังการผ่าตัดแก้หมันชาย

  • หลังจากผ่าตัดแก้หมันชายแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย หรือจะนอนพักที่โรงพยาบาลหนึ่งคืนแล้วกลับบ้านในวันถัดไปก็ได้
  • คุณสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติหลังจากผ่าตัดแล้วประมาณหนึ่งสัปดาห์
  • การออกกำลังกายจะช่วยให้คุณกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้เร็วขึ้น แต่ก่อนออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

หลังผ่าตัดแก้หมันชายไปแล้วประมาณ 6-8 สัปดาห์ แพทย์จะนัดเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิเพื่อนำไปตรวจหาจำนวนตัวอสุจิ หากตรวจพบว่าไม่มีตัวอสุจิ ก็แปลว่าการผ่าตัดไม่ประสบผลสำเร็จ ในกรณีที่การผ่าตัดแก้หมันชายไม่สำเร็จ แต่คุณและภรรยายังต้องการมีบุตรอยู่ ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลือกอื่นๆ

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาปรึกษาแพทย์หรือศัลยแพทย์

ความเสี่ยงหลังผ่าตัดแก้หมันชาย

การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง จึงควรศึกษาข้อมูลและขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนการผ่าตัด

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังเข้ารับการผ่าตัดทุกชนิด ได้แก่ ผลข้างเคียงจากยาระงับความรู้สึก ภาวะเลือดออกมาก ภาวะเลือดแข็งตัว

นอกจากภาวะแทรกซ้อนข้างต้นแล้ว การผ่าตัดแก้หมันชายยังมีความเสี่ยงเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • การติดเชื้อจากแผลผ่าตัด
  • การสะสมของของเหลวรอบอัณฑะ ซึ่งจะต้องทำการระบายของเหลวพวกนั้นออกไป
  • การบาดเจ็บที่เส้นเลือดแดงหรือเส้นประสาทในถุงอัณฑะ

คุณสามารถลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อเตรียมพร้อมในการผ่าตัด เช่น งดอาหาร หยุดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา