backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/01/2021

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus)

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่ข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้า  โดยนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มชี้เข้าด้านในและทับนิ้วที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้นิ้วหัวแม่เท้าขยายใหญ่ มีอาการเจ็บปวด บวมแดง 

คำจำกัดความ

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus)  คืออะไร

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus) เกิดจากความผิดปกติของกระดูกที่ข้อต่อของนิ้วหัวแม่เท้า  โดยเกิดจากนิ้วหัวแม่เท้าเริ่มชี้เข้าด้านในและทับนิ้วที่อยู่ใกล้เคียง ส่งผลให้นิ้วหัวแม่เท้าขยายใหญ่ มีอาการเจ็บปวด บวมแดง 

พบได้บ่อยเพียงใด

ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงมักพบได้บ่อยในครอบครัวที่เคยมีประวัติอยู่ในภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่เท้า และผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบ 

อาการ

อาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

ลักษณะอาการของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง จะมีอาการแสดงออก ดังต่อไปนี้ 

  • ไม่สามารถงอนิ้วหัวแม่เท้าได้ 
  • รู้สึกเจ็บปวด มีอาการบวมแดง บริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า 
  • ผิวหนังบริเวณฐานนิ้วหัวแม่เท้าหนาขึ้นกว่าปกติ
  • เอ็นนิ้วเท้าและข้อต่อมีอาการตึง และเจ็บปวด
  • อาการชาที่นิ้วหัวแม่เท้า
  • ปวดเท้าเป็นระยะ ๆ หรือมีอาการปวดต่อเนื่อง

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของงภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง โดยมีข้อสันนิาฐานว่าอาจเกิดจากการกลไกการเดิน เช่น การยืนเป็นเวลานาน การสวมรองเท้าที่คับแคบ หรือความผิดปกติของโครงสร้างเท้า ทำให้นิ้วหัวแม่เท้างอเข้านิ้วเท้าใกล้เคียง 

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง มีดังต่อไปนี้

  • สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่เท้า
  • ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ เช่น โรคไขข้ออักเสบ

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

ในการวินิจฉัยภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงในเบื้องต้นแพทย์อาจต้องทำการตรวจดูความผิดปกติของเท้า หรืออาจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์ (X-ray) เพื่อตรวจดูอาการบาดเจ็บ อาการผิดปกติของเท้า 

การรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

วิธีการรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล วิธีการรักษาในเบื้องต้นอาจเริ่มด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • เลือกสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้นิ้วเท้าเบียดกัน
  • การประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม
  • รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด 

ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดรุนแรง ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ แพทย์อาจต้องทำทำการผ่าตัด เพื่อจัดกระดูก เส้นเอ็น และเส้นประสาทที่ยื่นออกมาให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

 การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรักษาภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง สามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้

เลือกสวมใส่รองเท้าที่สบาย ไม่แน่นจนเกินไป เพื่อให้กระดูกและข้อต่อในเท้าเราได้รับแรงกดดันน้อยลง 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 11/01/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา