backup og meta

สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รับมือได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 29/01/2021

    สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด รู้เร็ว รับมือได้

    โรคหัวใจขาดเลือด เป็นสภาวะที่ถือได้ว่าค่อนข้างเป็นอันตรายในระยะยาว โดยเฉพาะถ้าเกิดอาการหัวใจขาดเลือดแบบเฉียบพลันขึ้นมา อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือดมาฝากค่ะ มาดูกันว่า สาเหตุ อาการ และ สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด เป็นอย่างไร และเมื่อเป็นแล้วจะมีวิธีรับมืออย่างไรได้บ้าง

    โรคหัวใจขาดเลือดคืออะไร

    โรคหัวใจขาดเลือด (Schemic Heart Disease) คือภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลงเนื่องจากหลอดเลือดแดงที่จะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจเกิดการตีบหรือแคบลง ทำให้ไม่มีเลือดส่งไปยังหัวใจมากพอ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจร้ายแรงกว่านั้นคือไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจเลย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและทำงานผิดปกติ

    โรคหัวใจขาดเลือด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

    • สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
    • มีปัญหาความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
    • คอเลสเตอรอลในร่างกายสูงจนเกินไป
    • โรคอ้วน
    • โรคเบาหวาน
    • โรคไตระยะสุดท้าย
    • โรคแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีโปรตีนผิดปกติในปริมาณที่สูงมากจนเกินไปจนมีผลต่อการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะในร่างกาย เช่น หลอดเลือด
    • การสูบบุหรี่
    • การดื่มแอลกอฮอล์
    • ยาเสพติด
    • ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

    สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด มีอะไรบ้าง

    สัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด อาจมีดังต่อไปนี้

    • มีอาการเจ็บหน้าอก แล้วค่อย ๆ ลามไปยังยังแขน และหลัง
    • เมื่อยล้า อ่อนเพลีย
    • หายใจถี่และสั้น
    • วิงเวียนศีรษะและเป็นลม
    • ใจสั่น
    • ผิวหนังชื้น
    • คลื่นไส้แต่ไม่อาเจียน
    • ปวดคอหรือกราม

    ผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือด บางรายอาจมีอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

    • มีอาการบวมที่ขาและเท้าคล้ายกับอาการบวมน้ำ
    • มีอาการบวมที่ช่องท้อง
    • มีอาการไอ หรือรู้สึกอึดอัดในลำคอเนื่องจากของเหลวในปอด
    • นอนไม่หลับ
    • น้ำหนักขึ้น

    โดยอาการของ โรคหัวใจขาดเลือด เหล่านี้มักจะ

    • พบได้บ่อยในช่วงที่ต้องมีการออกแรงในการทำกิจกรรม
    • มีอาการเกิดขึ้นแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก
    • อาการที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง อาจใช้ระยะเวลาเพียง 5 นาที หรือน้อยกว่านั้น

    รักษาโรคหัวใจขาดเลือดได้หรือไม่

    หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เนื่องจากผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยวิธีการรักษาจะมีตั้งแต่

    การรักษาโดยการรับประทานยารักษา โรคหัวใจขาดเลือด 

    • ยาลดความดันโลหิตสูง (Angiotensin-Converting Enzyme)
    • กลุ่มยาต้านตัวรับแองจิโอเทนซิน (Angiotensin receptor blockers)
    • ยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

    การรักษาโดยการผ่าตัด

    หากการรักษาโดยการรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ทำการผ่าตัดรักษา โรคหัวใจขาดเลือด ด้วยวิธี

    ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดได้อย่างไรบ้าง

    โรคหัวใจขาดเลือด แม้จะเป็นอาการทางสุขภาพที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แต่ถ้าหากใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น ก็จะสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ โดยอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันและรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนี้

    • ใส่ใจกับโรคเบาหวาน หากมีความเสี่ยงของโรคเบาหวานควรรีบไปพบคุณหมอ
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ
    • รักษาระดับของคอเลสเตรอลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    • รักษาระดับของความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    • รับประทานอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ให้ไขมันอิ่มตัว
    • เลิกสูบบุหรี่
    • งดดื่มแอลกอฮอล์
    • หลีกเลี่ยงสารเสพติด

    เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

    โดยปกติแล้ว โรคหัวใจมักไม่แสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนนักในระยะแรก ๆ คุณจึงควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจร่างกายปีละครั้ง หรือทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพหัวใจหรือมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเป็น โรคหัวใจขาดเลือด หรือไม่ หรือถ้าหากมีอาการเจ็บหน้าอกแบบเฉียบพลันและมีอาการอื่น ๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คุณควรไปพบคุณหมอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 29/01/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา