backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

คาร์ทีโอลอล (Carteolol)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ข้อบ่งใช้

ยา คาร์ทีโอลอล ใช้สำหรับ

ยา คาร์ทีโอลอล (Carteolol) มักใช้เป็นยาชนิดเดียวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาอาการความดันโลหิตสูงภายในดวงตา เนื่องจากโรคต้อกระจกแบบมุมเปิด หรือโรคตา เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงภายในดวงตา (ocular hypertension) การลดระดับความดันโลหิตภายในดวงตาสามารถช่วยป้องกันอาการตาบอดได้ ยาคาร์ทีโอลอลนั้นเป็นยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ ทำงานโดยการลดปริมาณของน้ำที่ผลิตในดวงตา

วิธีใช้ยา คาร์ทีโอลอล

ใช้ยานี้กับดวงตาข้างที่มีอาการตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติแล้วคือ 1 หยดวันละสองครั้ง ยานี้ใช้กับดวงตาเท่านั้น ห้ามกลืนหรือฉีดเข้าร่างกาย

ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา ควรทำตามคำแนะนำการใช้ยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ก่อนใช้ยาหยอดตา ควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อน ไม่ควรสัมผัสกับส่วนปลายของขวดยา หรือให้ปลายขวดยาสัมผัสกับดวงตาหรือพื้นผิวอื่นๆ

ก่อนใช้ยา ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ว่า มีการเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล ขุ่น หรือมีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรใช้ยานี้

สารกันบูดในยานี้อาจซึมเข้าไปในคอนแทคเลนส์ได้ หากคุณกำลังใส่คอนแทคเลนส์ ควรถอดออกก่อนใช้ยาหยอดยานี้ และรออย่างน้อย 15 นาทีหลังจากการใช้ยา จึงค่อยใส่คอนแทคเลนส์กลับคืน

วิธีหยอดตาด้วยยาคาร์ทีโอลอล

  1. เงยศีรษะขึ้น มองขึ้นไปข้างบนแล้วดึงเปลือกตาล่างให้เป็นกระพุ้ง
  2. ถือขวดยาหยอดตาไว้เหนือดวงตา แล้วหยดยาหนึ่งหยดลงไปในกระพุ้งนั้น
  3. มองลงต่ำ แล้วค่อยๆ หลับตาเป็นเวลา 1 ถึง 2 นาที
  4. กดนิ้วเบาๆ ลงไปที่หัวตาใกล้กับจมูก เพื่อป้องกันไม่ให้ยาไหลออกไป พยายามอย่ากระพริบตาหรือขยี้ตา
  5. ทำขั้นตอนซ้ำที่ดวงตาอีกข้างหากแพทย์กำหนด

อย่าล้างขวดยา ควรปิดฝาขวดยาทุกครั้งหลังจากการใช้งาน

หากคุณกำลังใช้ยาสำหรับดวงตาประเภทอื่น เช่น ยาหยอดตา ขี้ผึ้ง ควรรออย่างน้อย 10 นาทีก่อนใช้ยาอื่น ควรใช้ยาหยอดตาก่อนยารูปแบบขี้ผึ้ง เพื่อให้น้ำยาสามารถเข้าสู่ดวงตาได้

ควรใช้ยาเป็นประจำเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากยาสูงสุด เพื่อให้จำง่ายขึ้น ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันทุกวัน และควรใช้ยานี้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าคุณจะรู้สึกเป็นปกติดี ผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูงที่ดวงตานั้น มักจะไม่รู้สึกป่วยใดๆ

การเก็บรักษายาคาร์ทีโอลอล

ยาคาร์ทีโอลอลควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาคาร์ทีโอลอลบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาคาร์ทีโอลอลลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาคาร์ทีโอลอล

ก่อนใช้ยาคาร์ทีโอลอล แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยานี้ หรือแพ้ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์อื่นๆ เช่น ทิโมลอล (timolol) หรือหากคุณมีโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้มีฤทธิ์ในการรักษา เช่น สารกันบูด ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่นได้ สอบถามเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ก่อนใช้ยานี้ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะ

  • โรคปอด หรือปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease) หัวใจเต้นช้าหรือผิดปกติ เช่น ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (bradycardia) สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง (AV block) โรคหัวใจ เช่น ปวดหน้าอก หัวใจขาดเลือดฉับพลัน หัวใจล้มเหลว
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะไทรอยด์เกิน (hyperthyroidism)
  • ปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือด เช่น โรคเรย์นอยด์ (Raynaud’s disease) โรคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) เลือดไหลเวียนในสมองน้อย เช่น อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (cerebral insufficiency) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
  • ความผิดปกติทางใจหรืออารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า (depression)
  • ปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อบางอย่าง เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myasthenia gravis)
  • เคยมีอาการแพ้ที่รุนแรง เช่น ปฎิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis) ผิวหนังอักเสบ (atopy)

หากคุณมีอาการติดเชื้อที่ดวงตา หรืออาการบาดเจ็บที่ดวงตา ควรปรึกษาแพทย์ว่า ควรใช้ยาคาร์ทีโอลอลขวดนั้นต่อหรือไม่ คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาขวดใหม่

ยานี้อาจทำให้เกิดอาการมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักร หรือทำกิจกรรมที่ต้องการการมองเห็นที่ชัดเจน จนกว่าคุณจะสามารถทำได้อย่างปลอดภัย

ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบ เกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ยานี้อาจป้องกันอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นรัว ที่คุณมักจะรู้สึกขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำเกินไป (hypoglycemia) ได้ อาการอื่นๆ ของระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น วิงเวียนและเหงื่อออก ไม่ได้รับผลกระทบจากยานี้

ในช่วงขณะตั้งครรภ์ ควรใช้ยานี้เมื่อจำเป็นเท่านั้น โปรดปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและประโยชน์ของการใช้ยา

ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ โปรดสอบถามแพทย์ก่อนการให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาคาร์ทีโอลอลจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาคาร์ทีโอลอล

อาจมีอาการมองเห็นไม่ชัดชั่วคราว หรือมีอาการแสบร้อน ปวด คัน หรือมีรอยแดงที่ดวงตาชั่วคราว หากอาการเหล่านี้ไม่หายไป หรือรุนแรงขึ้น ควรแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที

โปรดจำไว้ว่า การที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่รุนแรง ได้แก่

  • มีอาการปวด บวม หรือมีสารคัดหลั่งที่ดวงตา
  • ดวงตาอ่อนไหวต่อแสง
  • มีความเปลี่ยนแปลงทางจิตใจหรืออารมณ์ เช่น ซึมเศร้า
  • หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ
  • วิงเวียน
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ข้อเท้าหรือเท้าบวม
  • เหนื่อยล้าผิดปกติ

รับการรักษาพยาบาลในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่หายากแต่รุนแรง  ได้แก่

  • หายใจมีเสียงหรือหรือหายใจติดขัด
  • มีอาการปวดที่หน้าอก กราม หรือแขนข้างซ้าย
  • หายใจไม่อิ่ม
  • มีเหงื่อออกผิดปกติ
  • หมดสติ
  • รู้สึกอ่อนแรงที่ลำตัวซีกใดซีกหนึ่ง
  • พูดไม่ชัด
  • มีอาการชัก สับสน
  • การมองเห็นเปลี่ยนแปลงฉับพลัน

การแพ้ยาที่รุนแรงนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก แต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันท่วงที อาการของการแพ้รุนแรง ได้แก่

  • ผดผื่น คันหรือบวม โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ
  • เวียนศีรษะขั้นรุนแรง
  • หายใจติดขัด

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยากับยานี้ได้แก่

  • ยาในกลุ่มอัลฟ่าบล็อกเกอร์ (alpha blockers) เช่น พราโซซิน (prazosin)
  • ยาในกลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (beta blockers) แบบรับประทาน เช่น อะทีโนลอล (atenolol) เมโทโพรลอล (metoprolol) โคลนิดีน (clonidine) ไดจอกซิน (digoxin) เอพิเนฟรีน (epinephrine)
  • ยาบางชนิดสำหรับรักษาภาวะความดันโลหิตสูง เช่น เมทิลโดปา (methyldopa) รีเซอร์พีน (reserpine) ฟินโกลิมอด (fingolimod)

ยาคาร์ทีโอลอลอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาคาร์ทีโอลอลอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาคาร์ทีโอลอลอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งสภาวะโรคของคุณให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาคาร์ทีโอลอลสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตภายในดวงตาสูง (Intraocular Hypertension)

หยอดยาหนึ่งหยดใส่ดวงตาข้างที่มีอาการวันละสองครั้ง

คำแนะนำ :

หากความดันภายในดวงตาไม่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ อาจใช้เริ่มการรักษาร่วมกับยาไพโลคาร์พีน (pilocarpine) และยากลุ่ม miotics อื่น ๆ และ/หรือยาเอพิเนฟรีน (epinephrine) หรือยาไดพิเวฟริน (dipivefrin) และ/หรือให้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (carbonic anhydrase inhibitors) แบบไหลเวียนทั่วทั้งร่างกาย เช่น ยาอะเซตาโซลาไมด์ (acetazolamide)

การใช้งาน : เพื่อลดระดับความดันภายในดวงตาสำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต้อหินชนิดมุมเปิดและภาวะความดันโลหิตภายในดวงตาสูง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคต้อหินชนิดมุมเปิด (Glaucoma [Open Angle])

หยอดยาหนึ่งหยดใส่ดวงตาข้างที่มีอาการวันละสองครั้ง

คำแนะนำ :

หากความดันภายในดวงตาไม่อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ อาจใช้เริ่มการรักษาร่วมกับยาไพโลคาร์พีน (pilocarpine) และยากลุ่ม miotics อื่น ๆ และ/หรือยาเอพิเนฟรีน (epinephrine) หรือยาไดพิเวฟริน (dipivefrin) และ/หรือให้ยาคาร์บอนิก แอนไฮเดรส อินฮิบิเตอร์ (carbonic anhydrase inhibitors) แบบไหลเวียนทั่วทั้งร่างกาย เช่น ยาอะเซตาโซลาไมด์ (acetazolamide)

การใช้งาน : เพื่อลดระดับความดันภายในดวงตาสำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต้อหินชนิดมุมเปิดและภาวะความดันโลหิตภายในดวงตาสูง

ขนาดยาคาร์ทีโอลอลสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้ สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาหยอดตา

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา